ความสำเร็จในระยะ 1 ปี ของการสนับสนุนให้การศึกษาแก่เด็กข้ามชาติในประเทศไทย

13439098_284374611915306_5720700367547605408_n
ความสำเร็จในระยะ 1 ปี ของการสนับสนุนให้การศึกษาแก่เด็กข้ามชาติในประเทศไทย  
กรณี  เด็กข้ามชาติ สัญชาติกัมพูชา  พื้นที่อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด   ปี 2559
“ตอบโจทย์ ความสำเร็จและปัญหาอุปสรรค การจัดการศึกษาเรียนร่วมเด็กข้ามชาติในระบบการศึกษาของรัฐไทยเพื่อการป้องกันการใช้แรงงานเด็ก และค้ามนุษย์ และการส่งเสริมการอยู่ร่วมกันในสังคมไทยอย่างสันติ”
ในวันที่ 5 กรกฎาคม 2559 ครบรอบ 11 ปี ของมติ ครม. ว่าด้วยการจัดการศึกษาแก่บุคคลผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียนหรือไม่มีสัญชาติไทย  มูลนิธิ LPN มีส่วนสนับสนุน ส่งเสริมการจัดการศึกษาแก่เด็กข้ามชาติ (พม่า ลาว และกัมพูชา) ตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา มีความสำเร็จมากน้อยแค่ไหน มีอุปสรรคอย่างไร และตอบสนองการแก้ไขปัญหาแรงงานเด็กและค้ามนุษย์ในประเทศไทย อย่างไร
องค์การแพลน ประเทศไทย ร่วมมือกับองค์การแพลน ประเทศสวีเดน ประเทศฟินแลนด์ และ
ประเทศกัมพูชา และองค์กรพันธมิตรมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน หรือ LPN  ได้ร่วมกันหาแนวทางในการสนับสนุนให้อุตสาหกรรมประมงปลอดจากการเอารัดเอาเปรียบในเรื่องแรงงานเด็ก และสร้างโอกาสให้เด็กเหล่านั่นได้เข้าถึงงานที่เหมาะสม ผ่านโครงการ Plan Asia’s SEAS of Change Project (Stopping Exploitation through Accessible Services)
 13524439_284374595248641_8316029688705583485_n
ในปี 2558 ทางมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (LPN)  จึงได้ดำเนินโครงการเกี่ยวกับการป้องกันการใช้แรงงานเด็กแรงงานข้ามชาติ ในอุตสาหกรรมประมงผ่านการให้การศึกษาและ การบริการทางสังคม (Plan Asia’s SEAS of Change Project (SEAS: Stopping Exploitation through Accessible Schooling (and/or Services))  โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากองค์การแพลน อินเตอร์เนชั่นแนล อิงค์ (ประเทศไทย) ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่เดือนมกราคม 2558 – มิถุนายน 2561
ที่มาของปัญหา
1. ภาพลักษณ์ของประเทศไทย GTIP Report
2. การค้ามนุษย์ในเรือประมงสู่อุตสาหกรรมการส่งออก
3. การใช้แรงงานเด็กในอุตสาหกรรมประมง และประมงต่อเนื่อง
4. ผลกระทบของผู้ซื้อสินค้าจากประเทศไทย และผู้บริโภค
วัตถุประสงค์โครงการ
1. เพื่อสร้างโอกาสด้านการคุ้มครองทางสังคมแก่บุตร ผู้ติดตามและแรงงานข้ามชาติที่ทำงานในภาคประมง และประมงต่อเนื่อง รวมถึงปรับปรุงสภาพการทำงานและพัฒนาคุณภาพชีวิต
2. เพื่อสร้างและพัฒนาความร่วมมือกับองค์กรภาคธุรกิจและสมาคมต่างๆที่เกี่ยวข้องในแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี และความรับผิดชอบต่อสังคม
การดำเนินงานโครงการ แบ่งเป็น 4 ด้านหลักดังนี้
1. การให้การศึกษา
2. การพัฒนาทักษะด้านต่างๆ
3. การให้ความคุ้มครองทางสังคม
4. การเข้ามามีส่วนร่วมของซัพพลายเชน
