“ของขวัญวันเด็ก 2564 ที่มีคุณค่าที่สุด คือเงินอุดหนุนเด็กเล็กถ้วนหน้า”

เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2564 คณะทำงานขับเคลื่อนนโยบายสวัสดิการเงินอุดหนุนเด็กเล็กสู่ถ้วนหน้า 301 องค์กรจัดเวทีแถลงข่าว “จดหมายเปิดผนึก จากภาคประชาสังคม 301 องค์กร เรียกร้องนายกรัฐมนตรี มอบของขวัญวันเด็กปี 2564 ด้วยนโยบายสวัสดิการเงินอุดหนุนเด็กเล็กแบบถ้วนหน้า” ณ สนามเด็กเล่น มูลนิธิเด็กอ่อนในสลัมฯ ชุมชนเสือใหญ่ประชาอุทิศ ถนนรัชดาภิเษก 36 กรุงเทพฯ โดยมี อาจารย์สุนี ไชยรส เป็นผู้แทนคณะทำงานขับเคลื่อนนโยบายสวัสดิการเงินอุดหนุนเด็กเล็กอายุ 0-6 ปี แบบถ้วนหน้า 301องค์กร เป็นผู้แถลง ซึ่งมีเนื้อหาดังนี้

ภาครัฐมีบทบาทหน้าที่ต้องเข้ามาดูแลสวัสดิการสำหรับเด็กเล็กมากขึ้น หากให้การดูแลอย่างเป็นระบบ และถ้วนหน้าจะเป็นการสร้างทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าทั้งในตัวเองและต่อสภาพเศรษฐกิจสังคมในอนาคต   เป็นที่ น่ายินดีว่ารัฐไทยเริ่มให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ โดยหนึ่งในมาตรการสำคัญคือการให้เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ซึ่งเริ่มปี 2558 โดยให้เงิน 400 บาท/คน/เดือนในขวบปีแรก  ต่อมาในปี 2559 ขยายมาเป็นแรกเกิดถึง 3 ปีและเพิ่มวงเงินจาก 400 บาท เป็น 600 บาท/คน/เดือน.. ปี 2560 ขยายสิทธิ์ให้กับผู้อยู่ในระบบประกันสังคม และขยายฐานรายได้จากเดิมที่กำหนดไว้ 36,000บาท/ปี/ครัวเรือน มาใช้ฐานรายได้ที่ 100,000 บาท/ปี/ ครัวเรือน ซึ่งแม้จะมีความก้าวหน้าในการให้สวัสดิการแต่ยังคงเป็นการให้แบบจำเพาะเจาะจง

มีผลการศึกษาออกมาชัดเจนแล้วว่า โครงการดังกล่าวเกิดปัญหาเด็กเล็กที่อยู่ในเกณฑ์ที่รัฐกำหนดให้ ได้รับสวัสดิการตกหล่นถึง 30% และจากการศึกษาทั่วโลกพบว่า การแก้ไขลดอัตราการตกหล่นทำได้ หากรัฐบาลจัดให้เป็นนโยบายสวัสดิการเงินอุดหนุนเด็กเล็กแบบถ้วนหน้า 

คณะทำงานขับเคลื่อนนโยบายสวัสดิการเงินอุดหนุนเด็กเล็กสู่ถ้วนหน้า มีส่วนผลักดันนโยบายเรื่องนี้มาโดยตลอดตั้งแต่ต้น โดยเห็นว่า สวัสดิการเงินอุดหนุนเด็กเล็กที่เป็นแบบถ้วนหน้าเป็นการลงทุนทรัพยากรมนุษย์ทที่คุ้มค่าที่สุดด้านพัฒนาการเด็ก สอดคล้องกับแนวคิดหลักการด้านสิทธิความเท่าเทียมกัน ตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก การให้เงินอุดหนุนกับเด็กเล็กทุกคนทำให้รัฐไม่ต้องใช้กระบวนการคัดกรองคนจน สามารถแก้ไขปญหาการตกหล่นและลดความเหลื่อมล้ำ เป็นการเสริมสร้างระบบสวัสดิการตลอดช่วงอายุเด็กแรกเกิดจนถึงผู้สูงอายุ

