ปฏิญญาความร่วมมือเพื่อคุ้มครองสิทธิแรงงานข้ามชาติ

ยุคสมัยปัจจุบัน การเคลื่อนย้ายเงินทุน แรงงาน การติดต่อสื่อสาร อุดมการณ์และเทคโนโลยี เป็นไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้แรงงานทั้งทางตรงและทางอ้อมในหลายด้าน รูปแบบการผลิตที่เปลี่ยนแปลง รูปแบบการจ้างแรงงานที่มีความซับซ้อนมากขึ้น แต่การละเลยต่อชีวิตและสิทธิของแรงงานก็มีมากขึ้นด้วยเช่นกัน ทำให้ผู้ใช้แรงงานยังต้องต่อสู้และเผชิญกับปัญหาสภาพการจ้างงานที่ไม่เป็นธรรมและปัญหาคุณภาพชีวิตของตนอย่างต่อเนื่อง
การย้ายถิ่นจากประเทศตนเองเพื่อไปทำงานในประเทศอื่น ของผู้ใช้แรงงาน เป็นปรากฏการณ์อย่างหนึ่งของระบบทุนนิยมในปัจจุบัน และส่วนใหญ่มักจะประสบปัญหาไม่ต่างกัน เช่น ถูกกีดกันการเข้าถึงบริการทางสังคม ไม่สามารถเข้าถึงการปกป้องคุ้มครองสิทธิ์ได้ เนื่องจากการเลือกปฏิบัติเพราะเป็นคนต่างชาติ นอกจากนี้การลักลอบเข้าประเทศในรูปแบบต่าง ๆ หลายครั้งผู้คนเหล่านั้นต้องเสียชีวิตอย่างทารุณระหว่างการเดินทาง

ย้อนอดีตแรงงาน เปิดตำนานคนกล้า พลิกฟื้นศรัทธา ฝ่าวิกฤต

มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย และมูลนิธิเอเชียได้ร่วมกันจัดงานเปิดตัวภาพยนตร์“แรงงานในประวัติศาสตร์การพัฒนาประเทศไทย” และการเสวนาเรื่อง “ย้อนอดีตแรงงาน เปิดตัวตำนานคนกล้า พลิกฟื้นศรัทธา ฝ่าวิกฤต” เมื่อวันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม 2553 ณ ห้องราชา โรงแรมรัตนโกสินทร์ กรุงเทพฯ โดยมีผู้เข้าร่วมประกอบด้วยผู้นำแรงงานในอดีตเช่นกรรมกรหญิงบางซ่อน กรรมกรหญิงฮ่าร่า กรรมกรหญิงไทยเกรียง อดีตผู้ก่อตั้งกลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิต กลุ่มสหภาพแรงงานรับวิสาหกิจฯลฯ กับผู้นำสหภาพแรงงานรุ่นใหม่ในกลุ่มสหภาพแรงงาน สหพันธ์แรงงาน สภาองค์การลูกจ้าง รัฐวิสาหกิจหลายแห่งจำนวน 101 คน

ค่าตอบแทนที่เป็นธรรมคืออะไร ?

การปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำเป็น 250 บาททันทีทั่วประเทศจะทำให้ค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มขึ้นประมาณ 44 บาทสำหรับพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑลที่ค่าแรงขั้นต่ำตอนนี้อยู่ที่ 206 บาท ในความเป็นจริงค่าแรงวันละ 206บาทต่อวัน ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพอยู่แล้วคนเหล่านี้เกือบ 80-90% จึงมีหนี้สินล้นพ้นตัวทั้งสิ้น ส่วนใหญ่เป็นแรงงานอพยพมาจากต่างจังหวัดโดยเฉพาะอีสาน
อัตราค่าจ้างขั้นต่ำควรเท่ากันทั่วประเทศหรือไม่ เป็นโจทย์สำหรับนโยบายแรงงาน
ค่าจ้างขั้นต่ำมีเป้าหมายเพื่อคุ้มครองแรงงานไร้ฝีมือเมื่อแรกเข้าทำงานและค่าจ้างต้องเพียงพอต่อการครองชีพของลูกจ้างและสมาชิกในครอบครัวหลังจากนั้นอัตราค่าจ้างต้องปรับตามประสบการณ์และฝีมือแรงงานเพิ่มขึ้น
หากนิยามตามองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ ค่าจ้างขั้นต่ำที่ 250 บาท ตามข้อเสนอของรัฐบาล หรือค่าจ้างขั้นต่ำเสนอโดยพรรคเพื่อไทย 300 บาท ก็ยังไม่น่าจะเพียงพอ เรื่องค่าแรงขั้นต่ำเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งเท่านั้นในการแก้ปัญหาความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจ ต้องมีเรื่องระบบสวัสดิการสังคม และการควบคุมค่าครองชีพมาช่วยเสริมด้วย
การจะแก้ไขความเหลื่อมล้ำทางรายได้นั้น รัฐไม่ได้มีภาระดูแลเพียงแรงงานในระบบราว 10 ล้านคนเท่านั้น หากรัฐยังต้องดูแลแรงงานนอกระบบกว่า 25 ล้านคนที่ต้องการระบบสวัสดิการพื้นฐานเช่นเดียวกับแรงงานในระบบ
ที่มา : ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ บางตอนใน “ผลของการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 250 บาทต่อเศรษฐกิจไทย” นสพ.กรุงเทพธุรกิจ,26พ.ย.53 น.11