พื้นที่ในการทำงาน ได้แก่ ระยอง ตราด และสมุทรสาคร ภายใต้โครงการนี้ มีกิจกรรมการดำเนินงาน แบ่งเป็น 4 ด้านหลัก ได้แก่ การส่งเสริมการศึกษา การพัฒนาทักษะ การให้ความคุ้มครองทางสังคม และการเข้ามามีส่วนร่วมของซัพพลายเชน
ความสำเร็จการสนับสนุนให้การศึกษาแก่เด็กข้ามชาติในประเทศไทย
กรณี  เด็กข้ามชาติ สัญชาติกัมพูชา  พื้นที่อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด   ปี 2559
สถานการณ์ด้านกลุ่มประชากรข้ามชาติ ชาวกัมพูชาพื้นที่อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด
พื้นที่คลองใหญ่ แบ่งออกเป็น 3 ตำบล คือ ตำบลคลองใหญ่ ตำบลหาดเล็ก ตำบลไม้รูด ตำบลหาดเล็กเป็นพื้นที่ที่มีแรงงานกัมพูชามากที่สุด ตำบลหาดเล็กแบ่งออกเป็น 5 หมู่บ้าน มีกลุ่มเป้าหมายหลักในการทำงานของพื้นที่คลองใหญ่จำนวน 2 หมู่บ้าน คือ บ้านคลองมะขาม และบ้านคลองสน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีแรงงานชุกชุมมากที่ชุดในพื้นที่ แรงงานส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ลงเรือ คัดปลา แกะกุ้ง แกะปู ยกของ ก่อสร้าง เป็นต้น แรงงานส่วนมากจะมีครอบครัวแล้ว ซึ่งแต่ละครอบครัวก็จะมีลูกแตกต่างกันออกไปตามความต้องการของแต่ละครอบครัวโดยมีลูกราวๆ 3-10 คน
การเลี้ยงดูลูกๆของแต่ละบ้านก็มีความแตกต่างกันแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1.เลี้ยงดูโดยพ่อแม่ 2.เลี้ยงดูโดยญาติ 3.เลี้ยงดูโดยพี่เลี้ยงน้อง เป็นต้น
1) เลี้ยงดูโดยพ่อแม่ การเลี้ยงดูโดยพ่อแม่เป็นการเลี้ยงดูอย่างใส่ใจ ดูแล รัก และห่วงลูก เป็นอย่าง ดูแลอย่างใกล้ชิด พ่อแม่บางคนก็จะมีการวางแผนการเติบโตของลูกๆไว้เพื่ออนาคตของลูกหลาน บางครอบครัวก็ปล่อยให้เด็กหาเลี้ยงด้วยตัวเองคือ เด็กที่อายุ 8 ปีขึ้นไปเริ่มที่จะเข้ามาทำงานหาเงินช่วยเหลือพ่อแม่โดยวิธีต่างๆ เช่น การเก็บปลา การแกะปู การแกะกุ้ง  การเก็บปลาของเด็กเก็บปลาได้เฉพาะช่วงเรือเข้า เพราะถ้ามีเรือเข้านั้นหมายความว่า เรือประมงได้กลับมาส่งปลาที่ท่า ในเรือประมงจะมี ปลาชนิดต่างๆ ปลาหมึก กุ้ง กั้ง หอยเซลล์ เพื่อหารายได้ช่วยพ่อแม่ รายได้เฉลี่ยวันละ 60-170 บาท ถ้ายิ่งมีลูกมากก็ยิ่งได้เงินมาก เด็กทุกคนยอมที่จะเจ็บตัว ถูกด่า จากนายหน้าคนกลางในการช่วยเหลือพ่อแม่ที่มีรายได้น้อย  การแกะปู การแกะกุ้ง ของเด็กๆเป็นการทำงานที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี ทำงานที่บ้านแกะปู เพื่อหารายได้ในการเรียน และรับประทานขนมต่างๆ แต่เด็กที่ทำงานก็จะทำงานอยู่ใกล้ๆ กับพ่อแม่
2) เลี้ยงดูโดยญาติ การเลี้ยงดูจะถูกปล่อยให้เด็กช่วยเหลือตัวเอง เด็กจะมีความอดทนสูง แต่ลึกๆภายในแล้วเต็มไปด้วยความเปาะบางตามความรู้สึกของเด็กที่ขาดความอบอุ่น เพราะญาติจะใช้แรงงานเด็กหนักมากจนแทบไม่มีความเป็นส่วนตัว แต่มีความส่วนตัวแต่ไม่มีความรู้สึกที่ดี ยิ้มแบบร่าเริงแบบเพื่อนๆที่อยู่ร่วมกับพ่อแม่เด็กๆก็จะทำงานหลายรูปแบบ เช่นเก็บปลา แกะปู แกะกุ้ง ในแต่ละพื้นที่ และความเหมาะสมในพื้นที่ต่างๆ แต่ก็ไม่มีผู้ที่ให้ความสนใจกับเด็กๆ และใช้แรงงานกับเด็กแบบถูกบังคับ
3) เลี้ยงดูโดยพี่เลี้ยงน้อง การที่พี่อยู่เป็นผู้เลี้ยงน้องทำให้เด็กน้อยนั้นขาดการอบรมเลี้ยงดูจากผู้ปกครอง ทำให้เด็กนั้นขาดความรู้ความเข้าใจ มารยาทในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น การขาดความอบอุ่นจากครอบครัว ทำให้เป็นเด็กเก็บกดและก้าวร้าวต่อผู้อื่น ทำให้เด็กไม่มีความสุขในการใช้ชีวิต
