สรุปการประชุมกองบรรณาธิการนักสื่อสารแรงงานครั้งที่ 3

วันที่ 7 มกราคม 2554  เวลา 13.00-17.30 น . จัดโดยโครงการการพัฒนาสื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนขบวนการแรงงาน มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ภายใต้การสนับสนุนจากแผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน  ณ ห้องประชุมศุภชัย ศรีสติ มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย

นายวิชัย นาราไพบูลย์ กล่าวถึงการประชุมครั้งนี้ว่า เป็นครั้งที่ 3 และเป็นการประชุมบรรณาธิการเพื่อการรายงานความคืบหน้าของโครงการการพัฒนาสื่อสนับสนุนขบวนการแรงงาน และมีเรื่องปรึกษาเร่งด่วนในเรื่องการจัดงานสมัชชาแรงงานในวันที่ 13 มกราคม ที่จะมาถึง ซึ่งได้มีการประชุมเร่งด่วนกันกับบรรณาธิการที่ได้เข้าร่วมงานนักข่าวพลเมือง ทีวีไทย เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2553 เป็นความร่วมมือของทีมนักสื่อสารต่อการประชาสัมพันธ์งานสมัชชาแรงงาน ซึ่งมี นงนุช ไกรย์ศาสตร์ นักสื่อสารแรงงานศูนย์สระบุรี  สมบูรณ์ เสนาสี นักสื่อสารแรงงานศูนย์ฉะเชิงเทรา-ปราจีน มงคล ยางงาม นักสื่อสารแรงงาน ศูนย์อ้อมน้อย-อ้อมใหญ่ นครปฐม-สมุทรสาคร มาโนช หอมจันทร์ นักสื่อสารแรงงานศูนย์ชลบุรี-ระยอง และจำลอง  ชะบำรุง นักสื่อสารแรงงานศูนย์อยุธยา เป็นต้น
    
แม้ว่าจะไม่ได้ครบทุกศูนย์แรงงาน แต่ได้มีการกำหนดงานให้ทุกศูนย์ในการลงพื้นที่สัมภาษณ์กรณีปัญหาผลกรทบในการใช้สิทธิประกันสังคม ซึ่งเบื้องต้นก็มีบางส่วนส่งเข้ามาแล้ว
    
ในการร่วมงานประชุมนักข่าวพลเมือง นักสื่อสารแรงงานก็ได้เข้าร่วมในการรับผิดชอบเป็นกองบรรณาธิการกับทีมงานนักข่าวพลเมือง 2 คน คือ มงคล กับสมบูรณ์ ซึ่งได้รับคำชมจากทีมงานในเรื่องความร่วมมือ เป็นตัวแทนในการสัมภาษณ์คนสำคัญ อย่างอาจารย์เสกสรร ประเสริฐกุล โดยได้มีการนำคำสัมภาษณ์มาเขียนเป็นข่าวไว้ในvoicelabour.org รวมถึงมีการเข้าร่วมแถลงข่าวเรื่องการจัดงานสมัชชาแรงงานโดยผู้นำแรงงานคือ นายชาลี ลอยสูง รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย และในส่วนคนอื่นๆก็ได้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนตามกลุ่มประเด็นต่างๆ และมีการนำเรื่องราวมาเล่าไว้ในเว็บไซต์ voicelabour.org ด้วย วันนี้ก็คงต้องร่วมวางการทำงานสมัชชาแรงงานในฐานะนักสื่อสารแรงงานร่วมกับศูนย์แรงงานที่ตนสังกัดอย่างไรบ้าง
   
นางสาววาสนา ลำดี นำเสนอเรื่องการประสานงานนักสื่อสารแรงงานในพื้นที่ ว่า ที่ผ่านมามีการประสานงานที่ดี และได้รับความร่วมมือจากนักสื่อสารแต่ละศูนย์โดยผ่านบรรณาธิการในพื้นที่ แต่ยังมีความไม่ชัดเจนในการประสานงานของศูนย์แรงงานชลบุรี-ระยอง เพราะบรรณาธิการติดต่อยากมีงานมากทำให้รู้สึกว่าการประสานงานอาจเป็นภาระให้กับบรรณาธิการในพื้นที่ จึงต้องฝากให้ช่วยหาความชัดเจนของคนประสานงาน เพราะการที่จะต้องประสานนักสื่อสารแรงงานทุกคนครบคงเหนื่อยเหมือนกัน
ส่วนที่มีปัญหาอีกสองพื้นที่ คือศูนย์แรงงานพระนครศรีอยุธยา ที่ขณะนี้เริ่มไม่แน่นอนการประสานงานยากมากติดต่อไม่ได้เลย จึงอาจต้องหาวิธีการทำงานใหม่ รวมถึงศูนย์แรงงานปทุมธานีวันนี้ ในส่วนของบรรณาธิการทั้งสองศูนย์ยังดึงงาน หรือนักสื่อสารแรงงานที่ผ่านการอบรม การประชุมนักสื่อสารแรงงาน เพื่อให้มีการเขียนงานยังไม่ได้เท่าที่ควร