“องค์การมหาชน” ความท้าทายการเปลี่ยนแปลงประกันสังคม

องค์การมหาชน เป็นรูปแบบองค์กรของรัฐประเภทหนึ่งที่แตกต่างจากองค์กรของรัฐรูปแบบหน่วยงานราชการ โดยมีฐานคิดที่ว่า โครงการสร้างและวิธีการดำเนินงานรูปแบบองค์การมหาชนเหมาะสมกับภารกิจการจัดทำบริการสาธารณะสมัยใหม่ที่เกิดขึ้นตามพัฒนาการทางเศรษฐกิจ และสังคม รวมทั้งพัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ เนื่องจากการปฏิบัติงานในรูปแบบหน่วยงานราชการมีข้อจำกัดเกี่ยวกับสายการบังคับบัญชา และลำดับชั้นตัดสินใจยาว ซึ่งเน้นความถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับยิ่งกว่าสัมฤทธิผลของประสิทธิภาพในความสำเร็จของการปฏิบัติงาน นอกจากนั้นการมีมาตรฐานการบริหารบุคคล และการจัดหาทรัพยากรทางด้านการบริหารจัดการเพียงมาตรฐานเดียวก่อให้เกิดปัญหาที่หน่วยงานราชการไม่สามารถรองรับการปฏิบัติภารกิจสมัยใหม่ของรัฐที่ต้องการความคล่องตัวสูงได้ หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบการพัฒนาระบบราชการเห็นว่ารูปแบบองค์การมหาชนเหมาะสมกับการนำมาใช้ในกิจการบริการสาธารณะที่ต้องการประสิทธิภาพการบริหารจัดการสูง โดยมิได้ค้ากำไรจากการบริการ เพราะมั่นใจว่า วัฒนธรรมองค์กรเยี่ยงภาคธุรกิจ และการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าในการบริหารขององค์กรภาครัฐรูปแบบองค์การมหาชนจะเกิดขึ้น และทำให้ประชาชนได้รับบริการของรัฐที่ได้มาตรฐานเท่ากับหรือเหนือกว่าระดับสากล

บันทึกความเจ็บปวดในชีวิตของคนงาน ซันสตาร์

เป็นเรื่องที่ทราบและยอมรับกันทั่วไปว่า คนงานที่เข้าไปเป็นลูกจ้างทุกคน ทำงานเพื่อความมั่นคงในอนาคต และความเป็นอยู่ที่ดีของตนเองและครอบครัว ไม่มีใครอยากตกงาน ทุกคนอยากได้รับความเป็นธรรม ความเท่าเทียมกัน และได้รับการปฎิบัติที่ดี ในฐานะเป็นมนุษย์เช่นเดียวกับคนอื่นๆในสังคม
แต่ในชีวิตจริงของลูกจ้างในไทยส่วนใหญ่ มักไม่ได้เป็นไปอย่างที่ฝัน ลูกจ้างส่วนใหญ่มักถูกกดขี่ เอารัดเอาเปรียบทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นค่าจ้าง สวัสดิการตามกฎหมาย เวลาทำงาน หรือแม้กระทั่งความปลอดภัยในการทำงาน แม้ว่าจะมีกฎหมายออกมาบังคับใช้ แต่นายจ้างก็ยังหาทางบ่ายเบี่ยง ไม่ยอมปฏิบัติตาม เมื่อลูกจ้างไปร้องเรียน กับหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านแรงงาน กลับไม่ได้รับความสนใจช่วยเหลืออย่างจริงจัง ซ้ำร้ายไปกว่านั้น ยังมีข้าราชการหรืออดีตข้าราชการบางคน กลับไปช่วยเหลือหาช่องทางหลีกเลี่ยงกฎหมายให้กับนายจ้าง ให้คำแนะนำกับนายจ้างในการทำลายการรวมตัวของคนงานอีก จนคนงานไม่กล้าลุกขึ้นมาต่อสู้เรียกร้องสิทธิ์ของตนเอง และต้องก้มหน้าอดทนรับกรรมต่อไป

