สมานฉันท์ชูธงเปลี่ยนแปลงตัวเองทศวรรษใหม่หวังสร้างความเข้มแข็ง

คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 1 เรื่อง แผนการจัดทำยุทธศาสตร์สู่ทศวรรษใหม่ เพื่อสรุปบทเรียนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การดำเนินงานของคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย และขบวนการแรงงาน ยกระดับการรับรู้ ศึกษาค้นคว้ายุทธศาสตร์ หวังเปลี่ยนแปลงตัวเองให้แข็งแกร่ง

เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ที่โรงแรมเจ้าพระยา ปาร์ค รัชดาภิเษก คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) และมูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท จัดเสวนา “กระจกสะท้อนภาพขบวนการแรงานไทย – ความท้าทายและข้อเสนอแนะ” เพื่อวิเคราะห์ขบวนการแรงงานกับการเคื่อนไหวทางสังคม และสะท้อนความคาดหวังต่อขบวนการแรงงานในอนาคต

นายชาลี ลอยสูง ประธานคสรท. กล่าวว่า คสรท. เป็นองค์กรอิสระเพื่อพี่น้องผู้ใช้แรงงงาน และมีแรงงานทุกภาคส่วนทั้งในและนอกระบบ แรงงานข้ามชาติ เกษตรพันธสัญญา และอื่น ๆ เป็นเครือข่าย ในสิบปีที่ผ่านมาเราเป็นองค์กรที่มีเอกภาพ ต่อจากนี้คือการร่วมกันวางแผนให้องค์กรแรงงานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เสริมสร้างความเข้มแข็ง ความสมานฉันท์ สิ่งสำคัญคือจะทำอย่างไรให้ผู้ใช้แรงงานมาร่วมมือกัน จึงคิดว่าต้องดูความต้องการของคนในขบวน ความเดือนร้อนของพี่น้องในเพื้นที่ จากนี้คสรท.จะลงไปพบพี่น้องในพื้นที่เพื่อรับฟังความคิดเห็นมาทบทวนเพื่อมาปรับเป็นยุทธศาสตร์ และความเป็นเอกภาพในการขับเคลื่อน

“อยากฝากไว้ว่าเราต้องช่วยกันเป็นเจ้าของ คสรท. เพื่อความสามัคคีจากพี่น้องทั้งภายในและนอกประเทศ เราต้องเอาความคิดต่างมาคุยกัน เพื่ออนาคตของขบวนการแรงงาน ที่ผ่านมาผู้นำของเราล้มตายไปเยอะ แต่บวนการยังไม่สำเร็จลุล่วง เราต้องมาหลอมรวมกันขับเคลื่อนเพื่อเป้าหมายเดียวกัน พวกเราไม่มีทั้งเงิน อำนาจ บารมี แต่พวกเรามีอยู่อย่างเดียวคือพลังของการต่อสู้ ถ้าเรามีพลัง สามสิ่งที่กล่าวมาจะไม่สามารถสู้ได้ พวกเราต้องแลกเปลี่ยนกันเพื่อนำยุทธศาสตร์มาขับเคลื่อนให้ได้” ประธานคสรท. กล่าว

ด้านนายศิโรตม์ คล้ามไพบูรณ์ นักวิชาการอิสระ กล่าวว่า โจทย์ที่สำคัญคือทำอย่างไรให้เสียงของผู้ใช้แรงงานเป็นเสียงที่สำคัญในสังคม หลายเรื่องที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้แรงงานคนไม่สนใจ เช่นเรื่องค่าแรง 300 สังคมมุ่งความสนใจและตั้งคำถามกับนายจ้าง และคนกรุงเทพฯ ไม่มองมาที่คนงานจึงคิดว่าคนงานต้องทำให้เสียงเป็นที่ยอมรับของคนในสังคม ส่วนของขบวนการแรงงาน ปัญญาชนในขบวนต้องเป็นปากสียงให้คนงานได้ และสังคมก็ฟังเสียงของเค้าเพรามันน่าเชื่อถือ นอกจากนั้นการมีปัญญาชนในขบวนจะช่วยการวางแผน

 “นอกจากนั้นขบวนแรงงานควรพูดถึงเรื่องของสังคมและส่วมรวมมากขึ้น เสียงของคนงานจึงจะไปถึงสาธารณะ ขบวนการแรงงานจะมีท่าทีต่อเรื่องส่วนรวมอย่างไร เช่น บททบาทของคนในขบวนแรงงานในเรื่องสังคม การเมือง สิทธิมนุษยชน สิ่งแวดล้อมเป็นอย่างไร” นายศิโรตม์ กล่าว

