ข้ามชาติ แถลง10 ข้อเสนอต่อรัฐในวันข้ามชาติสากล

วันแรงงานข้ามชาติสากล 18 ธ.ค. 54 One Human Family to Community ASEAN… “ครอบครัวเดียวกัน สานสัมพันธ์อาเซียน”
 
เนื่องด้วยวันที่ 18 ธันวาคม ของทุกปี ทางองค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้เป็น “วันแรงงานข้ามชาติสากล” ซึ่งได้ถูกกำหนดขึ้นมาครั้งแรกในปี ค.ศ.1997 เพื่อสร้างความตระหนักและปกป้องสิทธิจากการถูกเอารัดเอาเปรียบของแรงงานข้ามชาติในภาคส่วนต่างๆของโลก
 
ในช่วงสี่สิบปีที่ผ่านมา เราต้องยอมรับความจริงว่าการพัฒนาประเทศไทย เราจำเป็นต้องใช้กำลังแรงงาน จากประเทศต่างๆในการพัฒนาประเทศ และพวกเขาถูกเรียกว่า “แรงงานข้ามชาติ” ซึ่งมีอยู่มากกว่า สองล้านคนทั่วประเทศในปัจจุบัน ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้ต้องทำงานที่หนัก ซ้ำซาก ไร้สวัสดิการพื้นฐาน รวมทั้งถูกดูถูกเหยียดหยาม จากบางคนที่ไม่เข้าใจเพื่อนมนุษย์ หรือผู้ที่ถูกอคติทางชาติพันธุ์ครอบงำอยู่ ถูกรีดไถจากเจ้าหน้าที่ที่ไร้มนุษยธรรม พวกเขากลายเป็นดั่งพลเมืองชั้นสองไร้ซึ่งหลักประกันพื้นฐานของชีวิต ไร้สวัสดิการที่ควรจะมีในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง แต่เขาเหล่านนั้นกลับมีส่วนสำคัญในการพัฒนาสังคมไทย ร่วมสร้างสรรค์สังคม
 
จากสถานการณ์กล่าวข้างต้น”เรา” คณะทำงานจัดกิจกรรมวันแรงงานข้ามชาติสากล ซึ่งประกอบ ไปด้วยเครือข่ายปฏิบัติการเพื่อแรงงานข้ามชาติ(ANM) คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ และโครงการส่งเสริมการป้องกันเอดส์ในแรงงานข้ามชาติ (PHAMIT) ได้เล็งเห็นเห็นถึงคุณค่าศักดิ์ศรี ของความเป็นมนุษย์ของแรงงานข้ามชาติ ที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจไทย เศรษฐกิจอาเซี่ยน และ เศรษฐกิจใน ระดับโลก เราจึงเรียกร้องให้รัฐบาลไทยทำหน้าที่ในการดูแลและจัดให้แรงงานข้ามชาติเข้าถึงการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐาน อย่างสมศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ด้วยการ
 
1. รัฐต้องจัดให้การจดทะเบียนและการขอใบอนุญาติทำงานของแรงงานข้ามชาติอย่างทั่วถึง เข้าถึงและเป็นธรรม ด้วยการ เปิดให้จดทะเบียนผ่อนผันทุกปีและตลอดทั้งปี จัดให้มีการให้ข้อมูลข่าวสารแก่แรงงานข้ามชาติอย่างทั่วถึง ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอน ผลทางกฎหมายและสิทธิประโยชน์ รวมทั้งหน้าที่จากการนั้น โดยภาษาของแรงงานก่อนมีการจดทะเบียน ระหว่างการจดทะเบียนและหลังจดทะเบียน เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง จัดตั้งศุนย์บริการเบ็ดเสร็จหรือ One-stop service ที่แท้จริง กล่าวคือ จดทะเบียน ตรวจโรคและขอใบอนุญาตทำงานในสถานที่เดียวกัน โดยออกบัตรประจำตัวและใบอนุญาตทำงานให้เสร็จสิ้นภายในวันเดียวรวมทั้งกำหนดให้นายจ้างเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายค่าคำขอและค่าธรรมเนียมใบ
อนุญาตทำงาน
 
2. รัฐต้องให้การพิสูจน์สัญชาติของแรงงานข้ามชาติเป็นการพิสูจน์สัญชาติที่แท้จริง ทั่วถึงและปลอดภัย ด้วยการเจรจาและทำข้อตกลงกับรัฐบาลประเทศต้นทางของแรงงานข้ามชาติ ในเรื่องการพิสูจน์สัญชาติ โดย
 
