การปรับตัวของสหภาพแรงงาน-ตัวอย่างความสำเร็จจากต่างประเทศ “กรณีศึกษา สหภาพแรงงาน…การรณรงค์นโยบาย…ความสัมพันธ์กับพรรคการเมือง”

มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท และมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ได้จัดโครงการสัมมนา เรื่อง การปรับตัวของสหภาพแรงงาน-ตัวอย่างความสำเร็จจากต่างประเทศ วันที่ 15-16 มิถุนายน 2562ณ โรงแรมบ้านอัมพวา รีสอร์ท จังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งมีผู้เข้าร่วม 20 กว่าองค์กร

นายมานิตย์ พรหมการีย์กุล รองประธานมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย กล่าวว่า  การเลือกตั้งที่เกิดขึ้นในประเทศไทยที่มีการเลือกตั้งผ่านไป แม้ว่ามีคนกล่าวถึงว่ายังไม่ใช่ประชาธิปไตยเต็มใบสักเท่าไรนัก แต่ก็เป็นการเลือกตังหลังจากมีหการรัฐประหาร แต่ด้วยที่เราเป็นผู้นำแรงงานที่อยู่ในอนุรักษ์นิยม ก็มีการจ้างงานที่มีผลกระทบกับแรงงานไทย และมีการจ้างงานที่ไม่มั่นคงเกิดขึ้นในประเทศไทยมีการกำหนดระยะเวลาการทำงานที่ชัดเจน

การเข้ามาของยุคเทคโนโลยีใหม่ หรือระบบAI ในอนาคต ที่ว่าจะมีการจ้างงานแบบใหม่ และมีการปรับตัวของการจ้างงานเก่าอย่างกรณีการปรับตัวของอุตสาหกรรมรถยนต์ ที่จะส่งผลกระทบกับการจ้างงาน และจะมีการหายไปหลายแสนคนในอนาคต ระบบที่จะมารองรับยังไม่เห็นสิ่งที่รัฐจะทำให้เกิดความมั่นใจ การที่จะได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์การคนทำงานในอาเซียน เรื่องการรวมตัว ความสำเร็จ และการที่จะทำให้เห็นการรวมตัวรูปแบบใหม่ ซึ่งการที่ระบบทุนมีการปรับตัวให้เห็นว่ามีการเอาเปรียบแรงงาน และการปรับตัวนี้ส่งผลกระทบกับแรงงานจำนวนมากจะได้

นางเวสน่า  โรดิช ผู้อำนวยการมูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท กล่าวว่า พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยมีการทำงานร่วมกับทางมูลนิฟรีดริค เอแบร์ท ได้ทำงานร่วมกันมานาน และต้องการที่จะมีการเรียนรู้การทำงานของสหภาพแรงงานไทยที่จะรับมือกับระบบดิจิตอลที่จะเข้ามาในระบบอุตสาหกรรม ทั้งการการจ้างงานแบบใหม่ ซึ่งในเยอรมันเองก็ได้มีประเด็นนี้เช่นกันแรงงานก็รับผลกระทบ ซึ่งจริงแล้วก็เกิดขึ้นทั่วโลก และงานใหม่ที่จะเข้ามาจะเป็นอย่างไร โดยคงต้องมีการปรับตัวกันทั่วโลกในเรื่องของการจ้างงาน และกระบวนการผลิตด้วย ซึ่งจะมีการแลกเปลี่ยนกับส่วนของผู้ที่ทำงานกับองค์กรแรงงานในต่างประเทศ ทั้งจากประเทศเกาหลี อินโดนีเซีย และกัมพูชาด้วย

มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท(FES) ทำงานทางการมูลนิธิ กลุ่มประชาสังคม ที่มีแนวคิดแนวทางประชาธิปไตย แต่ว่าเราเป็นอิสระจากพรรคการเมือง แม้ว่าจะสนับสนุนพรรคสังคมประชาธิปไตย แต่มูลนิธิมีเสรีภาพ และพรรคการเมืองไม่สามารถที่จะมานั่งในบอร์ดของมูลนิธิได้ และมูลนิธิฯได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล และได้รับการปฏิบัติเหมือนหน่วยงานต่างๆแบบกระทรวง ทบวง กรม

ในเยอรมนี มีสมาพันธ์แรงงานเพียงหนึ่งแห่งเท่านั้น เนื่องจากไม่มีสาขาทั่วประเทศ FES จึงได้รับความไว้วางในให้ทำงานร่วมกับแรงงานทั่วโลก และมีได้ทำงานจัดตั้ง ทั้งในประเทศไทย และฟิลิปปินส์ คือสหภาพแรงงานต้องเข้มแข็งจึงจะมีระบบประชาธิปไตย และสังคมต้องมีการงานที่มีคุณค่า สนับสนุนความเป็นธรรมทางสังคม สนับสนุนรัฐสวัสดิการ ทำงานส่งเสริมเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับแรงงานทั้งในระบบ และนอกระบบ ซึ่งเป็นความผิดพลาดมากหากสหภาพแรงงานไม่ทำงานร่วมกับแรงงานนอกระบบ ด้วยแรงงานนอกระบบเป็นแรงงานจำนวนมาก และตอนนี้โลกของระบบทุนนิยมมีการจ้างงานข้ามประเทศกันได้ ต้องมีการทำงานร่วมกัน และหารือกันเพราะอนาคตต้องมีการเสริมสร้างทางออกที่ดีในอนาคต ต้องมีการหารือกันทั้งรับบาล นายจ้าง และสหภาพแรงงานด้วย

ประเทศไทยอนาคตในการทำงานเป็นสิ่งท้าทายสำหรับทุกคน มีการเปลี่ยนแปลงแบบสุดโต้ง การเปลี่ยนในยุคโลกาภิวัตน์มีความไม่เท่าเทียมกันมากขึ้นโดยเฉพาะในประเทศไทย และมีการย้ายถิ่น การที่มีการเปลี่ยนแปลงด้านภูมิอากาศ ซึ่งการที่จะมีการเปลี่ยนทั้งการดำเนินชีวิต การเปลี่ยนแปลงด้านการทำงาน และอนาคตที่จะมีการเปลี่ยนแปลง เราต้องร่วมกันหาทางแก้ไข และประวัติศาสตร์มีการกล่าวถึงว่าการรวมตัวแบบสหภาพแรงงานนั้นล้าสมัยแล้ว แต่ว่า การปรับตัวของสหภาพแรงงานในหลายประเทศเพื่อรวบรวมแหล่งในการทำงาน และในส่วนของสหภาพแรงงานมีการรวมแหล่งของอำนาจ หากเขาทราบตรงนั้นเขาก็จะมีการนำอำนาจนั้นมาใช้ได้อย่างไร ซึ่งการที่ค้นพบทำให้เราอยากที่จะมาแบ่งปันกันในประเทศไทยมีประสบการณ์ในประเทศเกาหลี และมีการนำเรื่องราวจาก 26 ประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงมาเล่าให้ฟัง และทำให้มีการจัดตั้งลูกจ้างกลุ่มใหม่ จัดตั้งลูกจ้างที่ทำงานอิสระ งานอันตราย คนย้ายถิ่นที่มาทำงานในมาเลเซียมีการทำงานจัดตั้งเขาให้มาทำงานร่วมกับเรา และมีการเลือกตั้งผู้หญิงมาเป็นผู้นำ และจัดตั้งคนรุ่นใหม่ ในประเทศบราซิลมีการทำงานจัดตั้งผู้หญิง มีการสร้างเครือข่ายแรงงานข้ามประเทศไทย เพื่อที่จะกดดันกับบริษัท หรือนายจ้าง ให้มีสิทธิที่ดีขึ้นได้

