คปอ.พานาโซนิค จัดงานเตือนภัยเมาไม่ขับ ปีใหม่กลับบ้านปลอดภัย

Untitled-1

คณะกรรมการความปลอดภัยฯบริษัทพานาโซนิค จัดรณรงค์ขับขี่ปลอดภัย หวังกระตุ้นสำนึก ปีใหม่นี้กลับบ้านอย่างปลอดภัย ไม่เมา ไม่ใช่เครื่องมือสื่อสารขณะขับรถ

เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2557 คณะกรรมการความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม(คปอ.) บริษัท พานาโซนิค แอ็พไลแอ็นซ์ (ประเทศไทย) จำกัด นิคมอุตสาหกรรมเวลโกรว์ จัดงานรณรงค์ขับขี่อย่างปลอดภัยที่โรงอาหารของบริษัทฯ ก่อนที่จะถึงเทศกาลปีใหม่ เพื่อพนักงานจะได้กลับบ้านอย่างปลอดภัย เพื่อกระตุ้นจิตสำนึก ในการขับขี่ด้วยความปลอดภัย เพื่อตอบสนองนโยบายของทางภาครัฐและไม่เป็นการเพิ่มสถิติการเกิดอุบัติเหตุของประเทศไทยในช่วงเทศกาล โดยมุ่งเน้นให้ทุกคนตระหนักถึงการไม่ดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ใช้โทรศัพท์ขณะขับรถ มีการจัด บูตส์ เพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมตอบคำถาม เล่นเกมส์ ชิงของรางวัลมากมายดังนี้

1.คลิปวีดีโอ การขับขี่ปลอดภัยพร้อมกับการตอบคำถามจากการดูคลิปวีดีโอ

2.เขียนตอบคำถามขับขี่ปลอดภัย พร้อมกับการจับสลากชิงรางวัล

3.ลูกอมขับขี่ปลอดภัยซึ่งจะแจกให้กับทุกท่านที่เข้าร่วมกิจกรรม

4.แผ่นพับความรู้ การขับขี่อย่างไรให้ปลอดภัยแจกฟรี การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ผู้บริหารสูงสุดให้ความสำคัญมากเพราะเคยประสบเหตุการที่มีการสูญเสียญาติพี่น้องของตัวท่านจากอุบัติเหตุจากรถยนต์ที่ประเทศญี่ปุ่นจึงสนับสนุนให้จัดกิจกรรมนี้ขึ้นเพื่อเตือนสติกับพนักงานทุกคน

Untitled-2Untitled-4

มาดูสถิติที่น่าสนใจ จากอุบัติเหตุจราจรในประเทศไทย (สถิติเปรียบเทียบอุบัติเหตุทางถนนในเทศกาลปีใหม่ 2556 จากกรมทางหลวง)
รถจักรยานยนต์ในประเทศไทย 19 ล้านคัน
รถยนต์ 13 ล้านคัน
รวม 32 ล้านคัน
อุบัติเหตุบนท้องถนนในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2556 เสียชีวิต 14,789 คน
บาดเจ็บ 1 ล้านคนต่อปี เฉลี่ยวันละ 2,739 คน
เฉลี่ยผู้เสียชีวิตวันละ 40 คน เฉลี่ยชั่วโมงละ 1.6 คน
อัตราการสวมหมวกกันน็อกในประเทศไทย ผู้ขับขี่ ร้อยละ 51 ผู้ซ้อนท้าย ร้อยละ 19
รวมผู้ขับขี่ ผู้ซ้อนท้าย ร้อยละ 43 เด็กเล็ก ร้อยละ 7

10 จังหวัดที่ใส่หมวกสูงสุด
กรุงเทพฯ ร้อยละ 80
ภูเก็ต ร้อยละ 68
นนทบุรี ร้อยละ 65
สมุทรปราการ ร้อยละ 60
ตราด ร้อยละ 56
ปทุมธานี ร้อยละ 55
นครศรีธรรมราช ร้อยละ 53
พิษณุโลก ร้อยละ 49
นครราชสีมา ร้อยละ 49
สิงห์บุรี ร้อยละ 49

Untitled-3

10 จังหวัดที่สวมหมวกต่ำสุด
บึงกาฬ ร้อยละ 17
นครพนม ร้อยละ 17
นราธิวาส ร้อยละ 18
ยะลา ร้อยละ 18
ปัตตานี ร้อยละ 20
ร้อยเอ็ด ร้อยละ 21
ชัยภูมิ ร้อยละ 23
ฉะเชิงเทรา ร้อยละ 24
จันทบุรี ร้อยละ 25
แพร่ ร้อยละ 25

10 จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุดจากอุบัติเหตุจราจรในประเทศไทย
จังหวัดนครราชสีมา
กรุงเทพมหานคร
นครศรีธรรมราช
สงขลา
สุราษฎร์ธานี
เชียงใหม่
บุรีรัมย์
เพชรบูรณ์
ขอนแก่น
สุพรรณบุรี

10 จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสูงสุดจากอุบัติเหตุจราจรในประเทศไทย
กรุงเทพมหานคร
นครศรีธรรมราช
นครราชสีมา
สุราษฎร์ธานี
สงขลา
ศรีสะเกษ
ลำปาง
เชียงราย
ฉะเชิงเทรา
เชียงใหม่

10 อันดับประเภทยานพาหนะที่มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนสูงสูด
รถจักรยานยนต์
รถยนต์
เดินเท้า
รถปิคอัพ
รถจักรยาน
รถบรรทุก
รถบัส
รถสามล้อ
รถอีแต๋น
รถซาเล้ง สามล้อ

ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด
เวลา 00.01 – 04.00 น. ร้อยละ 8.06
เวลา 04.01 – 08.00 น. ร้อยละ 8.72
เวลา 08.01 – 12.00 น. ร้อยละ 16.61
เวลา 12.01 – 16.00 น. ร้อยละ 20.95
เวลา 16.01 – 20.00 น. ร้อยละ 29
เวลา 20.01 – 24.00 น. ร้อยละ 16.66

10 จังหวัดที่มีจับกุมดำเนินคดีเมาแล้วขับสูงสุด
กรุงเทพมหานคร
ขอนแก่น
สุรินทร์
ตาก
เชียงใหม่
สุราษฎร์ธานี
ลพบุรี
อุบลราชธานี
นครราชสีมา
ชัยภูมิ

นักสื่อสารแรงงานรายงาน