ภาคประชาชน เสนอเคลื่อนการคุ้มครองส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ

20140607_171744

ภาคประชาชน เสนอเคลื่อนกฎหมายคุ้มครองส่งเสริมและพัฒนาผู้สูงอายุ หวังสร้างการมีส่วนร่วม โดยเสนอเคลื่อนร่วมกับกฎหมายกองทุนการออมแห่งชาติ เพื่อความครอบคลุม

คณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนากฎหมายด้านสวัสดิการสังคม ในคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) ร่วมกับสมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยฯ และมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส. ) จัดให้มีเวทีสาธารณะแนวทางการขับเคลื่อนร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ พ.ศ. …. ในวันที่ 4 ธันวาคม 2557 เวลา 08.00 – 15.00 น. ณ โรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการและคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ ห้องประชุมวายุภักษ์ 3 ชั้น 4 แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ มีผู้เข้าร่วม 200 คน การจัดเวทีครั้งนี้ เพื่อนำเสนอแนวทางการปรับปรุงกฎหมายด้านสวัสดิการสังคมเพื่อผู้สูงอายุและให้เกิดการประสานความร่วมมือเครือข่ายด้านผู้สูงอายุ ภาคประชาสังคม องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อขับเคลื่อนให้มีการปรับปรุงกฎหมายด้านสวัสดิการสังคมเพื่อผู้สูงอายุ ในการปฏิรูปกฎหมาย รวมถึงการบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

10267768_895242337161888_806718028875479578_n10846131_895242270495228_7500118995739521782_n (1)

กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมโดยนางสุนี ไชยรส รองประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมายและประธานกรรมการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนากฎหมายด้านสวัสดิการสังคม วันนี้มีความตั้งใจเพราะมีผู้สูงอายุมากันจำนวนมากและเครือข่ายแรงงานก็เข้าร่วมกันไม่น้อย การทำงานมีส่วนร่วมกันหลายฝ่ายและมีความมุ่งหวังว่าเราจะได้ร่วมกันขับเคลื่อนเพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตอยู่อย่างสมศักดิ์ศรีซึ่งผู้สูงอายุไม่ใช่ส่วนเกินของสังคมยังเป็นบุคคลที่มีคุณภาพ

กล่าวเปิดงานโดยนายวิเชียร ชวลิต ปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่าการปฏิรูปกฎหมายผู้สูงอายุ คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ได้ทำการยกร่างกฎหมายกันมาและนำมาสู่เวทีในวันนี้ และมีตัวแทนจากจังหวัดต่างๆมาเข้าร่วมประชุมเพื่อเป็นตัวแทนในการร่วมคิดและปรับปรุงพัฒนากฎหมายให้สอดคล้อง เพื่อให้ผู้สูงอายุไทยมีความสุข
สาระสำคัญร่างพระราชบัญญัติคุ้มครอง ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ พ.ศ…..

รศ.ดร.วิจิตรา ( ฟุ้งลัดดา ) วิเชียรชม คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ให้ภาพรวมสถานการณ์สังคมไทยที่กำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ จึงต้องมีการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในสังคมในเรื่องเศรษฐกิจ รายได้ ความเป็นอยู่และการกระจายรายได้ เพราะกฎหมายผู้สูงอายุฉบับที่ใช้อยู่ในปัจจุบันการกำหนดสิทธิประโยชน์ยังไม่ชัดเจนมีลักษณะสังคมสงเคราะห์ ขาดการบูรณาการหน่วยงานภาครัฐ ท้องถิ่นและเอกชน การบริหารงานยังกระจุกตัวอยู่ที่ส่วนกลาง ต้องให้ความสำคัญกับรายได้ที่เหมาะสมกับค่าครองชีพและครบวงจรชีวิตเป้าหมายแนวทางต้องให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วม

ทางคปก. ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ พ.ศ. …. เพื่อให้มีการดูแลผู้สูงอายุมีมาตรฐานการจัดสวัสดิการสังคมโดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดที่ผู้สูงอายุพึ่งพาตนเองได้และมีส่วนร่วมในการจัดสวัสดิการสังคม มีความมั่นคงในทางเศรษฐกิจ สวัสดิการสังคมในเรื่องสุขภาพ การศึกษา การได้รับข้อมูลข่าวสาร ที่อยู่อาศัยการมีงานทำและการมีรายได้ นันทนาการความช่วยเหลือทางด้านกฎหมายให้สอดคล้องกับความต้องการและสภาพของพื้นที่ การมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคเอกชน
แนวทางการขับเคลื่อนกฎหมายสวัสดิการสังคมเพื่อผู้สูงอายุ

ผู้เข้าร่วมอภิปรายได้ให้ข้อคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ พ.ศ. ….ข้อเด่นของร่างนี้ เช่นได้ปรับปรุงพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 คือ การกระจายอำนาจให้แกท้องถิ่นในการดูแลผู้สูงอายุ ให้มีคณะกรรมการสูงอายุและกองทุนกระจายไปในระดับจังหวัดและท้องถิ่น โดยเทียบเคียงองค์ประกอบขององค์กรอิสระ สร้างการมีส่วนร่วมของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วม แต่ยังมีข้อกังวลต่อร่างพระราชบัญญัติ เช่นการขยายนิยามผู้สูงอายุ ในประเด็นผู้สูงอายุมีถิ่นที่อยู่ในไทยแต่ไม่มีสัญชาติไทย ภาระทางด้านการคลังที่จะเพิ่มขึ้น การตั้งกองทุนเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิต และการจัดการศพซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องไปคิดต่อว่าแหล่งที่มาของงบประมาณว่า จะมาจากไหน การได้รับสิทธิประโยชน์ซึ่งบางกรณีให้สิทธิโดยพิจารณาจากรายได้

ข้อเสนอต่อขบวนการขับเคลื่อนมี ดังนี้

1. ให้มีการทำบัญชีรายชื่อสนับสนุนร่างกฎหมาย

2. ให้ส่งโปสการ์ดถึงผู้มีอำนาจตัดสินใจในการออกกฎหมาย

3. ให้นำข้อเสนอ เสนอต่อนายกรัฐมนตรีและกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

4. ให้ขบวนการแรงงานทำหนังสือร่วมสนับสนุนร่างกฎหมายผู้สูงอายุฉบับดังกล่าว

5. ให้ประชาชนหรือองค์กรผู้สูงอายุในพื้นที่จัดเวทีคู่ขนาน

6. ให้ทำงานเชื่อมประสานกับสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติด้านสังคมด้านผู้สูงอายุเพื่อเป็นภาคีผลักดันกฎหมายในกระบวนการร่างกฎหมาย

7. สร้างความร่วมมือของภาคีเครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคมที่ขับเคลื่อนร่างกฎหมาย

8. เปิดเวทีสาธารณะเพื่อเผยแพร่กฎหมายผู้สูงอายุให้กับกลุ่มเป้าหมาย

9. ให้ขับเคลื่อนควบคู่ไปกับกฎหมายกองทุนการออมเพื่อเตรียมตัวสู่การเป็นผู้สูงอายุในอนาคต

นักสื่อสารแรงงานศูนย์อ้อมน้อย – อ้อมใหญ่ รายงาน