นักข่าวพลเมือง:การช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติ

ข่าว Thai PBS 25 ต.ค. 54 กลุ่มแรงงานข้ามชาติที่ประสบภัยน้ำท่วมส่วนหนึ่งนั้นสามารถที่จะอพยพข้ามเขตไปอยู่กับญาติได้แล้ว แต่ว่ายังมีอยู่บางส่วนที่ไม่สามารถที่จะออกจากพื้นที่ได้ เนื่องจากว่ามีข้อผูกมัดกับนายจ้างและบางคนก็ต้องทนอยู่ในพื้นที่ ที่มีน้ำท่วมสูงโดยถูกตัดขาดจากการช่วยเหลือจากโลกภายนอก นักข่าวพลเมือง เครือข่ายสื่อสารแรงงาน รายงาน

นักข่าวพลเมือง:แรงงานข้ามชาติผู้ประสบภัยน้ำท่วม

ข่าว Thai PBS 22 ต.ค. 54 ในกลุ่มผู้ประสบภัยยังมีกลุ่มแรงงานข้ามชาติที่ความช่วยเหลือยังเข้าไปไม่ถึง องค์กรที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับด้านแรงงานก็พยายามจะประสานหน่วยงานต่างๆ เพื่อจะให้ความช่วยเหลือเข้าถึงให้ได้มากที่สุด ทันทีที่เห็นเรือขนของเสบียงเข้ามาช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติกลุ่มนี้ต่างแสดงความดีใจเพราะว่าเขายืนรออาหารอยู่ที่นั่นมาหลายชั่วโมงแล้ว เกือบ 10 วัน ที่ผ่านมาพวกเขาต้องอยู่อย่างอดมื้อ กินมื้อ อาหารที่ติดบ้านก็ใกล้จะหมดเต็มที แรงงานข้ามชาติกลุ่มนี้เดินทางมาจากประเทศพม่าแต่เป็นชาวอลากันอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของพม่า มีเพียงบางคนที่มาจากรัฐกระเหรี่ยงซึ่งทั้งหมดทำงานอยู่ในโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์แห้งหนึ่ง ใน อ.สามโคก จ.ปทุมธานี แต่เมื่อวันที่ 13 ต.ค. ที่ผ่านมา น้ำเหนือได้ท่วมทะลักเข้ามาใน จ.ปทุมธานี ซึ่ง อ.สามโคก อยู่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยาโดยมีน้ำท่วมสูงกว่า 1 เมตร ทำให้โรงงานแห่งนี้ต้องปิดตัวลงส่งผลให้แรงงานหลายร้อยคนต้องตกงาน โดยเฉพาะที่เป็นแรงงานข้ามชาติ นักข่าวพลเมือง เครือข่ายสื่อสารแรงงาน รายงาน

วีดีโอ ในวิกฤติ มีโอกาส

น้ำท่วมครั้งนี้ถือเป็นวิกฤติครั้งใหญ่ของหลายคน รวมทั้งผู้ใช้แรงงานในระบบและนอกระบบ หนุ่มสาวโรงงานนต้องหยุดงาน พ่อค้าแม่ขายไม่สามารถขายของได้ แต่พวกเขากลับไม่ย่อท้อ พลิกวิกฤติเป็นโอกาส โดยการต่อเรือด้วยวัสดุที่พอหาได้ อำนวยความสะดวกให้กับผู้เข้าออกซอย มีรายได้พอยังชีพอยู่ได้ ( 20 ต.ค. 54 )   รายงานโดย นักสื่อสารโครงการสื่อสารฯ

วีดีโอ คนงานสระบุรีและอยุธยาทวงสัญญาจากรัฐบาลเรียกร้องค่าจ้าง 300 บาท

จากการที่รัฐบาลประกาศปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท โดยจะนำร่องใน 7 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพและปริมลฑล รวมทั้งจังหวัดภูเก็ต ทั้งที่เคยประกาศนโยบายหาเสียงไว้ว่าจะปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาท เท่ากันทั่วประเทศ ทำให้ลูกจ้างใน จ.อยุธยาและ จ.สระบุรี ซึ่งอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมเพราะค่าครองชีพก็สูงพอๆ กัน คนงานใน จ.สระบุรีและใกล้เคียงจึงได้รวมตัวกันเพื่อยื่นหนังสือต่อผู้ว่าราชการ จังหวัดสระบุรี เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนการปรับค่าจ้างขั้นต่ำโดยขอให้ขึ้น 300 บาท เท่ากันทั่วประเทศ การเคลื่อนไหวในครั้งนี้สะท้อนถึงความตั้งใจของผู้ใช้แรงงานที่ต้องการค่าจ้างที่เป็นธรรมและต้องการให้รัฐบาลแสดงความจริงใจต่อผู้ใช้แรงงาน โดยรับผิดชอบต่อนโยบายค่าแรงขั้นต่ำที่ได้เคยประกาศไว้ในช่วงหาเสียง   รายงานโดย นักสื่อสารแรงงานศูนย์พื้นที่สระบุรี