สหภาพแรงงานมีการจัดตั้ง แบบมีทั้งแรงงานในระบบ และแรงงานนอกระบบ มีการจัดตั้งคนข่ายของในอินเดีย และคนขับมอเตอร์ไซค์ในอูกันดา ทำให้เขามีสิทธิมากขึ้น การที่เรามีการระดมเรื่องมา 26 เรื่องนี้เพื่อสร้างแรงบันดานใจ เพื่อให้มีการปรับเปลี่ยนในการรวมตัวแบบใหม่

วิธีการทำงานแบบนี้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์การทำงาน โดยมีการพัฒนาการทำงาน เป็นวิธีในการวิเคราะห์ และเปลี่ยนการทำงานกับแรงงานนอกระบบ เพื่อให้เราทำงานชัดเจนมากขึ้นว่าเราอยู่ในสถานะแบบใด ซึ่งจะมีผลในความแตกต่างกันไปตามสหภาพแรงงาน คืออำนาจเชิงโครงสร้าง หมายถึงจุดยืนของแรงงานในระบบเศรษฐกิจของสหภาพแรงงาน คือสามารถที่จะขัดขวางการผลิต หรือทำให้นายจ้างได้รับผลกระทบด้านเศรษฐกิจเพื่อสร้างแรงกดดันกับนายจ้างได้ และมีอำนาจในการต่อรองในตลาดแรงงาน เช่นเมื่อเราทำงานในงานที่มีทักษะ หากมีบริษัทอื่นที่มีการให้โอกาสมากกว่าเราก็ไปทำงานตรงนั้นเป็นอำนาจในการต่อรองได้

อำนาจต่อมา คืออำนาจเชิงองค์กร เกิดขึ้นในการรวมตัวกันเป็นสหภาพแรงงาน เพื่อระดมอำนาจในการรวมตัวกัน ซึ่งหมายถึงทรัพยากรโครงสร้างพื้นฐาน ประสิทธิภาพขององค์กร สมาชิก ความสามัคคี ซึ่งนอกเนื่องในส่วนของแรงงานนอกระบบก็ได้ เป็นสภาก็ได้ มีอำนาจในการต่อรอง มีการต่อรองทางการเมือง และนำไปสู่สิทธิแรงงานได้ จำนวนสมาชิกจะมีอำนาจมากขึ้น แต่จำนวนสมาชิกไมได้เป็นปัจจัยเดียวในการที่จะทำให้ทำงานเข้มแข็ง แต่ยังมีเจ้าหน้าที่คนทำงาน และยังมีความสมานฉันท์ภายใน มีความไว้เนื้อเชื่อใจ มีการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์และสมาชิกผู้หญิงมีบทบาทอย่างไร หากมีความเป็นเจ้าของก็จะทำให้มีอำนาจมากขึ้น

ส่วนต่อมา อำนาจเชิงสถาบันเป็นเป็นเรื่องของการพิทักษ์ประโยชน์ของลูกจ้าง เป็นสถาบันหนึ่ง และกรอบนั้นรวมกันเพื่อการต่อสู้และการเจรจาต่อรอง องค์กรที่สำคัญนี้คือองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) และมีการทำงานร่วมกัน ซึ่งครบ 100 ปีแล้วการทำงานยังไม่เปลี่ยนเลย ทำงานอย่างไรก็ทำอยู่อย่างนั้น เช่นเรื่องค่าจ้าง การละเมิดสิทธิแรงงาน

อำนาจหนึ่งคือการเชื่อมไปสู่สังคมที่ต้องมีการสร้างเครือข่าย และไม่ควรมองข้ามความสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นศาสนา หรือชุมชน เชื่อชาติ เพื่อให้เข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง ที่น่าเศร้าตอนนี้สหภาพแรงงานในประเทศไทย มีการถูกดูถูกไม่ให้ความสำคัญ เราจึงอาจต้องมีการปรับภาพลักษณ์ เพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อไป และเราจะทำอย่างไรให้สังคมเข้าใจสหภาพแรงงาน มีการสร้างสื่อใหม่เข้ามาอย่างวิดีโอการ์ตูนในการนำเสนอเรื่องการรวมตัวของแรงงาน การเป็นสหภาพแรงงาน และการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมในการจ้างงาน

หากมีการแข็งแกร่งในการต่อรอง การมีอำนาจทางการเมือง สังคม ก็จะทำงานเรามีพลังมีความแข็งแกร่งมากขึ้น หากมีอำนาจแต่ไม่ใช่ก็ทำให้อำนาจนั้นอ่อนแอมากขึ้น และไม่สามารถที่จะทำให้อำนาจแข็งแกร่งได้ ปัจจัยสำคัญคือต้องมีความรู้ที่จะพร้อมในการเปลี่ยนแปลง และมีความรู้ในการที่จะทำงานร่วม สามารถที่จะสร้างให้คนอื่นฟัง การเปลี่ยนแปลงเป็นไปได้ แต่เราจะเข้าถึงซึ่งอำนาจนั้นได้อย่างไร

