วีดีโอ Thai PBS ฝ่าวิกฤติน้ำท่วม:ผลกระทบแรงงานในนิคมอุตสาหกรรม จ.พระนครศรีอยุธยา

ข่าวรายการ Thai PBS ฝ่าวิกฤติน้ำท่วม ออกอากาศวันที่ 10 พฤศจิกายน 2554 ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่งถูกน้ำท่วมเสียหายอย่างมาก กลุ่มผู้ใช้แรงงานได้เรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งให้ความช่วยเหลือแรงงานที่ประสบอุทกภัย โดยเฉพาะเรื่องของการจ้างงานในขณะที่แรงงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยาก็มั่นใจหลังสถานการณ์น้ำท่วมนั้นโรงงานส่วนใหญ่จะเรียกลูกจ้างกลับมาทำงาน เพราะว่าพื้นที่ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยายังมีความต้องการแรงงานจำนวนมาก

วีดีโอ ที่นี่Thai PBS:เสวนา กู้นิคมอย่างไรให้ปลอดภัย?

รายการ ที่นี่Thai PBS ออกอากาศวันที่ 9 พ.ย. 54 ชาวบ้านที่อาศัยอยู่รอบนิคมอุตสาหกรรมที่ถูกน้ำท่วมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นำตัวอย่างน้ำและกิ่งไม้ที่เต็มไปด้วยคราบน้ำมันจากรอบพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาแสดงในเวทีเสวนา “กู้นิคมอย่างไรให้ปลอดภัย” โดยชาวบ้านบอกว่ามีความกังวลกันว่าการกู้เขตนิคมอุตสาหกรรมที่รัฐบาลประกาศว่าจะเริ่มสูบน้ำออกในวันที่ 11 พฤศจิกายน  จะเป็นการสูบน้ำที่ปนเปื้อนสารเคมีอันตรายออกมาสู่เขตชุมชน เพราะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่เคยเปิดเผยข้อมูลสารเคมีต่อสาธารณะและขณะนี้ทางนิคมโรจนะ นิคมบางปะอิน นิคมไฮเทค ได้เริ่มสูบน้ำบ้างแล้วทำให้น้ำที่บนเปื้อนคราบน้ำมันไหลเข้าไปในเขตชุมชน ทางจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้จัดตั้งคณะทำงานฟื้นฟูเขตนิคมอุตสาหกรรมถึง 7 ชุด และกำหนดแผนงานไว้หมดแล้ว แต่ชาวบ้านยืนยันว่าไม่ได้รับการแจ้งหรือชี้แจงจากหน่วยงานรัฐ และเรียกร้องว่าคณะทำงานชุดนี้ควรให้ชุมชนได้มีโอกาสมีส่วนร่วมเพราะเป็นผู้ถูกกระทบโดยตรง

วีดีโอ นักข่าวพลเมือง:แรงงานข้ามชาติเตรียมพร้อมรับมือน้ำท่วม จ.สมุทรสาคร

รายการ นักข่าวพลเมือง สถานี Thai PBS ตอน แรงงานข้ามชาติเตรียมพร้อมรับมือน้ำท่วม  ออกอากาศวันที่ 7 พ.ย. 54 ใบปลิวแจ้งข้อมูลเพื่อเตรียมตัวรับกับสถานการณ์น้ำท่วม จ.สมุทรสาคร ถูกนำมาแจกจ่ายให้กับคนไทยและกลุ่มแรงงานข้ามชาติ แม้วันนี้ปริมาณน้ำยังมาไม่ถึงแต่ข้อมูลเหล่านี้จะเอื้อประโยชน์ให้กับประชากรหลายแสนคน มูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงานจึงร่วมกับมูลนิธิรักษ์ไทย ได้จัดทำเอกสารเป็น 3 ภาษา มี ภาษาไทย ,มอญ และพม่า  โดยลงพื้นที่บริเวณตลาดโพธิ์แจ้ ถนนเอกชัย  เพราะนอกจากคนพื้นที่แล้วจังหวัดสมุทรสาครยังมีแรงงานข้ามชาติอาศัยอยู่มากกว่า 2 แสนคน รายงานโดย นักข่าวพลเมือง เครือข่ายสื่อสารแรงงานจังหวัดสมุทรสาคร

วีดีโอ ธารน้ำใจจากพระคุณเจ้า 12-11-54

เย็นวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554  คณะสงฆ์จากวัดบ้านโป่ง อ.ดอยเต่า จ.เชียงใหม่ ได้นำสิ่งของยังชีพประมาณ 100 ชุด มาบริจาคให้ศูนย์ช่วยเหลือแรงงานที่บางปะอิน โดยสิ่งของต่างๆได้มาจากการบริจาคทางญาติโยมชาวอำเภอดอยเต่า  พระครูศิริศุภวัฒน์ หัวหน้าคณะสงฆ์ ได้ให้กำลังผู้ปฏิบัติงานของศูนย์ฯ ที่มีจิตอาสาช่วยเหลือสังคม โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานที่พลัดถิ่นจากภาคต่างๆ ของประเทศมาอยู่ในโรงงานและได้รับความยากลำบาก พร้อมทั้งอธิษฐานจิตให้มีสุขภาพแข็งแรง มีสติปัญญา ในการดำเนินกิจกรรมให้สำเร็จลุล่วงไป รายงานโดย นักสื่อสารแรงงาน  