หากรัฐยังให้เงินอุดหนุนเด็กเดือนละ 600 บาทกับเด็กอายุ 0 – 6ปี ในครอบครัวรายได้ไม่เกิน 100,000 บาท/คน/ปี ในปี 2564 จะมีเด็กได้รับเงินดังกล่าวอยู่จำนวน 2,091,693 คน ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 15,060.19 ล้านบาท แต่หากขยายความคุ้มครองให้เปนสวัสดิการแบบถ้วนหน้ากับเด็กอายุ 0 – 6 ปีทุกคน เดือนละ 600 บาท ทั้งปีจะใช้งบประมาณทั้งสิ้นเพียง  30,533.98 ล้านบาทและสามารถครอบคลุมเด็กเล็กที่ เป็นเด็กไทยทั้งหมดในประเทศ จำนวน 4,240,831 คน

สถานการณ์ล่าสุด คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ (กดยช.) มีมติจากการประชุม ครั้งที่ 2/2563 เมื่อ 29 กันยายน 2563 เห็นชอบต่อแนวทางการจัดสวัสดิการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรก เกิดแบบถ้วนหน้าในอัตรา 600 บาท/คน/เดือน เริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยกระทรวงพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์เป็นหน่วยงานหลักนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป

สถานการณ์โควิด- 19 รัฐบาลจำเป็นต้องเร่งให้มีนโยบายสวัสดิการเงินอุดหนุนเด็กเล็กแบบถ้วนหน้า

จากสถานการณ์โควิด-19 ที่กลับมาในระลอกใหม่และมีแนวโน้มรุนแรงมากยิ่งขึ้นกว่ารอบที่ผ่านมา ย่อม ส่งผลกระทบต่อภาวะสุขภาพ ปัญหาด้านเศรษฐกิจและสังคมต่อทุกกลุ่มคนหลากหลายอาชีพ ทั้งในเมืองและชนบท อย่างกว้างขวาง   สำคัญที่สุดคือผลกระทบที่รุนแรงต่อครอบครัวที่มีเด็กเล็กและเด็กเกิดใหม่ การเผชิญภาวะ เศรษฐกิจจากรายได้ที่ลดลงอย่างมาก เนื่องจากผู้ปกครองไม่สามารถทำงานตามปกติได้ หรือการถูกเลิกจ้าง โดยเฉพาะแรงงานหญิงที่กำลังท้องหรือมีลูกอ่อน ข้อมูลเบื้องต้นพบว่า มีผู้มาขอลงทะเบียนเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดใน ปี2563 สูงขึ้นกว่าช่วงปี 2461 ถึงกว่าร้อยละ 10 ของเด็กเกิดใหม่ ซึ่งก็อาจยังไม่สะท้อนคนจนใหม่ที่เพิ่มขึ้นทั้งหมด เพราะคาดว่า ยังมีการตกหล่นเนื่องจากระบบคัดกรองคนจนที่ยังใช้อยู่ในปจจุบัน นอกจากนี้สถานการณ์เด็ก เล็กที่โรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีคำสั่งให้ปิดอีกครั้ง ทำให้ค่าใช้จ่ายเด็กเล็กในบ้านเพิ่มขึ้นขณะที่สถานการณ์ เดิมยังไม่สามารถฟื้นตัว ปัญหาเด็กที่ไม่มีผู้ดูแลทำให้ผู้ปกครองไปทำงานไม่ได้หรือต้องหาคนมาช่วยเลี้ยงดูเด็ก ข้อมูล จากในพื้นที่ชุมชน พบว่า เด็กเล็กมีความเสี่ยงต่อภาวะโภชนาการที่ไม่ดีและเสี่ยงต่อการถูกใช้ความรุนแรงจากภาวะ เครียดของครอบครัว ช่วงวิกฤติโควิด -19 เด็กขาดพัฒนาการเรียนรู้ 20-30% ในเด็กคนยากจนจะมีความด้อย โอกาสมากกว่าเด็กอื่นถึง 4 เท่า  ปัญหา/อุปสรรคในการลงทะเบียนเด็กเล็กรายใหม่ที่ซึ่งทำได้ยากขึ้นในสถานการณ์ ที่ต้องมีการเว้นระยะห่างทางสังคมเช่นปัจจุบัน และผลกระทบอีกประการ คือ การเกิดคนจนใหม่อีกจำนวนมาก  ครอบครัวที่เคยมีรายได้สูงกว่าเกณฑ์ที่รัฐบาลกำหนดในภาวะปกติและไม่ได้รับเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดจากนโยบายที่ ผ่านมา  ผลกระทบจากโควิด-19 ได้ทำให้ครอบครัวเหล่านี้กลายเป็นครอบครัวยากจน ในขณะที่ยังคงไม่ได้รับความ ช่วยเหลือ