นางสาวปรีดา ศิริสวัสด์ มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท กล่าวถึงหนังสือซึ่งมีกรณีตัวอย่าง 26 ประเทศ ในกรณีการรวมตัวของแรงงาน ทั้งแรงงานนอกระบบ อย่างเกาหลี แต่ของ ยกตัวอย่างอูกันดาที่มีการรวมตัวของสหภาพแรงงาน ต่อสู้เรื่องแรงงานนอกระบบ การขนส่ง และกลุ่มค้าขาย และมีกรณีแรงงานกับการเมืองที่มีการทำงานรณรงค์ กรณีบราซิล ที่นายลูอิซ อินัคคิโอ ลูล่า ดาซิลวา ดิสมา รูสเซฟ ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี หรือ นายลูล่า อดีตประธานาธิบดีบราซิลที่เป็นผู้นำสหภาพแรงานเขามีความแน่นแฟนกับพรรคแรงงานจึงสามารถโน้มน้าวให้เกิดนโยบายด้านแรงงานและเสริมความแข็งแกรงในการใช้อำนาจเชิงโครงสร้าง อำนาจเชิงสังคม และอำนาจเชิงสถาบันให้กับฝ่ายแรงงาน ซึ่งสมัยแรกได้มีสมาชิกสภาผู้แทน(สส.) ราว 69 คน และมีการสร้าง และพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมทำให้ทุกคนได้รับประโยชน์ และมีสมาชิกเข้ามาถึง 4.5 ล้านคน มีทั้งผู้หญิง และฝ่ายต่างๆในการทำงาน เมื่อมีฝ่ายการเมืองฝ่ายก้าวหน้า ความก้าวหน้าของสังคมได้กระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาของฝ่ายอนุรักษ์นิยมขวาจัด ทำให้ประธานาธิบดีดิสมา รูสเซฟต้องถูกถอดถอนปลดจากตำแหน่งอย่างไม่ชอบด้วยกฎหมาย เกิดการปฏิรูปแบบถอยหลัง แต่ด้วยการดำเนินงานที่แข็งแกร่ง อำนาจเชิงองค์กร และอำนาจการรวมตัวของCUT ทำให้เขาได้อำนาจทางสังคมกลับคืนมา และยังสามารถสร้างระบบประชาธิปไตยในบราซิลเอาไว้

อีกกรณีคือที่บราซิลที่มีการทำงานที่เลวร้ายในกิจการการก่อสร้างสนามกีฬาโอลิมปิก และระบบขนส่ง ซึ่งก็เป็นกระแสการรณรงค์ของคนทำงานก่อสร้างทั่วโลกเรื่องการทำงานที่เลวร้าย

กรณีประเทศอูกันดาที่มีการเปลี่ยนแปลงของสหภาพแรงงานขนส่ง และลูกจ้างทั่วไป (ATGWU) มีสมาคมของแรงงานนอกระบบที่เข้ามาทำงานเป็นเครือข่ายสหภาพแรงงาน ซึ่งเป็นความท้าทายความสามารถ เนื่องจาก ATGWU เคยสูญเสียสมาชิกเกือบหมด เนื่องจากมีการปรับโครงสร้างการจ้างงานที่เข้าสู่เศรษฐกิจนอกระบบในอุตสาหกรรมขนส่งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่ATGWU เป็นผู้บุกเบิกในการใช้ยุทธศาสตร์การจัดตั้งโดยรวมเอาสมาคมแรงงานนอกระบบที่มีสมาชิกจำนวนมากเข้ามาเป็นเครือข่าย เช่นสมาคมคนขับรถแท็กซี่มินิบัส แท็กซี่ในสนามบิน และจักรยานยนต์รับจ้าง เรียกว่า โบคาโบด้า ซึ่งเกิดผลกระทบอย่างมาก จากการคุกคามของตำรวจกับแรงงานนอกระบบลดน้อยลง ผลประโยชน์จากการเจรจาร่วมกัน ซึ่งการขยายการจัดตั้งสหภาพแรงงานATGWUทำให้เกิดความท้าทาย การเปลี่ยนแปลงไปสู่องค์กรขนาดใหญ่ที่มีสมาชิกเต็มรูปแบบ ทั้งหาบเร่แผงลอยผู้ค้าในตลาด ความจำเป็นในการปฏิรูปขั้นตอนการทำงานที่เป็นประชาธิปไตย และตรวจสอบได้ และการรักษาความสมานฉันท์ระหว่างแรงงานทั้งในและนอกระบบ ยังมีการจัดตั้งคณะกรรมการที่เป็นผู้หญิงในสมาคมต่างๆที่เข้าเป็นเครือข่ายของสหภาพฯ ยังมีการพูดถึงความเท่าเทียมกันของแรงงานในระบบ และแรงงานนอกระบบเพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม ส่งเสริมการบริหารแบบประชาธิปไตย โดยเฉพาะเรื่องความน่าเชื่อถือด้านการเงิน หลักการทำงานของสหภาพแรงงาน การสื่อสาร การขยายการเข้าร่วมกิจกรรมของผู้หญิง การจัดการศึกษาเป็นต้น

นี่เป็นเพียงกรณี 6 สหภาพแรงงานที่มีการเปลี่ยนแปลงและทางFES คัดมาเพียง 6 กรณีในการพิมพ์หนังสือให้ได้ศึกษากัน

การเปลี่ยนแปลงของสหภาพแรงงานที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของแอฟริกาใต้หรือสหภาพแรงงานโลหะแห่งชาติแอฟริกา(นัมซ่า) การประเมินความพยายามของนัมซ่า ในการพัฒนาความเป็นอิสระทางการเมือง และการทำงานเป็นกระบอกเสียงให้กับแรงงานนอกรั่วโรงงานด้วย

นายซอย จีวอน นักกิจกรรมเกาหลีใต้ กล่าวถึงกรณีศึกษา การเปลี่ยนผ่านของสหภาพแรงงาน การจัดตั้งแรงงานนอกระบบในเกาหลีว่า กรณีการรวมตัวของแรงงานนอกระบบ และประเทศไทยก็มีความคล้ายกันอยู่ ในส่วนของเกาหลีนี้ การเติบโตของธุรกิจในเกาหลีนั้นเติบโตอย่างมาก อย่างกรณีของซัมซุง ที่มีการจ้างงานหลากหลายรูปแบบ ซึ่งมีการศึกษาเรื่องกรณีการจ้างงานแรงงานซับคอนแทรค เหมาค่าแรง ซึ่งถือว่า เป็นแรงงานนอกระบบ

การพัฒนาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น แรงงานก็ไม่ได้รับการดูแลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ก่อนปี 1998 เน้นการพัฒนาอุตสาหกรรม ด้วยแรงงานอายุยังน้อยก็ทำงานไปเรื่อยในระบบอุตสาหกรรม เพื่อดูแลครอบครัว และหลังวิกฤติ IMF มีการแก้กฎหมายที่จะเลิกจ้างแรงงาน และนำแรงงานนอกระบบมาทำงานในโรงงาน(ซับคอนแทรค)แบบถูกกฎหมาย ทำให้มีการจ้างงานเหมาค่าแรงจำนวนมาก และGDP ของเกาหลีก็ตกลง เกิดงานในส่วนของธุรกิจขนาดเล็กๆเกิดขึ้นจำนวนมาก และมีร้านสะดวกซื้อจำนวนมาก แรงงานเกาหลีจึงออกมาอยู่แรงงานนอกระบบจำนวนมาก และคิดว่า ระบบไตรภาคีก็มีอยู่แต่สิ่งสำคัญคือส่วนของฐาน เป็นแรงงานนอกระบบ การที่มีงานประจำทำเป็นงานที่มั่นคงทำให้ครอบครัวมีคุณภาพที่ดีขึ้น

