นักข่าวพลเมือง เตรียมรับมือสังคมสูงวัย

snapshot18

วันนี้กลุ่มคนหลายวัยทั้งผู้สูงวัย คนวัยกลางคน และคนวัยเด็กได้ร่วมจัดกิจกรรมเพื่อรณรงค์ให้เกิดระบบ ปรับเบี้ยยังชีพให้เป็นบำนาญพื้นฐาน เพื่อเป็นหลักประกันทางรายได้ให้กับผู้สูงอายุ โดยสนับสนุนให้จัดทำร่างพระราชบัญญัติบำนาญแห่งชาติ ให้เป็นของขวัญ เป็นสวัสดิการแก่คนทุกคนอย่างถ้วนหน้า

snapshot19

หนูเกณ อินทจันทร์  เครือข่ายสลัม 4 ภาค “ปัจจุบันเบี้ยผู้สูงอายุ 600 บาทนั้นไม่เพียงพอกับผุ้สูงอายุ กรณีที่ผู้สูงอายุมีโรคประจำตัวถึงจะมีสิทธิในการรักษาพยาบาลถึงจะฟรีอย่างน้อยผู้สูงอายุต้องเสียค่ารถ และกรณีผู้สูงอายุไม่มีลูกหลานเลี้ยงดูอย่างน้อยๆก็ต้องจ้างคนข้างบ้านพาไปเราก็ต้องมีค่าใช้จ่ายให้เขาและบางทีไปไม่ไหวก้ต้องพึงพาคนข้างบ้านหรือไหว้วานเด็กพาไป เพราะปัจจุบันเป็นสังคมแบบว่าต่างคนก็ต่างหาเลี้ยงชีพกันเองก็ประสบปัญหา”

ระบบบำนาญถือว่าเป็นสวัสดิการพื้นฐานให้กับผู้สูงวัยเพื่อให้เป็นรายได้ประจำทุกเดือนโดยคำนึงถึงการดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีคุณภาพ แม้ว่าปัจจุบันผู้สูงอายุส่วนหนึ่งจะได้รับเบี้ยยังชีพเดือนละ 600 บาทจากสวัสดิการรับท้องถิ่นก็ตามแต่นั้นไม่ใช่กฎหมายที่ถือปฏิบัติเป็นเพียงนโยบายของแต่ละรัฐบาลที่กำหนดเท่านั้น

snapshot22

สุพรรณี เวียงคำ แรงงานนอกระบบภาคเหนือ “พรบ.บำนาญแห่งชาติจะมาทดแทนที่ของเบี้ยยังชีพ เพราะเบี้ยยังชีพไม่ใช่พรบ.มันเหมือนกับประชานิยม เมื่อรัฐบาลมีเงินถึงจ่ายได้ ถ้าเป็นพรบ.มันเป็นกฎหมายที่สำหรับคนทุกคนลงทะเบียน ตอนนี้เบี้ยยังชีพเมื่ออายุ 60 ปีให้ไปขึ้นทะเบียนเตรียมรับเบี้ยยังชีพ เมื่อเกิดเป็นพรบ.ไม่ต้องลงทะเบียนเพราะเป็นเรื่องทุกคนถ้วนหน้าถึงวัยที่สมครวได้รับเหมือนหลักประกันสุขภาพเพราะว่าเรามีบัตร 13 หลักเราก็ได้รับเงินอัตโนมัติ”

หนูเกณ อินทจันทร์ เครือข่ายสลัม 4 ภาค “บำนาญที่คนสูงอายุดำรงชีพอยู่ได้แบบว่าไม่ถึงกับดีในปัจจุบันค่าแรงขั้นต่ำอยู่ที่ 300 บาทก็น่าจะอยู่ที่ 30 เปอร์เซนต์ของค่าแรงขั้นต่ำเพราะว่าอนาคตหากค่าแรงปรับขึ้นค่าครองชีพปรับขึ้นก็ควรอยู่ที่ 30 เปอร์เซนต์เป็นอย่างต่ำ ถึงว่าจะอยู่ได้แบบตามที่ผู้สูงอายุสามารถจะอยู่ได้แบบว่าอย่างมีคุณภาพที่ไม่เป็นภาระของลูกหลานมาก”

อัตราการเกิดที่ลดลงและจำนวนผู้สูงวัยมีจำนวนที่มากขึ้น  หากรัฐและสังคมยังไม่ตื่นตัวต่อความเป็นสังคมสูงวัย โดยเฉพาะยังไม่มีนโยบายหลักประกันรายได้หรือบำนาญเมื่อสูงวัย คงจะเป็นโจทย์สำคัญสำหรับสังคมไทยในเวลานี้

นักข่าวพลเมือง เครือข่ายนักสื่อสารแรงงาน รายงาน