แรงงานข้ามชาติเรียกร้องรัฐยุตินโยบายละเมิดสิทธิทบทวนกฎหมายและระเบียบที่เลือกปฏิบัติ

แรงงานข้ามชาติร่วมกับสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.) และคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) เรียกร้องให้รัฐบาลเปิดให้มีการขึ้นทะเบียนเเรงงานข้ามชาติทั้งหมด ทบทวนนโยบายกวาดล้างแล้วผลักดันเเรงงานข้ามชาติกลับประเทศต้นทาง ให้หน่วยงานองค์การสหประชาชาติร่วมตรวจสอบกรณีการละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติ ยกเลิกกฎหมายและนโยบายเลือกปฏิบัติต่อแรงงานข้ามชาติ และการหักเงินค่าจ้างเข้ากองทุนเพื่อการส่งกลับ ตลอดจนกำหนดนโยบายจัดการเเรงงานข้ามชาติระยะยาวให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เป็นจริงของการย้ายถิ่นและความต้องการเเรงงานของประเทศ และให้ประเทศไทยและสมาชิกอาเซียนเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองเเรงงานข้ามชาติและครอบครัว เนื่องในวันเเรงงานข้ามชาติสากล วันที่ 18 ธันวาคม 2553 

การเคลื่อนย้ายถิ่นฐานข้ามชาติของเเรงงานไม่ใช่เรื่องใหม่ของประเทศไทย จากนโยบายของรัฐบาลที่ผ่อนผันให้ขึ้นทะเบียนเเรงงานข้ามชาติที่เข้าเมืองโดยผิดกฎหมายเพื่อให้แรงงาน "อยู่อาศัยและทำงานในประเทศไทยได้ชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับ" โดยเปิดให้ขึ้นทะเบียนเป็นรายปีตลอดช่วงระยะเวลากว่า 20 ปีที่ผ่านมา ต่อมาจึงกำหนดนโยบายการจัดการเเรงงาน โดยทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับประเทศลาว กัมพูชา และพม่า ในปี 2545 และ 2546 เพื่อสร้างความร่วมมือในการนำเข้าเเรงงานจากทั้งสามประเทศอย่างถูกกฎหมายและเพื่อดำเนินการพิสูจน์สัญชาติเเรงงานที่หลบหนีเข้าเมืองที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับทางราชการแล้ว

ตัวเลขอย่างเป็นทางการระบุจำนวนเเรงงานข้ามชาติที่ขึ้นทะเบียนไว้ในปี 2553 มีกว่า 1.3 ล้านคน ขณะที่ประมาณการตัวเลขที่เเท้จริงของเเรงงานข้ามชาติและผู้ติดตามที่เข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยมีจำนวนกว่า 2 ล้านคน ในจำนวนนี้กว่า80 % เป็นเเรงงานจากประเทศพม่า การที่มีแรงงานจากประเทศพม่าหลั่งไหลเข้ามาสู่ประเทศไทยจำนวนมหาศาลนั้น นอกจากภาวะกดดันทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจ ตลอดจนการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศดังกล่าวจะเป็นเเรงผลักสำคัญก็ตาม ความต้องการเเรงงานในประเทศไทยโดยเฉพาะในภาคการผลิตที่ต้องทำงานหนัก สกปรก เสี่ยงต่ออันตรายและมีปัญหาสุขภาพก็เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล เนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และแรงงานไทยมีจำนวนน้อย ทั้งไม่นิยมทำงานดังกล่าวเช่น งานประมง งานเกษตร และงานก่อสร้าง เป็นต้น ทั้งความต้องการก็มีแนวโน้มสูงยิ่งขึ้น  จากผลวิจัยชี้ว่า อัตราการพึ่งพิงเเรงงานข้ามชาติในภาคการผลิตไทยคิดเป็น 9% ของแรงานทั้งหมด และหากคิดเฉพาะสำหรับงานที่กล่าวข้างต้น  มีอัตราการพึ่งพิงเเรงงานข้ามชาติสูงถึง16% ของกำลังเเรงงานทั้งหมด โดยกำลังแรงงานข้ามชาติได้สร้างผลผลิตมวลรวม (GDP) ให้กับเศรษฐกิจไทยมากมายมหาศาล รัฐบาลได้แถลงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองและการจ้างเเรงงานข้ามชาติว่าจะดำเนินการให้สอดคล้องกับความต้องการกำลังเเรงงานของประเทศและความสมดุลระหว่างสิทธิมนุษยชนกับความมั่นคงของชาติ แต่ในความเป็นจริงการปฏิบัติตามนโยบายดังกล่าวยังมีปัญหามากมาย
 