การเป็นแรงงานนอกระบบทำให้เป็นชนชั้นล่าง ทำให้ไม่มีความมั่นคงในการทำงาน และแรงงานหญิงจะทำงานแรงงานนอกระบบมากกว่า และเกาหลียังเป็นช่องว่างอย่างมากในส่วนของแรงงานนอกระบบส่วนใหญ่เป็นหญิง และการจัดตั้งสหภาพแรงงานก็ยาก เนื่องจากมีแรงต่อต้าน ด้วยไม่มีการจ้างงานที่มั่นคง ทำให้เขาทำงานตามสัญญากลัวไม่ได้รับการต่อสัญญา และการที่ต่อต้านคอมมิวนิสต์ ทำให้เขามองเรื่องการตั้งสหภาพแรงงานเป็นปัญหา คนที่ไปทำงานจัดตั้งจึงไม่ค่อยประสบความสำเร็จ และด้วยเคยเป็นประเทศที่เป็นอาณานิคมของญี่ปุ่นก็จะมีการต่อต้านการรุกราน การที่มีผู้นำแรงงานที่เผาตัวเองเสียชีวิต ซึ่งมีการก่อตั้งสหภาพแรงงานขึ้นมาชง เท อิน  เป็นผู้นำแรงงานสิ่งทอ และมีคนงานเกาหลีอีกหลายกรณีที่ต่อสู้ด้วยการเผาตัวเองจนเสียชีวิตรวมถึงกรณีคนขับรถแท็กซี่ด้วย การต่อต้านกรณีคนงานฮุนไดที่ออกมาชุมนุมในท้องถนน และมีการทำงานเพื่อกูเศรษฐกิจจากIMF ที่รัฐบาลเกาหลีให้มีการเลิกจ้าง และลดเงินเดือน ซึ่งการเจรจานี้ สมาชิกสมาพันธ์แรงงานเกาหลี (KCTU) เป็นการทำงานเต็มเวลา และมีการทำงานจัดตั้งแรงงานนอกระบบ มีทั้งแรงงานซับคอนแทรค คนงานเหมาค่าแรงงาน การจ้างงานชั่วคราว คนทำงานทำความสะอาดสถานศึกษา ครูในมหาวิทยาลัย

หากต้องทำงานกระทบ เมื่อรัฐบาลมีการเปิดการเจรจากับรัฐบาล ซึ่งสมาชิกสหพันธ์KCTU ไม่พอใจ เมื่อปี 1998 มีการเพิ่มขึ้นของแรงงานนอกระบบ และยังมีความไม่เป็นมิตรของรัฐบาล สื่อ และมีสื่อที่ทำงานแบบอนุลักษณ์นิยมโดยมาว่า KCTU เป็นแบบเกาหลี และมีคนงานถูกจับกุมจำนวนมาก อย่างกรณีแรงงานในรถไฟถูกจ้างงานเป็นแรงงานเหมาค่าแรง เป็นแรงงานนอกระบบ เขาต่อสู้จนถูกเลิกจ้าง และอีกหลายนบริษัทก็มีการต่อสู้มีการนัดหยุดงาน ถูกเลิกจ้างซึ่งเป็นผู้นำสหภาพแรงงาน และมีห้างก็ทำให้ผู้บริหารต้องลาออกไป และมีคนนำการต่อสู้นี้ไปทำเป็นหนังเพื่อสื่อสารให้สังคมได้รับรู้

การที่เรามีแนวคิดในการแก้ปัญหา ก็มีความพยายามที่จะแก้ปัญหา คือ ต้องมีการแก้ไขปัญหาแรงงานนอกระบบ ซึ่งแรงงานบางคนมองว่า หากมีแรงงานนอกระบบจะทำให้เขามีความมั่นคงในการทำงาน และมีแนวคิดในการที่จะให้แรงงานนอกระบบกับแรงงานในระบบแยกสหภาพแรงงาน มีการรณรงค์ให้มีการหยุดการจ้างงานแรงงานนอกระบบมากว่า 20 ปีแล้ว และต้องมีระบบงานแบบใหม่ที่ไม่เหมือนในอดีต และต้องยุติการจ้างงานแรงงานนอกระบบ หยุดเลือกปฏิบัติในการจ้างงานที่ไม่เป็นธรรม หรือยอมรับให้มีการจ้างงานนอกระบบแต่ต้องเป็นธรรม

ในปี 2010 มีการตั้งสหภาพแรงงานผู้หญิงมีการเคลื่อนไหวในการทำงานจัดตั้งคนที่ทำงานในโรงเรียน แม่บ้าน ภารโรง(คนทำความสะอาด) ผู้หญิงวัยกลางคนทำงานในสภาพแวดล้อมไม่ค่อยดี ความสมานฉันท์ทางสังคมทำให้เราสามารถแก้ไขปัญหาการกดขี่ของรัฐบาล การเคลื่อนไหวนี้ทำให้ขบวนการสหภาพแรงงานที่เป็นขบวนการทางสังคม

โดยขอยกตัวอย่างของภารโรงหญิงที่ทำงานในห้องน้ำผู้ชาย ซึ่งมีคงวามไม่ปลอดภัย และยังมีการเรียกร้องให้นำแรงงานนอกระบบเข้าสู่ระบบ โดยมีแรงงานราวหนึ่งแสนคนที่ได้รับผลกระทบนี้ ด้วยมีความแตกต่างระหว่างลูกจ้างประจำกับลูกจ้างชั่วคราว คนที่ทำงานในบริษัทไม่พอใจกับผู้นำสหภาพแรงงาน ไม่ยอมรับว่า เพราะแรงงานในระบบเข้ามายากกว่า แต่แรงงานนอกระบบเข้ามาทำงานได้ง่ายกว่า และเมื่อมาทำงานได้ง่ายเขาก็จะไม่สนใจการรวมตัวทำงานกับสหภาพแรงงาน

