อ้อมน้อย-อ้อมใหญ่สร้างความเข้าใจ เตรียมล่าลายมือชื่อเสนอกฎหมาย

กลุ่มสหภาพแรงงานอ้อมน้อย – อ้อมใหญ่ ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาครและนครปฐม ประกอบด้วยสมาชิกสหภาพ 14 สหภาพฯ ได้จัดประชุมเพื่อชี้แจงสาระสำคัญของร่างพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ ฉบับขบวนการแรงงาน เพื่อให้คนงานในพื้นที่ได้รับรู้เข้าใจ และนำไปสู่การล่ารายมือชื่อในการเสนอกฎหมายต่อสภาผู้แทนราษฎร

ปฏิรูปแรงงานสัมพันธ์ ดันกฎหมายเข้าสภา

ปฏิรูปแรงงานสัมพันธ์ ดันกฎหมายเข้าสภา
คสรท. จัดสัมมนา “ยุทธศาสตร์การผลักดันร่าง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฉบับบูรณาการแรงงาน เข้าสู่สภาผู้แทนฯ” หวังปฏิรูประบบแรงงานสัมพันธ์ให้เกิดความเท่าเทียมเสมอภาค และเกิดการรวมตัวอย่างกว้างขวางของแรงงานทุกกลุ่มโดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติและได้รับการคุ้มครอง อันจะเป็นปัจจัยพื้นฐานสู่การพัฒนาเสริมสร้างการทำงานที่มีคุณค่าอย่างยั่งยืน และยังเป็นปัจจัยหนุนเสริมการขยายตัวทางเศรษฐกิจในกระแสการแข่งขันทางการค้าที่ประชาคมโลกยอมรับเรื่องมาตรฐานสิทธิมนุษยชนและสิทธิแรงงาน ซึ่งการมีกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ที่ไม่สามารถสร้างความเป็นธรรมให้กับแรงงานได้ ทำให้เกิดผลกระทบต่อแรงงานอย่างมากดังเช่นกลุ่มแรงงานที่ประสบภัยน้ำท่วมในครั้งที่ผ่านมาต้องประสบ

ยุทธศาสตร์ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ 2555

พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ 2555
แรงงานสัมพันธ์แบบเดิมใช้ระบบแรงงานสัมพันธ์ที่เรียกว่า นายกับบ่าว ถูกร่างขึ้นมาในยุคที่เราต้องการที่จะเอาใจนักลงทุนให้นักลงทุนเขารู้สึกมั่นใจว่าเขามาลงทุนแล้วเขาจะได้ประโยชน์สูง เพราะฉะนั้นด้วยกรอบแบบนั้นก็ทำให้ไม่สามารถที่จะสร้างระบบแรงงานสัมพันธ์ที่ดี คือระบบแรงงานสัมพันธ์ที่สามารถทำให้ผู้ประกอบการ หรือนักลงทุนกับผู้ใช้แรงงานสามารที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และแบ่งปันกันอย่างเป็นธรรม ถึงเวลาที่จะต้องปรับเปลี่ยน ทบทวนหลักการของกฎหมายเสียใหม่ เปลี่ยนเป้าหมายให้หันมาสู่การสร้างความเป็นธรรมให้กับคนงานซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของสังคม เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะทางเศรษฐกิจสังคม และการเมือง

