ส.ส.ท.เปิดรับฟังความเห็นแรงงานในระบบ

วันที่ 11 กันยายน 2554 ณ.ห้องทับทิม โรงแรมรัตนโกสิทร์ ถนนราชดำเนิน กรุงเทพมหานคร สภาผู้ชมและผู้รับฟังรายการ ส.ส.ท. ได้จัดโครงการรับฟังความคิดเห็นและขยายเครือข่ายเพื่อนสาธารณะเพื่อนำข้อเสนอแนะจากกลุ่มผู้ใช้แรงงานในระบบไปเสนอกับสภาผู้ชมผู้รับฟังรายการส.ส.ท. ในการเสวนาในครั้งนี้ได้รับความสนใจจากเพื่อนสมาชิกผู้ใช้แรงงานจากสหภาพแรงงาน กลุ่มย่านแรงงาน นักสื่อสารจาก VOICE LABOUR

นายกิตติชัย ใสสะอาดสมาชิกสภาผู้ชมและผู้รับฟังรายการได้กล่าววัตถุประสงค์ให้กับผู้ที่เข้าร่วมเสวนาในครั้งนี้ว่านับตั้งแต่มีการจัดตั้งองค์การกระจายเสียงและเผยแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย(ส.ส.ท) เนื่องจากการกำเนิดของโทรทัศน์สาธารณะนี้ เป็นสื่อสาธารณะแห่งแรกของประเทศไทย และด้วยภารกิจที่เป็นสื่อกระจายเสียงและเผยแพร่ภาพสาธารณะของประชาชน ดำเนินงานงานโดยประชาชนมีส่วนร่วม รวมถึงมุ่งให้เกิดประโยชน์สร้างสรรค์สูงสุดต่อประชาชนและสังคม องค์ประกอบของสมาชิกฯที่มาจากการคัดเลือกไม่เกิน 50 ท่านแบ่งเป็น 9 ภูมิภาคทั้งนี้เพื่อทำหน้าที่รวบรวมความคิดเห็นที่มีต่อการพัฒนาการให้บริการและการผลิตรายการขององค์การฯต่อคณะกรรมการบริหารและคณะกรรมการนโยบายเพื่อประโยชน์ในการกำหนดนโยบายพัฒนาการผลิตและเผยแพร่รายการเพื่อประโยชน์สาธารณะและสังคมตามวิสัยทัศน์ของสื่อสาธารณะแห่งประเทศไทยที่มุ่งหมายคุณภาพและคุณธรรม หลังจากกล่าวจบได้จัดให้ทำแบบสอบถามและจัดกลุ่มเพื่อระดมความคิดเห็น เพื่อพัฒนารายการไทยพีบีเอส แบ่งเป็น 3 กลุ่มประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 รายการข่าว/สารคดีเชิงข่าว/รายการเกี่ยวกับข่าว กลุ่มที่ 2 รายการสารคดี / สารประโยชน์ กลุ่มที่ 3 สาระบันเทิง สมาชิกกลุ่มได้นำเสนอข้อเสนอแนะให้แก่สมาชิกสภาผู้ชมและผู้รับฟังรายการ

นายกิตติชัย ใสสะอาด ชี้แจงเรื่องการทำแบบสอบถาม ตามรายละเอียด โดยแบบสอบถามจะแบ่งเป็น 6 ตอน 70 ข้อ คือ 
 