การทำงานในพื้นที่ และสถานการณ์ที่อันตรายก็มีแรงงานนอกระบบ ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ลูกจ้างคนหนึ่งที่ทำงานอยู่ในรถไฟฟ้าใต้ดินถูกประตูทับเสียชีวิต และมีการนขึ้นป้ายรณรงค์สร้างความไม่พอใจให้คนจำนวนมาก ซึ่งอีกกรณีที่สายการบิน ลูกค้าร้องไม่ได้รับการดูแลที่ดีก็มีการไล่พนักงานออกไป แต่ก็มีการต่อต้านจากคนทำงานว่า การกระทำแบบนี้เป้นารกระทำที่ไม่เป็นธรรมต่อคนทำงาน และอีกกรณีคนงานประเภทชายขอบ อย่างวินมอเตอร์ไซค์ ก็มีการตั้งสหภาพแรงงานอไบร์ทยูเนี่ยน และสหภาพแรงงานพาร์ทไทม์ ขึ้นมา ซึ่งคนเกาหลีไม่มองว่าคนกลุ่มนี้เป็นคนงาน มองเป็นคนงานชายขอบ เราจึงมีการจัดตั้งขึ้นมา และพบว่าคนงานเหล่านี้มีค่าจ้างที่ต่ำ 5 พันวอลต่อชั่วโมง หรือ 5 เหรียญเท่านั้น ซึ่งเป็นค่าจ้างที่ไม่เพียงพอ ทางสหภาพแรงงาน จึงมีการรณรงค์เรียกร้องให้เพิ่มค่าจ้างเป็น 1 หมื่นวอล มีคนมองว่าเป็นไปไม่ได้ แต่ต่อมารัฐก็มีแนวนโยบายเสนอว่าจะปรับขึ้น และมีการปรับขึ้นในปีนี้ 8.5 เหรียญแล้ว ซึ่งปรับขึ้นราว 29 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว และตอนนี้ภาคนายจ้าสงพยายามที่จะต่อต้านเพื่อไม่ให้มีการปรับขึ้นอีก และในปีหน้าก็จะมีการนัดหยุดงานทั่วไปในแรงงานนอกระบบ เพื่อให้มีการยุติการจ้างงานในแรงงานนอกระบบ ซึ่งเราก็มีการต่อสู้กับนายจ้างแมคโดนัล และเราก็มีสิทธิในการเจรจาต่อรอง ตอนนี้ก็ได้รับการสนับสนุนจากนักศึกษา สังคม ศิลปิน ซึ่งมีคนสนับสนุนกว่า 3 พันคน และได้เข้าไปคุยกับแรงงานชายขอบมีการไปทำงานจัดตั้งกับร้านต่างๆ และการเดินเท้าของเราจะทำงานจัดตั้งขึ้นมาสำเร็จ และมีการจัดแถลงข่าวทุกครั้ง เพื่อให้สื่อมีการรายงานข่าวการเคลื่อนไหวและมีการแถลงข่าวโดยเป็นผู้แทนมาแล้ว 40 ครั้ง แม้มีข้อจำกัดในการจัดตั้งTech Union ที่ยังไม่ก้าวหน้า ในการเจรจาที่ต่อรองที่มีประสิทธิผล และหาตัวอย่างไม่ได้ เพราะสมาชิกแรงงานยากจนหาเวลาไมได้ในการที่จะเข้ามาเป็นสมาชิก และยังกลัวที่ตกงานด้วย

 

พนักงานประเภทที่ส่งของ ส่งสินค้าที่มีการใช้บริการผ่านแอปพลิเคชั่นที่เรียกว่ากิ๊กอีคอโดมี เมื่อมีการสั่งอาหารผ่านแอพพิเคชั่น ทางร้านสั่งไปยังคนส่งอาหาร มีทั้งที่บริษัทจ้าง หรือจ่ายโดยผู้ที่สั่งหรือลูกค้า ซึ่งไม่มีใครดูแลเรื่องสวัสดิการ สภาพการจ้าง คนเหล่านี้ต้องซื้อประกันชีวิตที่สูงมาก และหากทำผิดกฎจราจรก็ต้องมีการซื้อประกันไว้ และเป็นการทำงานอิสระ ยากที่จะจัดตั้งสหภาพแรงงาน และเขาได้มีการชุมนุมขึ้นมา ซึ่งมีคนบอกว่าต้องมีการจัดตั้งสมาคมอิสระ และพยายามที่จะมีการทำให้มีกามรจัดตั้งสหภาพแรงงานของพวกเขา หรือจะเป็นรูปแบบสหกรณ์ดี เพื่อให้มีพลังในการกดดันอุตสาหกรรม มีการสร้างแพลตฟอร์มออนไลน์ เพื่อเสนอนโยบายต่างๆให้กับรัฐ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงล่าสุด มีการเดินขบวน จนมีการจับเข้าคุกในปี 2517 เป็นอำนาจของขบวนการแรงงานที่มีการรวมตัวต่อต้านให้เกิดความยุติธรรมขึ้น และคนงานเกาหลีมีการต่อสู้ในปี 2016-2017 มีการต่อสู้เพื่อปกป้องด้านสิทธิมนุษยชนขึ้น คนที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานเพิ่มขึ้น 40 เปอร์เซ็นต์ แม้ว่าจะมีการต่อต้านในเกหาหลีแต่นักเคลื่อนไหวใจยังอยู่ที่ขบวนการแรงงาน และเราต้องทำงานปกป้องสิทธิมนุษยชน และสร้างความสมานฉันท์ในแรงงานในระบบ และแรงงานนอกระบบ และต้องปกป้องเรื่องการเลือกปฏิบัติของผู้หญิง แม้ว่าเราจะเป็นผู้นำแรงงานชาย แต่ต้องดูแลเป็นแรงงานนอกระบบ 1ใน 3 ส่วนใหญ่เป็นแรงงานในระบบ

หากไม่มีการเตรียมตัวรับการเปลี่ยนแปลงจากฝ่ายนายทุนและอุตสาหกรรมในการรองรับแรงงาน ซึ่งการเตรียมพร้อมมีความสำคัญ ในเกาหลีการเปลี่ยนแปลงของระบบทุนนิยม การใช้แอพพลิเคชั่น แพลตฟอร์มใหม่ที่เกิดขึ้นสร้างการตกงานของคนขับรถแท็กซี่จำนวนมาก ซึ่งมีการประท้วงด้วยการจุดไฟเผาตัวเองจนเสียชีวิต ปัญหาคือประชาชนมักไม่ชอบสหภาพแรงงาน และบ่นคนขับแท็กซี่ในเกาหลีว่า คนที่ขับแท็กซี่  คนทำงานอิสระมาขับแท็กซี่จำนวนมาก