สรุปการอบรมเชิงปฏิบัติการ “นักข่าวพลเมือง”

วันที่ 12-14 พฤศจิกายน พ.ศ.2553 โครงการการพัฒนาสื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนขบวนการแรงงาน มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ภายใต้การสนับสนุนของแผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน สสส. ร่วมกับ สำนักเครือข่ายประชาสังคม โต๊ะข่าวพลเมือง ทีวีไทย ทีวีสาธารณะ จัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “นักข่าวพลเมือง” ที่จันทร์เกษมปาร์ค มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทร์เกษม กรุงเทพมหานคร มีนักสื่อสารแรงงานจากศูนย์แรงงานพื้นที่ต่างๆเข้าร่วมการฝึกอบรม 19 คน

วิทยากรนักข่าวพลเมือง ประกอบด้วย

1. นายสมเกียรติ จันทร์สีมา ผู้อำนวยการสำนักเครือข่ายประชาสังคม หัวหน้าโต๊ะข่าวพลเมือง ทีวีไทย
2. นายภูมิพัฒน์ บุญเลี้ยง โปรดิวเซอร์นักข่าวพลเมือง
3. คุณสุวัจนา ทิพย์พิพิจ เจ้าหน้าที่ประสานงาน นักข่าวพลเมือง ทีวีไทย
4. คุณวราพร อัมภารัตน์ เจ้าหน้าที่ฝึกอบรมด้านเทคนิค
5. นายสกล เจริญเวช เจ้าหน้าที่ฝึกอบรมด้านเทคนิค
6. น.ส.สุดารัตน์ ขจรวุฒิเดช นักข่าวพลเมือง ทีวีไทย
7. น.ส.ไพฑูรย์ ธุรงพันธ์ ผู้ประสานงาน(ภาคอิสาน) สำนักสื่อสาธารณะ

15 ปีชัยชนะที่ได้มาด้วยการสูญเสีย..

ณ.ศาลแรงงานกลาง 8 พฤศจิกายน 2553 ผู้ป่วยทุกคน มุ่งหน้ามาศาลกันอย่างพร้อมเพียงและตั้งใจมากที่สุดเพราะรอวันนี้มานานแล้ว คนป่วยที่เป็นผู้สูญเสียสมรรถภาพปอด เกือบ 30 คนจากจำนวน 37 คน ที่เหลือไม่สามารถมาศาลได้ กับ ติดต่อไม่ได้ สีหน้าของทุกคนที่มาศาลวันนี้ดูจะซูบซีด มีความกังวลใจ เพราะนอนกันไม่หลับ แต่ทุกคนก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ได้เตรียมใจมาพร้อมที่จะน้อมรับคำพิพากษาในวันนี้ ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นไม่ว่าจะแพ้หรือชนะ ชีวิตก็ต้องดำเนินต่อไป กับ 15 ปีที่ผ่านมาด้วยความทุกข์ยากลำบาก เพราะการต้องสูญเสียสุขภาพ ขาดอาชีพและรายได้ที่จะมายังชีพ เยียวยารักษาตัวอย่างต่อเนื่อง หลายคนต้องอยู่อย่างยากจนอนาถา เป็นทุกข์และท้อแท้ บางครั้งต้องร้องไห้ให้กับตัวเองกันมาหลายหน เพราะเมื่อหาหนทางออกไม่ได้หรือต้องล้มป่วยมากๆ กับการไม่มีเงินที่จะมาเยียวยารักษา แต่ด้วยความเด็ดเดี่ยวเมื่อตัดสินใจแล้วว่าจะสู้ ทุกคนก็ต้องอดทน แต่หลายคนก็อดคิดไม่ได้ว่า พวกเราคนป่วยจะมีลมหายใจอยู่จนถึงวันที่ศาลนัดฟังคำพิพากษาฎีกาหรือไม่

