เสียงสะท้อนปัญหาของแรงงาน เสนอข้อเรียกร้องต่อนายกหญิง

ถ้าย้อนกลับไป 10 กว่าปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ปัญหาหาของแรงงานหญิงยังคงไม่เปลี่ยนแปลง ความรับผิดชอบต่อครอบครัว เช่น พ่อแม่ ลูก แรงงานหญิงถือว่า เป็นภาระหน้าที่โดยตรง ที่ทำให้พวกเขาต้องทำงานหนัก และระยะเวลาทำงานที่ยาวนานถึง 12 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อจะหาเงินมาเลี้ยงครอบครัว เช่น แรงงานหญิง 2 คน ที่มีโอกาสได้พูดคุยกันช่วงที่พักกลางวันได้เล่าถึงชีวิต และความเป็นอยู่ของครอบครัว สัมชฉา แสนพรส อายุ 40 ปี เป็นคนจังหวัดกำแพงเพชร ทำงานในโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า ในตำบลอ้อมใหญ่ อำเภอสามพราน จ.นครปฐม ตั้งแต่ปี 2540  ทำงานมานานถึง 15 ปี ค่าจ้างยังคงได้รับเพียงค่าจ้างขั้นต่ำมาโดยตลอด อาศัยรายได้จากการทำงานล่วงเวลา(OT) ทำงานตั้งแต่เวลา 08.00-20.00 น.

แต่งงานมีลูกเมื่อปี 2550 ช่วงที่คลอดลูกมีเวลาเลี้ยงลูกเพียง 3 เดือนหลังจากนั้นก็จ้างคนที่รู้จักเลี้ยงให้โดยค่าจ้างเดือนละ 4,500 บาทเป็นเวลา 3 ปี

สมัชฉา เล่าว่า เธอไม่มีพ่อแม่เลยต้องจ้างคนเลี้ยงลูก พอหลังจากปีที่ 3 ก็จะไปรับลูกกลับมาอยู่ด้วย และไปฝากไว้ที่สถานรับเลี้ยงเด็ก โดยจ่ายเดือนละ 2,500 บาท ฝากตั้งแต่เวลา 07.00-16.30 น.สามีจะเป็นคนที่รับลูกกลับบ้านมานอนโดยสามีเป็นคนดูแลลูก แต่พออายุ 5 ขวบ ก็พาไปเข้าเรียน ขณะนี้ลูกอายุ 6 ขวบ ชีวิตลำบากเพราะสามีกับลูกอยู่จังหวัดระยอง

ตลอดเวลาที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันจะเดินทางไปหาลูกทุกอาทิตย์ โดยเดินทางในเย็นวันเสาร์จากอ้อมใหญ่ เดินทางโดยรถเมล์ และไปต่อรถถึงบ้านราวเวลา 21.00 น. และเดินทางกลับเย็นวันอาทิตย์ถึงอ้อมใหญ่ จังหวัดนครปฐม ใช้ชีวิตแบบนี้มาเป็นเวลา 6 ปีเท่ากับอายุลูกน้อย ด.ช.ไตรเทพ สุนทรมณี  ค่ารถไปกลับประมาณ 500 บาทต่อครั้ง  ประมาณ 5,000 บาทต่อเดือน

สมัชฉา เล่าว่า เธอต้องทำงานหนักเพราะค่าใช้จ่ายเยอะมาก สามีทำงานด้วยเลี้ยงลูกด้วยรายได้ก็ไม่มากนัก เธอต้องเป็นหลักของครอบครัวเธอ และสามีต่างคนต่างก็เช่าบ้านอยู่คนละที่ค่าใช้จ่ายค่าครองชีพสูงมากต้องทำงานหนักเพื่อจะได้มีรายถึง 13,000 บาท ถึงจะพออยู่ได้

