ตั้ง “กองทุนภาคประชาสังคม” สร้างกลไกแหล่งทุนที่ยั่งยืน พัฒนาภาคประชาสังคม


20130528_11131220130528_110827

นักวิชาการว่า ภาครัฐเองไม่สนใจที่จะสร้างกลไกในการพัฒนาสังคม การบริการสังคม ทั้งในส่วนของงบประมาณและบุคลากร หรือสร้างกลไกให้ครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่น เสนอให้รัฐปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของรายได้กองสลาก  ที่นำเงินจากการขายสลากเข้ารัฐ ได้นำเสนอแนวทางการจัดทำกฎหมาย “กองทุนภาคประชาสังคม” ที่มีรายได้จากกองสลากของรัฐ

เมื่อเวลาประมาณ09.00น.ทางสำนัก9 ได้จัดเวทีสัมมนาในหัวเรื่อง “สร้างกลไกแหล่งทุนที่ยั่งยืนสำหรับการพัฒนาโดยภาคประชาสังคม” ณ ห้อง222-223 ห้องประชุมนิทรรศการ ไบเทค บางนา กรุงเทพฯ ดำเนินรายการโดยนายวันชัย บุญประชา  และ พญ.วัชรา ริ้วไพบูลย์

DSCN8182DSCN8207

ดร. วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์ จากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ได้รายงานผลการวิจัยในหัวข้อ ก้าวต่อไปของการพัฒนาประเทศ  การพัฒนาสังคม

ในขณะที่รายได้ประชากรต่อหัวเพิ่มขึ้นแม้ว่ารายจ่ายในครัวเรือนจะเพิ่มขึ้น ค่าครองชีพจะสูงขึ้นแต่รายได้ต่อหัวประชากรก็ยังเพิ่มขึ้นอยู่ดีแต่ในด้านสังคมกลับถูกเปลี่ยนแปลงทั้งสภาพความเป็นอยู่ ที่ต้องแข่งขันเร่งรีบมากขึ้นทำให้คุณภาพชีวิตของประชากรลดลง ความสัมพันธ์ในครอบครัวห่างเหินกันมากขึ้น เกิดปัญหากับสังคมมากขึ้น แต่งบประมาณที่จะมาพัฒนาสังคมมีเพียง 3%ของGDPทั้งประเทศซึ่งส่วนใหญ่เป็นการใช้ไปกับการสงเคราะห์มากกว่าการนำมาพัฒนาสังคม เช่น กองทุนผู้สูงอายุ  แม้งบประมาณด้านการศึกษาจะเพิ่มขึ้นแต่การใช้จ่ายส่วนใหญ่ก็ไปอยู่ในส่วนของค่าตอบแทนบุคลากร ดังนั้นจะเห็นว่ากองทุนเพื่อการพัฒนาสังคมยังไม่เพียงพอในขณะที่ภาครัฐเองยังมีรายได้จากจากสินค้าที่ทำร้ายประชาชนเช่น บุหรี่ เหล้า สลากกินแบ่งที่มีรายได้มหาศาล รายได้จากท้องถิ่นเองก็ไม่ได้เรียกเก็บเพิ่มในสถานประกอบการที่ทำร้ายสังคมเช่น ร้านเหล้า ร้านอินเตอร์เน็ต เพื่อจัดสรรไว้เป็นงบประมาณพัฒนาสังคม

จะเห็นว่า ภาครัฐเองไม่ได้สนใจที่จะสร้างกลไกในการพัฒนาสังคม การบริการสังคม ทั้งในส่วนของงบประมาณและบุคลากร ไม่มีการสร้างกลไกให้ครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่นจัดการปัญหาของตนเอง ขาดการส่งเสริมการรวมกลุ่มของผู้ที่มีเป้าหมายในการพัฒนาสังคม สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อสภาพปัญหาทางสังคม

DSCN8175P5290101

อาจารย์ ธันยา รุจิเสถียรทรัพย์  จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ ได้บรรยายเรืองการหนุนเสริมการพัฒนาโดยกองทุนของภาครัฐโดยฉายให้เห็นถึงกองทุนที่ภาครัฐจัดให้มีตามที่กฎหมายบัญญัติทั้งที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลังและที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ซึ่งมีที่มาจากงบประมาณแผ่นดินยกเว้นกองทุนส่งเสริมคนพิการที่ได้รับการหนุนช่วยจากภาคอื่นๆ

