นักสื่อสารแรงงาน ลุกฝึกเขียนข่าวเชิงวิเคราะห์ การเจาะข่าว และสารคดี

DSCN7707

เครือข่ายนักสื่อสารแรงงาน อบรมเพิ่มทักษะ เสริมเทคนิคการเขียนข่าวเชิงวิเคราะห์ การเจาะข่าว และสารคดี จัดเต็มตัดต่อVDO เล่าาเรื่อง จากสื่อมืออาชีพ 

วันที่ 6 พฤศจิกายน 2557 ที่ผ่านมาเครือข่ายนักสื่อสารแรงงานได้เข้าอบรมการเขียนข่าวเชิงวิเคราะห์ การเจาะข่าว และสารคดี จัดโดยโครงการพัฒนาศักยภาพนักสื่อสารแรงงานและประชากรกลุ่มเฉพาะเพื่อความเป็นธรรม สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีนายภาสกร จำลองราช สื่อมวลชนอิสระ นางสาวเพ็ญจันทร์ เจริญสุทธิพันธ์ นักข่าวบางกอกโพสต์ นายโกวิท โพธิสาร ไทยพีบีเอส และนายวิชัย นราไพบูลย์ พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย เป็นวิทยากร

คุณภาสกร กล่าวว่า ในการอบรมเริ่มจากแนวคิดด้านการสื่อสารที่สังคมยอมรับการทำงานของสื่อกระแสหลักมากกว่าคนที่ไม่ใช่สื่อ การทำงานขับเคลื่อนประเด็นข่าวที่เคลื่อนได้ต้องขยัน อดทนเพื่อหาคำตอบ หากต้องเขียนข่าวเจาะลึก คนเขียนอาจไม่สามารถวิพากษ์ใส่ความคิดเห็นตัวผู้เขียนได้ต้องทำข่าวเชิงสัมภาษณ์เพื่อหาข้อมูล

การทำข่าวเจาะลึก คือ กำหนดโจทย์ก่อน จากข่าวและสาเหตุ ข้อเสนอที่เขาเรียกร้อง เพื่อการผลักดันไปสู่นโยบายการแก้ไขปัญหาได้อย่างไร นักสื่อสารจะทำข่าวให้คนงานได้รับความเป็นธรรม ทำอย่างไร ประเด็นข่าวที่จะเคลื่อนเพื่อจี้ให้รัฐมาแก้ไขปัญหา ตีข่าวความชั่วร้ายออกมา การเผาไล่คนไร้บ้าน คนที่ทุกข์ ต้องดูตั้งแต่นโยบายรัฐ ผู้ว่ากรุงเทพมหานคร (กทม.)ว่ามีนโยบายการพัฒนาอย่างไร อย่าแวะข้างทางมาก จะทำให้รายละเอียดหายไป ใจความสำคัญเป้าหมายข่าวให้ดี วางแผนกำหนดแนวทาง จะต้องรู้จักการอ่านข้อมูลการจัดเก็บข้อมูล ของนายจ้างที่มีการแสดงเจตจำนงค์ในการที่จะทำอะไรบ้าง ข่าวเชิงลึกเกิดจากการตรวจค้นเอกสาร กรณีข่าวหัวคิวของนักข่าวกระทรวงแรงงานได้มาจากเอกสาร ทำให้เห็นว่าใครทำอะไร ดีไม่ดีอย่างไร ซึ่งเดิมเป็นการเขียนข่าวปรากฎการ แต่มาต่อยอดให้เป็นข่าวเจาะวิเคราะห์ข่าวได้จากการหาและเก็บข้อมูล หรือสัมภาษณ์ก็ได้

DSCN7677DSCN7702

คุณเพ็ญจันทร์ กล่าวว่าไม่ว่าจะเป็นการเขียนสกู๊บข่าว หรือการเขียนข่าวก็ยังคงใช้หลัก “ใครทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร และอย่างไร” แต่จะต้องเก็บข้อมูลมากขึ้น เช่นการเขียนรายงานสกู๊บบุคคล ต้องเริ่มจากสภาพการทำงานตั้งแต่เกิด การทำงานเก็บรายละเอียดและมาถ่ายทอดเพื่อหาจุดเด่นคำคม มุมมองของคนๆนั้น เน้นความสำคัญ

