คดีกรณีจันทร์มณี กลิ่นถนอม สาวโรงงานเย็บเสื้อผ้า

จันมณี เริ่มเข้าทำงานที่โรงงานเย็บผ้าซึ่งตั้งอยู่แถวแจ้งวัฒนะ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี เมื่อปี 2531 เป็นลูกจ้างฝ่ายผลิต โดยทำงานในแผนกรีดเสื้อผ้าเป็นตัวที่เสร็จแล้วโดยจะต้องยืนรีด ทำงานมานานถึง 19 ปี โดยลักษณะงาน จะต้องเอี้ยวตัวรีดเสื้อผ้าซึ่งก่อนหน้าไม่มีปัญหาอะไรแต่ต่อ 2-3 ปี มาการรีดเสื้อจะต้องรีดตามแบบ ซึ่งต้องยืนเอี้ยวตัวเอื้อมมือรีดผ้าในท่าทางลักษณะเดิมๆซ้ำๆกันเป็นเวลานาน บางครั้งก็ต้องปีนขึ้นไปแขวนผ้าบนรถ ซึ่งมีราวแขวนผ้าขนาดใหญ่ เป็นเวลานานหลายชั่วโมง

ต้นปี 2549 จันมณีเล่าว่า ตนเองเริ่มมีอาการเจ็บปวดปลายเท้าถึงหัวเข้า และได้ขอยาที่ห้องพยาบาลเรื่อยมา พฤษภาคม 2549 เข้ารักษาตัวที่ โรงพยาบาล(รพ.)แม่น้ำ แพทย์วินิจฉัยว่า ปวดกล้ามเนื้อ ข้อเข่าซ้ายอักเสบเสื่อมรักษาโดยการให้ยา มาตลอด 7 สิงหาคม 2550 ย้ายไปรักษาที่ รพ.รามาธิบดีแพทย์วินิจฉัยว่าพบกระดูกคอ กระดูกสันหลังเสื่อมและกล้ามเนื้ออักเสบให้ยาและนัดฟังผล ต่อมาวันที่ 1 กรกฎาคม 2551 ย้ายไปรักษาที่รพ.นพรัตน์ราชธานี แพทย์ที่รักษาให้ทำกายภาพบำบัด ต่อเนื่องจนถึงกันยายน 2552

ค่าจ้างขั้นต่ำกับแรงงานข้ามชาติ

ผู้เขียนได้มีโอกาสรับชมการแถลงนโยบายของรัฐบาล และการอภิปรายจากท่านสมาชิกรัฐสภาอันประกอบด้วยสมาชิกวุฒิสภา และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล โดยเฉพาะนโยบายที่เกี่ยวข้องกับแรงงานทั้ง เรื่องค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท และเงินเดือนสำหรับปริญญาตรี 15,000 บาท/เดือน แต่ที่แถลงเป็นนโยบายกับใช้คำว่า รายได้ซึ่งเป็นประเด็นที่ฝ่ายค้านต้องตั้งกระทู้ถามให้แน่ใจว่า “คำว่ารายได้กับค่าจ้างขั้นต่ำ” เป็นอย่างเดียวกันหรือไม่สุดท้ายก็ได้รับการยืนยันจากท่านนายกรัฐมนตรีว่า มีความหมายตามที่หาเสียงไว้พร้อมทั้งบอกด้วยว่า ไม่ได้ให้ความสำคัญกับตัวหนังสือแต่ให้ความสำคัญกับการปฏิบัติกับผลงานที่ปรากฏจะดีกว่า