ส่วนปัญหาและอุปสรรคต่อการหนุนเสริมการพัฒนาโดยกองทุนภาครัฐก็คือ ความล่าช้าในการดำเนินการทั้งในตัวระบบของทางราชการ การส่งโครงการล่าช้าฯลฯ การประเมินผลก็ยังไปไม่ทั่วถึง ในส่วนของเจ้าหน้าที่ก็ไม่เพียงพอ ในส่วนของงบประมาณต่างๆเช่นการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ก็น้อย การพัฒนา นวัตกรรมกองทุนก็มีจำกัด ดังนั้นจึงควรมีการปรับแนวทางการบริหารจัดการเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ทางสังคม และควรหาแหล่งงบประมาณเพิ่มเติมให้กองทุน

ข้อเสนอการจัดตั้ง “กองทุนภาคประชาสังคม” โดยเครือข่ายร่วมขับเคลื่อนกองทุนภาคประชาสังคม มีวัตถุประสงค์เพื่อ การพึ่งพาตัวเองได้ของประชาชนทุกคน ลดความเหลื่อมล้ำของคนทุกกลุ่มในสังคม และลดปัญหาและผลกระทบจากการพนัน

DSCN8209DSCN8177

นายไพศาล   ลิ้มสถิตย์    กรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาและแนวทางการปฏิรูประบบการบริหารจัดการสลากในประเทศไทย ( 25552556)

วัตถุประสงค์  คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของรายได้กองสลาก  ที่นำเงินจากการขายสลากเข้ารัฐ ได้นำเสนอแนวทางการจัดทำกฎหมาย “กองทุนภาคประชาสังคม” ที่มีรายได้จากกองสลากของรัฐLOTTERY  เพื่อการพัฒนาสังคม  กรณีศึกษาจากต่างในการใช้เงินจากสลากของรัฐ  การนำเงินรายได้จากล๊อตเตอรี่มาพัฒนาสังคมในต่างประเทศ  ยกตัวอย่างในประเทศอังกฤษ  มีสถานะทางกฎหมายเป็นหน่วยงานของรัฐที่เป็นอิสระ  รับผิดชอบการจัดสรรเงินที่ได้รับจากการจำหน่ายล๊อตเตอรี่แห่งชาติ คือ  เงินกองทุน  มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ  46 – 50 ของจำนวนเงินทั้งหมดที่ได้รับจากการจัดสรรมา

–          ทำให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตหรือโอกาสที่ดีมากขึ้นสามารถเข้าถึงช่องทางในการพัฒนา  ปรับปรุงทักษะในการดำรงชีวิตมากขึ้น

–           ชุมชนเข้มแข็งที่สามารถทำงานร่วมกันเพื่อแก้ไขประเด็นปัญหาต่างๆในชุมชนของตนได้

–          โครงการที่สามารถทำให้ชุมชนสามารถเข้าถึงบริการที่จำเป็นและมีสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่อาศัย

–          มีกลุ่มคนและชุมชนที่กระตือรือร้นเพิ่มมากขึ้นและมีสุขภาวะที่ดียิ่งขึ้น

P5280087P5280121

สาระสำคัญของร่าง  พ.ร.บ. กองทุนภาคประชาสังคม

–          กองทุนมีสถานะเป็นบุคคล  ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ  มีคณะกรรมการนโยบาย  และมีคณะกรรมการบริหารกองทุนที่มีความเป็นอิสระ  โปร่งใส  ตรวจสอบได้มีความเป็นมืออาชีพในการบริหารกองทุน

–          วัตถุประสงค์กองทุนภาคประชาสังคม  เพื่อสนับสนุนภาคประชาสังคม  เช่น  การพึ่งพาตนเอง  ชุมชนเข้มแข็ง  พัฒนาคุณภาพชีวิต  สนับสนุนงานอาสาสมัคร

–          เป้าหมายคือ  ภาคประชาสังคมมีส่วนร่วมกับภาครัฐในการพัฒนาสังคมมากขึ้น

ประโยชน์ที่จะได้รับจากการเสนอร่างกฎหมาย  

1.เพื่อแก้ไขปัญหาการบูรณาการของกองทุนต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสังคมในหน่วยงานของรัฐต่างๆ

2.ลดภาระงบประมาณด้านสังคมของหน่วยงานต่างๆ และแก้ปัญหาการจัดสรรงบประมาณที่ไม่เพียงพอ

3.เป็นแหล่งรายได้ของกองทุนด้านสังคมที่มีกฎหมายจัดตั้งในปัจจุบันไม่ทำให้เกิดภาระงบประมาณแผ่นดินและช่วยเพิ่มประสิทธิผลและประสิทธิภาพของกองทุนต่างๆ