สุริยา  ชัยพร  อายุ 37 ปี  ทำงานมา 10 กว่าปี บ้านเกิดที่จังหวัดสุรินทร์ ทำงานตัดเย็บเสื้อผ้าที่เดียวกันกับสมัชฉา  เล่าให้ฟังว่า แต่งงานและมีลูกสาวชื้อเด็กหญิงกัญญา มาลาทอง  อายุ 3 ขวบ แม่เป็นคนเลี้ยงลูกให้ตั้งแต่อายุได้ 4 เดือน แม่ก็สุขภาพไม่ค่อยดีเท่าไรแต่ก็ต้องเลี้ยงหลานด้วย  สุริยาเล่าว่า ต้องส่งเงินกลับบ้านเดือนละ 5,000 บาท ไม่ได้รวมค่าใช้จ่าย เช่น ค่าเช่าบ้าน  ค่าน้ำ  ค่าไฟ ค่านมลูก และค่าใช้จ่ายต่างๆ ต้องให้แม่ด้วย บางทีลูกไม่สบายก็ต้องเดินทางกลับบ้านปีละหลายครั้ง ค่ารถไปกลับ 800 บาทต่อครั้งต่อคน  ชีวิตก็ต้องทำงานหนักต้องทำ OT มาตลอด  ถ้าไม่มี OT คงอยู่ไม่ได้เพราะค่าใช้จ่ายสูงมาก ค่าเลี้ยงลูกบางครั้ง แม่ไม่สบายก็ต้องไปรับลูกมาเลี้ยงเอง ลูกก็ไม่ค่อยพูดด้วย และบ่นจะกลับบ้านไปหายาย สุริยาเล่าต่อ หรืออาจจะเป็นเพราะไม่ได้เลี้ยงเองไม่ได้   ใกล้ชิดลูกความผูกพันห่างเหิน ลูกจึงไม่อยากพูดกับแม่

สุริยา และสมัชฉาได้ทิ้งท้ายไว้เหมือนกันว่า ศูนย์เลี้ยงเด็กที่มีอยู่ของเทศบาลต้องมีทะเบียนบ้านถึงจะเข้าเรียนได้ แม้แต่เวลาลูกมาอยู่ด้วยเป็นบางครั้ง เวลาเจ็บป่วยก็ต้องจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลเอง เพราะไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน เขตพื้นที่ทำงาน นี่คือสิ่งสำคัญที่ไม่สามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้ อยากฝากถึงรัฐบาลคือ

1. ให้รัฐบาลจัดตั้ง ศูนย์เลี้ยงเด็กเล็กใกล้ที่ทำงาน มีศูนย์การเรียนรู้เด็กพัฒนาเด็กเล็กก่อนวันเรียนต้องไม่เลือกปฏิบัติ ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านก็ต้องมีโอกาสเข้าเรียนได้ ลูกจะได้อยู่ใกล้ชิดพ่อแม่จะได้มีครอบครัวที่อบอุ่น

2.  เวลาเจ็บป่วยควรได้รับการรักษาพยาบาลได้จากการบริการของรัฐ และควรได้รับการรักษาจากโรงพยาบาลได้ไม่ต้องเสียเงินหรือเข้าประกันสังคม ตามสิทธิของพ่อแม่ได้

3.  ประกันสังคมควรเพิ่มเงินสงเคราะห์บุตร และขยายระยะเวลาถึง 20 ปี

ป้ายวันสตรีสากล2 ป้ายวันสตรีสากล3

นี่คือเสียงที่สะท้อนออกมาจากหัวหกของแรงงานหญิงเล็กๆที่จะฝากความต้องการถึงนายกรัฐมนตรีที่เป็นผู้หญิงคนแรกของประเทศที่มีลูกมาก่อนน่าที่จะเข้าใจและให้การสนับสนุนเร่งผลักดันแก้ไขปัญหาที่เกิด และเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้กับพวกเขาได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นบ้าง

รายงาน วิไลวรรณ  แซ่เตีย   กลุ่มสหภาพแรงงานอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่