1. กระบวนการพิสูจน์สัญชาติที่ล่าช้าและไม่สามารถเข้าถึงเเรงงานได้อย่างทั่วถึงทำให้มีเเรงงานที่แสดงความจำนงเข้ารับการพิสูจน์สัญชาติเพียง 1 ล้านคน เเรงงานข้ามชาติจำนวนอีกกว่าล้านคนต้องตกเป็นเป้าของนโยบายการกวาดล้างจับกุมเพื่อส่งกลับ นโยบายดังกล่าวที่ให้อำนาจเจ้าหน้าที่อย่างกว้างขวางอาจถูกใช้เป็นข้ออ้างเพื่อให้เจ้าหน้าที่บางคนใช้อำนาจโดยมิชอบ  แสวงหาประโยชน์จากแรงงาน ทั้งยังมีกรณีละเมิดสิทธิมนุษยชนของเเรงงานข้ามชาติระหว่างการถูกผลักดันกลับ เช่นกรณีการผลักดันแรงงานกลับไปในช่องทางที่ควบคุมโดยกองกำลังกระเหรี่ยง DKBA เป็นต้น แม้หน่วยงานด้านสิทธิมนุษยชนจะได้ร้องเรียนรัฐบาลแต่ก็ยังไม่ได้รับการตรวจสอบและนำตัวผู้กระทำผิดมาสู่กระบวนการยุติธรรมแต่อย่างใด 
 
2. การขาดการทบทวนกฎหมายและระเบียบที่เลือกปฏิบัติส่งผลให้เเรงงานข้ามชาติไม่สามารถเข้าถึงสิทธิต่างๆได้ เช่น ประกาศสำนักงานประกันสังคมที่ยังคงกีดกันเเรงงานข้ามชาติที่อยู่ระหว่างรอการพิสูจน์สัญชาติ และเเรงงานข้ามชาติที่เหลือที่ยังไม่ขึ้นทะเบียนจากการเข้าถึงกองทุนเงินทดเเทน กฎกระทรวงฉบับที่ระบุให้เเรงงานภาคการเกษตรและประมงทะเลไม่ให้ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายคุ้มครองเเรงงาน ซึ่งภาคการผลิตดังกล่าวใช้กำลังเเรงงานข้ามชาติเป็นส่วนใหญ่ ระเบียบห้ามมิให้เเรงงานข้ามชาติเปลี่ยนนายจ้าง และการไม่อนุญาตให้เเรงงานข้ามชาติทำใบขับขี่  เป็นต้น 
 
3. การกำหนดให้ต้องหักเงินจากค่าจ้างเเรงงานข้ามชาติเพื่อนำส่งกองทุนเพื่อการส่งกลับซึ่งมีผลบังคับใช้สำหรับเเรงงานข้ามชาติจากประเทศพม่า ลาว และกัมพูชา โดยที่มิได้มีผลบังคับใช้กับเเรงงานสัญชาติอื่น อันเป็นการเลือกปฏิบัติและสร้างภาระอันเกินควรให้กับเเรงงานข้ามชาติ ซึ่งมีรายได้น้อย และมีรายจ่ายสูงอยู่แล้วไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายในการพิสูจน์สัญชาติที่ต้องจ่ายให้นายหน้าที่เรียกค่าบริการสูงเกินจริงและดำเนินกิจการโดยขาดการควบคุมเท่าที่ควรจากภาครัฐ ค่าขึ้นทะเบียนและใบอนุญาตทำงาน ค่าหลักประกันสุขภาพ นอกจากนี้เเรงงานที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติแล้วยังต้องถูกหักเงินค่าจ้างเพื่อนำส่งกองทุนประกันสังคม แต่ได้รับสิทธิประโยชน์น้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด 
 
4.   การนำเข้าเเรงงานตาม MOU ที่มีค่าใช้จ่ายสูง ไม่เป็นระบบ และไม่สามารถตอบสนองต่อสถานการณ์จริงของการย้ายถิ่นและความต้องการเเรงงาน เห็นได้จากสถิติแรงงานนำเข้าตลอดระยะเวลา 7  ปี เพียง 24,000 คน ซึ่งมีเเรงงานพม่าเพียง 700 คน 
 
เพื่อให้นโยบายแรงงานข้ามชาติของรัฐบาลไทยดำเนินไปในทิศทางที่สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานบนพื้นฐานของความชอบด้วยกฎหมาย หลักสิทธิมนุษยชน และเพื่อไม่ให้ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการทุจริตคอร์รัปชั่นและการละเมิดสิทธิมนุษยชน สรส. มสพ. และ คสรท. จึงมีข้อเสนอต่อรัฐบาลดังต่อไปนี้
 
