เสนอเลิกอัยการศึกหนุนปฏิรูป ให้เรื่องแรงงานเป็นแนวนโยบายแห่งรัฐ

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

ไทยพีบีเอสจัดเวทีเสียงประชาชนบนเส้นทางปฏิรูป รวมข้อเสนอทุกภูมิภาคขับเคลื่อนผ่านสื่อ พบโครงการพัฒนาขนาดใหญ่สร้างปัญหาที่ทำกินที่อยู่อาศัย จี้หยุดกฎหมายที่กระทบชาวบ้านทันที ขณะหลายเครือข่ายต้องการร่วมสะท้อนเสนอปัญหาแต่ติดขัดกฎอัยการศึก ส่วน สปช.บอกมีความหวังปฏิรูปแต่ภาคประชาชนต้องช่วยผลักดัน ด้านภาคแรงงานมีข้อเสนอร่างรัฐธรรมนูญให้มีแนวนโยบายแห่งรัฐด้านแรงงานโดยเฉพาะ

20141210_11324320141210_115354

ในโอกาสวันรัฐธรรมนูญ 10 ธันวาคม สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส จัดเวทีเสวนา เสียงประชาชนบนเส้นทางปฏิรูป เป็นเวทีรวมเครือข่ายภาคประชาชนทุกภูมิภาคภายหลังไปจัดเวทีในพื้นที่ต่างๆมาแล้ว 8 ครั้ง โดยผู้บริหารไทยพีบีเอสกล่าวว่า ขอทำหน้าที่ในภารกิจของสื่อสาธารณะที่ประชาชนร่วมกันเรียกร้องให้เกิดขึ้นมา โดยจะทำหน้าที่รวบรวมข้อเสนอและขับเคลื่อนกระบวนการเพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการปฏิรูป แม้ว่าจะอยู่ในช่วงสถานการณ์ที่ไม่อยากให้มีเวทีแบบนี้เกิดขึ้น

20141210_14371720141210_143616

ขณะที่ภาคประชาชนได้ร่วมกันระดมปัญหาจากทุกภูมิภาค พบว่าได้รับผลกระทบจากการพัฒนาของรัฐที่ทำโครงการใหญ่ๆ ทั้งเรื่องที่ดินทำกิน ที่อยู่อาศัย ความมั่นคงด้านอาหาร ราคาพืชผลเกษตร ทรัพยากรธรรมชาติ แหล่งน้ำและสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมจากเหมืองแร่และโรงงานอุตสาหกรรม การท่องเที่ยวและการค้าชายแดนที่สร้างผลกระทบชุมชน การศึกษา การคมนาคมและสาธารณสุข นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องวัฒนธรรมที่แตกต่าง สิทธิของชนเผ่าชาติพันธ์ สถานะบุคคลและแรงงานข้ามชาติ ส่วนกลุ่มแรงงานก็มีปัญหาใหญ่เรื่องค่าจ้างและสวัสดิการที่ไม่เท่าเทียมและเป็นธรรมในทุกลุ่มแรงงานราว 40 ล้านคน รวมทั้งการถูกละเมิดสิทธิแรงงาน

โดยมีข้อเสนอต่อการปฏิรูปเพื่อการทำรัฐธรรมนูญคือ ต้องเป็นเศรษฐกิจที่สมดุลเพื่อสังคม ประชาชนเข้าถึงทรัพยากรต่างๆได้อย่างเท่าเทียมทั้งเรื่องที่ดิน ป่าไม้ แหล่งน้ำ และพลังงาน ต้องมีพื้นที่สื่อสารและการรับรู้ข่าวสารของประชาชน ต้องมีการกระจายอำนาจสนับสนุนนโยบายและสิทธิชุมชน ต้องลดความเหลื่อมล้ำทำให้เกิดความเสมอภาคทางด้านสังคม ชาติพันธ์ และปฏิรูปด้านการศึกษา

