จี้รัฐเร่งรับรอง ILO. 87-98 ชี้ลดกีดกันการค้า สร้างความเป็นธรรมสังคม

องค์การแรงงานระหว่างประเทศ หรือ ไอ แอล โอ ร่วมกับสหภาพแรงงานไทย จัดการประชุมการให้สัตยาบันและการปฏิบัติตามอนุสัญญา ไอ แอล โอ ฉบับที่ 87และ 98 เมื่อวันที่ 29-30 สิงหาคม 2555 ที่โรงแรมอมารี วอเตอร์เกต กรุงเทพ
ที่ผ่านมา ไอ แอล โอ และองค์กรแรงงานต่างๆ ในประเทศไทยได้ร่วมกันผลักดันให้เกิดการรับรองอนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว ซึ่งก่อให้เกิดความตระหนักถึงความจำเป็นของอนุสัญญาในกลุ่มแรงงาน ข้าราชการ สมาชิกรัฐสภาและสื่อมวลชนว่า การให้สัตยาบันอนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับ จะช่วยลดปัญหาเรื่องแรงงานสัมพันธ์ของประเทศไทยในปัจจุบัน การพัฒนาสิทธิแรงงานให้ดีขึ้นเป็นการสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ใช้แรงงาน ซึ่งจะส่งผลให้ประสิทธิภาพในการผลิตสูงขึ้น อันจะนำไปสู่การเติบโตของภาคเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม การให้สัตยาบันยังช่วยให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นในยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งหลายประเทศใช้มาตรฐานแรงงานเป็นเครื่องมือในการกีดกันทางการค้า และในระยะยาว การให้สัตยาบันจะช่วยสร้างสังคมที่มีความเท่าเทียม แบ่งบันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม และลดช่องว่างทางรายได้

อบรมเขียนข่าว สร.ไทยเรยอน

สหกรณ์ออมทรัพย์สหภาพแรงงานไทยเรยอน จำกัด และสหภาพแรงงานไทยเรยอน อบรมเข้มทักษะการเขียนข่าวสำหรับงานสหภาพแรงงาน ให้กับเจ้าหน้าที่และกรรมการ เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ เรียนรู้ทักษะ การเขียนข่าวเบื้องต้น พร้อมกับฝึกเขียนข่าว ให้นำไปปรับใช้ในการทำงาน และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในในองค์กร จัดขึ้นระหว่างวันที่ 26-27 สิงหาคม 2555 ณ 27 รีสอร์ท อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี
นักสื่อสารแรงงาน รายงาน

ยื่น 12,567 ชื่อ! เสนอ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์

เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2555 เครือข่ายแรงงาน นำโดยคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ร่วมกับเครือข่ายภาคประชาชนและเครือข่ายนิสิตนักศึกษาประมาณ 200 คน นำรายชื่อจำนวน 12,567 รายชื่อ เสนอร่างพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ ฉบับบูรณาการแรงงานต่อ นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ รองประธานรัฐสภาคนที่ 2 เพราะที่ผ่านมาแรงงานได้รับผลกระทบจากนโยบายรัฐที่เลือกปฏิบัติและ ถูกเอารัดเอาเปรียบ ทำให้มีรายได้ต่ำ ไร้สิทธิ ไร้โอกาส ฝ่ายแรงงานจึงจำเป็นต้องริเริ่มให้มีการปฏิรูประบบแรงงานสัมพันธ์ให้สามารถคุ้มครองและเกิดความมั่นคงอันจะนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีของแรงงานทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียม โดยเนื้อหาสำคัญของร่างกฎหมายฉบับนี้ คือ ส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมระหว่างผู้จ้างงานและคนทำงานในฐานะหุ้นส่วนสังคมและเศรษฐกิจ ส่งเสริมเสรีภาพในการรวมตัวเจรจาต่อแรงโดยปราศจาการแทรกแซงและคุกคาม และส่งเสริมการจ้างงานตามหลักการ งานที่มีคุณค่าหรือ Decent work ให้ครอบคลุมแรงงานทุกกลุ่มโดยไม่แบ่งแยก