วีดีโอ เวทีรับฟังความคิดเห็นสภาผู้ชมเครือข่ายแรงงานนอกระบบและแรงงานข้ามชาติ

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน 2554 ที่ผ่านมา โครงการรับฟังความคิดเห็นและขยายเครือข่ายเพื่อสาธารณะสภาผู้ชมและผู้ฟังรายการ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) ได้เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากเครือข่ายแรงงานนอกระบบและแรงงานข้ามชาติ เพื่อรับฟังข้อเสนอจากผู้ชมรายการของ Thai PBS จากกลุ่มเครือข่ายผู้ใช้แรงงาน ซึ่งครั้งนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่สอง หลังจากมีการจัดขึ้นครั้งแรกในกลุ่มเครือข่ายผู้ใช้แรงงานในระบบ โดยวันนี้มีผู้เข้าร่วมโครงการกว่า 60 คน ได้ร่วมกับตอบแบบสอบถามและร่วมแสดงความคิดเห็นต่อรายการของ Thai PBS โดยสรุปข้อเสนอในประเด็นหลักๆ คือ ควรมีรายการข่าวเชิงวิเคราะห์มากขึ้น จัดผังเวลาออกอากาศที่เหมาะสมกับกลุ่มคนดู และควรเพิ่มรายการที่มีภาคประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมเพิ่มมากขึ้นและเข้าไปทุกกลุ่ม   รายงานโดย สราวุธ ขันอาสา นักสื่อสารแรงงานศูนย์สื่อสารแรงงานระยอง-ชลบุรี

วีดีโอ เวทีรับฟังความคิดเห็นสภาผู้ชมเครือข่ายแรงงานในระบบ

นักสื่อสารแรงงานและเครือข่ายแรงงานในระบบ เพื่อน Thai PBS เข้ารับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะกลุ่มแกนนำประสานเครือข่ายเพื่อสื่อสาธารณะและกลุ่มผู้ชมเข้มข้นในภูมิภาค ในวันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน 2554 ที่ผ่านมา ณ ห้องทับทิม โรงแรมรัตนโกสินทร์ กทม. ซึ่งจัดโดยโครงการรับฟังความคิดเห็นและขยายเครือข่ายเพื่อนสาธารณะสภาผู้ชมและผู้ฟังรายการ นับตั้งแต่มีการกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) พ.ศ. 2551 ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในระบบสื่อสารสังคมไทยเนื่องจากการกำเนิดของสถานีโทรทัศน์ Thai PBS ซึ่งดำเนินงานโดยประชาชนมีส่วนร่วมรวมถึงมุ่งให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนและต่อสังคม สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อมผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็นโดยผ่านสภาผู้ชมและผู้ฟังที่มาจากการคัดเลือกทั่วประเทศจำนวนไม่เกิน 50 คน   รายงานโดย สมหมาย ประไว นักสื่อสารแรงงาน voicelabour

วีดีโอ ฝึกอบรมนักสื่อสารเกษตรกรพันธสัญญา

กว่า 3 ทศวรรษ รัฐไทยเชื่อว่าระบบเกษตรพันธสัญญาเป็นทางออกให้กับเกษตรกรแต่ในความเป็นจริงแล้วกลับเอื้อประโยชน์ให้แก่นายทุนมากกว่า และที่ผ่านมาเรื่องราวความเดือดร้อนยังไม่ได้นำเสนอต่อสังคมมากนัก ดังนั้นเครือข่ายเกษตรกรพันธสัญญาจึงได้จัดอบรมนักสื่อสารเกษตรพันธสัญญาขึ้นระหว่างวันที่ 29-30 สิงหาคม 2554 ณ อ.หางดง จ.เชียงใหม่ โดยเชิญคณะวิทยากรที่มีประสบการในการฝึกทักษะการผลิตสื่อ จากโครงการพัฒนาสื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนขบวนการแรงงาน   รายงานโดย นักสื่อสารเครือข่ายเกษตรกรพันธสัญญา

วีดีโอ ปลูกอ้อยพันธสัญญาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชีวิตคน

ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมของการปลูกอ้อย กรณีศึกษากลุ่มปลูกอ้อย ต.ดงมูล ในอดีตพื้นที่ส่วนใหญ่ ต.ดงมูล มีความอุดมสมบูรณ์ซึ่งเต็มไปด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติ ซึ่งเมื่อก่อนเป็นพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง ข้าวโพด ปอ เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2535 เกษตรกรได้นำอ้อยเข้ามาปลูกซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร เนื่องมาจากการใช้สารเคมีในการทำการเกษตรและสิ่งสำคัญอ้อยเป็นพืชเชิงเดี่ยวไม่สามารถทำเป็นเกษตรแบบผสมผสานได้ซึ่งยากต่อการดูแลรักษา เนื่องจากอ้อยต้องใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืชและวัชพืชเสี่ยงต่อต้นทุนในการผลิต   รายงานโดย นักสื่อสารเครือข่ายเกษตรกรพันธสัญญา