         2.1  ให้คำนึงถึงความปลอดภัยและเคารพต่อหลักศักดิศรีความเป็นมนุษย์
 
         2.2  รับรองความเป็นพลเมือง (เพิ่มชื่อในระบบทะเบียนราษฎร ออกบัตรประจำตัวประชาชน) และรับรองสิทธิของพลเมืองตามกฎหมาย และ3. กำหนดให้มีการพิสูจน์สัญชาติผู้ติดตามทุกคน
 

3. รัฐต้องทำให้การจดทะเบียนและการพิสูจน์สัญชาติของผู้ติดตามแรงงานข้ามชาติเป็นไปอย่าง
ทั่วถึง เข้าถึง โดยไม่มีข้อจำกัด ด้วยการ ขยายคำว่าผู้ติดตามมิได้จำกัดเพียงแค่บุตร ให้ครอบคลุมถึงผู้ท่ีอาศัยอยู่ร่วมกับแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยตามความเป็นจริง อาทิ หลาน หรือ บิดามารดาและอนุญาตให้จดทะเบียนผู้ติดตามตามสภาพความเป็นจริง ซึ่งรวมถึง บุคคลที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยแต่ไม่ได้จดทะเบียนผู้ติดตาม และให้ประเทศต้นทางพิสูจน์สัญชาติผู้ติดตามทุกคน
 
4. รัฐต้องแก้ไขกฎหมายให้เกณฑ์อายุขั้นต่ำของแรงงานเป็น 18 ปี พร้อมทั้งป้องกันและปราบปรามการใช้
แรงงานเด็กอย่างจริงจังโดย ยกเลิกกฎกระทรวงฉบับที่1 (งานบ้านอันมิได้มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย) และ ฉบับที่ 10 (ประมงทะเล) ในส่วนที่อนุญาตให้มีการใช้แรงงานที่อายุต่ำกว่า 15 ปี และที่มีการละเมิดสิทธิเด็ก,แก้ไขกฎหมายให้เกณฑ์อายุขั่นต่ำของแรงงานคือ อายุ 18 ปีบริบูรณ์และ ใช้มาตรการทางกฎหมายอย่างเข้มงวดต่อผู้ที่ใช้แรงงานเด็กและละเมิดสิทธิเด็ก เพื่อประโยชน์สูงสุดของเด็ก
 
5. รัฐต้องจัดการศึกษาให้แก่ผู้ติดตามแรงงานข้ามชาติที่เป็นเด็กและต้องคุ้มครองสิทธิเด็ก โดยให้ผู้ติดตามแรงงานข้ามชาติที่เป็นเด็ก ไม่ว่าจะมีบัตรประจำตัวหรือไม่ สามารถเดินทางไปเรียนหนังสือได้อย่างปลอดภัย โดยไม่ต้องถูกจับ และปลอดภัยจากการละเมิดโดยบุคคลอื่น,หลักสูตรการเรียนการสอน ต้องรับฟังความคิดเห็นของผู้ติดตามแรงงานข้ามชาติที่เป็นเด็ก และจัดหลักสูตรการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับวัฒนธรรม สังคม และเอกลักษณ์ของเด็ก อีกทั้งสอดคล้องกับสิทธิเด็กในด้านอื่นๆและรับรอง คุ้มครอง และทำให้เป็นจริง สิทธิในเอกลักษณ์และวัฒนธรรมของผู้ติดตามแรงงานข้ามชาติที่เป็นเด็ก
 
6. รัฐต้องขจัดขบวนการนำพาและขบวนการนายหน้าแรงงานข้ามชาติ โดย ขจัดช่องทางที่ทำให้เกิดกระบวนการนายหน้าในการจดทะเบียนและพิสูจน์สัญชาติแรงงานข้ามชาติ และเอาจริงเอาจังในการตรวจสอบ ป้องกันและปราบปราม และลงโทษ นายหน้า,ผู้ประกอบการ,ผู้สนับสนุนและเจ้าหน้าที่รัฐ ที่มีส่วนร่วมในการกระทำความผิด หรือเกี่ยวข้องกับความผิดฐานลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐานฯเข้าเมืองผิดกฎหมายหรือการค้ามนุษย์
 