4.เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนและแก้ปัญหาสังคมด้านต่างๆ

5.ลดแก้ปัญหาสังคมในกลุ่มประชากรที่มีความเปราะบางและแก้ไขปัญหาสังคมเชิงประเด็นที่มีความซับซ้อน

6. เพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาสังคม  โดยเฉพาะการสนับสนุนองค์กรสาธารณประโยชน์ภาคประชาสังคม  ประชาชนในชุมชนท้องถิ่นให้มีส่วนร่วมในการป้องกันแก้ไขปัญหาในพื้นทีของตนด้วยตนเอง

7. ปรับเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาสังคม  ทำให้เกิดรูปแบบใหม่ๆ เน้นการทำงานเชิงรุกเพื่อป้องกันปัญหามากกว่าการแก้ปัญหา

8. ลดผลกระทบด้านลบทางสังคมที่เกิดจากการพนันถูกกฎหมายและการพนันผิดกฎหมาย

 

นายสรรพสิทธิ์   คุมพ์ประพันธ์

ทำไมภาคประชาสังคม  ต้องสนใจกองทุนภาคประชาสังคม 

การคลังของรัฐในปัจจุบันเป็นรูปแบบประชาธิปไตยทางอ้อม  เพราะประชาชนมีส่วนในการร่วมกำหนดทิศทางการพัฒนาของประเทศได้อย่างจำกัด  อำนาจของประชาชนดูคล้ายจะมีเพียงการเลือกตั้ง  เพื่อให้ผู้แทนกำหนดทิศทางการพัฒนามาจากข้างบน  แต่ความต้องการของประชาชนที่แท้จริง  หรือผลกระทบที่พวกเขาได้รับ  ยังมีช่องทางส่งเสียงอย่างจำกัด

ประชาธิปไตย  ที่คนส่วนใหญ่บอกว่าประชาธิปไตย  คือการเลือกตั้งแต่ผมมองว่าประชาธิปไตยไม่ใช่การเลือกตั้ง  ประชาธิปไตย  หมายถึงสิ่งที่ประชาชนร่วมกำหนด  สิ่งที่เราต้องการไม่ใช่ให้  สส.มาเป็นผู้กำหนดชีวิตเรา  การที่เราเลือกตั้งผู้แทนเข้าไปเขาไม่ได้เข้าไปทำเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน  กำหนดทิศทางการพัฒนาจากข้างบน  โครงสร้างงบประมาณแผ่นดินส่วนใหญ่เป็นเรื่องเศรษฐกิจ  ไม่ได้พูดถึงการพัฒนาสังคม  การกู้เงิน  2.2 ล้านล้านบาท  เงินส่วนใหญ่เอาไปทำอะไร  อ้างว่ากู้มาเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ  แต่หากเข้าไปดูจะเห็นว่านำไปปรับปรุงการคมนาคม  สร้างรถไฟฟ้า  แต่ไม่ได้นำมาเพื่อพัฒนาสังคมให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น  แนวโน้มการใช้งบประมาณของรัฐมุ่งสร้างเศรษฐกิจ  หรือชีวิตที่ยั่งยืน

กลไกอย่าง  กองทุนภาคประชาสังคม   จะสนับสนุนให้ภาคประชาชนมีความเชื่อมั่นในพลังของตนเองที่มีส่วนร่วมสร้าง  และพัฒนาสังคม

–          ประชาชนได้ร่วมกำหนดทิศทางการพัฒนาตามความต้องการจริง

–          เปิดพื้นที่ให้ภาคประชาสังคมทำโครงการเอง  เสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วม

–          มีกลไกสนับสนุนทางการคลังทำให้เกิดความยั่งยืน

กองทุนนี้ประชาชนต้องร่วมกำหนด  เพื่อชีวิตที่เป็นของทุกคนและประชาธิปไตยทางตรงอย่างแท้จริง  ต้องร่วมกันสร้างและเริ่มที่ตัวเราเอง