1.  ข้อมูลของผู้ตอบแบบสอบถาม 
2.  ความคิดเห็นที่มีต่อสถานีโทรทัศน์ Thai PBS
3.  ความคิดเห็นด้านคุณค่า ประโยชน์ของรายการ
4.  การปฏิบัติตามจรรยาวิชาชีพ และการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน 
5.  การบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ 
6.  ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ Thai PBS 
ข้อเสนอในการทำแบบสอบถาม
การให้ความเห็นเรื่องภาพรวม อาจจะไม่ชัดเจนเพราะว่าไม่ได้ดูทั้งหมด จึงไม่เห็นภาพรวม 
การสะท้อนภาพรวมให้แสดงความเห็นเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของรายการ ดีขึ้นหรือไม่ ควรเพิ่มหรือลดอะไร
อยากให้มีรายการที่นำเสนอเรื่องราวในภูมิภาค เช่น 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้เห็นข้อเท็จจริง  
สภาผู้ชมฯ กับนักข่าวพลเมือง ไม่ได้สัมพันธ์กัน เพราะนักข่าวพลเมืองเป็นการผลักดันจากสภาผู้ชม
การเป็นสมาชิกศูนย์เพื่อนThai PBS สามารถสมัครเข้าไปเพื่อแสดงความเห็นหรือแจ้งข่าวสารได้ ทั้งนี้การนำเสนอข่างเป็นดุลยพินิจของบก.ข่าว และคนที่นำเสนอความเห็นเป็นประจำก็จะได้รับการพิจารณาให้เข้ามาร่วมกระบวนการของสมาชิกสภาผู้ชมฯ ได้ โดยจะคัดเลือกภูมิภาคละ 9 คน หรือจากกลุ่มประเด็น เช่น คนจนเมือง แรงงาน 
สภาผู้ชมฯ ไม่มีสิทธิกำหนดว่าสถานีจะเสนอข่าวของเราหรือไม่ ทั้งนี้จะมีการกลั่นกรองโดย บก.ข่าว       
 
กิจกรรมแบ่งกลุ่มระดมความเห็นเพื่อพัฒนารายการ Thai PBS 
กระบวนการรับฟังอาจจะไม่ครบทุกเนื้อหา ซึ่งจะทำให้เห็นว่าแต่ละกลุ่มเป้าหมายชอบดูรายการไหน สนใจเรื่องอะไร ซึ่งจะนำไปสู่การปรับให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย และการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย  แบ่งกลุ่ม
1.  สาระบันเทิง/เด็กเยาวชนและครอบครัว 
2.  สารคดี/สารประโยชน์ 
3.  ข่าว
 
กลุ่ม 1 สีขาว รายการสารคดี เชิงข่าว
 
1  ท่านมีเวลาดูทีวีในช่วงไหนบ้าง (ไล่ทีละวันตั้งแต่วันจันทร์ถึงอาทิตย์)

เวลา/วัน

จันทร์

อังคาร

พุธ

พฤหัสบดี

ศุกร์

เสาร์

อาทิตย์

เช้า

6-9

6-9

6-9

6-9

6-9

5- 9/6-7/6-9

5- 9/6-7/6-9

กลางวัน

พานาโซนิค 11-13

พานาโซนิค 11-13

พานาโซนิค 11-13

พานาโซนิค 11-13

พานาโซนิค 11-13

11-13

 

เย็น

 

 

 

 

 

18-23 / 19-22

 

ดึก

 

 

 

 

 

 

 

2.  ท่านชอบดูทีวีช่องไหนมากที่สุด ชอบดูรายการประเภทไหนมากที่สุด เพราะเหตุใด
o ช่อง 3, Thai pbs (เนื่องจากมีข่าวแรงงานมากขึ้น ทำให้ติดตามรายการอื่นด้วย) 
o ช่อง 3 / ช่อง 7 ดูข่าวและกีฬา / ช่อง Thai pbs โดยเฉพาะรายการตอบโจทย์
o Nation Chanel, สุวรรณภูมิ, ช่อง 9 (ผ่านทางเคเบิลทีวี) เนื่องจากมีข่าวที่ทันต่อสถานการณ์ ดู thai pbs ช่วงดึก-เช้า 
o ช่วงเช้าดูข่าว 3 / ช่อง 7 กลางวัน / thai pbs ส่วนใหญ่ดูข่าว ไม่ชอบโฆษณา
o ดูข่าวกีฬา ช่องกีฬา เคเบิล (ไทยพีบีเอส ไม่ค่อยมีกีฬา)
o ช่อง 9 ข่าวกีฬา ตอนเย็น 
o เช้า 6 โมง ข่าว ไทยพีบีเอส / 7 โมง ช่อง 9 / เย็น จะเช็คข่าวตามช่องต่างๆ 3-4 ทุ่มดูไทยพีบีเอสรายการที่นี่ไทยพีบีเอส และตอบโจทย์ 
 
3.  เมื่อพูดถึง สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ท่านคิดถึงอะไร
o ข่าว 
o นักข่าวพลเมือง 
o เพลงนำเข้ารายการ 
o รายการวิเคราะห์สถานการณ์ / เวทีแลกเปลี่ยน (เช่น เวทีสาธารณะ เปลี่ยนประเทศไทย) 
 