7. รัฐต้องจัดให้แรงงานข้ามชาติเปลี่ยนย้ายงาน ย้ายนายจ้างและเลือกทำงานอย่างเสรี โดย จัดให้แรงงานสามารถเปลี่ยน-ย้ายงาน และนายจ้างได้อย่างเสรี
 

8. รัฐต้องจัดให้แรงงานข้ามชาติมีสภาพการทำงานที"ปลอดภัยและเข้าถึงกองทุนเงินทดแทน โดย กำหนดเป็นนโยบาย หรือคำสั่งรับรองและคุ้มครองสิทธิในเงินทดแทนของแรงงานทุกคน ซึ่งรวมถึงแรงงานข้ามชาติ ในกรณีประสบอุบัติเหตุจากการทำงาน และให้นายจ้างส่งเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน ไม่ว่าแรงงานข้ามชาตินั้นจะได้รับใบอนุญาตทำงานหรือไม่,ยกเลิกหนังสือเวียนของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน ถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดลงวันที่25 ตุลาคม 2544 เกี่ยวกับข้อกำหนดสำหรับลูกจ้างที่จะขอรับเงินกองทุนทดแทน ซึ่งกำหนดว่าต้องมีเอกสารดังต่อไปนี้ 1. มีการจดทะเบียนและมีใบอนุญาตทำงาน…ประกอบกับหนังสือเดินทาง หรือใบสำคัญตัวคนต่างด้าว 2. นายจ้างจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทนในอัตราไม่ต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำและ 3. ออกหนังสือเวียนถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับรองให้ลูกจ้างซึ้งเป็นแรงงานข้ามชาติทั้งที่ทำงานโดยมิได้รับอนุญาตทำงานและที่ได้รับใบอนุญาตทำงาน สามารถเข้าถึงกองทุนเงินทดแทน
 
9. รัฐต้องรับรองคุ้มครอง และทำให้เป็นจริง ให้แรงงานข้ามชาติเข้าถึงสิทธิในสุขภาพ อนามัยและเข้าสู่ระบบประกันสังคมอย่างทั่วถึง โดย ดำเนินการเชิงรุกในการตรวจตรา ควบคุม และกำกับดูแลให้ชุมชมที่อยู่อาศัยของแรงงานข้ามชาติ ปลอดภัยและถูกสุขอนามัย ภายใต้ความคุ้มครองของประกันสุขภาพของแรงงานข้ามชาติ ในส่วนของ “ค่าบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค รวมทั้งการเข้าถึงการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอชไอวีเอดส์ (ARV)การเข้าถึงบริการให้คำปรึกษาก่อนและหลังการการตรวจเลือดด้วยความสมัครใจและเป็นความลับ(VCCT)และ ดำเนินการเชิงรุกในการตรวจตรา ควบคุม และดูแลให้สถานประกอบการ มีสภาพการทำงานที่ถูกสุขอนามัยและปลอดภัย ซึ่งรวมถึงบังคับใช้บทบัญญัติในหมวด 8 ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน เรื่องความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน อย่างจริงจัง
 
10. รัฐต้องรับรองคุ้มครอง และทำให้เป็นจริง ในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิขั้นพื้นฐานและสิทธิในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของแรงงานข้ามชาติ โดย ส่งเสริมและสนับสนุนการทำงานของกลไกคุ้มครองสิทธิและให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายให้เอือ5 ต่อการใช้สิทธิทางกฎหมายของแรงงานข้ามชาติ ไม่ว่าแรงงานข้ามชาตินั้นจะมีลักษณะการเข้าเมืองถูกกฎหมายหรือไม่ก็ตาม,สิทธิที่จะมีล่ามภาษาในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งรวมถึงขั้นตอนร้องทุกข์ และอนุญาตให้แรงงานข้ามชาติที-ถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหรือถูกละเมิดสิทธิ สามารถอาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นการชั่วคราวเพื่อประโยชน์แก่กระบวนการยุติธรรม และช่วยเหลือทางกฎหมายแก่แรงงานข้ามชาติที-ถูกละเมิดให้ได้รับค่าชดเชยค่าเสียหาย หรือการเยียวยาอื่นๆ ตามกฎหมาย
ประกาศ วันที่ 18 ธันวาคม 2554
วันแรงงานข้ามชาติสากล
ณ อนุสรสถานณ์ 14ตุลา