นางพูลทรัพย์ สวนเมือง ตุลาพันธ์ มูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ กล่าวว่า แรงงานนอกระบบในประเทศไทย มีความช่วยเหลือๆไม่มากเท่าไร แรงงานนอกระบบที่เกี่ยวเนื่องกับแรงงานในระบบ หรือแรงงานรับเหมาช่วง และผู้รับงานไปทำที่บ้าน และไม่มีการทำงานจัดตั้งเพราะมองว่าแย่งงาน คนงานในระบบทำ และเมื่อผ่านมา 20 ปี แรงงานในระบบก็หันมาสนใจแรงงานนอกระบบมากขึ้น แต่ก็ยังน้อย ด้วยแต่คนทำงานนอกระบบคือคนทำงานเหมือนกันในแง่ของความเป็นตัวแทนในการความมีอำนาจการต่อรอง วันนี้มีแรงงานนอกระบบเขาไปประชุม และเป็นคนเก็บขยะ แต่ไปในนามของประเทศ  โคลัมเบีย แอฟริกาใต้ ซึ่งประเทศไทยไม่ได้มีตัวแทนแรงงานนอกระบบไป แต่หากมีการคุยกันในประเทศไทยที่เรามีแรงงานนอกระบบจำนวน 24 ล้านคน แรงงานในระบบ 13 ล้านคน เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานราว 5 แสนคน และตอนนี้มีแรงงานนอกระบบ 2 ล้านคนที่เป็นผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมมาตรา 40 หากเราทำงานจัดตั้งกลุ่มแรงงานนอกระบบมาเอง ก็จะเป็นพลังหลักของสังคม ซึ่งตอนนี้มีความพยายามในการจัดตั้ง ซึ่งในกรณีเกาหลีมีความเกื้อกูลกัน เราคือส่วนหนึ่งของสังคม

นางสุจิน รุ่งสว่าง ประธานศูนย์ประสานงานแรงงานนอกระบบ กล่าวว่า จุดอ่อนของแรงงานในระบบ และแรงงานนอกระบบมีการทำงานร่วมกันที่ไม่เข้มแข็งพอ และระบบสมาชิกของแรงงานนอกระบบไม่ชัดเจนมากพอ ขบวนการจัดการก็ยังมีปัญหาพอสมควร องค์กรแรงงานที่เป็นองค์กรที่เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนนโยบายต่างๆ ทั้งกลไกภาครัฐที่ซับซ้อน ทำให้แรงงานนอกระบบยังเข้าไม่ถึง เห็นชัดในกฎหมายประกันสังคมมาตรา 40 ที่แรงงานนอกระบบมี 20 กว่าล้านคน เข้าถึงเพียง 2 ล้านคนเท่านั้น ซึ่งยังขาดการประสานความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดส่วนความร่วมมือระหว่างในระบบ และนอกระบบมีการออกมาร่วมกันขับเคลื่อนบ้าง และมีการส่งต่อข้อมูลกันบ้าง แต่ยังมีช่องว่างอยู่อย่างระบบไตรภาคี ของแรงงานในระบบทำหน้าที่ของแรงงานในระบบอยู่ แต่จะทำอย่างไรให้ระบบไตรภาคีเข้ามามองแรงงานนอกระบบด้วย จุดแข็งของเกาหลีที่นำเสนอคือองค์กรสหภาพแรงงานมีการรับสมาชิกแรงงานทั้งในระบบ และแรงงานนอกระบบ ทำให้เขามีความชัดเจนและมีอำนาจในการต่อรอง

นายเฉลิม ช่อมะดัน ประธานกลุ่มผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้างกล่าวว่า อยากให้แรงงานในระบบเห็นความสำคัญของแรงงานนอกระบบเพื่อการขับเคลื่อนร่วมกัน การรวมตัวของแรงงานนอกระบบนั้นยากเนื่องจากต้องทำงานทุกวัน หากไม่ทำงานก็ขาดรายได้ เราก็อยากเข้าไปทำงานขับเคลื่อนระดับประเทศด้วยกัน กรณีวินมอเตอร์ไซค์นั้นทำงานไม่มีเวลาพัก ล้อไม่หมุนไม่เงิน

ดร.พงศ์ฐิติ พงศ์ศิลามณี รองเลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์(สรส.) กล่าวว่า การทำงาน เมื่ออุตสาหกรรมเป็นหุ่นยนต์แล้วแรงงานไปอยู่ตรงไหน และเมื่อมีแรงงานในระบบการจ้างงานทุกอย่างดีอยู่ แต่จะเห็นการถดถอยของสหภาพแรงงาน หรือจำนวนสมาชิก อย่างแรงงานรัฐวิสาหกิจเองก็มีการจ้างงานเหมาค่าแรง เหมาช่วงมากขึ้น อย่างการจ้างงานในสนามบินก็มีการจ้างงานเหมาค่าแรง การจ้างงานแบบสัญญาจ้างจำนวนมากที่เราต้องการที่จะมีการทำงานจัดตั้ง ซึ่งสรส.เองมีการทำงานภาคขนส่งอยู่ก็เห็นหนทางในการจัดตั้งต่อไป

นายมานิต พรหมการีย์กุล ประธานสภาองค์การลูกจ้างแรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า แรงงานในระบบก็ได้รับการอุ้มชูจากนายจ้าง ซึ่งจริงแล้วไมได้มีอำนาจต่อรองอะไร ซึ่งการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี แรงงานในระบบก็จะกลายเป็นแรงงานนอกระบบ ความไม่มั่นคงก็เกิดขึ้น หากมีการจัดตั้งทำงานร่วมกันของแรงงานนอกระบบเป็นเรื่องที่เห็นด้วยในการที่จะทำงานร่วมกัน ลารัฐบาลไม่เคยสนใจดูแลแรงงานเลย จะเห็นจากการที่แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี (ครม.) ตอนนี้เขาแย้งกันดูแลกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไม่มีใครมาแย่งกันดูกระทรวงแรงงานเลยแม้ว่าจะเป็นคนส่วนใหญ่ แต่การดูแลเป็นเพียงเกรด C ปัญหาการจ้างงานในอนาคตที่จะมีการเปลี่ยนผ่านด้านเทคโนโลยี การจ้างงาน ความไม่มั่นคงในการทำงาน การตกงานของแรงงานจำนวนมากกำลังจะมาถึงมาตรการรัฐบาลในการดูแลแรงงานเหล่านั้นจะทำอย่างไร การรวมตัวในอนาคตควรต้องร่วมกันคิด