เกษตรพันธสัญญา ความจริงที่พูดไม่ได้

สังคมไทยกับการเดินห้าพัฒนาเศรษฐกิจด้วยระบบอุตสาหกรรมมุ่งเน้นการผลิตขนาดใหญ่และประสิทธิภาพแห่งการลงทุนด้วยเม็ดเงินมหาศาล การเกษตรคือส่วนหนึ่งที่ถูกรวมไว้ในแผนพัฒนาและเกษตรกรคือฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อน แต่อนาคตของผู้คนเหล่านี้กลับกำลังถูกสั่นคลอน การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบอุตสาหกรรมเกษตรนั้นเกษตรพันธสัญญาคือยุทธศาสตร์สำคัญที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตการค้าเกษตรเพื่อแข่งขันกับนานาประเทศ เกษตรกรถูกชักชวนให้ร่วมทำการผลิตโดยมีข้อผูกพันกับบริษัทมีการกำหนดเงื่อนไขซื้อขายต่อกัน ตั้งแต่สายพันธ์ วัตถุดิบรูปแบบวิธีการและปัจจัยการผลิต คุณภาพรวมทั้งราคาที่ถูกกำหนดโดยบริษัทที่ตกลงทำสัญญากันไว้เป็นสัญญาที่มาพร้อมกับความหวังว่าเกษตรกรจะหลุดพ้นจากบ่วงแห่งความยากจน เมื่อความเป็นจริงไม่เป็นอย่างที่ฝันไว้ระบบเกษตรพันธสัญญามีเงื่อนไขและข้อจำกัดหลายประการที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารและคุณภาพชีวิตของทั้งผู้ผลิต และผู้บริโภค รวมถึงความเหลื่อมล้ำอันเกิดจากกลไกภาครัฐ กฎหมายและนโยบายที่จะกำกับดูแลให้เกิดความเป็นธรรมแก่เกษตรกรหลากผู้คนหลายครัวเรือนต้องตกอยู่ในชะตากรรมเดียวกัน ระบบห่วงโซ่ของสังคมถูกรวมศูนย์ภายใต้การผลิตของบริษัทการเกษตรขนาดใหญ่

ข้อเสนอแก้ปัญหาเกษตรพันธสัญญา

ข้อเสนอแก้ปัญหาเกษตรพันธสัญญา
ข่าว Thai PBS New ออกอากาศเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2555
เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากเกษตรพันธสัญญา ยื่นข้อเสนอ แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อสำรวจและขึ้นทะเบียนผู้ที่ได้รับผลกระทบที่จะต้องได้รับการเยียวยาภายใน 3 เดือน จากนั้นให้ตั้งคณะทำงานกลางเพื่อแก้ไขความเดือดร้อนจากความไม่เป็นธรรมและหนี้สินให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน หลังจากที่มีข้อมูลชี้ชัดว่าเกษตรพันธสัญญานอกจากส่งผลกระทบต่อเกษตรกรโดยตรงแล้ว ยังกระทบต่อความมั่นคงด้านอาหารและคุณภาพชีวิตของทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค

ให้รัฐแก้ปัญหาเกษตรพันธสัญญา

ให้รัฐแก้ปัญหาเกษตรพันธสัญญา
ข่าว Thai PBS New ออกอากาศเมิอวันที่ 15 มิถุนายน 2555
กลุ่มเกษตรพันธสัญญาออกมาเรียกร้องให้ภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือและดูแลหนี้สินเกษตรกรที่เกิดจากการถูกผูกขาดด้วยระบบการลงทุนจากบริษัทเจ้าของผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้ลงทุนแต่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ

ปิยเชษฐ์ แคล้วคลาด ประธาน คสรท. คนแรก

vtr. ปิยเชษฐ์ แคล้วคลาด
ฉายในงาน โครงการยุทธศาสตร์สู่ทศวรรษใหม่ คสรท. การประชุมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่1 เรื่อง แผนการจัดทำการยุทธศาสตร์สู่ทศวรรษใหม่ วันที่ 24 มิถุนายน 2555 จัดโดย คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ร่วมกับ มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท

สู่ทศวรรษใหม่ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย

แม้วันนี้เราจะยังไม่บรรลุเป้าหมายในการสร้างความเข้มแข็งและเป็นเอกภาพให้ปรากฏเป็นจริง แม้วันนี้เสียงของเราจะยังดังไม่เพียงพอที่จะบอกให้สังคมนี้ได้รับรู้ถึงปัญหาที่แรงงานเผชิญอยู่ แม้วันนี้พลังของเราจะยังไม่มากพอที่จะหยุดยั้งการกดขี่เอารัดเอาเปรียบผู้ใช้แรงงานในประเทศนี้ได้ แต่พวกเราจะไม่ยอมหยุดอยู่กับที่ และจะไม่ยอมให้ผู้ใช้แรงงานในประเทศนี้ต้องเป็นฝ่ายถูกกระทำแต่ฝ่ายเดียวอีกต่อไป มาร่วมกันปฏิบัติภารกิจทางประวัติศาสตร์เพื่อสร้างความเข้มแข็งเป็นเอกภาพให้กับ “คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย” เพื่อเป็นองค์กรสามารถปกป้องคุ้มครองผลประโยชน์ของแรงงานในประเทศนี้ให้จงได้

