CILT จัดประชุมใหญ่คึกคัก เลือกตั้งกรรมการฯชุดแรกทูตญี่ปุ่นร่วมเป็นเกียรติ

เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2557 สมาพันพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(CILT) จัดการประชุมใหญ่สามัญครั้งแรกขึ้นที่ห้องเพชนบุรี โรงแรมบางกอกพาเลซ กรุงเทพฯ โดยช่วงเช้าได้ร่วมกับสหภาพแรงงานอุตสาหกรรมโลกหรือIndustri All Global Union จัดเวทีเสวนาเรื่อง “กระบวนการขับเคลื่อนให้รัฐบาลรับรองอนุสัญญาILO87,98” ซึ่งมีการเชิญตัวแทนทั้งในส่วนของลูกจ้าง นายจ้างและตัวแทนจากกระทรวงแรงงาน มีศาสตราภิชานแล ดิลกวิทยรัตน์เป็นผู้ดำเนินรายการ โดยมีผู้เข้าร่วมรับฟังการเสวนาประมาณ 100 คน

10710604_741990565837097_9125147125247941477_n 10151172_741990805837073_7808886088683337246_n

เวลาประมาณ09.30 น.นายยงยุทธ เม่นตะเภา ประธานรักษาการCILTในฐานะผู้แทนจาก Industri All Global Union ได้กล่าวเปิดเวทีเสวนาพร้อมทั้งกล่าวถึงจำนวนสหภาพที่ดำเนินกิจกรรมจริงเพียงประมาณ 500 แห่งทั้งที่กฎหมายแรงงานในประเทศไทยก็พอใช้ได้แต่การบังคับใช้กฎหมายกลับไม่มีประสิทธิภาพ สำหรับอนุสัญญาILOฉบับที่87และ98 นั้นขบวนการแรงงานในประเทศไทยได้เรียกร้องให้รัฐบาลรับรองมาโดยตลอด22ปีแต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งน่าแปลกใจว่าไทยเป็น1ใน45ประเทศที่ร่วมก่อตั้งองค์การแรงงานระหว่างประเทศ(ILO)อีกทั้งในประเทศไทยยังเป็นที่ตั้งขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ(ILO)ประภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคแต่ไทยกลับไม่รับรองอนุสัญญาทั้ง2ฉบับ

จากนั้นเป็นการเข้าสู่เวทีเสวนาโดยผู้ดำเนินการเสวนาคือ ศาสตราภิชานแล ดิลกวิทยรัตน์ ได้เชิญผู้ร่วมเสวนาคือ1.นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย 2.นายชินโชติ แสงสังข์ ประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทย 3.นายพรมฐิติ พงศ์ศิลามณี รองเลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ 4.นายยุทธการ โกษากุล ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนางานแรงงานสัมพันธ์ สำนักงานแรงงานสัมพันธ์ กระทรวงแรงงาน ส่วนผู้แทนฝ่ายนายจ้างซึ่งรับปากว่าจะเข้าร่วมติดภาระกิจไม่สามารถมาร่วมงานได้

ช่วงแรกผู้ดำเนินการเสวนาได้เกริ่นนำที่มาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศและสาระสำคัญของอนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับและผลกระทบที่ประเทศไทยกำลังเผชิญทั้งการถูกจัดให้เป็นประเทศที่มีการค้ามนุษย์อยู่ในระดับเธียร์3ซึ่งทำให้ไทยถูกกีดกันทางการค้านอกจากนั้นสหรัฐอเมริกายังจะตัดGSPหรือถูกตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเพื่อกดดันให้ไทยรับรองอนุสัญญาฉบับที่87และ98