หมูอินทรีย์ทางรอดเกษตรกรเพื่อชีวิตคนกิน

เครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืนจังหวัดเชียงใหม่เป็นกลุ่มเกษตรกรรายย่อยที่ประสบปัญหาทางด้านการเกษตรกรรมในอดีตผลผลิตทางการเกษตรจากที่เคยมีผลตอบแทนแก่พี่น้องเกษตรกรเป็นอย่างดีมีรายได้เลี้ยงชีพ ส่งบุตรหลานจนจบปริญญาตรีหลายคนมีกินมีใช้ แต่ในสภาวะปัจจุบันผลผลิตทางการเกษตรมีต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น คุณภาพของผลผลิตที่ด้อยลงรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่ายทำให้เกษตรกรบางรายเป็นหนี้ ถูกยึดที่ดิน ท้ายสุดต้องเป็นแรงงานรับจ้างในพื้นที่ของตนเอง

หลุมพรางบริษัทกับเกษตรกรเลี้ยงหมู

ปัจจุบันหมูน้ำหนัก 100 กิโลกรัม ราคา 8,000 บาท เมื่อปี 2546 นายโชคสกุล มหาค้ารุ่ง เกษตรกรเลี้ยงหมูได้ค่าตอบแทนการเลี้ยงตัวละ 200 บาทจนปัจจุบันก็ยังได้ค่ารับจ้างเลี้ยงหมูเพียงตัวละ 200 บาท

ตลอดระยะเวลาการทำงานของนายโชคสกุล มหาค้ารุ่ง เกือบ 10 ปี คำตอบที่ชัดเจนคือระบบการเลี้ยงหมูคิดว่าได้ตกเป็นลูกไล่ของบริษัทที่เอาระบบการทำสัญญาเลี้ยงหมูมาสู่หมู่บ้าน ทำให้เกษตรกรต้องแบกรับภาระหนี้ 100 %

เสียงของคนทำงานบ้าน : เสียงที่พูดได้ แต่ไม่มีใครฟังหรือได้ยิน

กว่า 6 ปีแล้วที่ “น้อย” ก็ยังทำงานอยู่ในบ้านหลังนี้ ทุกๆเช้าน้อยจะต้องตื่นนอนก่อนทุกคน เพื่อมาเตรียมกับข้าวไว้ให้คุณๆทั้งหลายในบ้านก่อนที่จะออกไปทำงานและไปโรงเรียน หลังจากทุกคนออกจากบ้านไปหมดแล้ว น้อยต้องเก็บโต๊ะอาหาร ล้างจานชามให้เรียบร้อย แล้วขึ้นไปชั้นบนเอาเสื้อผ้าคุณๆ น้อยจบแค่ ป. 6 ก็ต้องจากบ้านที่มหาสารคามมาอยู่ที่กรุงเทพฯ ตั้งแต่อายุ 13 ปี ตอนนี้น้อยอายุ 19 แล้ว แต่ก็ยังไม่ค่อยรู้หนังสือเลย น้อยไม่ได้กลับไปเลือกตั้ง เพราะไม่รู้จะไปทำไมและเกี่ยวอะไรกับน้อย น้อยดูข่าว และเห็นคุณๆพูดกันว่า รัฐบาลใหม่จะมีการขึ้นค่าแรงให้แรงงานวันละ 300 บาท แต่คุณๆบอกว่า น้อยไม่ใช่แรงงาน น้อยเป็นคนรับใช้ในบ้าน มีที่พัก มีอาหาร 3 มื้อ เดือนละ 6,000 บาท ก็เกินค่าจ้างขั้นต่ำแล้ว ดีกว่าพวกแรงงานในโรงงานเสียอีก!

ค่าจ้างความหวังแม่ อนาคตลูก- สูญสิ้นเมื่อ “แม่ปู” เปลี่ยนสัญญา

หลังเสร็จสิ้นการแถลงนโยบายรัฐบาล “ปูแดง” ความหวังของคนงานเริ่มเหลือน้อยลง ซึ่งแตกต่างจากเมื่อก่อนที่หลงเสียงนาง ที่แว่วกังวานทั้งความสวยความดังตามสายลม และทีวีเสนอ “นโยบายปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาททันทีเท่ากันทั่วประเทศค่ะ” แต่แล้วความหวังเหมือนพังทลายลงในพริบตา เมื่อสิ้นเสียงรัฐบาล “ปูแดง” แถลงนโยบายให้แรงงานทุกคนมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 300 บาท แถบลมจับความเลือนรางหน้ามืดตาลาย

แรงงานฝันสลาย เมื่อปูผลิกลิ้นนโยบายปรับค่าจ้างขั้นต่ำ

นักการเมืองขายฝัน-ค่าจ้างขั้นต่ำ-รายได้ขั้นต่ำ-คณะกรรมการค่าจ้างกลาง-อนุฯจังหวัด อำนาจอยู่ที่ใคร?