สัมมนา ความไม่เป็นธรรมด้านเศรษฐกิจและแรงงาน

(เผยแพร่ใหม่หลังจากเว็บไซต์ถูกแฮ็กเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 55)
องค์กรเพื่อแรงงานงานทำงานเชิงรุก ชูนโยบายหนุนรัฐแก้ไขปัญหาความไม่เป็นธรรมด้านเศรษฐกิจและแรงงาน
วันที่ 15 กรกฎาคม 2555 โครงการพัฒนาความไม่เป็นทางสังคม เพื่อสังคมสุขภาวะ สถาบันวิจัยสังคมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดเวทีสัมมนารายงานผลวิจัยเรื่องความไม่เป็นธรรมด้านเศรษฐกิจและแรงงาน ปัญหาและข้อเสนอเชิงนโยบาย ณ โรงแรมรอยัล กทม. สนับสนุนโดย สำนักกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
(สสส. )
ผศ.ดร.นภาพร อติวานิชยพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักบัณฑิตย์อาสาสมัคร ม.ธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นผู้วิจัย
จากการวิจัยจะเห็นว่าแรงงานไทยยังเป็นกลุ่มประชากรที่ยังไม่ได้รับความเป็นธรรมในสังคมและมีปัญหาความไม่ปลอดภัย เข้าไม่ถึงสวัสดิการด้านสุขภาพเนื่องจากการพัฒนาทุนในยุคโลกาภิวัตน์ ได้ทำให้รูปแบบการจ้างแรงงานสลับซับซ้อนมากขึ้นแรงงานจึงไม่ใช่ลูกจ้างประจำในสถานประกอบการณ์ในภาครัฐและเอกชน แต่ถูกแบ่งย่อยออกเป็นหลายประเภท เช่น แรงงานในระบบ แรงงานนอกระบบ แรงงานข้ามชาติและรงงานไร้รัฐ แรงงานไทยที่ไปทำงานในต่างประเทศโดยแต่ละประเภทไม่ได้รับความเป็นธรรมและมีปัญหาในด้านสุขภาวะในระดับที่แตกต่างกันออกไป
กระมนต์ ทองออน นักสื่อสารแรงงานศูนย์ข่าวสมุทรปราการ รายงาน

(เผยแพร่ใหม่หลังจากเว็บไซต์ถูกแฮ็กเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 55)

รายการเปิดปม ตีแผ่ความจริง : ชำแหละเกษตรพันธสัญญา

รายการเปิดปม ตีแผ่ความจริง : ชำแหละเกษตรพันธสัญญา
สถานี Thai PBS ออกอากาศเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2555
สัปดาห์นี้เปิดปมติดตามปัญหาของเกษตรกรที่มุ่งผลิตเพื่อป้อนบริษัทอุตสาหกรรมอาหารและการเกษตร หรือที่เรียกว่าเกษตรพันธสัญญา การรับประกันราคาและไม่ต้องกังวลกับปัญหาตลาดรองรับ เป็นเงื่อนไขจูงใจให้เกษตรกรหลายแสนคนเดินเข้าสู่ระบบเกษตรพันธสัญญา แต่เมื่อลงพื้นที่พูดคุยกับเกษตรกรหลายรายกลับพบว่าหลายคนกลายเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้น บางคนถึงกับเลิกกิจการ อะไรที่ทำให้เกษตรกรจำนวนหนึ่งต้องพบกับความล้มเหลว

(เผยแพร่ใหม่หลังจากเว็บไซต์ถูกแฮ็กเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 55)

ประชาพิจารณ์ อนุสัญญา ILO 87-98

(เผยแพร่ใหม่หลังจากเว็บไซต์ถูกแฮ็กเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 55)
เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2555 ที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กระทรวงแรงงานจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นเรื่อง การให้สัตยาบันอนุสัญญา ILO. 87-98 ที่ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพในการรวมตัวและเจรจาต่อรอง ซึ่งถือเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน โดยยังมีข้อกังวลจากบางหน่วยงานในเรื่องของแรงงานข้ามชาติกับปัญหาความมั่นคง ขณะที่ฝ่ายแรงงานเสนอให้รับรองอนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับได้แล้ว เพราะผ่านการถกเถียงมายาวนานมีข้อสรุปว่าเกิดผลดีต่อประเทศในด้าน การค้า การลงทุน การดูแลปัญหาแรงงานข้ามชาติที่ยังเป็นที่ต้องการของไทยก็จะทำได้ง่าย โดยกระทรวงแรงงานฯ จะเสนอผลการรับฟังความคิดเห็นต่อ ครม. เพื่อดำเนินการให้สัตยาบันต่อไป
นักสื่อสารแรงงาน รายงาน