วีดีโอ ผู้เลี้ยงหมูสู่หลุมพรางพันธสัญญา

บ้านสันคอกช้าง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ แต่เดิมชาวบ้านประกอบเลี้ยงหมูอิสระโดยเลี้ยงแบบโรงเรือนเปิดที่อาศัยเพียงทุนจากแรงงานของตัวเอง แต่เมื่อปี 2549 บริษัทได้เข้ามาส่งเสริมให้มีการเลี้ยงหมูแบบโรงเรือนแบบปิด ที่ต้องพึ่งพาปัจจัยการผลิตจากบริษัททุกขั้นตอน ทำให้ผู้เลี้ยงหมูต้องแบกรับภาระที่หนักทั้งหนี้สินและผลกระทบอื่นๆที่ตามมา   รายการโดย นักสื่อสารเครือข่ายเกษตรกรพันธสัญญา

วีดีโอ เครือข่ายเกษตรกรพันธสัญญายื่นหนังสือพรรคเพื่อไทย

เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2554 เครือข่ายเกษตรกรพันธสัญญา นำโดย นายอุบล อยู่หว้า ตัวแทนกลุ่มเข้ายื่นหนังสือถึง นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีที่พรรคเพื่อไทย เพื่อเสนอนโยบายการพัฒนาระบบเกษตรที่เป็นธรรมและยั่งยืนแก่เกษตรรายย่อย โดยมี นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ เลขาธิการพรรคเพื่อไทยเป็นผู้รับมอบ ทั้งนี้นายอุบลกล่าวว่า เครือข่ายเกษตรกรพันธสัญญาประกอบไปด้วย ผู้เลี้ยงหมู ไก่ ปลาในกระชังและปลูกอ้อย ซึ่งเป็นระบบที่เกษตรกรไม่ได้รับความเป็นธรรม โดยเกษตรกรเป็นผู้ลงทุนในสิ่งปลูกสร้างแต่บริษัทยักษ์ใหญ่ผูกขาดปัจจัยการผลิตและการตลาด เขียนเงื่อนไขสัญญาเพียงฝ่่ายเดียว และบริษัทไม่ต้องรับผิดชอบสวัสดิการแรงงานและความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม แต่ผลักภาระให้เกษตรกรและท้องถิ่นเป็นผู้รับผิดชอบ เรื่องนี้เป็นหลุมดำของสังคมที่ไม่รับรู้ว่าอาหารที่เรากินอยู่มีความไม่ยุติธรรมเกิดขึ้นตลอดสายพานการผลิต   รายงานโดย ดำรง สังวงษ์ เครือข่ายเกษตรกรพันธสัญญา  

วีดีโอ ประกาศเจตนารมณ์เครือข่ายเกษตรกรพันธสัญญา

การขาดทุนซ้ำแล้วซ้ำเล่าของเกษตรกรผู้ทำการเกษตรกรในระบบพันธสัญญา สร้างภาระหนี้สินมากมายจนเกษตรกรไม่สามารถที่จะแบกรับได้ เมื่อวันที่ 27-28 สิงหาคม 2554 ที่ผ่านมา ได้มีการพบปะแลกเปลี่ยนประสบการเพื่อบอกเล่าความทุกข์ที่มีในใจ ร่วมกับเพื่อนที่มีชะตาเดียวกันได้รับรู้ รับฟังและรวมตัวกันเป็นเครือข่ายใหญ่ทั่วประเทศ จึงเป็นการสร้างปรากฎการณ์ที่สำคัญของพี่น้องเกษตรกรที่ได้เดินทางมาจากทุกภาคของประเทศไทย ณ ห้องประชุมสำนักงานเทศบาล ต.น้ำแพร่ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่   รายงานโดย เกียรติศักดิ์ ฉัตรดี เครือข่ายเกษตรกรพันธสัญญา

วีดีโอ อบรมหลักสูตร คปอ.- ฉะเชิงเทรา

เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2554 กระทรวงแรงงานได้จัดอบรมหลักสูตร คณะกรรมการความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (คปอ.) ณ ตึกเนชั่นทาวเวอร์ชั้น 9 ถนนบางนาตราด ผู้เข้าร่วมอบรมสัมมนาในครั้งนี้ประกอบด้วย ฝ่ายบริหารและฝ่ายปฏิบัติการ จำนวน 90 คนที่มาจากสถานประกอบกิจการที่แตกต่างกันและได้ตระหนักถึงความปลอดภัยของคนงานในสถานประกอบการของตนเอง รายงานโดย ทวี ประดับศรี ถ่ายภาพ อรรถพล พรมหา นักสื่อสารแรงงานฉะเชิงเทรา

1 21 22 23 25