หลังจากที่พรรคการเมืองหลายพรรคได้มุ่งเน้นหาเสียงกับผู้ใช้แรงงาน เพื่อเป็นสะพานเชื่อมไปสู่อำนาจทางทางการเมือง จากพลังของผู้ใช้แรงงานกว่า 38 ล้านคน ผ่านบัตรเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ที่ผ่านมา และไว้วางใจให้พรรคเพื่อไทยได้เข้ามาเป็นผู้บริหารประเทศแบบถล่มทลาย ด้วยนโยบายปรับขึ้น “ค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาททันทีเท่ากันทั่วประเทศ” พร้อมกับโปรยหาเสียงกับนักศึกษาที่กำลังจะจบวุฒิปริญญาตรี หรือแรงงานที่จบปริญญาตรีทุกคนได้เงินเดือน 15,000 บาท สร้างความหวังให้กับผู้ใช้แรงงานทั่วประเทศว่าจะมีสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

แรงงานเทียบนโยบายรัฐบาลปู1 กับอดีตรัฐบาลมาร์ค

เครือข่ายแรงงานเปรียบเทียบนโยบายรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ (ปู) กับรัฐบาล อภิสิทธิ์ (มาร์ค) ด้านสวัสดิการสังคม พบรัฐบาลปูเขียนไว้กว้าง ไม่ลงรายละเอียด จับต้องตรวจสอบยาก ผิดกับรัฐบาล มาร์ค เขียนไว้ละเอียดระบุชัดตรวจสอบได้

จากคำแถลงนโยบายของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภาเมื่อวันอังคารที่ 23สิงหาคม 2554 ในหน้า 28-29 ข้อ 4 เรื่องนโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต ข้อย่อย 4.2 เรื่องนโยบายแรงงาน ซึ่งระบุไว้จำนวน 7 ข้อ เมื่อมาพิจารณาสาระสำคัญพบว่า มีความโน้นเอียงไปที่การมอง “แรงงาน” ในฐานะ “ปัจจัยการผลิต” ที่จะทำให้ประเทศมีความเจริญเติบโตในด้านอุตสาหกรรมเป็นสำคัญ เน้นไปที่การส่งเสริมให้ประชาชนมีงานทำ ผ่านการพัฒนา/ยกระดับผีมือแรงงาน ส่งเสริมระบบแรงงานสัมพันธ์ รวมถึงการสร้างปัจจัยเพื่อดึงดูดแรงงานมีฝีมือเข้าประเทศ ไปพร้อมๆกับการควบคุมแรงงานระดับล่างจากประเทศเพื่อนบ้าน

ผู้นำแรงงานหญิงเฮ ! ได้นายกเป็นผู้หญิง หวัง! แก้ไขปัญหาที่รอมานาน

หลังจากพรรคเพื่อไทยได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้งไปเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 จากคะแนนเสียงส่วนมากสนับสนุนอย่างท่วมท้น ทำให้ในวันนี้นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย โดยได้นำเสนอนโยบายที่ประชาชนคนรากหญ้าไม่อาจจะปฏิเสธได้นั้นคือ