ต่อมานำเสนอกรณีศึกษา สหภาพแรงงาน…การรณรงค์นโยบาย…ความสัมพันธ์กับพรรคการเมือง

นายเวสนา นูออน นักวิชาการวิชาการแรงงานกัมพูชา กล่าวว่า ทำงานกับสหภาพแรงงานกัมพูชามาหลายสิบปี และได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับขบวนการแรงงาน และได้มีการเขียนหนังสือ และการวิจัยล่าสุดก็ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท (FES) ด้วย สภาพแวดล้อมเศรษฐกิจสังคม และให้เห็นภูมิหลัง การเมืองมีผลกับการพัฒนา ซึ่งจะพูดถึงสภาพแวดล้อมว่า กัมพูชาเป็นอย่างไรบ้างตอนนี้ และสหภาพแรงงานมีความสัมพันธ์อย่างไรกับพรรคการเมือง มีผลอย่างไร และการขับเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างไร ซึ่งมีการกล่าวถึงแรงงานนอกระบบในกัมพูชามีร้อยละ 80 และแรงงานในระบบอยู่ในภาครัฐ แรงงานนอกระบบจะอยู่ในภาคบริการต่างๆ ซึ่งก็มีปัญหาว่ารัฐมองไม่เห็นเขาเพราะอยู่ในพื้นที่สีเทา และภาคเสื้อผ้าก็มีแรงงานนอกระบบจำนวนมากเช่นกัน แต่มองไม่เห็นเขา แต่ภาคบริการนั้นมองเห็นว่า เขาทำงานตรงไหน แต่ภาคผลิตเสื้อผ้ามองไม่เห็นว่า เขาอยู่ไหน

ปี 2019 ธุรกิจมีการเข้าทั้งผลิตเสื้อผ้า รองเท้าที่ส่งไปยุโรป อเมริกา ตะวันออกใหม่ เมื่อมีข้อตกลงทางการค้ากับทางสหรัฐก็มีการลงสัตยาบันอนุสัญญาร่วมกัน เรื่องสิทธิแรงงานก็ต้องมีการเตรียมเรื่องของกฎหมายแรงงานที่ครอบคลุมเรื่องการคุ้มครองแรงงาน โดยอีกเงื่อนไขคือต้องออกกฎหมายในการช่วยเหลือ และเคารพสิทธิแรงงาน มีการทำรายงานถึงองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) เรื่องสิทธิแรงงาน และรัฐบาลมีการนำเรื่องอนุสัญญาILO ฉบับที่ 87 และ 98 มารวมตัวกันในการเจรจาต่อรองร่วม และรัฐบาลก็ได้ประโยชน์ในการค้าขายกับEU มีผลที่ก้าวหน้ากับแรงงานด้านสิทธิ และมีข้อตกลงกับกัมพูชา แบบหลากหลายภาคีในการที่จะทำให้แรงงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และรัฐบาลกัมพูชาทำอะไรจำนวนมากเพื่อต้องการตลาดการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ เหมือนกับการที่จ้างILO มีการตรวจสอบคุณภาพแรงงาน และILO ก็มีการตรวจสอบ ทบทวนว่ารัฐบาลมีการทำตามกฎหมายดีแล้วหรือยัง เป็นเงื่อนไขบังคับ หากกัมพูชาจะส่งของไปขายต้องให้ILO มาตรวจสอบ รับรองเพื่อให้สินค้าที่ผลิตส่งออกได้ ฉะนั้นประเทศที่อ่อนในการดูแลแรงงาน แล้วต้องการส่งออกก็ให้ILOมาดูแลคุ้มครองสิทธิ การที่กัมพูชาเข้าไปอยู่ในห่วงโซ่การผลิตระดับโลกก็ต้องมีการให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ และกฎหมายต่างๆที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น จะครอบคลุมเฉพาะแรงงานที่เป็นทางการ หรือในระบบเท่านั้น ซึ่งมีกระทรวงแรงงาน และกระทรวงที่พัฒนาแรงงานหรืออาชีพ ซึ่งดูแลและกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ มีคณะกรรมการด้านการจัดการข้อพิพาทต่างๆ และปี 2016 มีการออกกฎหมายเกี่ยวกับสหภาพแรงงานขึ้นมา

อุตสาหกรรมต่างๆที่เกิดขึ้น อุตสาหกรรมสิ่งทอที่เพิ่มขึ้นนั้นเป็นปัจจัยสำคัญที่สหภาพแรงงานมีการเรียกร้อง ปี 2013 มีค่าจ้างที่เติบโตถึงร้อยละ 13 เป็นการเติบโตของแรงงานระดับล่าง ประเทศกัมพูชาเลือกตั้งปี 1993 ในการเลือกตั้งแต่ละครั้งก็จะชนะกันเพียงเล็กน้อย ซึ่งฝ่ายแรงงานก็จะเข้าร่วมสนับสนุนฝ่ายค้าน โดยสหภาพแรงงานจะได้รับการสนับสนุนจากประชาชน เพราะครึ่งหนึ่งของประชาชนต้องการเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ ประเด็นนโยบายการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นการผลักดันอย่างมากในส่วนของพรรคฝ่ายค้าน ซึ่งได้มีการเสนอให้เพิ่มในส่วนของแรงงานภาคบริการซึ่งเป็นแรงงานส่วนใหญ่ จึงจะเห็นว่า ค่าจ้างแรงงานปรับพุ่งขึ้น เพราะพรรคการเมืองต้องการคะแนนเสียง เมื่อพรรคฝ่ายค้านผลักดัน พรรคการเมืองรัฐบาลก็ได้ประโยชน์หากมีการกำหนนโยบายผลรับคือการที่สหภาพแรงงานเข้าไปมีส่วนร่วมกับพรรคฝ่ายค้านก็ทำให้มีประชาชนเข้ามาเลือกฝ่ายค้าน ซึ่งจะเห็นในปี 2013 เป็นตน แต่ต่อมารัฐบาลมีการยุบพรรคฝ่ายค้าน แต่ก็มีความพยายามที่จะมีการตั้งพรรคฝ่ายค้านขึ้นใหม่

พรรคการเมืองอาจไม่สำคัญเท่าไร แต่พรรคการเมืองต้องให้ประโยชน์กับแรงงาน และแรงงานต้องเป็นฐาน เป็นพลังต่อพรรคการเมือง เช่นพรรคฝ่ายค้านบอกว่า จะปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งตอนนี้ก็ยังเขียนอยู่แม้ว่า จะไม่ได้เป็นพรรคการเมืองอย่างเป็นทางการแต่ก็ยังคงการทำหน้าที่ผลักดันนโยบายให้รัฐบาลทำ ซึ่งมีข้อตกลงกับทางสหรัฐ EU ไม่ได้กำหนดให้มีการพัฒนาแรงงานให้ดีขึ้น รัฐก็ให้ความสนใจน้อยลง และคงสิทธิเท่าเดิมไม่เพิ่มขึ้น ไม่มีการส่งเสริมให้มีการนัดหยุดงาน ซึ่งเป็นอาวุธสุดท้ายในการต่อรอง ปัจจุบันสหภาพแรงงานพยายามเรียกร้องให้มีการแก้ไขกฎหมายอยู่เพราะขัดต่อสิทธิแรงงานในการรวมตัวเพื่อต่อรอง