รายงานความคืบหน้านักสื่อสารพื้นที่ต่างๆ

นาย มงคล ยางงาม นักสื่อสารแรงงาน ศูนย์แรงงานนครปฐม-สมุทรสาคร มีการจัดประชุมนักสื่อสารแรงงานทุกเย็นวันอังคารของทุกสัปดาห์ มีการมอบหมายเรื่องการทำข่าวให้นักสื่อสารแรงงานทุกคนติดตามงาน จัดทำจดหมายข่าวในพื้นที่ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2553 โดยจัดทำทุกอาทิตย์ ปัญหาตอนนี้นักสื่อสารแรงงานที่ฝึกอบรมร่วมกันก็มีเขียนส่งมาไม่กี่คน แต่ก็ได้มีการสร้างคนเพิ่มในทีมอีก

ได้มีการตัดต่อผลิตสื่อส่งนักข่าวพลเมืองแล้ว 1 เรื่อง เรื่องค่าจ้างแรงงานโดยเล่าผ่านลูกคนงานที่ต้องฝากเลี้ยง แต่ยังไม่ได้ถูกนำมาออกอากาศ เนื่องจากภาพที่ส่งไปยังไม่พอ ขณะนี้ทางทีมนักข่าวพลเมืองได้ให้ถ่ายภาพเพิ่มอยู่ และกำลังจะทำเรื่องต่อไปคือโรงเรียนในโรงงาน

นาย สมบูรณ์ เสนาสี นักสื่อสารแรงงานศูนย์แรงงานเชิงเทรา-ปราจีนบุรี ปัญหายังคงเป็นเรื่องเดิมคือ นักสื่อสารแรงงานที่ฝึกร่วมกันยังไม่ยอมเขียนงาน ตนยังต้องเขียนคนเดียว แต่ก็ได้มีการฝึกอบรมเองในพื้นที่ ซึ่งได้มีนักสื่อสารแรงงานในพื้นที่เขียนขาวมาให้บ้างแล้ว ส่วนจดหมายข่าวยังไม่ได้จัดทำเนื่องจากคิดว่าต้องสร้างคนเข้ามาช่วยก่อน ส่วนเรื่องตัดต่อวีดีโอ ยังไม่ได้ทำ เรื่องเดิมก็ไม่ได้ไปปรับ

นาย ธีรวุฒิ เบญมาตย์ นักสื่อสารแรงงาน ศูนย์แรงงานสมุทรปราการ ปัญหาก็ไม่ต่างเดือนที่ผ่านมาคือ คนที่มาอบรมนักสื่อสารแรงงาน ไม่ทำต่อแล้ว ขณะนี้เหลือคนเดียว คิดว่าหลังปีใหม่จะมีการอบรม หรือหาทีมงานใหม่เข้ามาช่วยเพิ่ม โดยจะนำเข้าสู่วาระการประชุมของสมาพันธ์แรงงานเครื่องใช้ไฟฟ้า อิคทอนิคส์ ยานยนต์ และโลหะแห่งประเทศไทย พร้อมทั้งเสนอให้นำเรื่องนักสื่อสารแรงงานเข้าประชุมประจำเดือนด้วยการเพิ่มเป็นวาระหนึ่ง คิดว่าน่าจะแก้ไขปัญหาได้ในอนาคต ส่วนเรื่องจดหมายข่าว หรือตัดต่อวีดีโอ ก็ยังไม่ได้ทำเช่นกัน

นางสาวสวรรยา ผดาวัลย์ นักสื่อสารแรงงานศูนย์แรงงานสระบุรี ขณะนี้ได้มีการสร้างทีมนักสื่อสารแรงงานในพื้นที่เพิ่ม โดยให้แต่ละสหภาพแรงงานในศูนย์ส่งข่าวมาร่วมกันจัดทำจดหมายข่าวแรงงานในพื้นที่ ซึ่งจะออกในวันที่ 20 มกราคม 2554 นี้ ส่วนการตัดต่อวีดีโอก็มีการถ่ายทำภาพเพิ่มและจะนำมาส่งให้ในการประชุมเดือนหน้า

