ภาคีแรงงานจับมือภาคประชาชนยื่นข้อเสนอ การฟื้นฟูเศรษฐกิจสังคม หลังโควิด-19

ภาคีสังคมแรงงานสู้วิกฤติโควิด ร่วมกับคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาอกชน (กป.อพช.) และเครือข่ายกลุ่มต่างๆ เพื่อแสดง จุดยืนและข้อเสนอ องค์กรภาคี ต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมจากผลกระทบการระบาดของโรคโควิด-19

นานาทัศนะ : แรงงานผนึกพลังสังคมขับเคลื่อนความเป็นธรรมในวิกฤติโควิด

  แรงงานผนึกพลังสังคมขับเคลื่อนความเป็นธรรมในวิกฤตโควิด มานิตย์ พรหมการีย์กุล ประธานสภาองค์การลูกจ้างแรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย ข้อกังวลของแรงงานคือตอนนี้นายจ้างเริ่มจะมีผลกระทบจากยอดการผลิตการส่งออกลดลงเกิน 50% เกือบทุกบริษัท ทั้งผู้ผลิตรถยนต์และซัพพลายเออร์ หลายบริษัทให้พนักงานหยุดงาน โดยเฉพาะพนักงานซับคอนแทรคให้ส่งกลับต้นสังกัดแต่ไม่ได้บอกว่าเลิกจ้าง ทำให้พนักงานกลุ่มนี้ซึ่งหลายคนทำงานมา 6-7 ปี จะไปฟ้องศาลแรงงาน แต่นิติกรบอกฟ้องไม่ได้เพราะยังไม่ถูกได้เลิกจ้าง ทำให้ฟ้องศาลเพื่อเอาเงินชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน 2541ไม่ได้ พนักงานที่ถูกส่งกลับบริษัทซับคอนแทรคก็ไม่มีระยะเวลาแน่นอนว่าจะเรียกให้มาทำงานเมื่อใด ส่วนพนักงงานประจำ มีปัญหาจากการที่มีกฎกระทรวงเรื่องเหตุสุดวิสัย คือสถานประกอบการไม่สามารถดำเนินกิจการได้หรือไม่สามารถผลิตได้เป็นบางส่วน แต่นายจ้างได้ให้พนักงานหยุดงานบ้างมาทำงานบ้างโดยที่สายการผลิตยังทำงานอยู่จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ของกฎกระทรวง กลุ่มนี้ไม่ชัดเจนว่าจะได้รับเงินชดเชยตามกฎหมายและยังไม่รู้ว่าจะถูกเรียกเข้ามาทำงานเมื่อใด ส่วนพนักงานอีกจำนวนหนึ่งที่ต้องออกไปเลย ต้องตกงานโดยไม่รู้ว่าจะไปอยู่ที่ไหน ในส่วนของภาคแรงงานจึงต้องเชื่อมโยงประสานความร่วมมือกับภาคเครือข่ายสังคม ทั้งองค์กรพัฒนาเอกชน อาจารย์มหาวิทยาลัยและนักวิชาการอิสระ ซึ่งต่างก็ได้รับผลกระทบ ภาคีสังคมแรงงานสู้วิกฤตโควิด เป็นการรวมกันของหลายๆภาคส่วนที่เวลามาประชุมหารือได้เอาหลายความคิดมารวมกันทำให้ได้มุมมองที่หลากหลาย ถือว่าเป็นประโยชน์มาก แต่การที่จะนำผลสรุปไปเสนอต่อรัฐบาลก็ต้องให้รัฐบาลมองเห็นความสำคัญของภาคีด้วย วิจิตร ดาสันทัด ประธานสหพันธ์แรงงานธุรกิจโรงแรมและบริการภูเก็ต ข้อกังวลห่วงใยคือลูกจ้างไม่มีกินไม่มีใช้ จะทำให้ชีวิตพวกเขายากลำบากและเป็นปัญหาสังคมตามมามากมาย ในจังหวัดภูเก็ตก็ได้รับผลกระทบจำนวนหลายแสนคนทั้งโดยตรงและโดยอ้อม คือกระทบกับครอบครัวของลูกจ้างซึ่งภูมิลำเนาอาจไม่ได้อยู่ที่ภูเก็ตต้องเดือดร้อนไปด้วย ภาคีสังคมแรงงานสู้วิกฤตโควิดที่ทำกันขึ้นมา เพื่อระดมความคิดเห็นสะท้อนปัญหาที่ตรงเป้าตรงประเด็นสู่ผู้มีอำนาจในการแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดอย่างฉับไว ส่วนในการฟื้นฟูเท่าที่ได้ติดตาม คาดว่าจะได้การช่วยเหลือทั้งโดยตรงและโดยอ้อมที่จะก่อให้เกิดการจ้างงาน ก่อให้เกิดการซื้อขายเงินสะพัด จึงเสนอว่าให้เร่งทำให้เร็วเพราะยิ่งช้าปัญหาจะยิ่งลุกลามบานปลาย แต่ทำเร็วก็อยากให้แก้ปัญหาให้ตรงจุด ไม่ใช้แก้แบบหว่านแหสะเปะสะปะไปเรื่อย เงินมีน้อยอยู่แล้วถ้านำไปใช้จ่ายผิดประเภทหรือผิดทาง ก็จะทำให้การช่วยเหลือมาไม่ถึงผู้เดือดร้อนโดยตรง ศิริจรรยาพร แจ้งทองหลาง เลขาธิการสหภาพแรงงานชิ้นส่วนยานยนต์ไทย ความกังวลต่อสถานการณ์คือจะมีการปรับลดขนาดองค์กรลงในอนาคตอย่างแน่นอน […]