(เผยแพร่ใหม่หลังจากเว็บไซต์ถูกแฮ็กเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 55)

QPS บริการสาธารณะที่มีคุณภาพ

(เผยแพร่ใหม่หลังจากเว็บไซต์ถูกแฮ็กเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 55)
เมื่อวันที่ 23กรกฎาคม 2555 สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ จัดสัมมนาเรื่อง ยุทธศาสตร์การรณรงค์เพื่อการบริการสาธารณะที่มีคุณภาพในประเทศไทย เพื่อให้ประชาชนได้รับการบริการสาธารณะต่างๆที่คำนึงถึงคุณภาพและความปลอดภัยมากกว่าผลกำไร ประชาชนทุกคนเข้าถึงได้ มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ต้องสนับสนุนให้แรงงานมีความมั่นคงในการทำงาน มีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายต่างๆ โดยสหพันธ์แรงงานในสาขาวิชาชีพต่างๆในระดับสากล 13 องค์กร ร่วมกันรณรงค์เรื่อง การบริการสาธารณะที่มีคุณภาพ หรือ QPS เริ่มตั้งแต่ปี 2554 และกำหนดให้วันที่ 23 มิถุนายนของทุกปีเป็น “วันบริการสาธารณะโลก”

(เผยแพร่ใหม่หลังจากเว็บไซต์ถูกแฮ็กเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 55)

คสรท.เปิดผลสำรวจขึ้นค่าจ้าง ลจ.ร้องเรียนกว่า 5 พันคน

เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2555 คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ได้เปิดเผยผลสำรวจการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ที่ผ่านมาเกือบ 4 เดือน ได้รับการร้องเรียนรวมทั้งสิ้น 5,134 คน พบปัญหาหลักคือ

– กรณีไม่มีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำมี 2,380 คน ในกิจการโรงแรม การขนส่ง การผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์รถยนต์ และในธุรกิจจิวเวอรี่

– กรณีการปรับเปลี่ยนสภาพ เช่น โยกย้ายตำแหน่ง ลดสวัสดิการ หรือย้ายฐานการผลิต มี 2,168 คน ในกิจการสิ่งทอ เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม

– กรณีการนำสวัสดิการมารวมกับค่าจ้าง 586 คน ในกิจการอิเล็คทรอนิคส์ การบริการ ธุรกิจขนส่ง อาหาร และเฟอร์นิเจอร์

คสรท.จึงเสนอให้กระทรวงแรงงานมีมาตรการในการทำให้นโยบายการปรับเพิ่มค่าจ้างเป็นจริง รวมทั้งเสนอให้ตั้งคณะกรรมการระดับชาติขึ้นมาแก้ไขปัญหาที่ได้รับการร้องเรียนจำนวนมาก

นักสื่อสารแรงงาน รายงาน

(เผยแพร่ใหม่หลังจากเว็บไซต์ถูกแฮ็กเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 55)

คสรท. มอบดอกไม้ให้กำลังใจสสท.

เมื่อวานนี้ (20 ก.ค.55) นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ได้เดินทางเข้ามอบกระเช้าดอกไม้ให้กับกับองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ไทยพีบีเอส) ซึ่งมีนายอโณทัย อุดมศิลป์ ผู้อำนวยการสถาบันวิชาการสื่อสาธารณะ ไทยพีบีเอส และนางสาวสุมนา สุวรรณอำภา ผู้อำนวยการสำนักรับฟัง และการมีส่วนร่วมไทยพีบีเอส เป็นตัวแทนในการรับกระเช้าดอกไม้

(เผยแพร่ใหม่หลังจากเว็บไซต์ถูกแฮ็กเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 55)