1. รัฐบาลควรทบทวนนโยบายการกวาดล้างจับกุมและการผลักดันเเรงงานข้ามชาติกลับ และเปิดให้มีการขึ้นทะเบียนเเรงงานข้ามชาติทั้งหมดใหม่โดยครอบคลุมถึงผู้ที่ยังไม่เคยขึ้นทะเบียนมาก่อน เพื่อเปิดโอกาสให้เเรงงานที่เข้าเมืองผิดกฎหมายทั้งหมดได้เเสดงตนและเเสดงความจำนงในการเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สัญชาติ ตลอดจนควบคุมการให้บริการและอัตราค่าบริการของนายหน้าพิสูจน์สัญชาติให้อยู่ในอัตราที่เหมาะสม เพื่อการแก้ปัญหาสถานะของเเรงงานข้ามชาติได้อย่างครอบคลุมและยังป้องกันการนำนโยบายดังไปอ้างเพื่อเเสวงประโยชน์โดยมิชอบและการละเมิดสิทธิมนุษยชนของเเรงงานข้ามชาติในระหว่างที่รอการพิสูจน์สัญชาติ
 
2. เร่งตรวจสอบกรณีการละเมิดสิทธมนุษยชนของเเรงงานข้ามชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่เชื่อได้ว่าเจ้าหน้าที่รัฐอาจมีส่วนเกี่ยวข้องอันเป็นผลมาจากการบังคับใช้นโยบายกวาดล้างและส่งกลับเเเรงงานข้ามชาติและเพื่อประกันให้เกิดการตรวจสอบที่เป็นอิสระ โปร่งใส โดยคำนึงถึงมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศตามเเนวโนบายการบริหารราชการเเผ่นดินและตามคำมั่นที่ให้ไว้กับนานาประเทศในฐานะประธานคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน รัฐบาลจึงควรเชิญผู้รายงานพิเศษเเห่งสหประชาชาติเข้ามาร่วมการตรวจสอบด้วย
 
3. ยกเลิกกฎหมายและระเบียบที่เลือกปฏิบัติ เพื่อให้เเรงงานข้ามชาติสามารถเข้าถึงสิทธิประโยชน์ตามมาตรฐานสิทธิเเรงงานและควรทบทวนนโยบายการหักเงินค่าจ้างเเรงงานข้ามชาติเข้ากองทุนเพื่อการส่งกลับเเรงงานข้ามชาติ 
 
4. เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการควบคุมการอพยพ การนำเข้าเเรงงานอย่างเป็นระบบ ต้องสามารถป้องกันการทุจริตคอร์รัปชัน การละเมิดต่อกฎหมาย และสิทธิมนุษยชนแรงงานข้ามชาติ รัฐบาลควรกำหนดนโยบายระยะยาว ให้มีหน่วยงานเฉพาะทำหน้าที่บริหารการอพยพย้ายถิ่นอย่างบูรณาการ โดยเปิดโอกาสให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตัวเเรงงานข้ามชาติ นายจ้าง และภาคประชาสังคม เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายตามเเนวนโยบายการบริหารเเรงงานที่รัฐบาลได้ประกาศไว้ ตลอดจนเร่งรัดให้รัฐบาลพม่าร่วมมือในการแก้ปัญหาอย่างจริงจัง ทั้งด้านการิสูจน์สัญชาติ การป้องกันการหลอกลวงแรงงาน และการปราบปรามการค้ามนุษย์ 
 
5. รัฐสมาชิกอาเซียนต้องร่วมมือกันแก้ปัญหาแรงงานข้ามชาติและการค้ามนุษย์ด้านแรงงานอย่างจริงจัง โดยให้ถือเป็นวาระของอาเซียน และขอให้รัฐบาลไทยและรัฐสมาชิกอาเซียนเข้าเป็นภาคีของอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองเเรงงานข้ามชาติและครอบครัว
 
คุณูปการของกำลังเเรงงานข้ามชาติต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยนั้นเป็นสิ่งที่ไม่สามารถปฏิเสธได้ แต่เเรงงานข้ามชาติกลับถูกมองเป็นเพียงปัจจัยการผลิตและมองข้ามความเป็นมนุษย์ นโยบายจึงถูกกำหนดขึ้นบนพื้นฐานของการแบ่งแยกและการกดขี่จนก่อให้เกิดปัญหาการเลือกปฏิบัติ เเรงงานจำนวนมากตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์และการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นระบบ วาระครบรอบ 20 ปีของอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองเเรงงานข้ามชาติและครอบครัวและในฐานะประธานคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนเเห่งสหประชาชาติ จึงเป็นโอกาสอันดีที่ประเทศไทยจะได้พิจารณาข้อเสนอข้างต้นเพื่อการจัดการเเรงงานข้ามชาติอย่างเป็นระบบและเพื่อปฏิบัติตามคำมั่นของรัฐบาลในการสงเสริมการมีบทบาทรวมกับประชาคมโลก เพื่อสงเสริมและคุมครองคานิยมประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน มนุษยธรรม ตลอดจนรวมมือในการแกไขประเด็นปญหาขามชาติทุกดานที่สงผลกระทบตอความมั่นคงของมนุษยต่อไป
 