4.  ท่านคิดว่า ไทยพีบีเอส ต่างจากทีวีช่องอื่นๆตรงไหน (อัตลักษณ์/ลักษณะเฉพาะของไทยพีบีเอส)
o ข่าวเยอะ
o ไม่มีโฆษณา
o ไม่มีละครน้ำเน่า 
o มีสาระมากกว่าช่องอื่นๆ 
o เจาะประเด็นจากเจ้าของเรื่อง 
o ให้ประชาชนเข้าไปแสดงความเห็น เข้าถึงประชาชน 
o ออกข่าวแรงงานที่ออกข่าวแรงงานติดต่อกัน
o ไม่กลัวอิทธิพลในการเสนอข่าว 
o นักข่าวทุ่มเทในการทำข่าว เข้าถึงพื้นที่ 
o รูปแบบการติดตามเรื่องตั้งแต่ต้นจนจบ 
 
5.  ท่านคิดว่า ไทยพีบีเอส เป็นสถานีของประชาชนหรือไม่   เพราะเหตุใด
o ใช่ประมาณ 80% 
คิดว่าเป็นสถานีของประชาชนเพราะ 
o ไม่มีโฆษณา 
o ได้รับงบประมาณจากรัฐ 
o มีความเป็นอิสระในการเสนอข่าว 
o มีพื้นที่ข่าวของประชาชน 
o โปร่งใส 
o มีรายการเปิดบ้านทีวีไทย 
o นำเสนอปัญหาประชาชนอย่างต่อเนื่อง
o มีการปรับเปลี่ยนรายการตลอดเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการ 
o เกิดความกังวลว่า “รายการภาวะฉุกคิด” ทีเอานายจ้างมาออกรายการ ทำให้ไม่แน่ใจว่าจะเป็นทีวีของประชาชนหรือเปล่า 
 
6.  ท่านเคยเข้าร่วมกิจกรรมอะไรกับไทยพีบีเอสบ้าง (เอาชื่องานเท่าที่จำได้ เป็นชื่อย่อก็ได้)
o รายการเปลี่ยนประเทศเทศไทย 
o นักข่าวพลเมือง (อบรมนักข่าวพลเมือง)
o สมาชิกเพื่อนไทยพีบีเอส
 
7.  ท่านติดตามชมรายการอะไรของไทยพีบีเอสเป็นประจำบ้าง   ชอบตรงไหนของรายการที่สุด
o ข่าวทุกช่วง
o กิน อยู่ คือ 
o หยุดเรียลลิตี้ผ่านแดน 
o เวทีสาธารณะ 
o คนกล้าฝัน
o คุยกับแพะ 
o เปลี่ยนประเทศไทย 
o สัตว์โลกหรรษา
o เปิดโลก 
o ชีวิตจริงยิ่งกว่าละคร 
o พินิจนคร
o ดนตรีกวีศิลป์ 
o พันแสงรุ่ง 
o English Breakfast
o ท่องโลกกว้าง
o 15 นาที สารคดี  และถ้าต้องการดึงดูดผู้ชมให้มีมากขึ้น   ท่านคิดว่าควรปรับปรุงรายการอย่างไร
o เพิ่มเวลารายการตอบโจทย์,เปิดปม และเลื่อนมาเป็นเวลาหัวค่ำที่คนดูกันเยอะ    
o กระชับเวลา รายการคุยกับแพะ 
o เพิ่มข่างแรงงาน เจาะประเด็นข่างแรงงาน เพิ่มช่วงเวลา โดยเฉพาะช่วงกลางคืน มีช่วงข่าวที่ชัดเจน มีรายการของแรงงาน อย่างน้อยสัปดาห์ละหนึ่งช่วง
o รายการสิทธิวิวาทะ พลเมืองคนกล้า ให้นำกลับมา 
o รายการสรุปข่าว
o เพิ่มข่าวสไตส์ตอบโจทย์ในช่วงเช้า 
 
8.  มีคนในครอบครัวหรือเพื่อนๆของท่านเป็นแฟนพันธุ์แท้ไทยพีบีเอสหรือไม่ 
(ถ้ามี) รายการที่ติดตามชมเป็นประจำคืออะไร   และท่านเคยดูรายการนั้นหรือไม่
คนในครอบครัวหรือเพื่อนๆของท่านพูดถึงรายการนั้นว่าอย่างไร   และท่านเห็นด้วยหรือคิดต่าง
o เปิดปม 
o ที่นี่ ไทยพีบีเอส 
o หนูน้อยเจ้าเวลา 
o สัตว์โลกหรรษา
o แข่งขันถ่ายทอดสดแข่งเรือ
o ภัตตาคารบ้านทุ่ง 
o คุยกับแพะ 
 
