19 ปีบนเส้นทางการผลักดัน การจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯ ส่อแววแท้ง..หรือ…คลอดออกมาอย่างพิการ !!

ความต้องการ จะแก้ไขปัญหาที่ต้นตอของปัญหา ก็ คือ การมองที่ปัญหาเฉพาะหน้า ที่เกิดซ้ำซากแบบแก้ไขไม่ได้มาเป็นระยะเวลายืดเยื้อยาวนาน อย่างกรณีเคเดอร์ที่เกิดไฟไหม้ คนงานตายพร้อมกัน 188 ศพ บาดเจ็บถึง 469ราย จนกลายเป็นโศกนาฏกรรม ที่มีการกล่าวขานไปทั่วโลก ทั้งในและต่างประเทศ เป็นภาพพจน์ที่เลวร้ายต่อการทำงานด้านสุขภาพความปลอดภัยในเมืองไทย ปัญหาตามมามากมายเมื่อคนงานต้องเจ็บป่วยและประสบอุบัติเหตุจากการทำงาน การยอมรับของนายจ้าง หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงชะตากรรมที่ตกอยู่ที่ตัวคนงาน ครอบครัว ที่ต้องสูญเสีย หรือ กลายเป็นภาระ ของสังคม ปัญหาของสถานประกอบการ ที่ต้องเสียหายชื่อเสียง เสียเงินค่ารักษาเยียวยา ค่าทดแทน จนเกิดการฟ้องร้องเป็นคดีความมากมาย กลับมาถูกปฏิเสธ จากการเจ็บป่วย ปฏิเสธไม่ยอมรับการวินิจฉัยของแพทย์เชี่ยวชาญสาขาอาชีวเวชศาสตร์สิ่ง ที่มีอยู่หนึ่งท่านในขณะนั้น คือ พญ.อรพรรณ์ เมธาดิลกกุล กว่าจะได้สิทธิคนป่วยจากการทำงาน ต้องเข้าร่วมชุมนุมเรียกร้องสิทธิ ในนามสมัชชาคนจนต้องชุมนุมนานถึง 99 วัน ถึงได้รับสิทธิจากกองทุนเงินทดแทน จากวันนั้นมาวันนี้คนงานก็ยังถูกปฏิเสธเช่นเดิม กองทุนวินิจฉัยกลับคำแพทย์เชียวชาญมือหนึ่งของเมืองไทยจากป่วยในงาน ว่าไม่ป่วยในงาน

ปฏิบัติการประกันสังคมมาตรา 40 ลดความเหลื่อมล้ำและสร้างหลักประกันในชีวิตให้กับแรงงานนอกระบบ ได้จริงหรือ ???

อรพิน วิมลภูษิต ผู้จัดการแผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน

ประกันสังคมมาตรา 40 มิติของรัฐร่วมจ่าย ได้เริ่มดำเนินการมาจนจะครบขวบปีแล้ว ปัจจุบัน มีจำนวน ผู้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนจำนวน 877,425 คน และจำนวนผู้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนและจ่ายเงินสบทบแล้ว จำนวน 472,268 คน จะเห็นว่าอัตราการจ่ายเงินสบทบผู้ประกันตน มีอัตราลดลง โดยดูจากข้อมูลช่วงเดือนตุลาคม 2554 จนถึงมิถุนายน 2555 พบว่าอัตราการคงอยู่ของผู้ที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนและจ่ายเงินสบทบเข้ากองทุนในช่วงเริ่มต้น มีอัตราเพียงจาก 65.04 % ของจำนวนผู้ที่ขึ้นทะเบียน

แรงงานสัมพันธ์ ฉบับบูรณาการแรงงาน : สิทธิ โอกาส อำนาจ และศักดิ์ศรี

ว่าไปแล้วสำหรับชีวิตผู้ใช้แรงงานในประเทศไทย คำสวยๆที่ว่า “การลดทอนความเหลื่อมล้ำ” “การหยุดยั้งความยุติธรรม” ก็ดูจะเป็นคำที่เอื้อมมือคว้ามิง่ายนัก เนื่องจากเวลาพูดถึงคำว่า “คุณภาพชีวิตแรงงาน” จึงมิใช่การหมายถึงเพียงเรื่องของ “การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ” หรือการเข้าถึง “สวัสดิการแรงงาน” เท่านั้น แต่เรากำลังหมายถึง การลดทอนความเหลื่อมล้ำทางรายได้ การสร้างสิทธิ โอกาส อำนาจ และศักดิ์ศรี เป็นสำคัญมากกว่า

