“บัตรชมพู”

2016-04-19 17.10.41

คอรีเยาะ มานุแช

ช่วงนี้สำนักงานจัดหางาน อำเภอ และโรงพยาบาล คงจะมีงานล้นมือมากกว่าปกติ เนื่องจากเป็นช่วงขึ้นทะเบียนแรงงานข้ามชาติ ทั้งสำหรับคนที่ถือบัตรเก่าที่หมดอายุและคนที่ถือหนังสือเดินทางที่วีซ่าครบ 4 ปี หรือ 6 ปี รวมถึงลูกของแรงงานที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิดแต่ไม่เกิน 15 ปี ด้วย ที่ทยอยมาขึ้นทะเบียนที่ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ หรือที่แรกว่า One Stop Service โดยศูนย์ฯรี้เปิดบริการตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน จนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม รวมเป็นเวลา 120 วัน ซึ่งในระหว่างเวลา 120 วันนี้แรงงานที่บัตรหมดอายุหรือวีซ่าหมดอายุก็ได้รับสิทธิพิเศษในการอยู่และทำงานได้ชั่วคราว หรือจะกล่าวง่ายๆ ก็คือ ตำรวจไม่สามารถจับแรงงานฯที่บัตรหมดอายุหรือวีซ่าขาดกรณีครบ 4 ปี หรือ 6 ปี ฐานเข้าเมืองผิดกฎหมาย อยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาตได้นั่นเอง

การขึ้นทะเบียนรอบนี้ไม่รู้ว่าจะเป็นความสะดวกหรือยุ่งยากกว่าเดิมผู้เขียนก็ไม่แน่ใจ คือ เดิม แงงานฯจะมายื่นเอกสาร ตรวจสุขภาพ ชำระค่าธรรมเนียม ได้ ณ จุดๆเดียวคือศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ แต่ครั้งนี้ แรงงานต้องไปตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาล และนำใบรับรองแพทย์ไปชำระค่าธรรมเนียมที่เคาร์เตอร์เซอร์วิช (ที่ร้านสะดวกซื้อ) และนำใบเสร็จจากร้านสะดวกซื้อมาดำเนินการออกบัตรประจำตัวที่เรียกว่า “บัตรชมพู” บัตรชมพูนี้เป็นบัตรที่มี 2 บัตรในบัตรเดียว คือด้านหน้าที่เป็นสีชมพูจะเป็นบัตรประจำตัวผู้ไม่มีสัญชาติไทยจะมีเลขประจำตัว 13 หลัก โดยสองหลักแรกจะเป็นเลข 00 ด้านล่างจะระบุอายุของบัตรด้วย คือ 10 ปี ซึ่งเคยสร้างความเข้าใจผิดในกลุ่มแรงงานฯมาแล้วว่าเป็นอายุที่แสดงว่าแรงงานฯจะสามารถอยู่ในประเทศไทยได้ 10 ปี ซึ่งจริงๆแล้วมันเป็นอายุของฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์เท่านั้น ส่วนแรงงานฯจะอยู่ในประเทศไทยได้เป็นเวลาเท่าไรนั้นต้องดูที่บัตรที่อยู่ด้านหลัง บัตรด้านหลังนี้นี่เองที่สามารถแยกแรงงาน 3 สัญชาติได้ คือสีเขียวหมายถึงแรงานพม่า สีฟ้าแรงงานลาวและสีน้ำตลคือแรงงานกัมพูชา บัตรด้านหลังนี้คือใบอนุญาตทำงานและด้านล่างจะระบุอายุของบัตรไว้ ปกติจะมีอายุ 1 ปี แต่บัตรฉบับใหม่นี้จะมีอายุ 2 ปี คือตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2559 -31 มีนาคม 2561

ก่อสร้าง

บัตรชมพูนี้แสดงว่าแรงงานได้รับการผ่อนผันให้อยู่และทำงานในประเทศไทยได้เป็นการชั่วคราวตามระยะเวลาที่คณะรัฐมนตรีกำหนดแต่แรงงานยังคงมีสถานะภาพเข้าเมืองผิดกฎหมายอยู่เพราะบัตรชมพูไม่ใช่หนังสือเดินทางหรือเอกสารที่ใช้แทนหนังสือเดินทางตามกฎหมายคนเข้าเมือง แต่บัตรชมพูนี้ก็ได้รับการรับรองสิทธิหลายด้านด้วยกัน เช่น ประกันสุขภาพ ที่จะถูกบังคับให้ซื้อประกันสุขภาพในตัวเพื่อให้แรงงานใช้สิทธิในบริการด้านสุขภาพได้ทันทีที่ซื้อประกัน ส่วนประกันสังคมนั้นขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนได้เฉพาะคนที่มีหนังสือเดินทางเท่านั้น คนที่มีหนังสือเดินทางและขึ้นทะเบียนประกันสังคมไว้แล้วหรือยังไม่ได้ขึ้นและวีซ่าหมดอายุไปแล้วมาต่อบัตรชมพูก็ยังสามารถใช้สิทธิต่อหรือมาขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนรายใหม่ได้ เนื่องจากมีฐานข้อมูลตามหนังสือเดินทางฉบับเดิมนั่นเอง สำหรับคนที่ขึ้นทะเบียนประกันตนในกองทุนประกันสังคมรายใหม่ อย่างที่ทราบว่าจะใช้สิทธิประกันสังคมได้ต้องส่งเงินเข้ากองทุนอย่างน้อย 3 เดือนก่อน ดังนั้นคนกลุ่มนี้จึงจำเป็นต้องซื้อประกันสุขภาพในช่วงที่ยังไม่สามารถใช้สิทธิประกันสังคม 3 เดือนนี้ด้วย ข้อนี้ชวนให้คิดว่า

“ทำไมประกันสังคมถึงใช้สิทธิทันทีที่เป็นผู้ประกันตนไม่ได้ ?”

ก็นึกไม่ออกว่าจะมีเหตุผลอะไรที่ทำให้ต้องประวิงการคุ้มครองสิทธิด้านสุขภาพของคนและไม่ใช่แค่คนข้ามชาติเท่านั้นคนไทยด้วย

สิทธิอีกอย่างหนึ่งที่อยากจะพูดถึงในท้ายนี้ คือ สิทธิในการเดินทางออกนอกพื้นที่ทำงาน บัตรชมพูนี้แรงงานจะเดินทางได้ตามเงื่อนไขที่คณะรัฐมนตรีกำหนด เช่น เดินทางตามหมายเรียกของพนักงานสอบสวนหรือศาล เดินทางเพราะย้ายงานไปที่จังหวัดใหม่ เดินทางไปรับการรักษาพยาบาลตามใบส่งตัวแพทย์ และสามารถเดินทางไปเพื่อกิจกรรมสันทนาการ (ท่องเที่ยว) หรือเยี่ยมญาติได้ด้วย