9. นอกจากรายการที่ติดตามชมเป็นประจำ (ข้อ 7)  ท่านเคยชมรายการอะไรบ้าง
 
10.  ท่านชอบรายการประเภทไหน (ในข้อ 9) ของไทยพีบีเอสเป็นพิเศษบ้าง   เพราะอะไร
ถ้าต้องการดึงดูดผู้ชมให้มีมากขึ้น   ท่านคิดว่าควรปรับปรุงรายการอย่างไร
 
11.  ท่านเคยพบรายการอะไรในไทยพีบีเอสที่คิดว่า ไม่เหมาะสมหรือไม่ควรมี หรือไม่ 
(ถ้ามี) กรุณาให้คำชี้แนะว่า  ควรปิดรายการนั้น  หรือควรปรับปรุงรายการนั้นอย่างไร
 
อยากให้ตัด
o (ยุบ) เกมโชว์ เพราะไร้สาระ ช่องอื่นเกมเยอะแล้ว  
 
อยากให้เพิ่ม
o เล่าชีวิต นำเสนอชีวิต ความทุกข์ยากของประชาชน 
o รายการที่เกี่ยวกับ IT
o รายการค้นคว้าเทคโนโลยี ในช่วงวันหยุด 
o กีฬาทั่วไป (เสาร์, อาทิตย์) 
o เปิดพื้นที่ของผู้ทุกข์ยาก ผู้ถูกกระทำ 
o ซีรี่ส์หลังข่าว เพราะต้องติดตาม และคุณภาพซีรีส์ลดลง เสนอให้มีหนังไทยที่มีสาระดี เรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์มาฉายในช่วงนั้นแทน ซีรี่ส์ให้ย้ายเวลาไปช่วงอื่น 
o รายการที่ย้อนอดีตมากและต้องตั้งใจดู 
o เกมโชว์ ช่วง 2 ทุ่มกว่า ซึ่งน่าจะเป็นรายการอื่นมากกว่า 
 
12.  ท่านคิดว่า ไทยพีบีเอส  ยังขาด/ควรเพิ่ม  รายการประเภทไหน
13.  ถ้าเป็นไปได้  ท่านอยากให้ไทยพีบีเอสเพิ่มเวลาให้กับรายการอะไร  ลดเวลารายการอะไร
14.  ท่านมีข้อเสนอแนะโดยรวมสำหรับรายการต่างๆของไทยพีบีเอสอะไรบ้าง เช่น เวลาออกอากาศของบางรายการ การแต่งกายของพิธีกร การพูด ฯลฯ
o การติดตามประเด็นต่อเนื่อง
o หลังข่าวค่ำควรมีรายการเสวนาโต๊ะกลม 
o สลับเปลี่ยนผู้ประกาศข่าวบ้าง เป็นคู่หญิงชาย 
o มีข่าวด้านแรงงานทุกวัน (ช่วงค่ำ) ความเป็นอยู่ของแรงงาน กฎหมายแรงงาน วิเคราะห์สถานการณ์ อาชีพอิสระ 
o ปรับปรุงระบบส่งสัญญาณ (ให้พื้นที่ที่มีปัญหาแจ้ง) / สถานีภูมิภาคยังไม่ครอบคลุม  
o การแต่งกาย/การพูดจา ของพิธีกร ผู้สื่อข่าว ดีมาก 
o สื่อมวลชนมีความเป็นกันเอง 
o ความโปร่งใส 
o พิธีกรมีความสามารถหลายด้าน 
 
15. ประเด็นเพิ่มเติม คือ ความคุ้มทุนของไทยพีบีเอส ซึ่งใช้เงินภาษีจากเหล้าและบุหรี่ 
o เกินคุ้ม เพราะมีประเด็นที่นำเสนอผ่านรายการแล้วรับการแก้ไข โดยเฉพาะเรื่องของคนยากจน 
o งบประมาณในการดำเนินงานน้อย ให้มีการเพิ่มงบประมาณ รัฐให้เงินอุดหนุนพิเศษ 
o ประชาชนมีส่วนร่วม มีสมาชิกที่ช่วยจ่ายงบประมาณสนับสนุน 
o ค่าบริการเอสเอ็มเอสข่าว 
o ประชาสัมพันธ์การเข้าเป็นสมาชิกผ่านจอทีวี 
o ผังรายการ ตารางเวลา
 

