กลุ่มศึกษามุมมองใหม่ ครั้งที่ 2
แรงงานกับการเมือง (ตอน 1) : กรณีศึกษาจากประวัติศาสตร์แรงงานไทย
วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน 2557 ณ ห้องประชุม ศุภชัย ศรีสติ พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย มักกะสัน กรุงเทพฯ
โดย มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ร่วมกับ มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท (FES)
ความเป็นมา
แนวคิดที่กำหนดว่าแรงงานต้องไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง ปรากฎเป็นรูปธรรมในข้อบังคับขององค์กรแรงงานมาช้านาน กระทั่งปัจจุบัน แม้ยังมีหลายองค์กรที่ใช้ข้อบังคับแบบนี้อยู่ แต่ก็มีการพูดถึงการเข้าไปมีส่วนร่วมมีอำนาจต่อรองในทางการเมืองกันมากขึ้นแล้ว เพราะในขบวนการแรงงาน โดยเฉพาะองค์กรนำที่ขับเคลื่อนในระดับนโยบายแรงงานต่างตระหนักในข้อเท็จจริงที่ว่า ปัญหาสำคัญๆของผู้ใช้แรงงานไม่อาจแก้ไขได้ในระดับสถานประกอบการ ทั้งในเรื่องหลักประกันทางด้านรายได้ สวัสดิการทางสังคม และความมั่นคงในการทำงาน โดยล้วนต้องอาศัยการขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับนโยบาย ซึ่งก็หลีกไม่พ้นที่จะต้องผ่านกระบวนการตัดสินใจทางการเมืองในการออกกฎหมายข้อกำหนดต่างๆ ทุกวันนี้จึงได้เห็นความพยายามของฝ่ายแรงงานในการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง ทั้งในฐานะนักการเมืองของพรรคการเมืองต่างๆไปจนถึงความพยายามในการตั้งพรรคการเมืองของแรงงานเอง แต่ก็ยังไม่ปรากฎผลสำเร็จใดๆ
การเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองของฝ่ายแรงงานนั้น สำหรับประเทศไทยก็มีข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์เรื่อยมาตั้งแต่ยุคหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 และหากกล่าวถึงต่างประเทศ องค์กรแรงงานที่เข้มแข็งและมีอำนาจต่อรองสูงก็เข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองซึ่งทำให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ใช้แรงงานโดยรวม การจัดกลุ่มศึกษา 2 ครั้งต่อเนื่องจากนี้ จะใช้กรณีศึกษาทั้งจากประวัติศาสตร์ของแรงงานไทยเองและจากประเทศในยุโรป ซึ่งคาดว่าจะเกิดประโยชน์ต่อพัฒนาการด้านการเมืองของแรงงานไทยต่อไปได้เป็นอย่างดี
วัตถุประสงค์
1. เรียนรู้แนวคิดและบทบาททางการเมืองของขบวนการแรงงานไทยตั้งแต่อดีต
2. แลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็นต่อแนวทางการมีส่วนร่วมทางการเมืองของแรงงานไทย
กำหนดการ
09.00 – 09.30 ลงทะเบียน / เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย
09.30 – 09.45 กล่าวต้อนรับ ชี้แจงวัตถุประสงค์
09.45 -10.30 แรงงานกับการเมือง : กรณีศึกษาจากประวัติศาสตร์แรงงานไทย
นำเสนอโดย วิชัย นราไพบูลย์ ผู้จัดการพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย
10.30 -10.45 พัก
10.45 -12.00 ถาม-ตอบ อภิปรายทั่วไป
12.00 ปิดการเสวนา และรับประทานอาหารกลางวัน
…………………………………………………………..