1618459_1554090061470713_7436812846168763060_n

นายยุทธการ ได้ชี้แจงว่า กระทรวงแรงงานสมัยรัฐมนตรี เฉลิมชัย ศรีอ่อน ได้กล่าวในเวทีประชุมองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ว่าจะรับรองอนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับ จากนั้นมีการจ้างมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตทำผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนซึ่งผลสำรวจประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วย รวมทั้งหน่วยงานด้านความม่นคงทั้งหมดก็เห็นด้วยแต่ก็มีกังวลเรื่องการจัดตั้งสหภาพแรงงานของแรงงานข้ามชาติจึงให้แก้กฎหมายให้เรียบร้อยก่อน ซึ่งปัจจุบันกฎหมายแรงงานสัมพันธ์และกฎหมายรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์อยู่ในขั้นตอนที่คณะกรรมการกฤษฎีกากำลังพิจารณา และล่าสุด นายนคร ศิลปะอาชาปลัดกระทรวงแรงงานคนใหม่ได้มีคำสั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายระหว่างประเทศพิจารณาให้รอบคอบโดยให้กรอบเวลา 1 เดือน

นายชาลี ได้ให้ความเห็นว่าจากการที่ได้มีโอกาสไปชี้แจงสถานการณ์การละเมิดสิทธิคนงานในประเทศไทย ทำให้สหภาพแรงงานCFICOในสหรัฐอเมริกา ช่วยกดดันจนส่งผลให้รัฐบาลสหรัฐอเมริกาออกมากดดันไทยโดยการมีหนังสือถึงกระทรวงพานิชย์เรื่องการตัดสิทธิGSPหากไทยยังไม่ยอมรับรองอนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับซึ่งจะมีการพิจารณาในเดือนพฤศจิกายนนี้ จึงทำให้มั่นใจว่ารัฐบาลจะต้องรับรองอนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับแน่นอน แต่อย่างไรก็แล้วแต่หากไม่รับขบวนการแรงงานก็ต้องต่อสู้ต่อไป ต้องช่วยตัวเองก่อน ส่วนใครจะช่วยก็เข้ามา ต้องทำให้เห็นว่าคนงานต้องการจริงๆ แต่หากรับเราก็ต้องมาจัดทำยุทธศาสตร์ในเรื่องการบังคับใช้อนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับให้มีประสิทธิภาพซึ่งต้องเป็นยุทธศ่าสตร์ระยะยาว

นายพรมฐิติ ให้ความเห็นว่าคนงานรัฐวิสาหกิจส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้เรื่องอนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับอีกทั้งยังไม่ค่อยให้ความสนใจกับสหภาพแรงงานเนื่องจากเมื่อมีข้อตกลงกันคณะกรรมการสหภาพแรงงานกับผู้บริหารรัฐวิสาหกิจจะต้องรายงานไปที่ผู้บริหารสูงสุดเมื่ออนุมัติก็จะส่งไปที่คณะกรรมการกิจการสัมพันธ์และคณะรัฐมนตรีอนุมัติ จึงเข้าใจว่าผลประโยชน์ที่ได้เพราะผู้บริหารและรัฐบาลให้ ประกอบกับมีการแทรกแซงจากภาครัฐ และไม่มีการจ้างงานแบบตรง แต่จ้างแบบเหมาช่วงมากทำให้สมาชิกสหภาพน้อยลงเพราะไม่มีสมาชิกใหม่มาเพิ่ม และการจัดตั้งสหภาพแรงงานในรัฐวิสาหกิจก็มีความยากลำบาก เนื่องจากกฎหมายบังคับให้หนึ่งรัฐวิสาหกิจต้องมีเพียง 1 สหภาพฯหากรับรองแล้ว อาจจะทำให้มีหลายสหภาพฯซึ่งมองว่าอาจดูเหมือนมีปัญหาแต่ในที่สุดก็ต้องมารวมกันภายใต้สถานการณ์ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชนน่าจะได้ประโยชน์มากกว่า แต่ถึงแม้รัฐบาลไทยจะรับรองอนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับแต่หากคนงานไม่ใส่ใจ ก็ไม่เกิดประโยชน์สูงสุด

947241_1554091151470604_3028231534541478939_n 10620657_1554089588137427_1353682499209393942_n