วีดีโอ งานแต่งเลื่อนไป ขอช่วยภัยน้ำท่วม 6-11-54

ณ ศูนย์ช่วยเหลือวิกฤติผู้ใช้แรงงานที่เกิดจากภาวะน้ำท่วมที่บางปะอินแห่งนี้  มีหนุ่มสาวผู้ใช้แรงงานคู่หนึ่งซึ่งวันนี้ 6 พฤศจิกายน 2554 ถูกกำหนดไว้เป็นวันแต่งงานของพวกเขา ถือว่าเป็นวันสำคัญสำหรับชีวิตที่ได้มีการวางแผนเอาไว้ล่วงหน้าอย่างดี แต่หลังจากที่เกิดภาวะวิกฤติน้ำท่วมขึ้นมา แทนที่จะหนีน้ำไปอยูในที่สบายกว่า ทั้งสองตัดสินใจเลื่อนงานแต่งที่เตรียมไว้ออกไปอย่างไม่มีกำหนด แล้วมาอยู่ประจำที่ศูนย์ช่วยเหลือแรงงานผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่บางปะอินเพื่อร่วมงานกับเพื่อนๆผู้นำแรงงานในการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ให้กับพี่น้องแรงงานที่ประสบภัยน้ำท่วม  ทั้งที่อนาคตการงานของตัวเองก็ยังไม่ชัดเจนว่าจะเป็นอย่างไร

วีดีโอ น้ำท่วมกับเสียงสะท้อนของแรงงานอ้อมน้อยฯ

ตั้งแต่เกิดเหตุน้ำหลากเข้าท่วมพื้นที่ในจังหวัดนครปฐมและสมุทรสาคร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตย่านอ้อมน้อยและพุทธมณฑลสาย 4 และสาย 5 ซึ่งเป็นบริเวณที่มีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็กตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก จึงเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีผู้ใช้แรงงานจำนวนมากทั้งแรงงานไทยและแรงงานข้ามชาติ ได้รับความเดือดร้อนจากผลกระทบจากน้ำท่วม ทั้งเรื่องของที่อยู่ที่กินเฉพาะหน้าไปจนถึงเรื่องของการขาดรายได้และความไม่มั่นคงในการทำงานซึ่งเจะปัญหาระยะต่อไป รายงานโดย นักสื่อสารแรงงาน

วิดีโอ เกษตรกรพันธสัญญาลพบุรีเจอน้ำหนี้ท่วม

ข้อมูลจากกลุ่มวิจัยไทบ้านที่ลงสำรวจพื้นที่ประสบภัยของกลุ่มเกษตรกรพันธสัญญาชุมชนท้ายตลาด อ.เมือง จ.ลพบุรี ในช่วงเดือนตุลาคมระบุว่า มีเกษตรกรหลายรายในพื้นที่ทำการเกษตรในระบบพันธสัญญากับบริษัทธุรกิจด้านการเกษตรและได้รับความเสียหายอย่างหนักจากภัยน้ำท่วมครั้งนี้ มีผู้เลี้ยงไก่กว่า 30 ฟาร์มที่ถูกน้ำท่วม ผู้เลี้ยงหมูรายหนึ่งหมูถูกน้ำท่วมตายกว่า 4,000 ตัว ความเสียหายของแต่ละรายไม่ต่ำกว่า 1 แสนบาท บางรายถึงกับหมดเนื้อหมดตัว พยายามติดต่อกับบริษัทแต่ัยังไ่ม่ได้รับความช่วยเหลือใดๆอย่างจริงจัง ยกเว้นอาหารหมู 4 ถุงจากบริษัทซีพี ส่วนกรณีบริษัทท้องถิ่นที่ทำสัญญากับเกษตกรนั้นก็มีประกัน ขณะที่เกษตรกรไม่มีการประกันใดๆและขณะนี้ยังไม่มีบริษัทใดเข้ามาดูแลรับผิดชอบ นอกจากได้รับถุงยังชีพที่มีผู้นำมาบริจาคให้บ้างเท่านั้น

วีดีโอ ถ้อยแถลง “วิกฤติน้ำท่วม วิกฤติของแรงงาน”