นายจรัญ ก่อมขุนทด นักสื่อสารแรงงาน ศูนย์แรงงานชลบุรี –ระยอง เนื่องจากให้น้องๆนักสื่อสารแรงงานรับผิดชอบ จึงไม่รู้ว่ามีปัญหาเรื่องการประสานงาน เมื่อรับรู้แล้วก็จะนำไปปรับปรุงร่วมกันโดยจะมีการจัดประชุมพูดคุยในทีมนักสื่อสารแรงงานในพื้นที่ ซึ่งช่วงนี้ปัญหาแรงงานในพื้นที่มีมากหลายสหภาพแรงงานเกิดปัญหา ข่าวจึงมีมากในพื้นที่ แต่เพิ่งรู้ว่าน้องนักสื่อสารแรงงานเขียนข่าวมาเท่าที่เห็นคิดว่าไม่มากพอ ตนเองก็มีการรับเรื่องราวร้องทุกข์ปัญหาแรงงานมีมาก ก็ให้นักสื่อสารแรงงานพื้นที่เขียน ต่อไปจะช่วยกันดูมากขึ้น เพื่อให้งานที่ขาด เช่น จดหมายข่าวแรงงานในพื้นที่ ตัดต่อวีดีโอข่าวให้ผลิตกันออกมา ส่วนงบประมาณ ก็คงต้องขอคุยกันก่อน ถึงความชัดเจน แล้วค่อยโอนให้ทางศูนย์

นานวิชัย นราไพบูลย์ สรุปสภาพปัญหาว่าศูนย์แรงงานหลายแห่งยังมองว่านักสื่อสารแรงงานไม่เป็นส่วนหนึ่งของทีมทำงานในศูนย์ จึงไม่ค่อยสนับสนุน ในส่วนของชลบุรี-ระยองคิดว่าก็คงต้องคุยกันให้ชัดว่าใครที่จะเข้ามาทำงานบรรณาธิการประสานงานร่วมกัน หากต้องการให้ทางโครงการช่วยเรื่องใดให้ทุกศูนย์แจ้งมา ขณะนี้ โครงการฯเองยังมีงบที่ยังไม่ได้โอนให้ครบทุกศูนย์ ก็ต้องการให้เคลียระบบกันอย่างน้อยประชุมกันบ้าง แบ่งงานกันทำ รวมทั้งสร้างสื่อในพื้นที่

นางสาววาสนา ลำดี รายงานสถานการณ์เว็บไซต์ voicelabour.org

การฝึกอบรมนักสื่อสารแรงงานในพื้นที่ เพิ่มทักษะหากเขียนข่าวไม่เป็นข่าวก็ถือว่าเป็นการชี้เป้า นักสื่อสารแรงงานในพื้นที่ก็ลงทำข่าว ซึ่งขณะนี้เว็บไซต์กลายเป็นส่วนหนึ่งของการชี้เป้าให้นักข่าวกระแสหลัก มีการประสานข่าวหาคนให้นักข่าวสัมภาษณ์ เขียนข่าวส่งบ้างตรงนี้ทำให้เรื่องราวของแรงงานมีในสื่อกระแสหลักทั้ง หนังสือพิมพ์ ทีวี

ในส่วนข่าวเชิงปริมาณ เดือนธันวาคม 2554 ข่าวของแต่ละศูนย์มีมากทุกศูนย์ ซึ่งก็มีบางที่อาจดูข่าวเล็กก็จะนำไปไว้ที่บล์อกศูนย์พื้นที่ ซึ่งมีคนสนใจมากทีเดียวดูจากตัวเลขผู้เข้าชม โดยสรุปขณะนี้ 30,000 กว่าครั้ง สำหรับเว็บไซต์หน้าใหม่แค่ 2-3 เดือนมีคนเข้าชมมากเช่นนี้ก็ดีใจกับนักสื่อสารแรงงานทุกคนด้วยที่สร้างข่าวสารมีคุณภาพจนมีคนเข้าไปดูจำนวนมาก อย่างไรก็ขอให้ทุกท่านบอกไปยังนักสื่อสารแรงงานทุกท่านในพื้นที่ช่วยกันเขียนข่าวส่งมายังส่วนกลางเพื่อสื่อสารต่อสังคมต่อไป ไม่จำเป็นที่จะเขียนเพียงเดือนละ 6 ข่าวเขียนยิ่งมากยิ่งดี ซึ่งจะได้กับขบวนการแรงงาน ได้มีการสื่อบอกต่อสังคม