แรงงานหลังโควิด-19

การจ้างงานและการคุ้มครองทางสังคมหลังโควิด Employment and Social Protection after Covid โดย ภาคีสังคมแรงงานสู้วิกฤตโควิด ร่วมกับ มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท(Friedrich-Ebert-Stiftung) ความเป็นมา การระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ผู้ใช้แรงงานหลายล้านคนได้รับความเดือดร้อนทางเศรษฐกิจอย่างแสนสาหัส กลุ่มแรกคือแรงงานในภาคการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เฉพาะกิจการโรงแรม มีแรงงานทั้งหมดราว 1.63 ล้านคน อยู่ในระบบประกันสังคม ทั้งหมดต้องหยุดงานไม่มีรายได้ ต่อมาคือกลุ่มแรงงานนอกระบบ ทั้งหมดประมาณ 21 ล้านคน ราว 7 ล้านคนทำงานในภาคการค้าและบริการในเขตเมือง เกือบทั้งหมดต้องหยุดงานและไม่มีรายได้ หรือมีงานและรายได้น้อยลง ปัจจุบันผลกระทบกำลังขยายสู่แรงงานอุตสาหกรรมการผลิตมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งมีโรงงานหลายแห่งเริ่มปิดการผลิตบางส่วนแล้ว กลุ่มนี้เป็นแรงงานในระบบประกันสังคมซึ่งมีทั้งหมดราว 11.6 ล้านคน บางส่วนต้องหยุดงาน ไม่มีรายได้ บางส่วนมีงานและรายได้น้อยลง จากผลกระทบที่กว้างขวางครอบคลุมแทบทุกภาคส่วน ประเมินกันว่ามีแนวโน้มที่จะรุนแรงไม่น้อยกว่าวิกฤตเศรษฐกิจในอดีต นั่นหมายถึงแรงงานหลายล้านคนจะได้รับผลกระทบทั้งระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว  ทางสหภาพแรงงานและภาคีจากภาคสังคมจึงประสานความร่วมมือกันเป็น “ภาคีสังคมแรงงานสู้วิกฤตโควิด” และจัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อรวบรวมข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องมาพัฒนาเป็นองค์ความรู้สำหรับใช้พัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ทั้งเพื่อลดความเดือดร้อนเฉพาะหน้าและช่วยให้แรงงานปรับตัวสู่สถานการณ์หลังโควิดได้ วัตถุประสงค์ รวบรวมปัญหาและความต้องการของผู้ใช้แรงงานที่ได้รับผลกระทบจากโควิดมาสังเคราะห์เพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ทั้งระยะสั้นและระยะยาว จัดทำสื่อเพื่อรณรงค์เผยแพร่ให้มีนโยบายที่ช่วยลดผลกระทบต่อผู้ใช้แรงงานทุกกลุ่มอย่างครอบคลุม ทั้งระยะสั้นและระยะยาว ส่งสริมเครือข่ายความร่วมมือและการปรึกษาหารือระหว่างกลุ่มต่างๆที่เกี่ยวข้อง   แรงงานผนึกพลังสังคมขับเคลื่อนความเป็นธรรมในวิกฤตโควิด […]

