สรุปการประชุม กองบรรณาธิการนักสื่อสารแรงงาน ครั้งที่ 1

โครงการการพัฒนาสื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนขบวนการแรงาน เวลา 13.00 น.วันพุธที่ 3พฤศจิกายน 2553 ณ มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ได้มีการจัดประชุมกองบรรณาธิการนักสื่อสารแรงงานครั้งที่ 1 ผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 11 คน  

วาระที่ 1   แจ้งเพื่อทราบ

นายวิชัย นราไพบูลย์  ผู้จัดการโครงการฯ กล่าว  ว่าตามที่ได้มีการจัดฝึกอบรมการเขียนข่าวไปจนครบทุกศูนย์แล้วนั้น  หลังจากผ่านการฝึกอบรม  ทางโครงการฯได้จัดเตรียมงบประมาณเพื่อให้นักสื่อสารแรงงานได้ฝึกปฏิบัติการเขียนข่าว-บทความในจดหมายข่าวศูนย์แรงงานที่โครงการจะจัดทำขึ้นระยะเวลา 1 ปี 12 ฉบับ  วันนี้จึงขอเชิญผู้แทนศูนย์ฯต่างๆ มาร่วมประชุมหารือเพื่อกำหนดรายละเอียดการทำงานร่วมกัน  รวมทั้งตรวจสอบความพร้อมในการเข้าฝึกอบรมการผลิตสื่อวิดีโอกับทีมนักข่าวพลเมืองทีวีไทยด้วย

วาระที่ 2   การเตรียมพร้อมเพื่อเข้าร่วมฝึกผลิตวิดีทัศน์

น.ส.วาสนาลำดี ผู้ประสานงานโครงการฯรายงานว่า  ศูนย์ต่างๆแจ้งรายชื่อผู้เข้ารับการฝึกอบรมรวม 22 คน  ซึ่งมีการแบ่งศูนย์ชลบุรี-ระยอง เป็น 2 กลุ่ม ทำให้มีเป็น 9 กลุ่มที่จะต้องเตรียมตัวสำหรับการเข้าฝึกอบรม  โดยความคืบหน้าของเป็นดังนี้

กลุ่มอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่ 2 คน      เอกสารครบ  ทั้งแบบสอบถาม และบทที่จะใช้ในการฝึก

กลุ่มชลบุรี 3 คน                         เอกสารครบ

กลุ่มระยอง 3 คน                        ได้แบบสอบถาม  ขาดบท

กลุ่มฉะเชิงเทรา 3 คน                  เอกสารครบ

กลุ่มอยุธยา 3 คน                       ได้แบบสอบถาม  ขาดบท

กลุ่มสมุทรปราการ 3 คน              ได้แบบสอบถาม  ขาดบท

กลุ่มสระบุรี 2 คน                        ได้แบบสอบถาม  ขาดบท

กลุ่มปราจีนบุรี                            ยังไม่ส่งทั้ง 2 อย่าง  และไม่มีความชัดเจน อาจต้องตัดออก

สำหรับกำหนดการฝึกอบรม  ทางทีวีไทยยังไม่ส่งมาให้  โดยอยู่ระหว่างการหาสถานที่  แต่ชัดเจนว่าจะต้องเข้าที่พักที่ฝึกอบรมในตอนเช้าวันที่ 12 พฤศจิกายน 

ส่วนการเตรีมพร้อมในเรื่องอุปกรณ์ต่างๆ  ได้ย้ำอีกครั้งว่า  ทุกคนต้องเตรียมคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค  กลุ่มละ 1 เครื่อง  กล้องถ่ายวิดีโอหรือถ่ายภาพ  หูฟัง  และเตรียมภาพวิดีโอที่สอดคล้องกับบทที่เขียนสำหรับใช้ฝึก

วาระที่ 3   การจัดทำหนังสือพิมพ์และร่วมเป็นบรรณาธิการ

นายวิชัยแจ้งว่า  การจัดทำหนังสือพิมพ์แรงงานก็เพื่อใช้เป็นเวทีฝึกทักษะในการเขียนข่าวหรือบทความของนักสื่อสารแรงงานที่ผ่านการฝึกอบรมมาแล้ว  ซึ่งกำหนดที่ต้องออกฉบับแรกคือเดือนพฤศจิกายนนี้  การทำหนังสือส่วนใหญ่ก็มักจะต้องมีบทบรรณาธิการ  ซึ่งก็มีการฝึกอบรมการเขียนบทบรรณาธิการให้กับแกนนำของแต่ละกลุ่มไปแล้วเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม ที่ผ่านมา  เพื่อให้หนังสือพิมพ์ที่จะจัดทำขึ้นเป็นการผลิตโดยนักสื่อสารแรงงานอย่างแท้จริง  จึงต้องให้นักสื่อสารเป็นผู้เขียนบทบรรณาธิการเองด้วย  จึงขอให้ที่ประชุมหารือกันเรื่องใครจะเป็นบรรณาธิการ และจะมีกระบวนการทำงานอย่างไร