นางสาวศิริพร  ยอดกระมลศาสตร์ คิดว่าควรมีการเตรียมตัว เพื่อกำหนดข่าวล่วงหน้า จะเขียนเรื่องอะไร โดยคิดว่า เดือนมกราคม ที่เน้นเรื่องประกันสังคม และเดือนกุมภาพันธ์จะทำข่าเรื่องอะไร ร้อยปีสตรีสากล อาจเน้นไปที่ประเด็นแรงงานหญิง การจัดงาน เดือนมีนาคม อาจทำเรื่อง 8 มีนาคม และต่อด้วยข้อเสนอวันแรงงานแห่งชาติ จนถึงพฤษภาคม เป็นต้นนักสื่อสารแรงงานต้องมีการดูประเด็นให้สอดคล้องแต่ละเดือนได้ ซึ่งเดือนนี้เป็นบรรณาธิการศูนย์แรงงานสมุทรปราการ อาจต้องดูว่ามีข่าวอะไรที่น่าสนใจแล้วนำความสนใจมาเขียนบทบรรณาธิการ

ในวันที่ 13 มกราคม การจัดงานสมัชชาแรงงานเป็นงานใหญ่ คงต้องมีการมอบหมายงานให้กับนักสื่อสารแรงงานโดยช่วยกันเป็นทีม เขียนข่าวแต่ละกลุ่ม ทั้งแรงงานนอกระบบ แรงงานข้ามชาติ แรงงานในระบบ ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ก็ต้องมีทีมนักสื่อสารแรงงานเข้าไปทำข่าว

นายมงคล ยางงามรับห้องแรงงานข้ามชาติ สมบูรณ์ เสนาสี รับห้องหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สวรรยา ผดาวัล รับในส่วนสรุปห้องกลางช่วงสัมมนา และกลุ่มแรงงานในระบบ นักสื่อสารแรงงานชลบุรี –ระยองขอรับในส่วนแรงงานนอกระบบ ทั้งนี้จะมีการแบ่งงานให้ทีมร่วมกับผิดชอบเนื่องจากเป็นการจัดงานใหญ่เพื่อไม่ให้หลุดประเด็น

ในวันที่ 21 มกราคม เปิดสภานักสื่อสารแรงงานมีใครรับติดตามเรื่องการนำร่างพระราชบัญญัติประกันสังคมเข้าพิจารณา เพื่อขอมติหรือไม่ ใครจะทำประเด็นนี้ เสนอเป็นส่วนกลาง ซึ่งมีสื่อสารนโยบายทำช่วย

นายวิชัยเสนอว่า ควรมีการทำข่าวนักข่าวพลเมืองในงานนี้ด้วย โดยเสนอให้ทางนักสื่อสารแรงงานศูนย์นครปฐม – สมุทรสาครรับไปทำ ด้วยทางศูนย์นี้จะมีการทำละครสะท้อนปัญหาการใช้สิทธิประกันสังคม การขยายมาคุ้มครองแรงงานทุกกลุ่ม  อาจเน้นไปที่การแสดงละคร ที่เข้าไปร่วมกับงานสมัชชาแรงงานส่งทางทีมนักข่าวพลเมือง

นางสาวมัทนา โกสุม เสนอว่าการทำข่าวของนักสื่อสารแรงงานต้องนำเสนอเพื่อให้การสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายที่ทางแผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน ซึ่งโครงการการพัฒนาสื่อฯ รับผิดชอบในการผลิตสื่อ นโยบายที่ทำคือ นโยบายเรื่องกฎหมายประกันสังคม เรื่องกฎหมายความปลอดภัย เป็นต้น การทำสื่อต้องสร้างแรงกระเพื่อมกับสังคม เกิดการเปลี่ยนแปลงทางนโยบาย เพราะสื่อเป็นตัวกลางในการกระจายข่าวสารสู่สังคม

ทั้งนี้เมื่อวันที่  8 มกราคม ทีมนักสื่อสารแรงงานและเครือข่ายแรงงานทุกกลุ่มรับเอกสาร โปสเตอร์ แผ่นพับ วายนิ่ว ไปประชาสัมพันธ์ในพื้นที่ กรณีการจัดงานสมัชชาแรงงาน 13 มกราคม

สรุปรายงานโดย วาสนา ลำดี