สมานฉันท์แรงงานเดินหน้า ร้องส.ว. –กรรมการสิทธิให้ตรวจสอบกรณีส.ส.ไม่รับกฎหมายประชาชน

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

วันที่ 9 เมษายน 2556 คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) นำโดยนางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย รองประธานฯ นายยงยุทธ์ เม่นตะเภา เลขาธิการฯ พร้อมด้วยตัวแทนสมาชิกจากกลุ่มสหภาพแรงงาน สหพันธ์แรงงานหลายแห่ง รวมทั้งตัวแทนแรงงานนอกระบบ นางสาวอรุณี ศรีโต ได้เข้ายื่นหนังสือต่อ นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา พลตำรวจตรีขจร สัย ประธานที่ปรึกษากรรมาธิการแรงงานและสวัสดิการสังคมวุฒิสภา ให้วุฒิสมาชิกพิจารณาหลักการร่างพ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับเข้าชื่อของนางสาววิไลวรรณ แซ่เตียและคณะ จากนั้นเดินทางไปยื่นหนังสือต้องนายแพทย์นิรันดร์ พิทักษ์วัชระประธานคณะอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการ เมือง ให้ตรวจสอบการละเมิดสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง

OLYMPUS DIGITAL CAMERAOLYMPUS DIGITAL CAMERA

นางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย รองประธานคสรท. กล่าวว่า ในฐานะผู้แทนผู้เสนอชื่อร่างพระราชบัญญัติประกันสังคมฉบับที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการลงลายมือชื่อเสนอจำนวน  14,264  คน และได้เสนอต่อประธานรัฐสภา ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญในหมวดที่  7 มาตรา 163 เมื่อวันที่ 24 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2553

ต่อมาการประชุมสภาผู้แทนราษฏรชุดที่ 24 ปีที่ 2 ครั้งที่ 24 (สมัยนิติบัญญัติ) วันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม 2556 สภาผู้แทนราษฏรได้พิจารณาวาระที่ 1 ของร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม 4 ฉบับ โดยให้ผู้แทนเจ้าของร่างแต่ละร่างได้ชี้แจงหลักการต่อสภา แต่ในการลงมติรับหลักการวาระ1 สภาผู้แทนราษฏรมีมติให้แยกลงมติทีละฉบับโดยสภาผู้แทนราษฏรไม่รับหลักการร่างฉบับนางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย กับประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งจำนวน 14,264  คน เป็นผู้เสนอ 250 ต่อ 80 เสียง

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

จากการที่สภาผู้แทนไม่รับร่างในครั้งนี้ ประชาชนผู้เสนอชื่อร่างพระราชบัญญัตินี้ ได้รับความเสียหายเป็นอย่างยิ่ง จึงขอให้ขอให้วุฒิสมาชิกพิจารณาหลักการร่างพ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับเข้าชื่อของนางสาววิไลวรรณ แซ่เตียและคณะ ด้วยสาเหตุที่

1. สส.จงใจละเมิดสิทธิของประชาชน และปิดกั้นขัดขวางการใช้สิทธิทางการเมืองโดยตรงของประชาชนที่มีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 163

2. ผู้ใช้แรงงานสิบกว่าล้านคน ไม่มีโอกาสเสนอหลักการและเหตุผลในการแก้ไขกฏหมายประกันสังคมทั้งที่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำคัญ และไม่ได้รับสิทธิเป็นกรรมาธิการวิสามัญ 1ใน 3 ตามรัฐธรรมนูญบัญญัติ

ตนเองในฐานะผู้แทนต้องการให้ประธานวุฒิสภาได้พิจารณาดำเนินการในชั้นการประชุมของวุฒิสภา ในการพิจารณาหลักการและเหตุผลของร่างที่เสนอชื่อโดยประชาชน14,264  รายชื่อ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ใช้แรงงานสิบกว่าล้านคน

OLYMPUS DIGITAL CAMERAOLYMPUS DIGITAL CAMERA

นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา กล่าวว่า จะนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณา ส่วนพลตำรวจตรีขจร สัย ประธานที่ปรึกษากรรมาธิการแรงงานและสวัสดิการสังคมวุฒิสภา กล่าวว่า การที่ภาคประชาชนมีการเสนอร่างกฎหมายประกันสังคม เพื่อการคุ้มครอง และจัดสวัสดิการ ซึ่งความเป็นตัวแทนของผู้เสนอร่างกฎหมายประกันสังคมฉบับดังกล่าวได้มายื่นหนังสือนั้น ตนเห็นด้วย และมีความยินดี วันนี้ในที่ประชุมคณะกรรมาธิการแรงงานวุมิสภา นายชูชัย เลิศพงศ์อดิศร ประธานกรรมาธิการฯได้นำเสนอเรื่องสภาผู้แทนราษฏรที่มีการรับหลักการร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. …. ฉบับที่ ของรัฐบาล และร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. …. ฉบับที่ นายเรวัตน์ กับพวกเสนอ พร้อมที่จะมีการประชุมพิจารณาร่างพ.ร.บ.ทั้ง 2 ฉบับควบคู่กับทางคณะกรรมาธิการการแรงงานสภาผู้แทนราษฎรด้วย