การเขียนมีหลายระดับ มีทั้งสกู๊บการเมือง สังคมและวิถีชีวิต เพื่อให้คนไม่รู้ได้รับรู้เขย่าเชิงนโยบาย องค์ประกอบคือ สาเหตุ ที่มา เช่นกรณีไฟไหม้ หรือเผาไล่ที่คนไร้บ้าน ตรงนี้ใครได้ประโยชน์กับคนไร้บ้าน การเผาไร่ที่ ? ผลกระทบจากการมี หรืออยู่ ความเป็นอยู่ การเจาะข่าว ประกอบด้วยการหาข้อมูล ที่ตำรวจ เจาะกลุ่มเด็กแว๊นที่ถูกกล่าวหา เจาะชาวบ้านรอบๆบริเวณ หาปัจจัยอื่นๆ เหตุแห่งการเกิดคดี และสาเหตุที่ทำให้เกิดคนไร้บ้าน คนไร้บ้านทำอาชีพอะไร เช่นเก็บของเก่า เดินยา ขายบริการทางเพศ รับจ้างติดคุก หาข้อมูลความขัดแย้ง การคุยปากต่อปากทำให้ได้เนื้อหาเพิ่ม องค์ประกอบของบทความ เนื้อเรื่อง สรุปจบปิดด้วยสิทธิของคนด้านที่อยู่อาศัย ควรหาข้อมูลจากใครบ้าง คนไร้บ้าน นักวิชาการ นักกฎหมาย และการอ่านหนังสือสามารถทำให้เห็นแง่มุมการเขียนหนังสือ

การเขียนข่าวมันเป็นงานศิลปะที่ต้องใช้ศิลป์ในการเขียน ต้องรอบคอบ การหาข้อมูล การรายงานข่าวของแรงงานเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง และมีผลกระทบจริง เป็นข่าวที่บริสุทธิ์ แต่อาจเกิดปัญหากระทบต่อความมั่นคง

DSCN7750DSCN7664

ส่วนคุณโกวิท กล่าวว่าพื้นที่ข่าวแรงงานมีน้อยมาก ภายใต้กำลังแรงงานจำนวนกว่า 30 ล้านคน ประกอบด้วยแรงงานในระบบ นอกระบบ แรงงานภาคเกษตร และยังมีส่วนของแรงงานข้ามชาติด้วย คำถาม ทำไมมีข่าวแรงงานน้อย เป็นเพราะขาดโอกาสที่จะเรียนรู้ ไม่สามารรถสื่อสารเรื่องราวของตัวเองได้ เพราะพื้นที่เรียนรู้น้อย คนกลัวเป็นข่าว ไม่ใช่นักข่าว ใจไม่ชอบที่จะเรียนรู้ก็ไม่มา มีใจที่ต้องการสื่อสาร ระบบทุนความเป็นนายจ้างที่ไม่สามารถทำให้รู้สึกถึงความปลอดภัย การทำข่าวเหมือนขี่หลังเสือ จะต่อสู้เมื่อเดือดร้อน
ซึ่งสรุปว่าข่าวแรงงานน้อย เพราะกลุ่มนักสื่อสารแรงงานมีการสื่อสารน้อย ข่าวแรงงานมีน้อย เพราะคนไม่สนใจ ข่าวแรงงานขายไม่ได้ พื้นที่ข่าวกระแสหลัก สังคมคิดอะไรกับแรงงาน

DSCN7760DSCN7676

ได้มีการแลกเปลี่ยนโดยการใช้วิธีการคำถาม-ตอบ โดยสรุปได้ดังนี้

คำถามต่อมานักสื่อสารอยากเปลี่ยนแปลงอะไร ประกอบด้วย อยากให้สังคมรู้และเข้าใจตัวตนของคนงาน ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม อยากให้แรงงานเข้าใจการทำงานของนักสื่อสารคิดว่าต้องเปลี่ยนแปลงตัวเอง