ในส่วนของกิจกรรม ทางเครือข่ายปฏิบัติการแรงงงานข้ามชาติ เนื่องด้วยทุกวันที่18 ธันวาคมของทุกปี ทางสากลถือเป็นวันแรงงานข้ามชาติสากล ในหลายประเทศได้อาศัยช่วงวันดังกล่าวเป็นการพูดถึงประเด็นสถานการณ์ และข้อเรียกร้องของแรงงานข้ามชาติ ให้รัฐบาลได้หันมาดูแล และปฏิบัติการปกป้องด้านสิทธิแรงงานและมนุษยชน
 
ดังนั้นเครือข่ายปฏิบัติการเพื่อแรงงานข้ามชาติ (ANM)  โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานข้ามชาติและผู้มีปัญหาสถานะบุคคล (สสส.) หน่วยพัฒนาและบรรเทาทุกข์แห่งประเทศไทย (ADRA) คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เครือข่ายแรงงานนอกระบบ เครือข่ายแรงงานชุมชน 50 เขตกทม. มูลนิธิร่วมมิตรไทย-พม่า มูลนิธิเพื่อนหญิง จึงได้จัดการรณรงค์ และสัมมนาทางวิชาการฯ ในวันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม 2553 เดินรณรงค์ ณ หน้าหอศิลปะกรุงเทพฯ ตรงข้ามห้างมาบุญครอง กทม. และร่วมเวทีสัมมนาฯ ณ ห้องประชุมจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์  อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี ชั้น 4 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่เวลา 8.30 – 15.00 น.8.30 – 9.00 น.
 
โดยมีการจัดแสดงปาฐกถาเรื่อง “สิทธิการรวมกลุ่ม คือ สิทธิแรงงาน” โดย   รศ.สุริชัย  หวั่นแก้ว   คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เชิญประธานและองค์ปาฐกถาร่วมกับผู้นำแรงงานข้ามชาติและในชาติทำ GIMMICK  “ ใบพิสูจน์สัญชาติสีขาว” 
 
จัดเวทีสัมมนา เปิดสถานการณ์ด้านแรงงานข้ามชาติ จาก3 สัญชาติและคนไทยไปทำงานต่างประเทศ – นางอุบล  ภาคภูมิ เจ้าหน้าที่ปฎิบัติงานพื้นที่ชายแดน จ.มุกดาหารที่ทำงานกับแรงงานข้าม   ชาติชาวลาว – นายโกนาย ผู้แทนรงงานข้ามชาติชาวพม่า – ผู้แทนแรงงานข้ามชาติชาวเขมร – ผู้แทนแรงงานไทยที่ไปทำงานต่างประเทศ และดำเนินการเสวนาโดย คุณอัญชลี เอมะจันทร์ ผู้จัดการมูลนิธิเสฐียรโกเศศ นาคะประทีป ฝั่งอันดามัน มีการขับบทเพลงคิดถึงบ้าน ผ่านเสียงร้องของนักเรียนโรงเรียนเดียร์เบอร์ม่า  
 
จากนั้นช่วงบ่าย เปิดเวทีเสวนาทางวิชาการเรื่อง “สถานการณ์แรงงานข้ามชาติ สิทธิการรวมกลุ่ม คือสิทธิแรงงาน “ โดย นายมุกตา  ปะนาฆอ นักวิชาการแรงงานชำนาญการ กระทรวงแรงงาน ,คุณพงษ์ศักดิ์ เปล่งแสง ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน,คุณปณิธิ  ศิริเขต ผู้อำนวยการสถาบันแรงงานศึกษา , ดร.นฤมล ทับจุมพล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, นางสาววิไลวรรณ  แซ่เตีย ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย,นายบัณฑิต  แป้นวิเศษ ประธานเครือข่ายปฏิบัติการเพื่อแรงงานข้ามชาติ ,นายโมฉ่วย องค์กรแรงงานข้ามชาติยองชีอู แม่สอด จ.ตาก   ผู้แทนอนุกรรมการด้านสิทธิแรงงานสภาทนายความแห่งประเทศไทย และดำเนินรายการโดยนายสาวิทย์  แก้วหวาน เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์(สรส.)
 
//////////////////////////////////////////////////////////////