จากนั้นได้มีการเปิดเวทีให้ผู้เข้าร่วมซักถาม  แลกเปลี่ยน

นางวันเพ็ญ   จำปาจีน แรงงานนนอกระบบ กล่าวจากการศึกษากองทุนต่างๆ ที่มีงบประมาณลงไปถึงประชาชน  สอนให้ประชาชนเป็นหนี้ว่าต้องรวมกลุ่มกันมากู้  4 -5  คน  ถึงจะให้กู้  แต่ไม่ได้สอนให้ประชาชนสร้างอาชีพเพื่อการใช้หนี้  ให้เงินมาเพื่อเป็นฐานเสียงของตนเอง  อย่างกองทุนสตรียังมองว่าเป็นการละลายเงินไปเปล่าๆ  กู้ไปแล้วก็นำไปใช้ไม่เกิดประโยชน์   พอถึงเวลาใช้หนี้ไม่มีเงินคืนให้  สวัสดิการของมนุษย์ทำไมต้องมีคำว่ากำไร  ขาดทุน  ให้มาและสร้างกองทุนเพื่อสวัสดิการของประชาชนมาได้หรือ

นางปรียานุช     กระบวนการมีส่วนร่วมเงินกองทุนต้องมีกระบวนการมีส่วนร่วมมากพอสมควร  การทำงานที่ผ่านมาก็มีบทเรียนมามากมาย  ต้องหันมาดูบทเรียนที่เกิดขึ้นด้วยเหมือนกัน  กองทุนที่มีมากมายที่ลงไปตามหมู่บ้านก็ทำให้เกิดปัญหาคอรัปชั่น  คนในชุมชนก็มีปัญหาขัดแย้งกัน

นายธิรากร  มณีรัตน์  การคิดกองทุนภาคประชาสังคมทำให้มีความหวังโดยแบ่งเป็น  ๓  ส่วน  แต่คิดว่าควรรวมกันให้เหลือ  2 กองทุน ส่วนสำคัญของร่าง  พ.ร.บ. เรื่องคณะกรรมการควรมีภาคประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการคิดและตัดสินใจ

นายทวีป   กาญจนวงค์ ประธานมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยกล่าวว่า รัฐบาลไม่ให้ความสำคัญเรื่องชราภาพกกับผู้สูงอายุเท่าไร  โดยเฉพาะกองทุนชราภาพรรัฐบาลไม่ยอมจ่าย  กองทุนการออมเราต้องช่วยกันผลักดันให้ประสบความสำเร็จให้ได้ พ.ร.บ.เข้าชื่อของภาคประชาชน   ทำไมรัฐบาลไม่ให้ผ่าน  อย่างกฎหมายประกันสังคมที่รัฐบาลคว่ำกลางสภาไม่รับร่างกฎหมาย

นางอรนุช   เลิศตนดิลก   มีความเชื่อมั่นในกองทุนเพราะทำอยู่หลายกองทุนซึ่งเป็นสิ่งที่ดี การทำงานกลุ่มอาสาสมัครเข้าใจว่าเป็นงานอาสาแต่ทุกคนก็ต้องกินต้องใช้อยากให้มีกองทุนรองรับคนทำงานด้วย  เพราะตอนนี้คนที่เคยทำงานไม่มีรายได้ก็อยู่ไม่ได้  ออกไปขายเหล้า  ขายบุหรี่ฯลฯ

นายแพทย์บรรลุ   ศิริพานิชย์ กล่าวว่า การฟังจากอาจารย์วรวรรณ  เศรษฐกิจดีขึ้น  แต่สังคมแย่  ผมคิดว่าเศรษฐกิจกระจุกเงินเลยไม่กระจาย  0.2  คนมองเงินก้อนใหญ่ กองทุนที่เราคิดไม่มีใครปฏิเสธหรือต่อต้านแต่เราต้องมาช่วยกันจุดเทียนให้สว่างไสวดีกว่า บริหารจัดการดี  ต้องมีทุน  ต้องมีคุณธรรม  ตอนนี้โลกอยู่ในระบบทุนนิยม

-คนรวยได้เปรียบคนจน

-คนฉลาดได้เปรียบคนโง่

-คนแข็งแรงได้เปรียบคนอ่อนแอ

นี่แหละระบบทุนนิยม  ท่ามกลางความได้เปรียบยังเอาเปรียบเขา  เรียกกว่าคนไม่มีคุณธรรม  เราทุกคนเห็นพ้องต้องกันว่ากองทุนนี้ต้องทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย  และร่วมกันสนับสนุนเพื่อจะได้มีทุน

เนื่องจากตนเป็นผู้สูงอายุ  มี  3  ข้อ คือ  สุขภาพไม่ดี  จน  เหงา  สุขภาพไม่ดีเพราะจน  เมื่อจนจึงไม่มีเพื่อน  เมื่อไม่มีเพื่อนก็เลยเหงา

      นักสื่อสารแรงงาน รายงาน