ที่ผ่านมาความยากจนข้นแค้นของพี่น้องแรงงานมิได้เกิดขึ้นด้วยการดลบันดาล เป็นชะตากรรม หรือโชคชะตาฟ้าลิขิตแต่อย่างใด แต่ความยากจนดังกล่าวถูกสร้างและกำหนดจากนโยบายรัฐที่เลือกปฏิบัติและโครงสร้างสังคมที่อยุติธรรมเอารัดเอาเปรียบ และให้อำนาจรัฐและทุนในการกำหนดชะตากรรมพี่น้องแรงงานเสมอมา

จะคิดอย่างไรกับสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน

คุณทนง โพธิ์อ่าน เป็นผู้นำคนงานระดับชั้นแนวหน้า เขาต่อต้านกฎอัยการศึกที่คณะร.ส.ช. ประกาศ เขาต่อต้านที่รัฐบาลรัฐประหารยกเลิกสิทธิของคนงานรัฐวิสาหกิจที่จะจัดตั้งสหภาพและนัดหยุดงาน โดยเขาได้ชักชวนคนงานจำนวนมากให้ออกมาชุมนุมประท้วงรัฐบาล เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2534 หลังจากนั้นอีกไม่กี่วัน คือวันที่ 19 มิถุนายน ก็หายตัวไป และจากนั้นมาเป็นเวลา 21 ปีเข้าวันนี้ ก็ยังไม่มีหน่วยงานใดติดตามค้นหาสาเหตุของการหายตัวไปนี้อย่างเป็นเรื่องเป็นราว แม้ว่าครอบครัวของคุณทนงและขบวนการแรงงานจะได้เรียกร้องอย่างต่อเนื่อง

“ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรม ปฏิรูปประกันสังคมถ้วนหน้า” : ความคุ้มครองทางสังคมเพื่อทุกคนในประเทศไทย

บุษยรัตน์ กาญจนดิษฐ์[1]

(1) ในฐานะที่ท่านเป็น “ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม” ทราบหรือไม่ว่าสิทธิประโยชน์มี “ปัญหา”

ผู้ประกันตนเป็นเพียงคนกลุ่มเดียวในประเทศไทยที่จ่ายเงินค่าดูแลสุขภาพในระหว่างเจ็บป่วยด้วยตนเองแล้วนับตั้งแต่วันที่เข้าเป็นลูกจ้าง แต่ต้องรอระยะเวลาในการเกิดสิทธิ ไม่สามารถใช้สิทธิได้โดยทันทีเหมือนกับระบบสุขภาพระบบอื่นๆในประเทศไทยที่รัฐจัดให้ เช่น การรักษาพยาบาลจะใช้สิทธิได้ก็ต่อเมื่อส่งเงินสมทบมาแล้ว 3 เดือนติดต่อกัน (แต่อย่างไรก็ตามในช่วงเวลาก่อน 3 เดือนผู้ประกันตนจะยังคงสามารถใช้สิทธิบัตรทองได้) รวมถึงพบว่ายังมีสิทธิประโยชน์อีกหลายประการที่ประกันสังคมไม่คุ้มครอง เช่น ภาวะแท้งบุตร , การรักษากรณีฆ่าตัวตายแล้วไม่ตาย ,การบริการระหว่างรักษาตัวแบบพักฟื้น เช่น กรณีเป็นโรคเรื้อรังและต้องรักษาติดต่อกันเป็นระยะเวลายาวนาน , โรคหรือการประสบอันตรายเนื่องจากการใช้ยาเสพติด หรือความเสียหายที่เกิดจากบริการทางการแพทย์ เป็นต้น รวมถึงเมื่อเกษียณจากงานแล้ว ผู้ประกันตนก็ต้องกลับไปใช้ระบบหลักประกันสุขภาพแทนไม่สามารถใช้ระบบประกันสังคมได้อีกต่อไป

ถามหา ??? ความคืบหน้าของการปรับปรุงระบบแจ้งเตือนและอพยพประชาชน หลังจากโรงงาน BST ระเบิดในมาบตาพุด “ไม่ใช่จ่ายเงินแล้วก็จบ”