กลุ่มที่ 2 สีเหลือง 
 
1.  ท่านมีเวลาดูทีวีในช่วงเวลาไหนบ้าง  (ไล่ทีละวันตั้งแต่จันทร์ถึงอาทิตย์)
o วันจันทร์ – ศุกร์ ช่วงเช้าเวลา06.00 -07.00. ช่วงเย็นเวลา 17.00-22.30 น.
o วันเสาร์- อาทิตย์ ช่วงเช้าเวลา 06.00-08.00 ช่วงบ่ายเวลา12.00-16.00 ช่วงเย็นเวลา 17.00-22.00 น.
 
2.  ท่านชอบดูทีวีช่องไหนมากที่สุด ชอบดูรายการประเภทไหนมากที่สุด เพราะเหตุใด
o ช่อง 3 ชอบดูมากที่สุด ชอบดูมากคือ ข่าว เพราะ
o ข่าวรวดเร็วทันเหตุการณ์ 
o น่าสนใจ 
o มีเวลานำเสนอมาก 
o มีรายงานสดจากพื้นที่
 
3.  เมื่อพูดถึง สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ท่านคิดถึงอะไร
o รายการเด็กและครอบครัว 
o ให้พื้นที่การมีส่วนร่วมสำหรับภาคประชาชนเยอะ
 
4.  ท่านคิดว่า ไทยพีบีเอส ต่างจากทีวีช่องอื่นๆตรงไหน(อัตลักษณ์/ลักษณะเฉพาะของไทยพีบีเอส)
o ไม่มีโฆษณาไม่ต้องเปลี่ยนช่อง
o ให้ความรู้เรื่องขนบธรรมเนียมประเพณี
o เป็นบันเทิงที่สอดแสรกเรื่องวัฒนธรรม ในชุมชน ประเพณีไทยทำให้เกิดแนวความคิดที่ดี
o ให้ความสำคัญกับทุกช่วงวัย
o สะท้อนปัญหาให้เห็น และได้เรียนรู้ร่วมกัน
 
5.  ท่านคิดว่า ไทยพีบีเอส เป็นสถานีของประชาชนหรือไม่เพราะเหตุใด
o ใช่ เพราะไม่ต้องเสนอรายการ สาระบันเทิง ตามแหล่งเงินทุน
6.  ท่านเคยเข้าร่วมกิจกรรมอะไรกับไทยพีบีเอสบ้าง(เอาชื่องานเท่าที่จำได้ เป็นชื่อย่อก็ได้)
o ไม่ค่อยได้ร่วม
 
7.  ท่านติดตามชมรายการอะไรของไทยพีบีเอสเป็นประจำบ้าง   ชอบตรงไหนของรายการที่สุด
o ลุยไม่รู้โรย เป็นบุคคลต้นแบบ
o ภัตตาคารบ้านทุ่ง นำเสนอวิถีชีวิต
o ดนตรีกวีศิลป์บอกที่มาและอารมณ์ของศิลป์
o หม้อข้าวหม้อแกง เป็นรายการสอนเด็กทำอาหาร
o พื้นที่ชีวิต 
 
8.  มีคนในครอบครัวหรือเพื่อนๆของท่านเป็นแฟนพันธุ์แท้ไทยพีบีเอสหรือไม่ 
o หม้อข้าวหม้อแกง บอกที่มาของอาหารบ้านกรุง
o ภัตตาคารบ้านทุ่ง อาหารพื้นบ้าน เพราะบอกที่มาพิธีกร ใช้ถ้อยคำภาษาได้ดี เล่นคำได้ดี
o สัตว์โลกหรรษา
o หลงกรุง พาเที่ยวกรุง ประเทศไทย
 
9. นอกจากรายการที่ติดตามชมเป็นประจำ (ข้อ 7) ท่านเคยชมรายการอะไรบ้าง
o Thai เทียร์เตอร์ หนังเก่าที่มีสาระ 
 
10.  ท่านชอบรายการประเภทไหน (ในข้อ 9) ของไทยพีบีเอสเป็นพิเศษบ้าง   เพราะอะไร
o ชอบรายการบันเทิงที่มีสาระ ให้แนวคิด 
 