สัมภาษณ์ อรทัย ใจเสมอ ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วม

สัมภาษณ์ อรทัย ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วม
ภายหลังจากน้ำลดไปแล้ว 6 เดือน แต่การแก้ไขปัญหาจากทางรัฐบาลก็ยังคลุมเครือไม่ชัดเจน หรือแม่แต่กระทรวงแรงงานเอง ก็ไม่ได้ตระหนักในความเดือดร้อนของแรงงานเท่าที่ควร จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้นายจ้างหลายบริษัทฉวยโอกาสเลิกจ้างคนงานอย่างไม่เป็นธรรม โดยอ้างว่าบริษัทขาดทุนแบกรับภาระหนี้สินต่อไปไม่ไหวสารพัดปัญหาที่นายจ้างยกมาเป็นข้ออ้าง ดังตัวอย่างของ อรทัย ใจเสมอ ทำงานที่บริษัทแห่งหนึ่งใน จ.ระยอง ซึ่งมีสาขาอยูที่ จ.พระนครศรีอยุธยา บริษัทแห่งนี้ผลิตเสื้อผ้าส่งออก อรทัยเล่าว่าตนเองทำงานอยู่ที่บริษัทแห่งนี้มาเป็นเวลา 2 ปีกว่าแล้ว โดยทำงานประจำอยู่ที่สาขาอยุธยา แต่ตอนนี้ตนป่วยเป็นโรคไตต้องฟอกเลือดอาทิตย์ละ 2 ครั้ง ค่ารักษาพยาบาลครั้งละ 1,800 บาท และตอนนี้ตนต้องทำเส้นชั่วคราว เส้นเทียมมีค่าใช้จ่ายประมาณ 10,00-15,000 บาท ต้องสำรองจ่ายเองทุกครั้งที่เข้ารักษามาตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมา เพราะเสียสิทธิประกันสังคมเนื่องจากนายจ้างแจ้งประกันสังคมว่าตนเองได้ลาออกจากงานไปแล้วทั้งๆที่ตนนั้นไม่รู้ว่าตัวเองได้ถูกเลิกจ้าง

เวทีเสวนา ความร่วมมือในการช่วยเหลือและฟื้นฟูแรงงานที่ประสบภัยน้ำท่วม

เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคมที่ผ่านมา คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ร่วมกับ ศูนย์ช่วยเหลือและฟื้นฟูแรงงานที่ประสบภัยน้ำท่วมและแผนงานคุณภาพชีวิตแรงงาน(สสส.) ได้จัดเวทีเสวนา ความร่วมมือในการช่วยเหลือและฟื้นฟูแรงงานที่ประสบภัยน้ำท่วม ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมอยุธยาแกรนด์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา การจัดเสวนาในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากนายอนุสรณ์ ไกรวัตนุสสรณ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายอนุสรณ์กล่าวว่าหลังจากน้ำท่วมผ่านพ้นไปแล้วทางรัฐบาลก็ไม่ได้นิ่งนอนใจพยายามที่จะหาทางช่วยเหลือพี่น้องประชาชนคนงานที่ได้รับความเดือดร้อนมาโดยตลอดเพียงแต่อาจจะยังไม่ทั่วถึงในบางพื้นที่เนื่องจากบางครั้งทางหน่วยงานของภาครัฐเองอาจจะทำงานล่าช้า เนื่องจากขั้นตอนในการทำงานอาจจะซับซ้อนหลายขั้นตอนแต่ตนก็ขอยืนยันว่าทางหน่วยงานของภาครัฐพยายามจะช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนอย่างเต็มความสามารถสำหรับผู้ที่ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือ สามารถติดต่อหน่วยงานของทางภาครัฐหรือติดต่อมาที่ตนโดยตรงก็ได้ เพื่อที่จะหาแนวทางในการช่วยเหลือต่อไป