โดยสรุปการเปลี่ยนต้องเปลี่ยนแปลงก้าวแรกของนักสื่อสารฯคือ เป็นจุดการเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงอนาคต เปลี่ยนแปลงบ้านเมือง การสร้างนักสื่อสารแรงานก็เป็นก้าวแรกในการเปลี่ยนแปลง และสร้างการยอมรับต่อสังคมแรงงาน และสื่อมวลชนได้แล้ว

คำถามต่อมานักสื่อสารฯเอาเวลาไหนไปสร้างการเปลี่ยนแปลง? คำตอบคือ หากเอาเวลาสามแปดมาใช้ ทำงานแปด พักแปด เรียนรู้แปด ก็สามารถนำเวลาบางส่วนมาสร้างการเปลี่ยนแปลงแล้ว มีการวางแผนงานการดำเนินชีวิต เราสามารถเปลี่ยนแปลงได้ทุกวินาที ช่วงเวลาที่ทำงาน ก็นำกระดาษมาจดเพื่อเขียนเรื่องราว เวลาที่ถูกบังคับจะทำ อยู่ที่อารมณ์

นักสื่อสารมีความกลัวผลต่อการสร้างความเปลี่ยนแปลง ประกอบด้วย ทุกคนมีความกลัว แต่อยากที่จะสื่อสาร เราคือนักสื่อสารแรงงาน เรามีหน้าที่ที่ต้องสื่อสาร ภาระหน้าที่อยู่เหนือความกลัว การสื่อสารเรื่องนายจ้างส่งผลต่อการทำงานในอาชีพ นายจ้างจับตาดู การเขียนข่าวเชิงบวก

DSCN7739DSCN7629

ถาม ใครจะร่วมเปลี่ยนแปลงกับเรา? ประกอบด้วย องค์กรชุมชน ครอบครัวต้องช่วยกัน เป็นธรรมชาติของมนุษย์หากเราทำให้เป็นประโยชน์ก็จะมาร่วมกันเปลี่ยนแปลง ต้องมีเพื่อนร่วมเปลี่ยนแปลง และจะพามาด้วยอย่างไร คือ ต้องโน้มน้าวใจให้มาเข้าร่วม พูดคุยในสิ่งที่เขาต้องการคืออะไร ปัญหาของเขาคืออะไร คนไม่มีความเชื่อว่าจะทำได้ และว่าจะได้ผลประโยชน์ในสิ่งนี้ เราต้องสร้างศักยภาพในเหนือกว่าเขาเพื่อเป็นที่พึ่งให้กับเขา เริ่มด้วย ใครทำอะไรที่ไหนเมื่อไรอย่างไร นี่เป็นช่วงเริ่มแรกในการสร้างความเปลี่ยนแปลง ก้าวต่อมาจะเริ่มเดินต่อ ความครบถ้วนคือต้องทำให้ข่าวสร้างความเปลี่ยนแปลง เติ่มเรื่องผู้หญิงสัตว์ Sex เด็ก Gadget (เครื่องมืออุปกรณ์ใหม่ๆ) เรื่องตลก เรื่องสะเทือนอารมณ์ ทำอย่างไรให้เรื่องแรงงานอยู่ใกล้ตัวที่สุด

DSCN7816DSCN7878

จากนั้นมีการเปิดวิดีโอ เล่าเรื่องขบวนการผลิต อบรมกฎ 9 ช่อง หลักเกณฑ์การถ่ายภาพเล่าเรื่อง ให้การบ้านไปถ่ายภาพภายใน 15 นาที การถ่ายภาพสามารถกำหนดได้ ภาพนิ่งสามารถถ่ายได้เพื่อเลือกได้ ร้อยภาพอาจได้ภาพเดียว ต่างกับวีดิโอที่เป็นซ็อตอาจได้ครั้งเดียว การถ่ายวิดีโอการใช้แสง แบร็กกาว

ต่อมาคุณโกวิท และคุณวิชัยได้ทำการลงโปร์แกรมEdius6 และโปรแกรมUlead เพื่อให้ผู้เข้าอบรมตัดต่อวิดีโอเรื่องเล่าเชิงสาระคดีตามที่ได้ไปถ่ายทำมาตัดต่อร้อยเรื่องราว และนำมาฉายดูผลงานพร้อมทั้งรับฟังคำชี้แนะจากวิทยากร

นักสื่อสารแรงงาน รายงาน