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

เวลา 12.30 น. นางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย และคณะได้เดินทางเข้ายื่นหนังสือต่อนายแพทย์นิรันดร์ พิทักษ์วัชระประธานคณะอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง ให้ตรวจสอบการละเมิดสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง จากการที่สภาผู้แทนไม่รับหลักการร่างของประชาชนในครั้งนี้ สร้างความเสียหายให้กับประชาชนผู้เสนอชื่อร่างพระราชบัญญัติประกันสังคมฉบับนี้ จึงขอให้ประธานคณะอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมืองสิทธิทางการเมือง(นายแพทย์นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ) ได้มีการตรวจสอบการละเมิดสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองในครั้งนี้ ด้วยเหตุผลดังนี้

1. ส.ส.จงใจละเมิดสิทธิของประชาชน และปิดกั้นขัดขวางการใช้สิทธิทางการเมืองโดยตรงของประชาชน ที่มีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา163

2. ส.ส.ไม่ปกป้องสิทธิและเคารพสิทธิของประชาชนในฐานะผู้แทนของปวงชน

3. ส.ส.ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมนักการเมือง

4. ผู้ใช้แรงงานสิบกว่าล้านคน ไม่มีโอกาสเสนอหลักการและเหตุผลในการแก้ไขกฏหมายประกันสังคมทั้งที่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำคัญ และเป็นกฎหมายเข้าชื่อ  อีกทั้งไม่ได้รับสิทธิเป็นกรรมาธิการวิสามัญ 1ใน 3 ตามรัฐธรรมนูญบัญญัติ

OLYMPUS DIGITAL CAMERAOLYMPUS DIGITAL CAMERA

นายแพทย์นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ ประธานคณะอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมืองสิทธิทางการเมือง ได้แสดงความเห็นต่อประเด็นดังกล่าวว่า การที่สภาผู้แทนราษฎรไม่รับร่างพระราชาบัญญัตประกันสังคมฉบับที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการลงลายมือชื่อเสนอจำนวน  14,264  คน โดยอ้างว่าหลักการไม่ตรงกันนั้น แปลกมาก หากภาคประชานเสนอร่างกฎหมายที่มีหลักการเหมือนกันประชาชนจะล่าลายมือชื่อเสนอทำไม อย่างพรบ.ประมงพื้นบ้านก็เสนอเรื่องสิทธิชุมชน เสนอการมีส่วนร่วม ประชาชนก็จะเสนอแบบนี้เพราะนี่คือหลักประกันในชีวิตของเรา หลักการคือต้องการการคุ้มครองสิทธิของแรงงาน ที่ไม่เหมือนกันคือความคิดต่างในรายละเอียดของกฎหมาย ซึ่งควรต้องรับเข้าไปพิจารณาร่วมกันในชั้นกรรมาธิการการแรงงาน มีการแต่งตั้งตัวแทนเข้าเป็นกรรมาธิการเพื่อพิจารณาความเห็นต่างนั้นมีเรื่องอะไรบ้าง และในชั้นกรรมาธิการฯยังสามารถจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นได้ทั้งกับแรงงาน นักวิชาการ เมื่อร่างกฎหมายเข้าสู่สภายังต้องมีการตั้งคณะกรรมการการมีส่วนร่วมในการพิจารณา สภาเป็นเพียงช่างเทคนิคส์ทำกฎหมายให้เกิดขึ้น เนื้อหาของกฎหมายต้องมาถามประชาชน ต้องฟังความเห็นของแรงงาน นักวาการด้วย ถึงจะเป็นหลักประกันว่ากฎหมายจะคุ้มครองจริง ครั้งนี้ผู้ใช้แรงงาน และประชาชนเป็นผูเสนอกฎหมายเองถือว่าดีขบวนการมีส่วนร่วมได้ถูกทำมาตั้งแต่เริ่มร่างกฎหมายแล้ว การมาอังว่าหลักการกฎหมายไม่ตรงกันตนถือว่าอ้างไม่ได้ เพราะต้องคิดต่างอยู่แล้วจึงเสนอเข้าไป

สิ่งที่จะตรวจสอบคือ 1. สภาผู้แทนราษฎรกระทำการผิดขั้นตอนการมีส่วนร่วมของประชาชน ที่สหภาพแรงงาน ได้ร่วมกันล่าลายมือชื่อเสนอเข้ามา 2. การตรวจสอบคงต้องดูเรื่องของสิทธิ ซึ่งจะเชิญทางสมาชิกสภาผู้แทนทั้งที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วยเข้ามาชี้แจงให้ข้อมูล 3. เรื่องการฟ้องร้องนั้น คิดว่าคงต้องรอให้ทางอนุกรรมการสิทธิฯตรวจสอบเสร็จก่อน การจะฟ้องศาลรัฐธรรมนูญ กรณีการที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้สิทธิประชาชนเสนอกฎหมายได้ แต่มีปัญหาที่ทางสภาไม่รับนั้นประชาชนจะฟ้องได้โดยตรง หรือไม่คงต้องมีการศึกษา แต่สามารถเสนอผ่านผู้ตรวจการแผ่นดิน ผ่านกรรมการสิทธิมนุษยชน จึงขอตรวจสอบก่อนและอาจส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ

นักสื่อสารแรงงาน รายงาน