คนไทยขอมือหน่อย ปี2 คนละไม้ คนละมือ เพื่อสังคมน่าอยู่

Untitled-1

ประชาสังคมแรงงานข้ามชาติ เวียนหนังสือเชิญชวน ประชาชน ผู้ใช้แรงงาน ภาครัฐฯลฯ เข้าร่วมงาน “คนไทยขอมือหน่อยปี2 คนละไม้ คนละมือ เพื่อสังคมน่าอยู่” ในวันที่ 17-18 มกราคม 2558 ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิร์ล กรุงเทพมหานคร (กทม.) ซึ่งมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทยร่วมกับเพื่อนNGOsเครือข่ายแรงงาน มีส่วนร่วมในการจัด “แรงงานข้ามชาติเป็นภาระ หรือเป็นพลัง สำหรับคนไทย เมื่อต้องเข้าสู่ประชาคมอาเซี่ยน (AEC)

มูลนิธิเพื่อคนไทย ,สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ,หอการค้าไทย ,องค์กรต่อต้านคอรัปชัน และองค์กรสาธารณประโยชน์ภาคประชาสังคม 153 องค์กร ได้ร่วมกันจัดงาน ร่วมกันจัดงาน “คนไทยขอมือหน่อยปี2” ในวันที่ 17-18 มกราคม 2558 ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิร์ล กรุงเทพมหานคร (กทม.) โดยในงานมีการออกร้าน แสดงสินค้า และนิทรรศการที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย บนพื้นที่กว่า 5,000 ตารางเมตร โดยแบ่งงานเป็น โซน

1. “ลงแรง” ช้อปปิ้งงานอาสาและกิจกรรมที่คุณช่วยได้ กับ 130 บูธ

2. “ลงขัน” สนุกกับคอนเสิร์ตเปิดหมวกและซื้อสินค้าจากองค์กรเพื่อสังคม 25 บูธ

3. “ลงสมอง” เรียนรู้ทักษะและความเชี่ยวชาญในการจัดการกับองค์กรธุรกิจใจดี 22 บูธ

4. ซุ้มอาหาร 10 บูธ

5. ผู้สนับสนุนงาน 16 บูธ

6. เวทีการแสดง 3 เวที

Untitled-2

ทั้งนี้ มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทยร่วมกับเพื่อนNGOsเครือข่ายแรงงาน มีส่วนร่วมในการจัดงาน ครั้งนี้โดยนำเสนอแนวคิด “แรงงานข้ามชาติเป็นภาระ หรือเป็นพลัง สำหรับคนไทย เมื่อต้องเข้าสู่ประชาคมอาเซี่ยน (AEC)” มีการร่วมจัดงานสองส่วน

1. จัดบูธในโซน A42 นำเสนอพื้นที่ผลงานเด่นของอาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าว(อสต.)ที่สามารถร่วมทำงานกับ อสม.ไทยและเจ้าหน้าที่ภาครัฐ เพื่อร่วมดูแลสุขภาพชุมชนโดยไม่มีเส้นแบ่งของสัญชาติ ,นำเสนอภูมิปัญาอาเซียน เช่น ทานาคามีดีอย่างไร

2. จัดกิจกรรมบนเวทีA Outdoor มีการแสดงวัฒนธรรมอาเซียนและการอภิปรายบนเวที ดำเนินรายการโดยทีมพิธีกรไทยพีบีเอส

1) 17 มกราคม 58 เวลา 19.00-20.00 น. รำบัดสโลป(ลาว),รำสบัดผ้า(พม่า) และการอภิปราย .”แรงงานข้ามชาติเป็นภาระหรือพลังสำหรับคนไทย เพื่อก้าวสู่AEC”

2) 18 มกราคม 58 เวลา 16.00-17.00 น. รำบัดสโลป(ลาว),รำสบัดผ้า(พม่า) และการอภิปราย “อสต.ร่วมดูแลสุขภาพชุมชนได้อย่างไร เชิญวิทยการจากกระทรวงสาธารณสุข”

นายวิเชียร พงศธร ประธานกรรมการมูลนิธิเพื่อคนไทย กล่าวว่า สังคมไทยมีปัญหาต่างๆมากมาย และมีความซับซ้อนมากขึ้น ยิ่งต้องเร่งปลูกฝังจิตสำนึกการเป็นพลเมืองที่มีส่วนร่วมเพื่อส่วนรวม (Active Citizenship) ให้มาช่วยแก้ไขปัญหาสังคม เราอยากให้งานนี้สร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในสังคม ด้วยการสร้างแรงบันดาลใจ และชี้ช่องให้คนทุกกลุ่มเห็นว่าจะเข้ามาสนับสนุนการทำงานเพื่อสังคมได้อย่างไร อาจจะมาเป็นอาสาสมัคร หรือจะมาสนับสนุนเงินทุน รวมทั้งอาจทำให้คนจำนวนหนึ่งกลายเป็นผู้ผลิตงานด้านสังคมไปด้วยซึ่งจะทำให้เกิดระบบนิเวศของงานพัฒนา

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.khonthaifoundation.org/index.php

นักสื่อสารมูลนิธิศุภนิมิต รายงาน