รัฐทาสนายทุน ความรุนแรงรอบใหม่พื้นที่เหมืองแร่โปแตช อุดรธานี

นับจากที่รัฐบาลไทยออกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๒๓ เชิญชวนให้เอกชนยื่นคำขอสิทธิสำรวจและผลิตแร่โปแตชในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริษัท อะกริ โปแตช จำกัดบริษัทสัญชาติแคนนาดา (ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัทเอเชียแปรซิฟิก โปแตช คอร์เปอร์เรชั่น จำกัดหรือ เอพีพีซี) ได้ทำสัญญาและได้รับอนุญาตจากรัฐบาลไทย โดยกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (เดิมคือกรมทรัพยากรธรณี) กระทรวงอุตสาหกรรม ให้ประกอบกิจการเหมืองแร่ พัฒนา และหาประโยชน์จากแหล่งแร่ ที่บริษัทฯ ได้ทำการเจาะสำรวจและมีความเป็นไปได้ในเชิงพานิชย์ ตามสัญญาฉบับลงวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๒๗ และต่อมาเมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกาบน ๒๕๓๗ มีการแก้ไขสัญญาเพิ่มเติม

เครือข่ายแรงงานเสนอผู้ประกันตนร่วมลงชื่อปฏิรูปประกันสังคม

• ทำไมต้องปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
กฎหมายประกันสังคมฉบับนี้บังคับใช้มานานร่วม 20 ปี(กันยายน 2533- กันยายน 2553) และการบังคับใช้กฎหมาย ในช่วงที่ผ่านมามีประเด็นปัญหาที่ผู้ประกันตนเข้าไม่ถึงสิทธิที่ควรจะได้รับ การมีส่วนร่วม ความไม่โปร่งใส และสิทธิประโยชน์บางส่วน ไม่สอดคล้องกับพลวัตรการจ้างงานที่เปลี่ยนไป
สถานการณ์ดังกล่าวทางคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยและเครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน โดยการสนับสนุนของแผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (ส.ส.ส.) จึงได้มีกระบวนการยกร่าง พระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (ฉบับบูรณาการแรงงาน) มาตั้งแต่เดือนกันยายน 2552 โดยอิงกับร่าง พ.ร.บ. ประกันสังคมฉบับที่ผ่านมติคณะรัฐมนตรีเป็นหลัก มีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดในบางมาตรา และเพิ่มมาตราใหม่หรือบทเฉพาะกาล โดยพิจารณาถึงความครอบคลุม ความโปร่งใสและตรวจสอบได้ มุ่งหลักประกันระยะยาวและประสิทธิภาพในการให้บริการ รวมถึงการมุ่งเน้นให้สำนักงานประกันสังคมเป็นองค์การอิสระ

ประชุมเครือข่ายผู้ประสบภัยจากการทำงานในเอเซีย

สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย ซึ่งมี รศ.ดร.วรวิทย์ เจริญเลิศ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นายบารมี ชัยรัตน์ ที่ปรึกษาสมัชชาคนจน ดิฉันนางสมบุญ สีคำดอกแค ประธานสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย นายลิขิต ศรีลาพล เจ้าหน้าที่สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยฯ นายจะเด็จ เชาน์วิไล ผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อนหญิง นายสุชาติ ตระกูลหูทิพย์ ฝ่ายแรงงานมูลนิธิเพื่อนหญิง ได้เข้าร่วมประชุม ANROAV ประจำปีครั้งนี้ที่เมือง บันดุง ประเทศอินโดนีเซีย ตั้งแต่วันที่ 16-21 ตุลาคม 2553 โดยมี 13 ประเทศในทวีปเอเชีย และ ปีนี้มีคนมาร่วมมากกว่าทุกปีเพราะมีประเทศทางยุโรปมาร่วมประชุมด้วย เช่น ประเทศแคนนาดา สหรัฐอเมริกา ออสเตรีย อิหร่าน ภายในงานได้มีการประชาสัมพันธ์งานด้วยป้ายในงานขนาดใหญ่และเสื้อรณรงค์ ว่าด้วยเรื่องของสถิติคนงานทั่วโลกที่เสียชีวิตและประสบอันตรายจากการทำงาน ที่มีการประสบอันตรายจากการทำงานและเสียชีวิตทั่วโลกดังนี้ 1,100,000 คนต่อปี 30,000 คนต่อวัน 125 ต่อชั่วโมง และ 2 คนทุกหนึ่งนาที

พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย กับ มักกะสันคอมเพล็กซ์ ; พื้นที่ทับซ้อนด้าน “คุณค่า”กับ “ราคา”

พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย จับมือ FES จัดเสวนาในโอกาสครบรอบ 17 ปีการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ นักวิชาการ อาจารย์มหาวิทยาลัย และ ผู้นำแรงงาน หนุนบทบาทที่ผ่านมาในฐานะที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวและเรียนรู้เรื่องราวของผู้ใช้แรงงานซึ่งสามารถอยู่ร่วมกับโครงการด้านธุรกิจอย่าง “มักกะสันคอมเพลกซ์”ได้โดยอยากให้เชื่อมเรื่องแรงงานสากลด้วย ด้านตัวแทนจากหน่วยงานรัฐอย่างการท่องเที่ยวฯแนะปรับให้ทันสมัยสร้างจุดขายแล้วจะช่วยโปรโมทให้ กระทรวงแรงงานฯบอกต้อง ไฮ-เทค และน่าจะเป็นกองหนึ่งในกระทรวง กระทรวงวัฒนธรรมเห็นว่าเนื้อหาและวัสดุสิ่งของด้านแรงงานมีคุณค่าต่อการอนุรักษ์ ส่วนตัวแทนจากการรถไฟฯเปรียบเทียบกับต่างประเทศว่าจะอนุรักษ์ของเก่าที่มีคุณค่ามากกว่าทำลายทิ้ง

ทำอย่างไรกับบริษัทแม่แต่ไม่ใช่นายจ้าง (ตอน 2)

จากบทความครั้งที่แล้ว “ทำอย่างไรกับบริษัทแม่แต่ไม่ใช่นายจ้าง”ถ้าท่านใดได้ติดตามหลายท่านยังงงอยู่และมีคำถามในใจอยู่หลายข้อ แต่นั้นคือความเป็นจริงที่เกิดขึ้นแล้วในภาคอุสาหกรรมที่ดำเนินธุรกิจโรงแรมและบริการเพราะอุสาหกรรมประเภทนี้จะมีกลุ่มทุนข้ามชาติ ( ส่วนใหญ่ ) ที่เข้ามาทำธุรกิจประเภทนี้ก็จะมาลงทุนสร้างอาคารสถานที่หลายๆแห่งแล้วไปจ้างบริษัทที่ดำเนินกิจการโรงแรมและบริการใหญ่ๆมาบริหารให้ เช่นในกลุ่ม Starwood , Accor ฯลฯ อะไรทำนองนั้น แต่ไม่ได้ให้การบริหารที่เบ็ดเสร็จแก่บริษัทเหล่านั้นยังคงมีส่วนร่วมในการจัดการอยู่โดยการเข้าไปก้าวก่ายในเรื่องการเงิน และสวัสดิการต่างๆ แต่คงจะไม่เป็นปัญหาอะไรถ้าในการจดทะเบียนบริษัทภายใต้ชื่อกลุ่มทุนเป็นบริษัทนายจ้างเดียวทั้งหมดทุกแห่ง แต่กลุ่มทุนนี้กลับไปตั้งบริษัทขึ้นมาแห่งหนึ่ง(บริษัทแม่นั้นเอง)มาเป็นนายจ้างของบริษัทที่ว่าจ้างเข้ามาบริหารแล้วให้บริษัทที่ว่าจ้างเข้ามาบริหารเป็นบริษัทจำกัดโดยใช้ชื่อตามกลุ่มบริษัทที่ดำเนินการบริหารโรงแรมแล้วให้รับคนงานเป็นลูกจ้างเอง(โดยตรง) โดยไม่ผ่านบริษัทแม่ และเรื่องทั้งหมดนี้ได้เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตซึ่งเป็นบริเวณที่ผู้เขียนทำงานเอง

1 25 26 27