ทีวีชุมชนอนาคตทีวีช่องแรงงาน

20141126_143255

ทีวีชุมชนยังต้องรอโครงข่ายสัญญาณดิจิตอลให้ครอบคลุม ขณะที่ต้นแบบทีวีชุมชนพะเยาและอุบลได้การสนับสนุนจากสถาบันการศึกษาและสื่ออย่างThaiPBS พบทีวีชุมชนตอบสนองความต้องการของชุมชนได้มากทั้งให้คุณค่าของชุมชนกลับคืนมา หวังนักสื่อสารแรงงานต่อยอดไปทำทีวีชุมชนช่องแรงงานได้หากมีการพัฒนาศักยภาพจริงจัง

ในการประชุมเครือข่ายสื่อพลเมืองที่ThaiPBS เมื่อวันที่ 26-27 พ.ย.57 มีวงเสวนา “เปิดห้องเรียนทีวีชุมชน” เพื่อแลกเปลี่ยนเรยนรู้ในการก้าวสู่การเป็นสื่อสาธารณะของชุมชน โดยมีตัวแทนผู้จัดทำทีวีชุมชน พร้อมสถาบันการศึกษาที่สนับสนุน และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

นายชัยวัตร จันทิมา ผู้ประสานงานสถาบันปวงผญาพยาวกล่าวว่า ที่พะเยาเริ่มต้นจากคนในชุมชน 3-4 คน ที่อยากสืบทอดแนวคิดของพระหลวงพ่อใหญ่ที่ทำรายการเคเบิ้ลทีวีสามเณรชาแนล จึงตั้งสถาบันปวงพญาพยาวขึ้น เพื่อทำเรื่ององค์ความรู้ท้องถิ่น และการสื่อสาร และพบว่า หนังสือพิมพ์เข้าไม่ถึงคนอ่านในชุมชน ร้านหนังสือมีน้อยทำให้มีบรรยากาศเหมือนอยุ่ในความมืดไม่มีเสรีภาพ ต่อมาก็ทำวิทยุชุมชน แต่ติดขัดเรื่องกฎหมาย ตนเองเคยทำงานวิจัยเรื่องความขัดแย้งทางการเมืองทำให้รู้ว่าทีวีมีผลมากต่อคนดูในสังคม เพราะเข้าถึงง่ายทั้งภาพ และเสียง พอดีกับมีกฎหมายกสทช.เปิดช่องเรื่องทีวีชุมชนจึงสนใจอยากทำ มีเด็กๆรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพผลิตคลิปได้จึงทำกระบวนการผลิตร่วมกับชุมชน เป็นเรื่องราวที่ชุมชนพึงพอใจโดยใช้ช่องทางSocial Media และ Cable Tv และเห็นว่าทีวีชุมชนจะทำให้คุณค่าของชุมชนกลับคืนมาได้

20141126_11090120141126_103134

รศ.ชาลี ทองเรือง รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยกล่าว สถาบันการศึกษาที่เข้าไปเชื่อมต้องมีหัวใจชุมชนเหมือนกัน มหาวิทยาลัยพะเยาตั้งขึ้นโดยการผลักดันของชุมชนเพื่อการแก้ไขปัญหาของคนพะเยา จึงทำหน้าที่พัฒนาภูมิปัญญาของชุมชนคนพะเยาแล้วส่งคืนสู่สังคม เป้าหมายก็เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้สังคม และคิดว่าความสำคัญของทีวีชุมชนต้องเกิดจากมีนโยบายที่ชัด มีชุมชนที่เข้มแข็ง และมีคลังความรู้ประสบการณ์ซึ่งอาจได้จากThaiPBS

นายสุชัย เจรญมุขยนันท เลขาธิการมูลนิธิสื่อสร้างสุขกล่าวว่า ที่อุบลราชธานีได้รับทุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) เพื่อทำศูนย์ข่าวประชาคม มีการทำดิจิตอลมีเดีย ทำวิทยุชุมชน โดยชวนชุมชนมาร่วมคิดร่วมทำ รวมทั้งยังทำภาพยนตร์ที่ชุมชนมีส่วนร่วมด้วย ต่อมาก็พัฒนาเป็นทีวีชุมชนใช้ช่องทาง Cable Tv และSocial Media เช่นFacebook (FB) ,YouTube เริ่มจากมี 7 ชุมชน เข้าร่วมมีการศึกษาทักษะคนในการผลิตเห็นว่าในอนาคตต้องใช้ความร่วมมือจากหลายฝ่าย เพื่อการสนับสนุนทั้งด้านเงินทุน และทักษะความรู้ความสามารถ