11.  ท่านเคยพบรายการอะไรในไทยพีบีเอสที่คิดว่า ไม่เหมาะสมหรือไม่ควรมี หรือไม่
o ไม่มี
 
12.  ท่านคิดว่า ไทยพีบีเอส  ยังขาด/ควรเพิ่ม  รายการประเภทไหน
o รายการประเภทกีฬายังน้อยไป
o รายการเรื่องความปลอดในการทำงาน หรือประกอบอาชีพอาชีพ
o รายการกฎหมายที่ควรรู้ ของแรงงาน และประชาชน
o นำข้อพิพาทแรงงานมาทำเป็นรายการบันเทิง
o ควรมีละครสะท้อนชีวิตภาคแรงงาน เพื่อเป็นบทเรียน
o นำชีวิตของนักต่อสู้มาทำเป็นละคร โดยเฉพาะด้านแรงงาน(ผู้นำในอดีตและปัจจุบัน)
 
13.  ถ้าเป็นไปได้  ท่านอยากให้ไทยพีบีเอสเพิ่มเวลาให้กับรายการอะไร  ลดเวลารายการอะไร
o กีฬาไทยๆ ตะก้อ 
o ข่าว
 
ลดเวลา รายการอะไรบ้าง
o ไม่ต้องลด
 
14.  ท่านมีข้อเสนอแนะโดยรวมสำหรับรายการต่างๆของไทยพีบีเอสอะไรบ้าง เช่น เวลาออกอากาศของบางรายการ การแต่งกายของพิธีกร การพูด ฯลฯ
o นำหนังเก่ามาฉายอีก เช่น ประวัติศาสตร์เช่น พระนเรศวร หนังร้อยเรื่องที่คนไทยควรดู
o มีรายการแสดงพื้นบ้านเช่นหมอลำ ลิเก ละครลำต่างๆ
o พื้นที่ชีวิตนักแรงงานที่ต่อสู้มา ที่ทำเพื่อแรงงาน
o หนังที่ดีๆมีสาระ เสริมสร้างปัญญา
o รายการเกี่ยวกับผู้หญิง เด็กและเยาวชน
 
15. ท่านคิดว่าการมีสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสให้ประโยชน์อะไรกับผู้ชมหรือประชาชนบ้าง
o สาระ
o ความรู้
o เสริมสร้างความคิด
o เรียนรู้วิถีชีวิต
o บันเทิง
 
16. คุ้มหรือไม่กับ 2พันล้านบาท ในการทำรายการ ไทยพีบีเอส
o น่าจะมีงบประมาณให้เยอะกว่านี้
o น่าจะมีช่องทีวีมากกว่านี้ เป็นช่องเฉพาะเช่นทีวีช่องแรงงาน
 
กลุ่ม 3 สีเขียว 
 
1.  ท่านชอบดูทีวีช่องไหนมากที่สุดชอบดูรายการประเภทไหนมากที่สุด เพราะเหตุใด
ดูช่องไหน
 
o ช่อง 3  
o ช่อง 7  
o ช่อง 9 
o ช่อง 11
o ช่อง Nation
o Thai PBS
 
ชอบดูรายการ เพราะ
o ข่าวสารบ้านเมือง
o ดูข่าวแรงงาน เพราะติดตามประเด็นไหนแล้ว เช่น ประเด็นค่าจ้าง
o ดูโทรทัศน์ เพราะไม่มีเวลาอ่านหนังสือพิมพ์
o ทำไมต้องตั้งชื่อ Thai PBS เปลี่ยนเป็น Thai  ได้ไหม 
 
2.  เมื่อพูดถึง สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ท่านคิดถึงอะไร
o ข่าว การนำเสนอข่าวที่รวดเร็ว และเป็นรายการที่ช่วยประชาชน เช่น คุยกับแพะ 
o รายการ คุยกับแพะ เป็นรายการที่กล้านำเสนอ แปลกใหม่กล้าคิดกล้าทำ
o พิธีกรเข้าถึงพื้นที่จริง  ข่าวเข้าถึงประชาชน  รับฟังความคิดเห็น  ฟังคำติชม ช่องทางการที่ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการนำเสนอ
o เนื้อหารายการที่ถูกตีแพเรื่องในสังคม  
o สื่อนำเสนอข้อมูลที่ปราศจากการตกแต่งข้อมูล
o พิธีกรการตั้งคำถามในแนวที่ต้องการแต่Thai PBS จะเปิดกว้างในการตั้งคำถามให้คิดเองพูดเอง
 