ค่าจ้าง 300 บาท/วันเท่ากันทั่วประเทศ ปริญญาตรีได้รับเดือนละ 15,000 บาท การประกันราคาพืชผลทางการเกษตรหรือแม้แต่การจัดตั้งกองทุนพัฒนาผู้หญิงจังหวัดละ 100 ล้านบาท ทำให้ปัจจุบันหลายคนจับตาดูการทำงานของรัฐบาลที่มีผู้หญิงเป็นนายกรัฐมนตรี

ผู้นำแรงงานหญิงอยากให้นายกหญิงเปิดโอกาสให้ผู้หญิงมีส่วนร่วมระดับนโยบาย

สิ่งที่อยากเห็นและอยากให้รัฐบาลชุดนี้ทำอย่างเร่งด่วน คือ อยากให้รัฐบาลชุดนี้มีการผลักดันและเปิดโอกาสให้ผู้หญิงได้เข้าร่วมในโครงสร้างของคณะกรรมการไตรภาคีต่าง ๆ เช่น คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ (ครส.) และตำแหน่งที่มีความสำคัญในกระทรวง เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้หญิงได้มีส่วนในการนำเสนอปัญหาของผู้หญิง ทั้งในด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต สิทธิที่เท่าเทียม และระบบประกันสังคม ซึ่งยังไม่ครอบคลุมในการดูแลผู้หญิง และผู้ประกันตนทั่วไป และอยากให้รัฐบาลได้จัดกิจกรรมให้กับผู้หญิง เพื่อยกระดับให้เห็นถึงความสำคัญของผู้หญิง และเป็นการสร้างความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันโดยใช้กิจกรรมเป็นตัวเชื่อมโยง

สินค้าแพง ! ความหวังขึ้นค่าแรง 300 บาท

วันนี้ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ดูเหมือนจะเป็นความหวังของคนงาน รัฐบาลใหม่ (พรรคเพื่อไทย) ที่ประกาศเป็นนโยบายว่า ทำได้ทันทีที่เป็นรัฐบาล เช่นเดียวกับ ชีวิตของแรงงานหญิงคนหนึ่งในเขตอุตสาหกรรมสระบุรี ที่แอบหวังอยู่ลึกๆว่า การขึ้นค่าจ้าง 300 บาท พอที่จะช่วยแบ่งเบาภาระให้เธอได้ ภายใต้ความหวังถ้ารัฐบาลควบคุมสินค้าถูกลงได้ เพราะทุกวันนี้ก็แบกรับภาระครอบครัวคนเดียวต้องเลี้ยงดู บุตร 2 คน ซึ่งเธอได้แยกทางกับสามีตั้งแต่คลอดบุตรคนที่สอง ปัจจุบันนี้ค่าใช้จ่ายก็ซักหน้าแทบไม่ถึงหลังอยู่แล้ว

ความหวังในชีวิตแรงงานจนๆ

ในยุคที่เศรษฐกิจภายในประเทศไทยที่ต้องพึ่งพากำลังซื้อ เนื่องจากตลาดภายนอกประเทศส่วนใหญ่เกิดปัญหา แต่มีคนอีกจำนวนมากที่มีฐานะยากจนถึงไม่รัดเข็มขัดแทบจะไม่มีกินอยู่แล้ว ยิ่งมาเจอปัญหา สินค้าราคาแพงในขณะที่ค่าแรงสุดต่ำ ทำให้ผู้ใช้แรงงานต้องดิ้นรน บางคนต้องยอมเป็นหนี้บัตรเครดิต หนี้นอกระบบ เพราะบางครั้งไม่มีงานล่วงเวลา ทำให้ค่าจ้างที่ได้รับเพียงน้อยนิด ไม่เพียงพอที่จะเลี้ยงดูครอบครัว และตัวเองได้จนต้องไปเอาเงินในอนาคตมาใช้ และต้องทำงานที่มากกว่า 8 ชั่วโมง บวกการทำงานล่วงเวลา เช่นวันละ 12-18 ชั่วโมง หรืออาจทำงานมากกว่านี้ด้วยซ้ำไปเพื่อให้ได้ค่าจ้างที่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้

1 20 21 22 27