กลุ่มศึกษามุมมองใหม่ ครั้งที่ 3
แรงงานกับการเมือง (ตอน 2) : กรณีศึกษาเรื่องสหภาพแรงงานกับพรรคการเมืองในเยอรมนี
วันอาทิตย์ที่ 12 ตุลาคม 2557 ณ ห้องประชุม ศุภชัย ศรีสติ พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย มักกะสัน กรุงเทพฯ
โดย มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย และ มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท (FES)
ความเป็นมา
ในการปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย เป็นที่ยอมรับโดยทั่วกันว่า ผู้ใช้แรงงานและสหภาพแรงงานเป็นกลุ่มผลประโยชน์ที่สำคัญกลุ่มหนึ่ง และต้องมีส่วนร่วมทางการเมือง เพื่อร่วมต่อรองผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองของตน
ประเด็นที่เป็นคำถามสำคัญเกี่ยวกับการมีส่วนร่วม นั่นคือ ควรมีส่วนร่วมอย่างไร จึงจะทำให้สามารถต่อรองผลประโยชน์ได้อย่างแท้จริงและอย่างยั่งยืน เช่น องค์กรแรงงานควรยึดถืออุดมการณ์ทางการเมืองแบบไหน รวมทั้งควรจัดวางความสัมพันธ์กับพรรคการเมืองต่างๆ อย่างไร มีความใกล้ชิดแค่ไหน จึงจะประสบความสำเร็จในการต่อรองผลประโยชน์
บทเรียนจากต่างประเทศ น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการเรียนรู้และนำมาประยุกต์ใช้ แม้ว่าบริบทของแต่ละประเทศจะแตกต่างกัน แต่บางประเด็นถือว่าเป็นข้อสรุปที่ตกผลึกเป็นหลักการแล้วในระดับหนึ่ง ขณะที่บางประเด็นอาจยังแปรผันอยู่บ้างตามสภาพสังคม
ขบวนการแรงงานเยอรมัน มีบทบาทสำคัญทางการเมืองมานับตั้งแต่ก่อตั้ง เมื่อร้อยกว่าปีที่แล้ว โดยยึดถืออุดมการณ์ที่เรียกว่า“สังคมประชาธิปไตย” (social democracy) รวมทั้งมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับพรรคสังคมประชาธิปไตย(SPD) แต่เมื่อผ่านประสบการณ์อันยาวนานมาถึงปัจจุบัน ขบวนการแรงงานได้ปรับความสัมพันธ์กับพรรคการเมืองให้มีระยะห่างมากขึ้น
พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย และ มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท เห็นว่ากรณีศึกษาของปรเทศเยอรมนีน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับสหภาพแรงงานและผู้สนใจในประเทศไทย จึงจัดการเสวนาครั้งนี้ขึ้น
วัตถุประสงค์
1. ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเรื่องแนวคิดทางการเมืองของผู้ใช้แรงงาน และพัฒนาการความสัมพันธ์ระหว่างสหภาพแรงงานกับพรรคสังคมประชาธิปไตย(SPD)ของเยอรมนี
2. วิเคราะห์มุมมองใหม่ๆ ในปัจจุบัน เกี่ยวกับการขับเคลื่อนนโยบายที่เป็นธรรมต่อผู้ใช้แรงงานให้ประสบผลสำเร็จ
3. แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับทิศทางความสัมพันธ์ระหว่างพรรคการเมืองกับสหภาพแรงงาน
กำหนดการ
09.00 – 09.30 ลงทะเบียน / เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย
09.30 – 09.45 กล่าวต้อนรับ ชี้แจงวัตถุประสงค์
09.45 -10.30 สหภาพแรงงานกับพรรคการเมืองในเยอรมนี – พัฒนาการความสัมพันธ์
(เช่น ประวัติความเป็นมา แนว คิด/อุดมการณ์ ความสัมพันธ์ ผลลัพธ์ที่ได้ สถานการณ์ปัจจุบัน บทเรียน)
นำเสนอโดย มาร์ค ศักเซอร์ ผู้อำนวยการมูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท (มีล่ามแปล)
10.30 – 10.45 พัก
10.45 – 12.00 ถาม-ตอบ และอภิปรายทั่วไป
12.00 ปิดการเสวนา และรับประทานอาหารกลางวัน
…………………………………………………………………..