3.  ท่านคิดว่า ไทยพีบีเอส ต่างจากทีวีช่องอื่นๆตรงไหน (อัตลักษณ์/ลักษณะเฉพาะของไทยพีบีเอส)
o ความหลากหลาย เกี่ยวกับเนื้อหาสาระ บางเรื่องที่เกี่ยวกับตัวเราโดยตรง เนื้อหานำมาประยุคใช้ในชีวิตประจำวัน
 
4.  ท่านคิดว่าไทยพีบีเอส เป็นสถานีของประชาชนหรือไม่ เพราะเหตุใด
o สามารถมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้  เสนอมุมมองรอบด้าน
o เป็นทีวีเพื่อประชาชนจริง จะเน้นประชาชนระดับรากหญ้า 
o มีช่องทางสะท้อนความคิดเห็น 
o เปิดโอกาสสามารถทำข่าวสารได้เอง
 
5.  ท่านเคยเข้าร่วมกิจกรรมอะไรกับไทยพีบีเอสบ้าง (เอาชื่องานเท่าที่จำได้ เป็นชื่อย่อก็ได้)
o เข้าร่วมกิจกรรมที่ Thai PBS จัดขึ้น
o พลังประชาชนเปลี่ยนประเทศไทย
 
6.  ท่านติดตามชมรายการอะไรของไทยพีบีเอสเป็นประจำบ้าง   ชอบตรงไหนของรายการที่สุด
o ฟ้าเปลี่ยนสี นำเสนอเรื่องราวชีวิตแต่ละจังหวัด แต่สั้นเกินไป
o หน้าที่พลเมือง เกี่ยวการดำเนินชีวิตคนในสังคม
o คุยกับแพะ สะท้อนถึงกระบวนการยุติธรรม และแก่ไขอย่างไร
o พันธ์แสงรุ้ง นำเสนอถึงวัฒนธรรมที่หลากหลายของถิ่นกำเนิด เกิดจิตสำนึกรักบ้านเกิด
o เปลี่ยนประเทศไทย สร้างแรงบันดาลใจ
o ให้มีการปรับรายการให้มาอยู่ช่วงประมาณ 17.00 – 22.00 น.
 
 ถ้าต้องการดึงดูดผู้ชมให้มีมากขึ้น   ท่านคิดว่าควรปรับปรุงรายการอย่างไร
 
7.  มีคนในครอบครัวหรือเพื่อนๆของท่านเป็นแฟนพันธุ์แท้ไทยพีบีเอสหรือไม่  (ถ้ามี) รายการที่ติดตามชมเป็นประจำคืออะไร และท่านเคยดูรายการนั้นหรือไม่ คนในครอบครัวหรือเพื่อนๆของท่านพูดถึงรายการนั้นว่าอย่างไร และท่านเห็นด้วยหรือคิดต่าง
o พี่ที่ทำงาน ดูข่าวเหมือนกินข่าวยิ่งดู ยิ่งอร่อย เนื้อหาชวนติดตาม
o เพื่อน  คนข้างบ้านวิ่งมาบอกข่าวนักสื่อสารแรงงาน มองมุมใหม่มาแล้ว
o สามีภรรยา ดูรายการตอบโจทย์   
o พ่อแม่  ชอบดูรายการ คุยกับเพาะ และสถานีประชาชน
o ครอบครัว   ชอบดูการ์ตูน ประโยชน์สาธารณะ นำเสนอกีฬาท้องถิ่น
 
8. นอกจากรายการที่ติดตามชมเป็นประจำ (ข้อ 7)  ท่านเคยชมรายการอะไรบ้าง
o  นำเสนอข้อมูลด้านแรงงาน 
o  อยากให้มีการถ่ายถอดกีฬาแข่งเรือด้วย
 
9. ท่านชอบรายการประเภทไหน (ในข้อ 9) ของไทยพีบีเอสเป็นพิเศษบ้าง   เพราะอะไร
o คุยกับแพะ   บทลงโทษของเจ้าหน้าที่รัฐที่จับแพะ 
o วีรชนคนถูกลืม    สามารถนำกระแสสังคมมาเชื่อมร้อยให้ลงตัว
o คุยกับแพะ    อยากมีบทลงโทษเจ้าหน้าที่รัฐที่กระทำผิด
o 2563 เปลี่ยนประเทศไทย   เจาะประเด็นแต่ละคน เกี่ยวกับทิศทางของประเทศ
 
