แรงงาน!จัดตั้งอย่างไรให้ยั่งยืนมีคุณภาพ?

DSCN9616

เมื่อวันที่ 26 มิ.ย. เวลา 10.00 น. ที่ผ่านมา คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ได้มีการประชุมระดมความคิดเห็นร่วมกันเรื่อง ปัญหา อุปสรรคและแนวทางการจัดตั้งแรงงานแต่ละภาคส่วน ที่ห้องประชุมศุภชัย ศรีสติ พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย มักกะสัน กทม.

ในปัจจุบันมีการจัดตั้งสหภาพแรงงานเกิดขึ้นมากกว่า 200 แห่ง แต่สัดส่วนในการจัดตั้งสหภาพแรงงานในประเทศไทยยังน้อยมากเมื่อเทียบกับต่างประเทศ เหตุที่สัดส่วนของการจัดตั้งสหภาพแรงงานไม่เพิ่มขึ้น เนื่องมาจากภาคเกษตรกรรมได้เข้ามาสู่ภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น และแรงงานภาคอุตสาหกรรมเคลื่อนออกไปสู่แรงงานนอกระบบ และแรงงานยังถูกแบ่งแยกประเภทออกจากกัน ในขณะที่มีผู้ใช้แรงงานที่ใช้ประกันสังคมอยู่ 9,000,000 กว่าคน แต่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานเพียงแค่ 500,000 กว่าคน

ผู้นำแรงงานข้ามชาติกลุ่มหนึ่งกล่าวถึงสภาพปัญหาว่า “ในการจัดตั้งสหภาพแรงงานนั้น แรงงานข้ามชาติไม่สามารถก่อตั้งสหภาพแรงงานได้ เพราะกฎหมายได้กำหนดไว้ และการเข้าถึงสิทธิแรงงานนั้นยาก เพราะนายจ้างมีอิทธิพลสูงโดยเฉพาะในด้านการเกษตร นายจ้างจะตรวจสอบรู้ข้อมูลทั้งหมดว่าลูกจ้างไปไหน ไปทำอะไร รวมกลุ่มกันทำไม แรงงานข้ามชาติจึงรวมกลุ่มกันยาก ถ้ารวมกลุ่มกันได้ก็จะทำได้เพียงแค่การกิจกรรมประเพณีวัฒนธรรมเช่น การฟ้อนรำ หรือการพูดถึงความปลอดภัย ประกันสังคมเท่านั้น ถ้าเรื่องสิทธิพูดไม่ได้ และแรงงานข้ามชาติ พม่า ไทยใหญ่ เข้ามาทำงานตามร้านอาหาร ก่อสร้าง ขายของ เยอะมาก แต่ได้ค่าจ้าง 80 – 100 บาท ซึ่งไม่ได้ตามค่าจ้างขั้นต่ำตามที่รัฐบาลประกาศ เพราะงานน้อยกว่าคนทำงาน นายจ้างจึงมีสิทธิเลือกและกดค่าจ้างได้ และแรงงานก็ขัดแย้งกันเองเพราะแย่งงานกันทำ รวมทั้งแรงงานข้ามชาติไม่เคยอยู่ในประเทศแบบประชาธิปไตยมาก่อน จึงไม่กล้าเรียกร้องสิทธิ ปัญหาเรื่องภาษา ความรู้กฎหมาย กลไกเจ้าหน้าที่ ขั้นตอนวิธีการ และการอยู่กันแบบกระจายล้วนเป็นข้อจำกัดของการรวมกลุ่มของแรงงานข้ามชาติ