นายชินโชติ ให้ความเห็นว่าเรื่องนี้เหมือนเอาเรื่องเก่ามาเล่าใหม่ เรียกร้องกันมาตั้งแต่พ.ศ.2535คนงานอาจมีสิทธิตั้งสหภาพแรงงานได้แต่ยังไม่มีเสรีภาพในการตั้งสหภาพแรงงานทั้งเงื่อนไขมากมายที่กำหนดในกฎหมาย ต้องต่อสู้กับการไม่ยอมรับของนายจ้าง เมื่อก่อนถูกข่มขู่คุกคามและถึงกับเอาชีวิตกันแต่ปัจจุบันนายจ้างใช้การมอบผลประโยชน์ให้แกนนำ ยัดเยียดตำแหน่ง ให้อำนาจ ทำทุกวิถีทางในการล้มล้างสหภาพแรงงาน ขบวนการแรงงานถึงโหยหาการรับรองอนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับ เพราะต้องการทั้งสิทธิและเสรีภาพในการจัดตั้งสหภาพแรงงาน ตอนนี้ถามฝ่ายไหนก็ต้องตอบว่าเห็นด้วย เห็นด้วยกันทุกฝ่ายแต่ทำไมไม่รับ ส่วนตัวเห็นว่ารัฐบาลไทยจะรับรองเพียงฉบับเดียวคือฉบับที่98 เรื่องสิทธิในการรวมตัวและการเจรจาต่อรอง ไม่รับฉบับที่87เพราะไม่อยากให้เสรีภาพในการวมตัว ไม่มีระบบทุนที่ไหนอยากได้สหภาพแรงงาน ฉะนั้นอย่าคิดว่าจะได้แน่ๆหากขบวนการแรงงานยังนิ่งเฉย และขอแจ้งเรื่องประกันสังคมเนื่องจากตนเป็นบอร์ดประกันสังคมจึงได้ทราบข้อมูลว่าขณะนี้รัฐบาลค้างเงินสมทบประกันสังคมอยู่หกหมื่นหนึ่งพันกว่าล้านบาท ขณะนี้ประกันสังคมได้ตั้งอนุกรรมการติดตามหนี้รัฐบาลโดยตนเป็นประธานอนุกรรมการชุดนี้

จากนั้นมีการร่วมแลกเปลี่ยนจากผู้ร่วมรับฟังโดยมีคำถามดังนี้ 1.เรื่องร่างกฎหมายของกระทรวงแรงงานทำไมต้องออกมาประกบทุกครั้งเมื่อมีร่างกฎหมายของภาคประชาชนเสนอมา? 2.ทำไมถึงยังต้องแยกกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ออกเป็น 2 ฉบับจะไม่ขัดหลักการเรื่องการวมตัวหรือ? 3.หากรับรองแล้วจะยกเลิกได้หรือไม่และจะเกิดปัญหาเรื่องต่างคนต่างไปตั้งสหภาพใหม่หรือไม่?

นายยุทธการ ชี้แจงว่า เรื่องการออกกฎหมายเป็นระเบียบของกระทรวง ส่วนเรื่องกฎหมายแรงงานสัมพันธ์นั้น ในหลายประเทศก็มีบางประเทศมีหลายฉบับออกตามประเภทของงาน และในอนุสัญญาฯไม่ได้ใช้คำว่าสหภาพแรงงานใช้คำว่าการวมตัวซึ่งการวมตัวก็มีหลายรูปแบบ
ศาสตราภิชานแล ดิลกวิทยรัตน์ ได้ชี้แจงว่าหากรัฐบาลไทยรับรองอนุสัญญาฯไปแล้วย่อมมีผลผูกพันธ์กับประเทศไทยแม้รัฐบาลหรือรัฐธรรมนูญจะเปลี่ยนไปจะทำลายสัญญานี้ไม่ได้ และการวมตัวตามอนุสัญญาฯนี้หมายถึงการวมตัวโดยสมัครใจ อย่ากลัวว่าจะมีหลายสหภาพหลายกลุ่มเพราะที่สุดแล้วสหภาพหรือกลุ่มที่ได้รับความนิยมสูงสุดก็จะกลืนให้เป็นหนึ่งเดียวอยู่ดี เช่นกัน การรวมกันเป็นสภาพฯเดียวโดยขาดความสมัครใจใช่ว่าจะเข้มแข็ง