ถ้าต้องการดึงดูดผู้ชมให้มีมากขึ้น   ท่านคิดว่าควรปรับปรุงรายการอย่างไร
 
10. ท่านเคยพบรายการอะไรในไทยพีบีเอสที่คิดว่า ไม่เหมาะสมหรือไม่ควรมี หรือไม่ 
(ถ้ามี) กรุณาให้คำชี้แนะว่า ควรปิดรายการนั้น หรือควรปรับปรุงรายการนั้นอย่างไร
11. ท่านคิดว่า ไทยพีบีเอส  ยังขาด/ควรเพิ่ม  รายการประเภทไหน
o อยากให้มีเกี่ยวกับศาสนา วัฒนาธรรมเพิ่มมากขึ้น  ตัดข่าวสารออกบางส่วน
o อยากให้รายการกลุ่มรายการเกี่ยวกับเด็ก ออกเวลาที่เด็กเรียน 17.00 น.
 
12. ถ้าเป็นไปได้  ท่านอยากให้ไทยพีบีเอสเพิ่มเวลาให้กับรายการอะไร  ลดเวลารายการอะไร
o รายการที่เกี่ยวกับครอบครัว เป็นวันหยุดเสาร์อาทิตย์
 
13. ท่านมีข้อเสนอแนะโดยรวมสำหรับรายการต่างๆของไทยพีบีเอสอะไรบ้าง เช่น เวลาออกอากาศของบางรายการ การแต่งกายของพิธีกร การพูด ฯลฯ
o รายการเกี่ยวกับเด็ก ตอนที่เด็กเลิกเรียน 17.00 น.
o รายการที่เกี่ยวกับครอบครัว วันเสาร์และอาทิตย์
o พิธีกรในแต่ละช่วงเวลาอ่านข่าว สับเปลี่ยนกันอ่าน ขอผู้ชายมาบ้าง
o เปลี่ยนพิธีกรเป็นพื้นที่ให้กับผู้ชายบ้าง
o ไม่สามารถดูช่องได้ชัดเจน ด่านขุนทด โคราช, บ้านกรวด บุรีรัมย์,อยุธยาท่าเรือ, 
 
14. ท่านคิดว่าการมีสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสให้ประโยชน์อะไรกับผู้ชมหรือประชาชนบ้าง คุ้มเรื่องบประมาณที่บริหารหรือไม่
o งานที่ออกมามากกว่างบประมาณทาทางรัฐสนับสนุน
o เสนอข่าวที่ผลกระทบต่อการเมือง ต้องระมัดระวัง ต้องให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม โดยมียุทธศาสตร์ 
o จะกระทบกับเจ้าหน้าที่รัฐ อาจจะโดนตัดงบประมาณ หรือโดดยึด
o Thai PBS  ทำอย่างไรให้ช่องสามารถดำเนินต่อไปได้โดยไม่ถูกแทรกแซง   และทำอย่างไรให้เป็นสถานีที่ไว้ว่างใจ
o งบประมาณ น้อย ควรมีการเพิ่ม และนำงบมามีการปรับรายการ ไม่ควรมีการเข้ามาครอบคลุมจากรัฐ 
 
การแลกเปลี่ยนเพิ่มเติมจากที่ประชุม
คุณภิญโญ เรือนเพ็ชร มีความเห็นว่า เรื่องการนำเสนอข่าวทางการเมือง อาจจะเกิดผลกระทบต่อคนทำงานข่าว เช่น ถูกคุกคาม และต้องมีกระบวนการในการปกป้อง ซึ่งอาจจะต้องทำให้ประชาชนรู้สึกเป็นเจ้าของและเข้ามามีส่วนร่วมกับ Thai PBS
 
อนึ่ง : ข้อมูลสรุปจากเวที โดยนางสาววิไลพร จิตรประสาน เจ้าหน้าที่ประสานงานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย

                                                                        ประสิทธิ์ วิจิตรไพบูลย์ นักสื่อสารแรงงาน ศูนย์ข่าวสมุทรปราการ  รายงาน