คนเคลื่อนข่าว ข่าวเคลื่อนคน

(เผยแพร่ใหม่หลังจากเว็บไซต์ถูกแฮ็กเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 55)
โครงการสื่อสารสุขภาวะของคนชายขอบ จัดเสวนา “คนเคลื่อนข่าว ข่าวเคลื่อนคน” เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2555 ที่ห้องสมุดบ้านอารีย์ ซอยอารีย์1 กรุงเทพฯ ในโอกาสปิดโครงการซึ่งทำงานมาแล้ว 2 ปี นายภาสกร จำลองราช กล่าวถึงงานโครงการว่า ได้นำพี่น้องนักข่าวหลายคนลงไปสัมผัสและทำข่าวชาวบ้านที่เป็นคนชายขอบกลุ่มต่างๆ ซึ่งปัญหาความเดือดร้อนบางเรื่องก็ได้รับการแก้ไข แต่บางเรื่องก็เป็นแค่ปรากฎการณ์ข่าว และตอนนี้ก็กำลังสนใจเรื่องผลกระทบข้ามแดน เพราะกระแสอาเซียนกำลังแรงแต่การเชื่อมร้อยระดับล่างระหว่างประเทศยังไม่ค่อยเห็น จึงเป็นความท้าทายของคนทำข่าว การเสวนาวันนี้จึงอยากฟังเสียงสะท้อนในภาวะที่สื่อมวลชนถูกตั้งคำถามอย่างมากในบทบาทหน้าที่

วิดีโอข่าวลงพื้นที่ 1.สำรวจอ่าวตัว ก. 2.แรงงานในอุทกภัย 3.วันเด็ก 2 ฝั่งโขง 4.สำรวจต้นน้ำภาคเหนือศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นและธรรมยาตราเพื่อแม่น้ำโขง 5.อุ้มผาง การจัดการตัวเองและชุมชนกระเหรี่ยงฤาษี 6.ผู้เฒ่าไร้สัญชาติ
(เผยแพร่ใหม่หลังจากเว็บไซต์ถูกแฮ็กเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 55)

คสรท.มอบเงินช่วยเหลือ ตุลา ปัจฉิมเวช ย้ำให้ผู้ใช้แรงงานหมั่นตรวจสุขภาพ

คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยกับที่มาของการระดมทุนในการช่วยเหลือขบวนการแรงงานหรือคนที่ต่อสู้เพื่อผู้ใช้แรงงานมาตลอด อยู่มาวันหนึ่งเกิดล้มป่วยขึ้นมา ซึ่งการช่วยเหลือคนงานตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา จนไม่มีเวลาไปตรวจสุขภาพร่างกายหรือการไปทำบัตรในการใช้สิทธิใดๆเลย พอล้มป่วยขึ้นมาก็ไม่มีสิทธิในการไปใช้บริการในจุดนั้น จึงเป็นแนวคิดในการจัดตั้งกองทุน และในนามจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือขึ้นมาถึงแม้วันนี้มันยังไม่มีทิศทาง ยังหละหลวม และหวังว่าในอนาคตจะต้องมีการพัฒนาให้โตขึ้น สังคมก็จะเข้ามามองความสำคัญของของคนที่ทำงานเพื่อขบวนการแรงงานเพื่อสังคม

เวทีสัมมนาเชิงวิชาการ เรื่อง เกษตรกรพันธสัญญา ใครอด ใครอิ่ม?

เมื่อวันที่ 26-27 มิถุนายน 2555 ศูนย์ประสานงานคณะเครือข่ายเกษตรกรพันธสัญญา ได้จัดเวทีสัมมนาเชิงวิชาการเรื่องเกษตรกรพันธสัญญา ใครอิ่ม ใครอด ณ ห้องประชุมจุมภฎ พันธุ์ทิพย์ อาคารประชาธิปก –รำไพพรรณี คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยในการจัดสัมมนาในครั้งนี้มีหลายหน่วยงานได้เข้าแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน ได้แก่ เครือข่ายเกษตรกรพันธสัญญา เกษตรกรผู้เลี้ยงหมู ,ไก่ , ปลากระชัง , ข้าวโพด , อ้อย เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคอิสาน มูลนิธิชีวะวิถี สถาบันชุมชนเพื่อการเกษตรยั่งยืน มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานรัฐและคณาจารย์คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยหัวข้อหลักในการสัมมนาในครั้งนี้เกี่ยวเนื่องกับความเดือดร้อนของกลุ่มเกษตรกรผู้ที่ทำการเกษตรแบบเกษตรพันธสัญญาตามนโยบายของรัฐที่โดนเอารัดเอาเปรียบจากกลุ่มนายทุนที่เข้ามาร่วมทุน แล้วฉวยโอกาสกอบโกยผลประโยชน์ โดยไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนของเกษตรกร
กระมนต์ ทองออน ศูนย์ข่าวภาคตะวันออก ชลบุรี-ระยอง รายงาน

1 12 13 14 25