วิกฤติแรงงานอยุธยาเลิกจ้างคนงานซับคอนแทรคอื้อ

Untitled-2เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2557 นายบรรจง บุญชื่นประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานสาขาอยุธยากเปิดเผยว่า ตั้งแต่วิกฤตินำท่วมปี 2554เป็นต้นมาสถานการแรงงานในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในสถานประกอบการขนาดเล็ก ขนาดกลางส่วนใหญ่จะอยู่ไม่ได้ มีทั้งปิด และย้ายฐานการผลิตไปที่อื่นส่วนสถานประกอบการขนาดใหญ่ยังพออยู่ได้และเกือบเป็นปกติ หากแต่ในกลุ่มแรงงานในสถานประกอบการอิเล็กทรอนิกส์ กับยานยนต์มีปัญหาการเลิกจ้างคนงานซับคอนแทรคจำนวนมาก เพราะสิ้นค้าอิเล็กทรอนิกส์อาจดูเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยจึงมีปัญหาเรื่องการสั่งซื้อไม่เหมือนเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่มีปัญหาเรื่องการสั่งซื้อ

Untitled-3ส่วนปัญหายานยนต์ กับชิ้นส่วนอะไหล่เป็นปัญหาลูกโซ่จากนโยบายรถยนต์คันแรกที่มีการคืนใบสั่งจอง ลูกค้าไม่มารับรถอย่างที่เป็นข่าว ซึ่งทำให้นายจ้างใช้วิธีการเลิกจ้างลูกจ้างที่เป็นคนงานซับคอนแทรค ลูกจ้างชั่วคราวจำนวนมาก โดยในช่วงแรกนายจ้างใช้มาตรา 75 พระราช
บัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ในการหยุดงานชั่วคราวจ่ายค่าจ้างร้อยละ 75

“ที่มีการเลิกจ้างมีบริษัทนิคอน ล่าสุดเมื่อเมษายน2557 จำนวนกว่า 500 คน ฮอนด้า อีกหลายร้อยคน และมีการปรับเวลาการทำงานเหลือทำงานกะเช้ากะเดียว มีการใช้มาตรา 75เป็นระยะๆ ส่วนพนาโซนิคมีการย้ายฐานการผลิตไปประเทศเวียดนาม การเลิกจ้างในบริษัทใหญ่ไม่ค่อยมีปัญหานายจ้างจะจ่ายค่าชดเชยให้ตามกฎหมาย แต่ก็มีบางส่วนที่เป็นบริษัทซับคอนแทรคที่ไม่ยอมจ่ายค่าชดเชย ทางสภาก็ให้ไปร้องเจ้าหน้าที่แรงงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา บางส่วนก็ว่าช้าไปฟ้องศาล กรณีเลิกจ้างเป้นกลุ่มใหญ่หลายร้อยคนก็มีการชุมนุมให้นายจ้างมาจ่าย ที่น่าเสียใจบางส่วนที่เจ้าหน้าที่กับนายจ้างไกล่เกลี่ยให้ลูกจ้างค่าชดเชยแบบเหมาจ่าย 5,000 บาท ซึ่งต่ำมาก คนงานต้องทำงานมานานหลายปีได้รับค่าชดเชยแค่นี้” นายบรรจงกล่าว

นายบรรจงยังกล่าวอีกว่า ส่วนคนงานพานาโซนิคที่เลิกจ้างเป็นพนักงานประจำได้ค่าชดเชยตามอายุงาน เพราะส่วนใหญ่ทำงานมากว่า 10 ปี เช่นได้ค่าชดเชย 17 เดือนบวกโบนัส 20 เดือนเป็นต้น

นักสื่อสารแรงงานรายงาน