13507214_284374631915304_1253935657626462285_n
ความสำเร็จในการทำงานเพื่อการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาของเด็กข้ามชาติ สัญชาติกัมพูชา  คือการทำงานร่วมกับผู้มีส่วนร่วมในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องหลายๆ ฝ่าย อาทิ เช่น การทำงานร่วมกับโรงเรียนบ้านคลองมะขาม การประสานงานกับผู้ใหญ่บ้าน  ผู้นำท้องถิ่น ชาวบ้านทั้งคนไทย และคนข้ามชาติชาวกัมพูชา เป็นต้น
จึงส่งผลทำให้เด็กเข้าถึงการศึกษาในระบบเรียนร่วมกับนักเรียนไทยจำนวนมาก  ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกับโรงเรียนบ้านคลองมะขามได้ส่งเด็กในศูนย์เข้าโรงเรียนบ้านคลองมะขามแล้วจำนวน 47 คน แยกเป็นชาย 38 คน หญิง 9 คน ในระยะเวลา 2 ภาคการศึกษา
นอกจากนั้น  ยังได้มีการจัดการเตรียมความพร้อมเด็กเข้าสู่ระบบโรงเรียนของรัฐอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีเด็กในศูนย์ จำนวน 30 คน ชาย 17 คน หญิง 13 คน และเพิ่มระดับการประสานงานกับผู้นำท้องถิ่นอย่างเข้มข้น เพื่อสร้างสัมพันธ์กับชุมชนในการร่วมดำเนินกิจกรรมต่างๆ ทั้งเป็นชุมชนช่วยเหลือเรื่องหาเด็ก และเข้าร่วมกิจกรรมร่วมกับชุมชน เช่น การปลูกป่าชายเลน เป็นต้น โดยการใช้จุดเด่นของศูนย์เตรียมฯ หรือเรียกอีกชื่อ “ตึกสีชมพู” ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่คนในชุมชนจดจำในงานของ LPN ตราด
อีกไม่นาน  เด็กจำนวน 30 คน หรือมากกว่านี้ จะมีโอกาสเข้าเรียนในระบบโรงเรียของรัฐต่อไป
ปัญหาและอุปสรรคในการทำงานพื้นที่ตราด คือ สภาพภูมิอากาศในพื้นที่คือ มีฝนตกบ่อย การสื่อสารของเด็กในศูนย์ส่วนใหญ่สนทนาเป็นภาษากัมพูชาทำให้พอถึงโรงเรียนฟังภาษาไทยได้ แต่ไม่สามารถพูดภาษาไทยออกมาได้ ค่าใช้จ่ายเรื่องของการสมัครเรียนเรียนผู้ปกครองไม่มีความพร้อมเรื่องเงินในการสมัครเรียนโรงเรียนบ้านคลองมะขามทำให้ส่งเงินให้โรงเรียนได้ไม่ตรงตามที่โรงเรียนบ้านคลองมะขามกำหนด ผู้ปกครองส่วนใหญ่ไม่แน่ใจเรื่องชื่อจริงและนามสกุลของเด็ก ทำให้เด็กบางคนไม่รู้ชื่อจริงตัวเอง และทำให้เขียนชื่อจริงเวลาอยู่ในโรงเรียนบ้านคลองมะขามไม่ได้ ต้องฝึกให้เขียนชื่อจริงทุกคน
แนวทางการทำงานต่อเนื่อง คือ การสนับสนุนการเรียนรู้ภาษาไทยในพื้นที่คลองใหญ่สำหรับแรงงานกัมพูชา การสร้างความเข้าในการทำใบเกิดของพ่อแม่ที่ตั้งครรภ์ และทารกที่มีอายุ 0-3 ปี เพื่อให้ได้ใบเกิด ในการได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆของไทย การส่งเสริมอาชีพให้กับแรงงานผู้หญิงที่ไม่ได้ทำงาน เพื่อเป็นการกระตุ้นให้แรงงานผู้หญิงมีงานทำ และมีอำนาจการตัดสินใจในครอบครัว
ภายใต้โครงการ ในปี 2559 มูลนิธิฯ ยังคงมุ่งมั่นดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เด็กข้ามชาติสามารถเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาและป้องกันการใช้แรงงานเด็ก และค้ามนุษย์ในพื้นที่เปราะบางพิเศษในประเทศไทย ต่อไป
สมพงค์  สระแก้ว
นายประพันธ์  พรหมบุตร
มูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (LPN)
5 กรกฎาคม 2559