คณะทำงานฯ เห็นว่า การให้ความช่วยเหลือเด็กเล็กอายุ 0-6 ปี แบบถ้วนหน้า ในช่วงวิกฤตโควิด จะ ทำให้ความช่วยเหลือไปถึงเด็กเล็กอย่างทันทีและครอบคลุมลดขั้นตอนด้านเอกสารและการตรวจสอบเป็นการ ลงทุนที่น้อยมากและคุ้มค่าเมื่อเทียบกับการลงทุนด้านอื่น ๆ ของประเทศ เป็นการสร้างสวัสดิการพื้นฐานเพื่อความ เป็นธรรมกับเด็กทุกคนโดยไม่แบ่งแยก และยังสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ 2560 ในมาตรา 54 วรรคสองระบุไว้ว่า “รัฐต้องดำเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการดูแลและพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษา…เพื่อพัฒนาร่างกาย จิตใจ  อารมณ์ สังคม และสติปัญญาให้สมกับวัย” และมาตรา 48 “สิทธิของมารดาในช่วงระหว่าง ก่อน และหลังคลอดบุตรย่อม ได้รับความคุ้มครองและช่วยเหลือตามที่กฎหมายบัญญัติ” สอดคล้องข้อผูกพันกติการะหว่างประเทศที่ไทยได้ร่วมลง นามไว้ ได้แก่ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ระบุว่า เด็กทุกคนมีสิทธิเข้าถึงระบบความคุ้มครองทางสังคมที่เหมาะสม และพันธะสัญญาสากลขององค์การสหประชาชาติ เรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals (SDGs)) และยืนยนันัยสำคัญ “การไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” (Leave No One Behind)

คณะทำงานขับเคลื่อนนโยบายสวัสดิการเงินอุดหนุนเด็กเล็กสู่ถ้วนหน้าและองค์กรเครือข่าย 301 องค์กร ตามรายชื่อในท้ายจดหมายนี้

ขอเรียกร้องนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ จันทร์โอชาและคณะรัฐมนตรี  “มอบของขวัญวันเด็ก 2564 ที่มีคุณค่าที่สุด”  ด้วยการสนับสนุนนโยบายสวัสดิการเงินอุดหนุนเด็กเล็กแบบถ้วนหน้าในอัตรา 600 บาท/คน/เดือน ตามมติของคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชน แห่งชาติ (กดยช.) ครั้งที่ 2/2563  แต่ในสถานการณ์ที่เกิดวิกฤตโควิด 19 ที่ทวีความรุนแรงในปจจุบันขอให้พิจารณาเป็นวาระเร่งด่วน โดยให้จัดสวัสดิการเงินอุดหนุนเด็กเล็กอายุ 0-6 ปีจำนวน 600 บาท/คน/เดือน เพื่อเป็นการช่วยเหลือเยียวยา กับเด็กเล็กทุกคนแบบถ้วนหน้าโดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ มกราคม 2546

ทั้งนี้ นอกจากจะเปนการช่วยเหลือเด็กเล็กที่ครอบคลุมและทันท่วงทีแล้วยังเป็นการพัฒนาความพร้อม และต่อเนื่องในการดำเนินงานนโยบายสวัสดิการเงินอุดหนุนเด็กเล็กแบบถ้วนหน้าอันเป็นมติคณะกรรมการส่งเสริม การพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติอีกด้วย

————————————————————-

[1] การศึกษาวิจัยเรื่อง การประเมินผลกระทบและการประเมินการเข้าถึงกลุ่ม เป้าหมายโครงการเงินอุดหนุน เพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดซึ่งกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ร่วมกับ องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติประเทศไทย (UNICEF) สานักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ (สสส.) มอบให้สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) และสถาบันวิจัยนโยบายทางเศรษฐกิจ (Economic and Policy Research Institute : EPRI) จากประเทศแอฟริกาใต้ออกแบบและดำเนินการ โดยมีมหาวิทยาลัยขอนแก่นจัดเก็บข้อมูลภาคสนาม

รายชื่อองค์กรต่างๆ 301 องค์กร