DSCN9629DSCN9644

การระดมความคิดเห็นต่อสถานการณ์ปัญหาการทำงานจัดตั้งแรงงานแต่ละกลุ่มพบว่า เป็นปัญหาที่เกิดจากนโยบายการต่อต้านสหภาพแรงงาน สำหรับในประเทศไทย สถานการณ์การจัดตั้งสหภาพแรงงานมีความยากลำบากกว่าประเทศอื่นๆ คือ ทั้งไม่มีสิทธิ และไม่ทราบสิทธิของตนเอง โดยปัญหาต่างๆแบ่งเป็น
DSCN9641ปัญหาที่เกิดกับตัวผู้นำสหภาพแรงงาน คือข้อจำกัดของผู้นำแรงงานที่มาทำงานในสหภาพแรงงานจะไม่ค่อยมีโอกาสเติบโตในการงานประจำ ถูกย้ายงาน ลดตำแหน่ง ถูกกลั้นแกล้งหรือกดดันจากนายจ้างในรูปแบบต่างๆ จนกระทั่งถูกเลิกจ้างในที่สุด ต้องเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาครอบครัว
ปัญหาที่เกิดจากนายจ้าง พบว่านายจ้างพยายามหายุทธวิธีทำลายสหภาพแรงงานทุกรูปแบบ ทั้งสร้างให้เกิดข้อจำกัดกับตัวผู้นำโดยตรง ไม่ยอมรับบทบาทหน้าที่ของสหภาพแรงงานในสถานประกอบการ ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่รัฐทั้งในระดับชาติและท้องถิ่นเพื่อทำลายสหภาพแรงงาน การตั้งบริษัทลูกเพื่อลดการรวมตัวของลูกจ้างลง
DSCN9598ปัญหาที่เกิดจากนโยบายรัฐและเจ้าหน้าที่รัฐ เมื่อยังไม่มีการรับรองอนุสัญาไอแอลโอฉบับที่ 87 และ 98 กฎหมายแรงงานสัมพันธ์จึงไม่เอื้อหรือสนับสนุนให้การดำเนินงานของสหภาพแรงงานมีความยั่งยืนจริง เป็นช่องทางในการให้นายจ้างหลบเลี่ยงการปฏิบัติตามกฎหมาย แต่เอื้อให้เกิดการละเมิดสิทธิแรงงานมากขึ้นแทน เจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องกับแรงงานสัมพันธ์รับงานในตำแหน่งที่ปรึกษานายจ้าง เพื่อให้นายจ้างรู้วิธีการไม่ให้การทำงานของลูกจ้างประสบความสำเร็จ
ปัญหาที่เกิดจากแบ่งแยกประเภทแรงงาน เช่น แรงงานในระบบ แรงงานนอกระบบ แรงงานเกษตร แรงงานข้ามชาติ แรงงานภาคบริการ และแรงงานกลุ่มอื่นๆ ทำให้ยากต่อการรวมตัวกัน

ที่ประชุมเห็นตรงกันว่า การจัดตั้งสหภาพแรงงานจะยั่งยืนได้จะต้องสร้างความรับรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อการจัดตั้งการรวมตัวรวมกลุ่มของแรงงาน มีการสื่อสารให้ข้อมูลข่าวสารในการมารวมเป็นสหภาพแห่งเดียวกันให้ได้จริง โดยต้องพยายามสร้างให้เกิดสภาพแวดล้อม กฎหมาย การเมือง เศรษฐกิจ สังคม ที่เอื้อต่อการทำงานจัดตั้ง

ทั้งนี้ ภายใน 2 ปีแรกของแผนยุทธศาสตร์ คสรท. ได้กำหนดยุทธศาสตร์เป็นการเฉพาะว่าด้วยรูปแบบองค์กรและแนวทางการจัดตั้งองค์กรแรงงานที่เหมาะสมแก่แรงงานแต่ละกลุ่ม ได้แก่ข้าราชการและลูกจ้างรัฐ แรงงานในภาคบริการ แรงงานในกิจการก่อสร้าง แรงงานในกิจการขนาดเล็กและขนาดกลาง แรงงานในภาคเศรษฐกิจนอกระบบ แรงงานภาคเกษตร และแรงงานข้ามชาติ

DSCN9600 DSCN9606

อัยยลักษณ์ เหล็กสุข
นักสื่อสารแรงงานกลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก รายงาน