หลังจากโรงงานบีเอสที อิลาสโตเมอร์ส ของบริษัทกรุงเทพ ซินธิติกส์ จำกัด ระเบิด เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2555 จนถึงขณะนี้ยังไม่มีรายงานข้อเท็จจริงของการเกิดระเบิดโรงงาน BST เพื่อใช้ในการป้องกันการเกิดเหตุซ้ำ รวมทั้งยังไม่มีรายงานการศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติอย่างมืออาชีพเผยแพร่ต่อสาธารณะ แต่มีข่าวว่าอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรมและคณะได้เดินทางไปศึกษาดูงานด้านอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ (Eco Industry) ณ. ประเทศญี่ปุ่น เพื่อจะนำมาวางกลยุทธ์เตรียมยกระดับโรงงานทั่วประเทศพัฒนาเป็นนิคมเชิงนิเวศ นโยบายนี้ไม่ได้แก้ปัญหาด้านการพัฒนาระบบดูแลความปลอดภัยประชาชนจากสารพิษอุตสาหกรรมในมาบตาพุดขณะนี้ แต่เป็นนโยบายเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมในอนาคต ในขณะที่ปัญหาของอุตสาหกรรมที่มีอยู่เดิมยังไม่มีการควบคุมให้ได้มาตรฐาน จึงทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและการประกอบอาชีพของประชาชน กรมโรงงานอุตสาหกรรมเป็นหน่วยงานของรัฐที่สามารถใช้กฎหมายกำกับโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิของชุมชน จึงหวังว่าการไปศึกษาดูงานครั้งนี้จะนำมาใช้ในการพัฒนาเพื่อแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ

“ทำไมแรงงานถูกเอาเปรียบและถูกละเมิดสิทธิอยู่ตลอดเวลา”

โดย สมหมาย ประไว นักสื่อสารแรงงาน กลุ่มแรงงานภาคตะวันออก

ที่ขึ้นต้นด้วยหัวข้อเช่นนี้เพราะรู้สึกว่าแรงงานซึ่งเป็นคนกลุ่มใหญ่ของประเทศ แต่มีความอ่อนแอไม่สามารถขับเคลื่อนกระบวนการต่างๆได้ กลับเป็นกลุ่มทุนเป็นผู้ที่มีบทบาทมีอำนาจและขับเคลื่อนกลไกต่างๆ ส่วนหนึ่งนั้นน่าจะมาจากการขาดความรู้ในเรื่องกฎหมายนั่นเอง ดั่งคำกล่าวที่ว่า ความรู้คือปัญญาและปัญญาคืออาวุธ ซึ่งคงปฏิเสธไม่ได้ว่า แรงงานส่วนใหญ่ไม่มีความรู้และขั้นตอนของกฎหมายโดยเฉพาะกฎหมายแรงงาน

เสียงครวญจากคนงาน! ราคาสินค้าแซงค่าแรง

หลังจากที่รัฐบาลปรับค่าแรงขั้นต่ำให้กับคนงานไปแล้วนั้นผลที่ตามมาค่าของแพงเหมือนแพงมาก ทำให้คนงานพูดออกมาเป็นเสียงเดียวกันบอกว่า ถ้าปรับแล้วเป็นอย่างนี้ ก็ไม่ต้องปรับซะดีกว่า

นางสายน้ำผึ้ง บุตรสะสม กล่าวว่า ตนเองอายุ 30 ปี มีบุตร 2 คน คนโตเรียนหนังสืออยู่ ป. 5 คนเล็ก ป. 1 ทำงานเป็นพนักงานประจำอยู่บริษัทแห่งหนึ่งในจังหวัดสระบุรี ผลิตสุขภัณฑ์ในห้องน้ำ ทำงานมา 5 ปี ปัจจุบันได้รับค่าแรงเดือนละ 9,000 บาท ซึ่งก็ยังมีรายจ่ายที่รออยู่ ค่าน้ำ,ค่าไฟ, ค่าอาหารในแต่ละมื้อตกวันหนึ่งประมาณ 400 กว่าบาท ผ่อนเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน เดือนละ ประมาณ 3,000 บาทมาเดือนนี้ซึ่งเป็นเดือนที่โรงเรียนเปิดเทอม ต้องมีค่าใช้จ่ายสูงมากเพราะลูกเรียนหนังสือทั้งสองคน ตนเองก็ยังคิดๆ อยู่ว่าจะไปหากู้ยืมที่ไหนที่จะพอใช้ในเดือนนี้ ในส่วนเงินเดือนของสามีก็ต้องส่งงวดรถยนต์อีก เงินเดือนสามีก็ค่าแรงขั้นต่ำเหมือนกัน ทุกวันนี้เงินเดือนแต่ละเดือนก็ยังไม่พอตนเองก็หารายได้พิเศษรับจ้างซักผ้าบ้างทั้งๆที่ตนเองก็ทำงานเข้ากะด้วยวันๆหนึ่งได้พักผ่อนประมาณ 3-4 ชั่วโมง