ทางด้านนางสาวนภาพร อติวานิชยพงศ์ สำนักบันฑิตอาสาสมัครมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า สิ่งที่คาดหวังต่อขบวนการแรงงานคือใน 5-10 ปี อยากให้มีองค์กรนำระดับชาติ และมีการต่อสู้เพื่อแรงงานทุกกลุ่มทั้งในและนอกระบบ แรงงาข้ามชาติ แรงงงานไร้รัฐ แรงงานไทยที่ไปทำงานต่างประเทศ และคิดว่าขบวนการแรงานต้องทำอะไรร่วมกับสังคมนอกจากประเด็นแรงงาน เช่นประเด็นประชุมชน

ในช่วงบ่ายนายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ได้ร่วมกันประกาศเจตนารมณ์ สู่ทศวรรษใหม่ด้วยหลายทศวรรษที่ผ่านมากระแสโลกาภิวัตน์ที่ถาโถมเข้าสู่ประเทศไทย ได้ก่อให้เกิดการกดขี่ขูดรีดเอารัดเอาเปรียบมวลพี่น้องผู้ใช้แรงงานของเราอย่างหนักหน่วง เกิดการจ้างงานที่เลวร้ายในรูปแบบใหม่ ๆ มีความพยายามทั้งที่เปิดเผยและซ่อนเร้นในอันที่จะแทรกแซง ทำลายความเป็นเอกภาพและอำนาจการต่อรองของฝ่ายผู้ใช้แรงงาน โดยฝ่ายรัฐและทุน พวกเขาได้สมคบกันสร้าง กลไก มาตรการ นโยบายและกฎหมายที่เอื้อประโยชน์ให้กับฝ่ายทุน ยิ่งนานวัน สถานการณ์ยิ่งเลวร้าย ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนยิ่งขยายถ่างมากขึ้น นี่คือสิ่งท้าทายต่อความสามารถของขบวนการแรงงานของเรา เราถูกทำให้อ่อนแอมานานหลายทศวรรษ ถึงเวลาที่จะร่วมกันสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้กับขบวนการแรงงาน เราจะต้องเร่งผนึกกำลัง ฟื้นฟูสร้างขบวนการแรงงานของเราให้เข้มแข็งเป็นเอกภาพ พร้อมที่จะต่อสู้เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิตความเป็นอยู่ของมวลพี่น้องผู้ใช้แรงงานให้ดีขึ้น และสร้างสังคมที่เป็นธรรม

พวกเราในนามคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยขอประกาศเป็นเจตนารมณ์ร่วมกัน ในวันที่ 24 มิถุนายน 2555 ดังต่อไปนี้

1.  พวกเราขอสัญญาร่วมกันว่าจะทุ่มเท กำลังกาย กำลังใจ กำลังสมองและทุนทรัพย์เพื่อ สร้างคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยให้เข้มแข็ง เป็นเอกภาพและมีพลังอำนาจที่จะนำการต่อสู้เพื่อผลประโยชน์ของมวลพี่น้องผู้ใช้แรงงาน

2. เราจะเร่งขยายการจัดตั้งและร่วมกันทำให้คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยให้เป็นองค์กรประชาธิปไตยที่เป็นของ โดย และเพื่อ คนงานทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็น คนงานในภาครัฐ เอกชน ในระบบ นอกระบบ พี่น้องแรงงานที่ไปทำงานในต่างประเทศ เกษตรพันธสัญญาและแรงงานข้ามชาติ

3. ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น เราจะร่วมกันต่อสู้ เคียงบ่า เคียงไหล่ เพื่อผลประโยชน์ของพี่น้องผู้ใช้แรงงาน พวกเราจะไม่ทอดทิ้งกัน  ยามมีทุกข์เราจะทุกข์ด้วยกัน   ยามมีสุขเราก็จะสุขด้วยร่วมกัน

4. เราจะร่วมมือกับขบวนภาคประชาสังคมอื่นๆ เพื่อร่วมกันสร้างสังคมไทยที่มีความเป็นธรรม เป็นประชาธิปไตยและมีสวัสดิการที่ดี

5. เราจะมุ่งมั่นทำตามคำขวัญของเราที่ว่า "เปลี่ยนแปลงตัวเองให้แข็งแกร่งเพื่อเปลี่ยนแปลงโลกในที่สุด"