คสรท.แถลงจี้ก.แรงงานหลังปล่อยเกียร์ว่างแก้ไขปัญหาคนงาน KFC

คสรท.นำคนงานKFCร้อง ครส.แถลงชงรัฐบาลชุดใหม่ จี้กกระทรวงแรงงานแก้ปัญหากรณีการเลิกจ้างเนื่องจากการกระทำอันไม่เป็นธรรม หลังจากว่างเว้นการทำงานมานานเกือบ 3 เดือน 
 
วันนี้  (6 กรกฎาคม 2554)  คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ร่วมกับสมาชิกกลุ่มสหภาพแรงงาน สหพันธ์แรงงาน คนงานKFC ราว 70 คน ได้ร่วมกันแถลงข่าวต่อประเด็นการแก้ไขปัญหาคนงานKFC ที่ล่าช้า พร้อมทั้งมีการจัดกิจกรรมทอดไก่กว่า 400 ชิ้น แจกโชว์ฝีมือการทำงานของคนงานKFC ซึ่งสร้างความสนใจต่อผู้ที่มาติดต่องานในกระทรวงแรงงานระแวกนั้น พร้อมขนรางวัลย์ที่ได้รับมาโชว์ หวังสะท้อนการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
 
นายชาลี ลอยสูง ประะานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย กล่าวว่า สืบเนื่องจากบริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด ( ในส่วนของ KFC )ได้เลิกจ้างลูกจ้าง 3 คน ดังรายชื่อ ต่อไปนี้ นายกฤษ  สรวงอารนันท์  นางอภันตรี  เจริญศักดิ์ และนางสาวศิวพร สมจิตร ในวันที่ 9 พฤษภาคม 2554  โดยที่ทั้ง 3 คน ได้เป็นผู้ร่วมลงลายมือชื่อในการยื่นข้อเรียกร้องต่อนายจ้าง  เพื่อให้นายจ้างปรับปรุงค่าจ้างและสวัสดิการให้มีความเป็นธรรมสอดคล้องกับภาวะค่าครองชีพในปัจจุบันให้ แก่พนักงาน แต่กลับถูกนายจ้างหาเหตุในหารเลิกจ้าง
 

คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) ประกอบด้วยสมาชิก 30 องค์กร คือ กลุ่มสหภาพแรงงานย่านอุตสาหกรรม สหพันธ์แรงงาน องค์กรแรงงานนอกระบบ แรงงานข้ามชาติและรัฐวิสาหกิจ(สรส) จำนวน 280,000 คน เห็นว่า การที่ลูกจ้างบริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด ( ในส่วนของ KFC ) ประกอบร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด ในเขตพื้นที่จังหวัดกรุงเทพฯ สมุทรปราการ และประทุมธานี จำนวน 266 คน จากพนักงาน/ลูกจ้างในเขตสถานประกอบการดังกล่าว  887 คน ได้รวมตัวกันลงลายมือชื่อ เรียกร้องต่อนายจ้าง KFC  บริษัทยัมเรสเทอรองตส์ อินเตอร์ เนชั่นแนล ประเทศไทยจำกัด ซึ่งเป็นบริษัทข้ามชาติ ที่จดทะเบียนในประเทศไทย ให้มีการปรับสภาพปัญหาที่ลูกจ้างได้รับผลกระทบ ดังนี้  ระบบการปรับค่าจ้างที่ไม่เป็นธรรม คือ พนักงานจำนวนมากได้ปรับเงินเดือนประจำปีแค่  120, 150 และ 200 บาท .ในขณะที่ทำงานมามากกว่า 10 ปี    และการนำเงินโบนัสประจำปี มาหารเฉลี่ย 12 และปรับเข้าเป็นฐานเงินเดือน ทำให้พนักงานหลายคนไม่ได้ปรับเงินเดือนประจำปี 2553 เมื่อกุมภาพันธ์ 2554 ที่ผ่านมา เนื่องจากเพดานเงินเดือนเต็ม(ไม่มีการปรับค่าจ้าง) รวมทั้งการทำงานในวันหยุดตามประเพณี แล้วไม่ได้รับค่าจ้าง ตามกฎหมายแรงงาน ในวันทำงานดังกล่าว และขอเพิ่มสวัสดิการ ให้นายจ้างจัดอาหารให้กับพนักงาน 1 มื้อ ต่อคน ต่อวัน เพราะธุรกิจประเภทเดียวกันก็จัดอาหารกลางวันให้กับพนักงานเป็นต้น  แต่นาจ้างกลับหาสาเหตุเลิกจ้าง ลูกจ้างทั้ง 3 คน ซึ่งเป็นแกนนำในการเรียกร้องโดยมีบางท่านเป็นผู้แทนในการเจรจา โดยนายจ้างมองว่า ข้อเรียกร้องที่ยื่นอาจไม่ชอบด้วยกฎหมาย หลังจากได้พยายามขอเจรจากับนายจ้างหลายครั้งโดยผ่านการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงานของกระทรวงแรงงาน เพื่อขอกลับเข้าทำงาน แต่นายจ้างมาเจรจาเพียงครั้งเดียวในวันที่ 20 พฤษภาคม 2554  ในการเจรจาไม่สามารถหาข้อยุติกันได้ และเจ้าหน้าที่รัฐฯ ก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้กับลูกจ้างได้
 
จากปัญหาดังกล่าว คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท) เห็นว่า ระบบแรงงานสัมพันธ์ โดยกลไกของรัฐล้มเหลวโดยสิ้นเชิง ถึงที่สุดแล้ว ลูกจ้างทั้ง 3 คนต้องมาร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ เรื่องการกระทำอันไม่เป็นธรรม ตามมาตรา 121, (1) (2)  เพื่อขอให้วินิจฉัยมีคำสั้่งรับกลับเข้าทำงานภายใน 90 วัน คสรท. หวังเป็นอย่างยิ่งว่า คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ จะดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมาย พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.  2518 
 
 
นักสื่อสารแรางงาน โครงการการพัฒนาสื่อ รายงาน