ความหวังแรงงานกับการปฏิรูปประกันสังคม

สวรรยา ผดาวัลย์ นักสื่อสารแรงงานศูนย์ข่าว สระบุรี

วันนี้กฎหมายว่าด้วยประกันสังคม ที่ใช้ปัจจุบันมีบทบัญญัติหลายประการที่ไม่เป็นธรรมไม่เหมาะสมและไม่สอดคล้องกับภารกิจการบริหารจัดการประกันสังคมที่มีการขยายตัวขึ้น มีทั้ง นายจ้างลูกจ้าง เป็นจำนวนมาก และจะขยายความคุ้มครองไปสู่แรงงานนอกระบบ แต่ยังมีปัญหาและอุปสรรค ในเรื่องการบริการ ความโปร่งใสในการบริหารงาน ผู้ประกันตนเข้าไม่ถึงสิทธิ นายจ้างไม่ส่งเงินสมทบ ไม่จัดให้มีทะเบียนผู้ประกันตน เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้ยังไม่ได้รับการแก้ไข

โทลูอีน : กับความเสี่ยงต่อการแท้งและความผิดปกติของทารกในครรภ์

ความประมาทจนก่อให้เกิดการลุกไหม้ของสารโทลูอีนและเกิดการระเบิดของโรงงานฝ่ายผลิตยางรถยนต์ ภายในบริเวณ บริษัท กรุงเทพซินธิติกส์ (BST) ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2555 เป็นข่าวใหญ่ต่อสาธารณะ ส่งผลกระทบต่อชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน รวมทั้งบรรยากาศของการท่องเที่ยวของผู้ที่ชื่นชอบผลไม้ของจังหวัดระยอง สำหรับคนไทยทั่วประเทศคงมีคำถามคล้าย ๆ กันว่า เมื่อไรปัญหาของนิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดระยองจะได้รับการแก้ไขอย่างแท้จริง

วิเคราะห์กรณีระเบิด และเพลิงไหม้โรงงานBSTนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด

บทวิเคราะห์ (เบื้องต้นตามประสานักสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม) กรณีระเบิดโรงงานบางกอกซินเทติกซ์ (BST) นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง

ช่วงบ่ายแก่ๆ ของวันหยุด 5 พฤษภาคม 2555 (ค่อนข้างจะเป็นวันที่เป็นตัวเลขที่ดีมากเพราะเป็น เสาร์ห้า เดือนห้า ปีห้าห้า) ผมได้ทราบข่าวการเกิดระเบิด และเพลิงไหม้โรงงานบางกอกซินเทติกซ์ หรือที่รู้จักกันดีในหมู่พนักงานที่ทำงานภายในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดว่าโรงงานบีเอสที (BST) ผ่านจากทางโทรศัพท์ของมิตรสหายภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่ และข่าวที่กระจายออกตามสื่อต่างๆ ประโคมถึงผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บ และวิเคราะห์ถึงผลกระทบเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นกับผู้ที่อาศัยอยู่โดยรอบบริเวณพื้นที่ รวมถึงการคาดการณ์ถึงผลกระทบระยะสั้น และระยะยาวที่จะตามมาจากเหตุการณ์ดังกล่าว

ตายกี่ศพสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯถึงจะเกิด

อีก 5 วันจะครบรอบจัดงาน 19ปีเคเดอร์ เรื่องสลดใจเป็นเหตุระเบิดโรงงานกรุงเทพซินเนติก BSTเมื่อวานเป็นโศกนาฏกรรมที่มีคนตายทันที 5 ศพ บาดเจ็บสาหัส 2 รายและประสบอันตรายเจ็บกะทันหันเข้า รพ.92 ราย จนต้องอพยพคนในชุมชนออก 12 ชุมชน เป็นเรื่องใหญ่มากๆ และ เจ้าหน้าที่ หรือ สื่อมวลชน ที่เข้าไปดู คนเหล่าจะได้รับสารเคมีเข้าไป ด้วยเพราะกลิ่นก๊าซพิษลอยคละคลุ้งไปเป็นระยะ 10 กก.ซึ่งไม้รู้ว่า อีกระยะเวลา10ปีต่อมา พวกเขาเกิดเป็นมะเร็งกันหรือไม่ ก็ไม่สามารถเรียกร้องเอาค่าเสียหาย ค่ารักษาพยาบาลเอากับใครได้ เพราะหลักฐานมันหายไปกับการเวลาที่ล่วงเลยไป รัฐไม่มีระบบติดตามตรวจสอบผลกระทบระยะยาว เพราะขาดบุคลากร ขาดงบประมาณแค่แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าก็แทบรับมือไม่ไหวแล้ว จะเข้าไปดู ก็จะไปทนสูดอากาศพิษไม่ไหว ขนาดไม่ได้ระเบิดแค่สารเคมีรั่วไหล เมื่อครั้งก่อนๆ ยังส่งผลให้คนในชุมชนต้องล้มป่วยแล้วนี่ถึงขั้นระเบิดขนาดนี้ มันย่อมกระทบผู้คนจำนวนหลายพันคน

1 15 16 17 27