กมล ทองออน ศูนย์ข่าวแรงงานภาคตะวันออก ชลบุรี รายงาน

เกษตรพันธสัญญา:ใครอิ่ม ใครอด

การพัฒนาสู่ความเป็นอุตสาหกรรมของประเทศไทยได้รวมถึงการพัฒนาในด้านการเกษตรเข้าไว้ด้วย แบบแผนการผลิตของอุตสาหกรรมได้มุ่งเน้นการผลิตขนาดใหญ่และประสิทธิภาพของการลงทุนในช่วงการเปลี่ยนผ่านของการเป็นอุตสาหกรรมเกษตรกรนี้ ระบบเกษตรพันธสัญญาคือ การชักชวนให้เกษตรกรรายย่อยเข้าร่วมทำการผลิตโดยมีข้อผูกพันกับบริษัท ผู้ประกอบการได้ใช้ระบบนี้เป็นเครื่องมือสำคัญในการลงทุนที่ครอบคลุมหลายสาขาทางการเกษตร นับตั้งแต่การเลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ ปลูกผัก เลี้ยงปลา ระบบการผลิตในระบบพันธสัญญาครอบครองสัดส่วนของผลผลิตอาหารที่ตอบสนองการบริโภคของประชาชนในสัดส่วนที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ระบบห่วงโซ่อาหารของสังคม ถูกรวมศูนย์ภายใต้การผลิตของบริษัทการเกษตรขนาดใหญ่ขณะที่ข้อเท็จจริงของการผลิต ทั้งในมุมที่เป็นมูลค่าและคุณค่าทางเศรษฐกิจและมุมที่ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของผู้ที่เกี่ยวข้อง ยังไม่ได้นำมาพิจารณาอย่างรอบด้าน เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างการผลิตและการบริโภคอย่างเป็นธรรม

ตื่น!แก้ปัญหาแรงงานต้องตั้งพรรคการเมือง เลิกเกาะเผด็จการทุน-อำมาตย์

วงเสวนาชี้ ทนง โพธิ์อ่าน หายสาบสูญแล้ว 21 ปี เพราะเขาต่อต้านที่รัฐบาลรัฐประหารยกเลิกสิทธิของคนงาน หลายคนบอกว่าถึงเวลาแล้วที่ควรจะมีพรรคของคนงาน แต่พี่น้องในขบวนการแรงงานก็ยังไม่ได้เห็นไปในทิศทางเดียวกัน มีทั้งเหลืองทั้งแดงที่ปนอยู่ สิ่งเหล่านี้ต้องใช้เวลาในการที่จะมาพูดคุยกันและหาการพัฒนาไปถึงจุดนั้น แต่ถึงที่สุดแล้ว ต้องเข้าใจว่าการเมืองเป็นเรื่องที่แยกจากผู้ใช้แรงงานไม่ได้ การที่จะแก้ปัญหาแรงงานท้ายที่สุดตัดสินกันที่อำนาจทางการเมือง แต่ที่ผ่านมาการหวังพึ่งพรรคการเมืองที่มีเผด็จการหนุน หรือนายทุนเป็นเจ้าของพรรคไม่เกิดประโยชน์ต่อแรงงาน การเมืองของคนงานจำต้องอาศัยพลังของพี่น้องผู้ใช้แรงงานที่ตื่นตัวรวมกันเป็นเอกภาพถึงจะมีอำนาจในการต่อรอง วันหนึ่งข้างหน้าแรงงาน 38 ล้านคนจะมีเสียงดังกว่านี้ จะมีตัวแทนที่แท้จริงของคนงานอยู่ในสภา
( เชิญชม คลิปวิดีโอ การบรรยายพิเศษ และ การเสวนา แบบเต็มๆ)

1 13 14 15 25