แรงงานข้ามชาติที่ถูกลืม ในสมรภูมิโควิด-19

 ชี้แรงงานข้ามชาติอยู่อย่างยากลำบาก ขาดการดูแลและเข้าถึงสิทธิการป้องกันไวรัสโควิด-19 ว่างงาน ไม่ได้รับการต่อสัญญาจ้าง ตกงานไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายแรงงาน กลับประเทศต้นทางไม่ได้ แรงงานที่ระดมความช่วยเหลือกันเองเพื่อยังชีพ

ภาคีสังคมแรงงาน เสนอแผนการฟื้นฟูหลังวิกฤติโควิด-19

ภาคีสังคมแรงงานสู้โควิด ระดมเตรียมเสนอการฟื้นฟูแรงงานหลังวิกฤติโควิด-19 รัฐบาลเตรียมพร้อมใช้งบ 4 แสนล้าน สนับสนุนสร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจชุมชน พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ อ้างคลุมทุกกลุ่มของประชมชนในประเทศ

การจ้างงานและการคุ้มครองทางสังคมหลังโควิด

ภาคีสังคมแรงงานสู้วิกฤตโควิด ร่วมกับ มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท จัดทำโครงการ การจ้างงานและการคุ้มครองทางสังคมหลังโควิด เพื่อการรวบรวมปัญหาผลกระทบสื่อสาร และเสนอการฟื้นฟู

เครือข่ายแรงงาน และนักศึกษา เรียกร้องยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉิน และเยียวยาประชาชนแบบถ้วนหน้า

สพท. สหภาพนักเรียน นิสิต นักศึกษาและกลุ่มแรงงาน ยื่นจดหมายเปิดผนึกถึงนายก เสนอเร่งด่วนให้ รัฐบาลต้องยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และแจกเงินเยียวยาให้ประชาชนอย่างถ้วนหน้า

อ้างโควิด-19 เลิกจ้าง 896 คนเคว้ง ร้องรมว.แรงงานแก้ปัญหาด่วน

คสรท.บุกพบหม่อมเต่า หลังนายจ้างวิงสแปนอ้างโควิดเลิกจ้าง 896 คน แรงงานที่ส่งประกันสังคมไม่ครบใช้ว่างงานไม่ได้ ส่งไปขอสิทธิ”เราไม่ทิ้งกัน” ที่กระทรวงการคลัง

สรส.เสนอตั้งคณะทำงานฟื้นฟู มติร่วมปกป้องการบินไทยให้เป็นสายการบินแห่งชาติ

สรส.แถลงการณ์ เสนอตั้งคณะทำงานฟื้นฟูการบินไทย มติเป็นเอกฉันท์ร่วมปกป้องให้เป็นสายการบินแห่งชาติ แจงไม่ไว้วางใจต่อกระบวนการในการฟื้นฟูของรัฐบาล

คสรท.หอบคนท้อง ร้องทุกข์ 2 อธิบดี นายจ้างไร้มนุษยธรรมเลิกจ้างคนท้อง-คนพิการ

คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย หอบคนงานท้อง ร้องทุกข์ 2 อธิบดีทั้งกรมสวัสดิการแรงงาน กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ให้แก้ปัญหานายจ้างเลิกจ้างคนงานท้อง – คนพิการ แถมกรณีความเดือดร้อนของแรงงานข้ามชาติ

1 27 28 29 253