จากนั้นในภาคบ่ายได้มีการประชุมใหญ่สามัญครั้งแรก โดยเริ่มจากนายยงยุทธ เม่นตะเภาประธานรักษาการCILTได้กล่าวเปิดประชุม จากนั้น ได้เชิญนายฮิโรโนริ ชิโบนิ เอกอัคราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยและนายเทรุ เซกุกิชิ เจ้าหน้าที่มูลนิธิแรงงานสากลแห่งประเทศญี่ปุ่นขึ้นกล่าวเป็นเกียรติซึ่งทั้งสองคนได้กล่าวแสดงความยินดีและขอให้การประชุมครั้งนี้ประสบผลสำเร็จไปด้วยดีและหวังว่าแรงงานสัมพันธ์ในประเทศไทยจะดีขึ้น

จากนั้นนายประสิทธิ ประสพสุขคณะกรรมการักษาการCILTได้นำเสนอความเป็นมาของCILT และนายธีรวุฒิ เบญมาตย์ รักษาการเลขาธิการCILTได้นำเสนอกิจกรรมของCILTตลอดวาระาของคณะกรรมการรักษาการชุดนี้ จากนั้นมีการรับรองข้อบังคับของCILT รับรองผู้ตรวจสอบบัญชีและเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารชุดแรกตามสัดส่วนองค์กรละ 7 คนซึ่งCILTประกอบด้วย 3 องค์กรคือ1.สมาพันธ์แรงงานเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเลคทรอนิค ยานยนต์และโลหะแห่งประเทศไทย(TEAM) 2.สหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ การตัดเย็บเสื้อผ้า และผลิตภัณฑ์หนังแห่งประเทศไทย(TWFT) 3.สหพันธ์แรงงานนานาชาติกิจการเคมี พลังงาน เหมืองแร่ แรงงานทั่วไปในประเทศไทย(THAICEM) มีสัดส่วนกรรมการในวาระแรกองค์กรละ 7 คน รวม21คน แต่เนื่องจากในส่วนของTEAMได้เสนอรายชื่อสำรองมาอีก 1 คนจึงรวมเป็น 22 คน นายชาลี ลอยสูงผู้ที่ได้รับมติจากที่ประชุมให้ทำหน้าที่กรรมการการเลือกตั้งจึงขอมติจากที่ประชุมให้รับรอง มติเป็นเอกฉันท์

จากนั้นนายยงยุทธ เม่นตะเภาได้กล่าวปิดประชุมเวลา 17.20 น.สำหรับรายชื่อกรรมการทั้ง22คนมีดังนี้ 1.นายยงยุทธ เม่นตะเภา 2.นายประสิทธิ ประสพสุข 3.นายธีรวุฒิ เบญมาตย์ 4.นางสาวศิริจรรยาพร แจ้งทองหลาง 5.นายสัญญากรมไธสง 6นางสาวสาวิตรี กลอนฉ่ำ 7.นางสาวนุจรีย์ จำเนียร 8.นายเพชรจรินทร์ จงใจหาญกล้า 9.นายเซีย จำปาทอง 10. นางประนอม เชียงอั๋ง 11.นายวันชัย แรมทองหลาง 12.นายประวร มาดี 13.นายพีรภัทร ลอยละลิ่ว 14นายพัฒนา ปาณาสา 15นางจิตินันท์ สุขโน 16.นายจักรี เริงหรินทร์ 17.นายศิริพงษ์ พูลสวัสดิ์ 18.นายธีรชัย ฉัตรมณีพงศ์ 19.นายพีระศักดิ์ สกุลเขียว 20.นายชัยยุทธ ชูสกุล 21.นายอารี สืบวงศ์ และ22.นางสาวคำผอง คำวิฑูรย์
นักสื่อสารแรงงานกลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก รายงาน