วิกฤติภัยพิบัติน้ำท่วม ซึ่งสร้างความเสียหายกับนิคมอตุสหกรรม 7 แห่ง และกระทบต่อต่อผู้ใช้แรงงานเกือบ 8 แสนคนที่ยังไม่นับรวมถึง แรงงานนอกระบบและแรงงานข้ามชาติอีกจำนวนมาก โดยภาครัฐยังไม่มีการเสนอมาตรการในการดูแลอย่างครอบคลุมเท่าเทียมและเป็นธรรมเพียงพอทั้งต่อตัวของแรงงานเองและครอบครัวอีกจำนวนมาก ถ้อยแถลงของแกนนำแรงงานที่ทุ่มเททำงานช่วยเหลือแรงงานที่ได้รับผลกระทบ ทั้งการช่วยเหลือเฉพาะหน้าและความเป็นห่วงปัญหาที่จะเกิดกับผู้ใช้แรงงานในระยะต่อไป จึงเป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรต้องรับฟัง และหาทางแก้ไขปัญหาของเหล่าผู้ใช้แรงงานที่จะมีส่วนอย่างสำคัญในกระบวนการฟื้นฟูประเทศต่อจากนี้

วีดีโอ แถลงข่าว-ข้อเสนอ คสรท. 2 พ.ย. 54

     จากสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้น มีนิคมอุตสาหกรรม 7 แห่ง ถูกน้ำท่วม สถานประกอบการ โรงงานกว่า 14,000 แห่ง ได้รับความเสียหายทำให้ผู้ใช้แรงงานได้รับผลกระทบกว่า 7 แสนคน      คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.)  มีความเห็นว่าวิกฤติการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นจะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย การวางมาตรการช่วยเหลืออย่างเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ มาตรการเหล่านี้ควรครอบคลุมแรงงานในทุกภาคส่วน      คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยขอย้ำว่า รัฐบาลภายใต้การนำของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ควรวางมาตรการช่วยเหลือผู้ใช้แรงงานด้วยความเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติช่วยเหลือเพียงผู้ประกอบการโรงงาน แต่ปล่อยให้ลูกจ้างถูกลอยแพจากการเลิกจ้าง และขอเรียกร้องให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานแสดงบทบาทในการช่วยเหลือเยียวยาแรงงานเฉพาะหน้า และการวางมาตรการเชิงนโยบายในระยะยาว  

นักข่าวพลเมือง : เครือข่ายแรงงานไทยช่วยภัยน้ำท่วม

รายการ นักข่าวพลเมือง ทางสถานี Thai PBS ออกอากาศวันที่ 28 ต.ค. 54 น้ำที่ไหลทะลักเข้ามาทั่วบริเวณนิคมอุตสาหกรรมใน จ.พระนครศรีอยุธยานั้นส่งผลให้แรงงานจำนวนมากต้องตกงาน แต่ว่าพวกเขาก็มีความตั้งใจที่จะช่วยฟื้นฟูนิคมอุตสาหกรรมแห่งนี้ ร่วมกับผู้ประกอบการหลังจากน้ำลด เพราะว่าที่นี่ก็เปรียบเสมือนเป็นบ้านที่สองของพวกเขาเหมือนกัน   รายงานโดย นักข่าวพลเมืองศูนย์สื่อสารแรงงาน  

วิดีโอ แรงงานไทยไม่ทิ้งกัน

น้ำท่วมครั้งนี้รุนแรงอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ผู้ประกอบการมากมายได้รับผลกระทบ คนงานหลายแสนคนต้องได้รับความเดือดร้อน แต่ท่ามกลางวิกฤติยังแสดงให้เห็นถึงความเือื้ออาทรต่อกันของผู้ใช้แรงงาน โดยคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย และเครือข่ายแรงงานต่างๆ ได้จัดตั้งศูนย์เพื่อช่วยเหลือแรงงานเหล่านี้ เพราะ แรงงานไทยไม่ทิ้งกัน
โดย นักสื่อสารแรงงาน ศูนย์ข่าวสระบุรี

วิดีโอ คาราวานแรงงานลุยน้ำขนสิ่งของช่วยผู้ประสบภัย

เครือข่ายแรงงานไทยช่วยภัยน้ำท่วมจัดคาราวานขนสิ่งของรับบริจาคกว่า 40 คันรถส่งศูนย์ช่วยเหลือส่วนหน้าที่แยกบางปะอิน ไทยพีบีเอสมอบหมากสดและถังถ่ายสำเร็จรูปพร้อมถุงยังชีพสมทบ 300 ชุด คนงานและชาวบ้านรอรับแน่นเต็นท์ พบแรงงานจำนวนมากติดค้างอยู่ตามหอพักบ้านเช่าขาดเงินและไม่ได้รับของช่วยเหลือเพราะไม่มีทะเบียนบ้าน

นักสื่อสารแรงงาน รายงาน

1 20 21 22 25