20141210_143641 20141210_120922

ทั้งนี้เครือข่ายต่างๆเห็นว่าการปฏิรูปครั้งนี้ทำโดยคนกลุ่มน้อยที่รับฟังเสียงประชาชนยังไม่ดีพอ ไม่ตรงกลุ่ม ข้อเสนอของภาคประชาชนก็อาจจะหายไป และเชื่อว่าการปฏิรูปจะไม่เสร็จใน 1 ปี  และคงปฏิรูปไม่ได้หากยังไม่มีการออกแบบประเทศไทยในแบบที่ทุกคนเห็นพ้องต้องกัน จึงขอสิทธิในการมีส่วนในการร่วมการปฏิรูปมากว่าเป็นผู้ยืนดู เป็นเหมือนแม่น้ำสายที่ 6 โดยจะตั้ง สภาพลเมือง เพื่อทำภารกิจร่วมในการติดตามตรวจสอบการร่างรัฐธรรมนูญและการปฏิรูประเทศให้เป็นไปเพื่อประโยชน์ของประชาชน จะมีปฏิบัติการออกแบบประเทศไทยที่กระบวนการเริ่มจากข้างล่าง ภายใต้คำขวัญ “ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างอำนาจประชาชน”

ขณะที่ในการบันทึกเทปรายการเวทีสาธารณะ “รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน” ตัวแทนภาคประชาชนเสนอเรื่องเร่งด่วนคือให้หยุดโครงการหรือกำหมายที่สร้างผลกระทบให้ประชาชนทันทีเช่น กฎหมายป่าไม้ นโยบายพัฒนาภาคใต้ เป็นต้น และยืนยันว่าประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการปฏรูปเพราะเป็นผู้ประสบปัญหา แต่กฎอัยการศึกก็ทำให้เกิดข้อจำกัดข้อห้ามในการขับเคลื่อนของภาคประชาชนจึงอยากให้ยกเลิก

ส่วนผู้เข้าร่วมจ20141210_115213ากเครือข่ายแรงงานเห็นว่า รัฐธรรมนูญที่ผ่านๆมา รวมทั้งการปฏิรูปครั้งนี้ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องแรงงานทั้งที่เป็นองค์ประกอบสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพัฒนาประเทศร่วมกับทุน เห็นได้จากเรื่องของแรงงานไม่ได้เป็นหัวข้อประเด็นหลักในการปฏิรูปครั้งนี้ จึงเสนอให้ในการร่างรัฐธรรมนูญ ต้องกำหนดเรื่องแรงงานไว้ในหมวดแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐเป็นการเฉพาะ จากเดิมที่เป็นเพียงส่วนหนึ่งในแนวนโยบายด้านเศรษฐกิจ ทำให้แรงงานทุกกลุ่มไม่ได้รับการคุ้มครองในเรื่องค่าจ่าง สิทธิและสวัสดิการที่เป็นธรรมอย่างเท่าเทียมกัน นำไปสู่ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมจากการพัฒนาที่ไม่สมดุล

ด้านสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)ที่เข้าร่วมเวที กล่าวว่า สปช.ไม่ใช่ซุปเปอร์แมนที่ถูกออกแบบมาให้ทำอะไรได้ทุกอย่าง แต่พยามเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนเพื่อผลักดันเข้าสู่การร่างรัฐธรรมนูญ และว่าภาคประชาชนจะต้องมีส่วนในการช่วยผลักดันการปฏิรูปร่วมกับ สปช.ด้วย ต้องใช้ สปช.เป็นเครื่องมือ และการมีส่วนร่วมของประชาชนก็ไม่จำเป็นไม่ใช่เรื่องที่ต้องขออนุญาตจากผู้มีอำนาจก่อน ในสถานการณ์ที่อำนาจพิเศษครอบงำอยู่ ที่เข้ามาก็เพราะยังมีความหวัง แต่ต้องช่วยกันทุกฝ่าย

สำหรับรายการเวทีสาธารณะ “รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน” จะออกอากาศในวันเสาร์ที่ 13 ธันวาคม 2557 เวลา 13.00 น. ทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส

นักสื่อสารแรงงาน รายงาน