อาจารย์ทรงพล อินทเศียร ผู้ช่วยอธิกาบดีฝ่ายชุมชนสัมพันธ์ และกิจการภายในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กล่าวเสริมว่า ภาคประชาสังคมในอุบลมีการทำงานที่เข้มแข็งทั้งด้านสื่อ และด้านสังคม มหาวิทยาลัยได้เข้าไปร่วมกับมูลนิธิสื่อสร้างสุข ซึ่งชวนมาร่วมทำทีวีชุมชนกับThaiPBS โดยเข้าไปร่วมผลิตบางส่วน มีงานติดตามเก็บข้อมูลประมวลการทำงาน และสรุปประเมินผลทางวิชาการ ซึ่งในอนาคตหากมีทีวีชุมชนเกิดขึ้นก็คงต้องปรับให้เข้าไปมีบทบาทมากขึ้น ทั้งด้านวิจัยที่มีอยู่มากมายไปเผยแพร่มากขึ้น

20141126_17140220141126_085519

ดร.สิขเรศ ศิลากานต์ นักวิชาการอิสระด้านสื่อดิจิทัล และสื่อใหม่ กล่าวถึงการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบทีวีดิจิตอลว่าในต่างประเทศเช่นอเมริกา หรืออังกฤษก็ต้องใช้เวลาหลายปีและในต่างประเทศรัฐก็มักให้การสนับสนุนทีวีชุมชนหรือของชนเผ่าทั้งการให้เงินทุนหรือมหาวิทยาลัยเป็นผู้ประกอบการเองโดยมีอาจารย์และนักศึกษาเป็นคนทำงานร่วมกับชุมชน ส่วนของไทยก็เพิ่งจะเริ่ม ซึ่งต้องคิดว่าจะเน้นในเชิงปริมาณหรือคุณภาพ และเห็นว่าทีวีชุมชนไม่จำเป็นต้องลงทุนมหาศาล แต่ใช้ความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาหรือสถาบันสื่อในการช่วยผลิตช่วยพัฒนาทักษะและองค์ความรู้ และเห็นว่าปัจจัยที่จะทำให้ทีวีชุมชนอยู่รอดต้องประกอบด้วยแนวนโยบายรัฐที่เอื้อมีกลไกภาครัฐสนับสนุนการขับเคลื่อน และต้องมีคลังสมอง

นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกสทช.กล่าวถึงการที่ยังไม่มีการจัดสรรคลื่นความถี่ทีวีชุมชนว่า เกิดจากความล่าช้าในกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิตอล เนื่องจากการวางโครงข่ายที่มีภาคพื้นดินทำได้เพียงครึ่งเดียวทั้งที่แผนแม่บทเกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 2555 การดูทีวีดิจิตอลจึงยังไม่ครอบคลุมทั่วถึง ส่งผลให้ทีวีชุมชนยังเกิดไม่ได้ ซึ่งปีหน้าจะเร่งรัดการวางโครงข่ายให้เสร็จสิ้น และจะมีการทดลองทดสอบร่วมกับThaiPBS

20141126_085043

สำหรับทีวีชุมชนเมื่อโครงข่ายเสร็จก็จะเป็นเรื่องพิจารณาให้ใบอนุญาต ซึ่งจะมี 12 ช่อง เพิ่มทุกช่องสาธารณะ 12 ช่อง และช่องธุรกิจ 24 ช่อง ที่มีการจัดสรรคลื่นความถี่ให้ใบอนุญาติไปบ้างแล้ว ส่วนถ้าทีวีชุมชนจะเผยแพร่ผ่านช่องทางเคเบิ้ลทีวี หรือทีวีดาวเทียมก็สามารถทำได้เลย เพราะไม่เกี่ยวกับเรื่องคลื่นความถี่ แต่ต้องขออนุญาตกสทช.เช่นกัน สำหรับงบประมาณสนับสนุนจากกสทช.ท่ำด้จากการประมูลคลื่นความถี่ก็ต้องรอการจัดสรรจากกระทรวงการคลัง เพราะภายหลังรัฐประหารของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)ได้ส่งเงินเข้ากระทรวงการคลังไปแล้ว

ในวงเสวนากลุ่มย่อยภาคเหนือเห็นว่า เป้าหมายร่วมคือมีทีวีชุมชน ซึ่งอาจใช้วิธีให้แต่ละเครือข่ายจังหวัดช่วยกันผลักดัน และแลกเปลี่ยนสลับออกอากาศ เพื่อแก้ปัญหาคนทำงานไม่พอ ส่วนเนื้อหาก็เป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน หรือมีประเด็นร่วมเช่นเรื่องภัยพิบัติต้องใช้ต้นทุนต่ำแต่แข่งขันได้ ร่วมมือกันระหว่างชุมชน สถาบันการศึกษษ และสถาบันสื่อ และต้องปลอดการแทรกแซงจากการเมือง

ส่วนเครือข่ายนักสื่อสารแรงงานเห็นว่า หากจะมีทีวีชุมชนของแรงงานก็อาจต้องคำนึงถึงเรื่องความเป็นชุมชนของแรงงานที่กระจัดกระจายยากในการจัดการ แต่ก็คิดว่ามีโอกาสเป็นไปได้หากมีการต่อยอดพัฒนาศักยภาพในด้านทักษะและองค์ความรู้ให้นักสื่อสารแรงงานที่มีพื้นฐานในการผลิตสื่อได้อยู่แล้ว

นักสื่อสารแรงงาน รายงาน