ที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนเสนอข้อคิดเห็นต่างๆอย่างกว้างขวาง  และได้ข้อสรุปว่า

1.  ให้ทุกศูนย์ส่งตัวแทน 1 คนมาเป็นบรรณาธิการร่วม และ ใช้วิธีเวียนกันเขียนบทบรรณาธิการ ไปตามลำดับ ดังนี้

ฉบับเดือนพฤศจิกายน 2553        มงคล  ยางงาม                          จากศูนย์แรงงานนครปฐม-สมุทรสาคร

ฉบับเดือนธันวาคม 2553             สมบูรณ์ เสนาสี              จากศูนย์แรงงานฉะเชิงเทรา

ฉบับเดือนมกราคม 2554             ตฤบดี   สุขวงศ์              จากศูนย์แรงงานสมุทรปราการ

ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2554          สมศักดิ์ สุขยอด              จากศูนย์แรงงานชลบุรี-ระยอง 

ฉบับเดือนมีนาคม 2554              สวรรยา  สุวรรณเพ็ญ      จากศูนย์แรงงานสระบุรี

ฉบับเดือนเมษายน 2554             อุดม ไกรยราช                 จากศูนย์แรงงานอยุธยา 

ฉบับเดือนพฤษภาคม 2554         ธัญญา สายสิน              จากศูนย์แรงงานปทุมธานี 

ฉบับเดือนมิถุนายน 2554            มงคล ยางงาม               จากศูนย์แรงงานนครปฐม-สมุทรสาคร

ฉบับเดือนกรกฎาคม 2554           สมบูรณ์ เสนาสี              จากศูนย์แรงงานฉะเชิงเทรา

ฉบับเดือนพฤศจิกายน 2554        ตฤบดี   สุขวงศ์              จากศูนย์แรงงานสมุทรปราการ

ฉบับเดือนพฤศจิกายน 2554        สมศักดิ์ สุขยอด              จากศูนย์แรงงานชลบุรี-ระยอง 

1. บรรณาธิการมีหน้าที่อื่นอีกคือ ร่วมประชุมกองบรรณาธิการทุกวันพุธแรกของเดือน เวลา 13.00 น. ที่ พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย 1.  เพื่อกำหนดเนื้อหาบทบรรณาธิการรายงานการดำเนินงานของศูนย์ฯ 2. ดูแลการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อวิดีโอ 3. ในศูนย์ของตัวเองให้เป็นไปตามข้อตกลง เป็นตัวแทนทำข้อตกลง และประสานงานกับโครงการฯ

2. งบประมาณในการสนับสนุน โครงการฯจะเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณการผลิตสื่อ ให้ศูนย์ฯละ 20,000 บาท  ระยะเวลา

ตั้งแต่  1 พฤศจิกายน 2553 ถึง 30 ตุลาคม 2554  สำหรับผลิตสื่อ 2 ชนิด คือ ผลิตจดหมายข่าวรายเดือนหรือตามแต่จะตกลงกัน  และผลิตวิดีโอสารคดีความยาว 5–8 นาที จำนวน 4 เรื่อง เนื้อหาต้องครอบคลุมประเด็น 1.ความปลอดภัยในการทำงาน 2.ประกันสังคม 3.ค่าจ้างสวัสดิการ 4.แรงงานนอกระบบ และโครงการฯ จะสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมจากงบประมาณสนับสนุนการผลิตสื่อ ในส่วนของการร่วมเป็นบรรณาธิการ เดือนละ 1,000 บาท และสนับสนุนค่าจัดพิมพ์ให้ไม่เกินเดือนละ 500 บาท

โดยรายละเอียดจะมีการทำข้อตกลงร่วมกันระหว่างโครงการฯกับตัวแทนของศูนย์ฯต่างๆในวันนี้

วาระอื่นๆ ที่ประชุมได้ร่วมกันหาข้อสรุปเนื้อหาของบทบรรณาธิการฉบับเดือนพฤศจิกายน 2553  โดย 

เห็นว่าควรพูดถึงประเด็นน้ำท่วม  ทั้งส่วนของการช่วยเหลือทั่วไป  แรงงานที่ตกสำรวจหรือได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม   รวมทั้งสถานการณ์ความเคลื่อนไหวประเด็นเด่นๆของแรงงาน

นายวิชัย นราไพบูลย์  ผู้บันทึกการประชุม