บทบาทในห่วงโซ่อุปาทานซึ่งต้องพูดถึง ILO กัมพูชาไม่ได้ผลิตของกัมพูชาเท่านั้น แต่ว่ามันเชื่อมกับหลายประเทศ ซึ่งมีการกล่าวถึงค่าแรงในS&M ที่มีการพูดกัน เป็นการเปิดโอกาสให้มีการต่อรองระดับโลก การที่ดึงเอาแผนระดับโลกมาเสริม และเป็นแผนการทำงานของแรงงานในกัมพูชาด้วย และสหภาพแรงงานของกัมพูชามีทั้งในระดับท้องถิ่น และระดับชาติด้วย และร้อยละ 60 ที่เป็นลูกจ้างภาครัฐเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน และมีความพยายามที่จะเข้าไปในภาคบริการเพื่อการจัดตั้งสหภาพแรงงาน แม้ว่าภายในหนึ่งโรงงานมีหลายสหภาพแรงงาน ซึ่งเป็นการแข่งขันกันโดยไม่จำเป็นแทนที่จะมีเพียงสหภาพแรงงานเดียว และมีสหภาพแรงงานจำนวนมากที่ไปทำงานร่วมกับพรรคการเมือง ซึ่งมีความหลากหลายมีตัวเลือกจำนวนมาก ในส่วนของสหภาพแรงงานมีทั้งปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอก มีความพยายามที่จะเพิ่มสมาชิก และมีการเข้าไปทำงานร่วมกับแบร์นต่างๆ และมีความพยายามที่จะเข้าไปคุยกับพรรคการเมือง เพื่อให้การสนับสนุนแต่ต้องระวังการที่จะนำสหภาพแรงงานไปเป็นเครื่องมือ ปัญหาประเทศกัมพูชายังมีสมาชิกสหภาพแรงงานน้อยอยู่ และยังไม่ได้ผลักดันให้เป็นประชาธิปไตยแบบเต็มที่

ดร.เซอญ่า จันดรา นักกิจกรรมแรงงาน และนักวิชาการแรงงาน และนักการเมือง อินโดนีเซียกล่าวว่า  การรณรงค์ของสหภาพแรงานในอินโดนีเซียคือการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง ชนชั้นแรงงานพยายามที่จะเข้าไปทำงานการเมือง มีความพยายามที่จะเข้าไปสมัครรับเลือกตั้งในหลายพรรคการเมืองโดยเข้าไปสมัครเป็นสภานิติบัญญัติปี2552 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งแบบส่วนตัว สหภาพแรงงานเข้าไปมีส่วนร่วมทางอ้อมนับเป็นเรื่องใหม่ในการเลือกตั้งปี 2557

การเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ฝ่ายแรงงานได้รับการเลือกตั้งจำนวน 65 ทีนั่งในการเมืองระดับท้องถิ่น แต่ไม่ได้เข้าไปนั่งในสภาฯ โดยได้ผู้ที่ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้นำแรงงานที่ขับGrab ได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) ในสภาฯ แม้ว่า แรงงานจะได้รับเลือกตั้งระดับท้องถิ่น แต่ด้วยระบบของอินโดนีเซีย ไม่สามารถที่จะเข้าไปนั่งในสภาฯได้ สถานการณ์แรงงาน คือมีกำลังแรงงาน 100 ล้านคน จาก 46 ล้านคนที่เป็นแรงงานมีสมาชิกสหภาพแรงงาน แต่ว่าจำนวนสหภาพแรงงานเพิ่มขึ้น มีสหภาพแรงงานอุตสาหกรรมเหล็กโลหะมีสมาชิก 5 แสนคนซึ่งแรงงาน ปี 2010-2011 มีการรณรงค์เรื่องปฏิรูประบบประกันสังคม และสหภาพแรงงานมีการรณรงค์ แต่ว่าก็มีกลุ่มอื่นๆในสังคมมาร่วมรณรงค์ด้วย เพื่อการเป็นสวัสดิการทางสังคม และปี 2010 ได้ประกาศบังคับใช้ด้านประกันสังคม และมีสำนักงานในการดูแลการมีระบบประกันสังคมก็ทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์กันทุกคนตั้งแต่เกิดจนตาย กฎหมายฉบับนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งด้วยว่าเป็นการผลักดันจากกสหภาพแรงงานโลหะและพันธมิตร ทำให้ได้รางวัลย์ยกย่องจากต่างประเทศ ในการผลักดันให้เกิดระบบสวัสดิการ แต่ว่าโชคร้ายเนื่องจากการทำงานร่วมกันหลายสหภาพแรงงาน แต่ว่า รางวัลย์ได้เพียงสหภาพเดียวจึงทำให้เกิดความแตกแยก

การต่อสู้อีกครั้งของผู้ใช้แรงงานมีคนเข้าร่วมราว 1 ล้านคน เป็นการนัดหยุดงานใหญ่ปี 2012 ที่ จากาต้า คนที่มาเป็นผู้ว่า และมาเป็นประธานาธิบดีตอนนี้คือคุณโจโค วิโดโด (โจดี้) ซึ่งสหภาพแรงานได้สนับสนุน และได้มีการยื่นข้อเสนอให้ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำสำหรับผู้ที่เริ่มเข้าทำงาน ซึ่งพอยังชีพคนหนึ่งคนเท่านั้น ทำให้สหภาพแรงงานต่างๆเข้าใจว่าเราทำงานสนับสนุนผู้นำแล้วก็ได้เข้ามาเป็นประธานาธิบดี ซึ่งทำให้ผู้นำแรงงานเห็นว่า ควรมีการเข้าไปเป็นสมาชิกสภาเพื่อที่จะมีการเข้าไปผลักดันนโยบายแรงงาน ซึ่งก็มีการลงสมัครในหลายพรรคการเมือง และมีการอบรม และให้ความรู้กับแรงงานเพื่อให้เขาเลือกตัวแทนที่เป็นแรงงาน ไม่ใช่เลือกใครก็ได้ด้วยการเปลี่ยนวิธีคิด และมีการติดตามผลด้วยหน่วยงานที่เป็นพรรคการเมืองเพื่อไม่ให้คะแนนเสียงที่แรงงานเลือกไปไม่สูญเปล่า และมีการใช้เทคโนโลยีเพื่อการติดตามผลโพล เพื่อให้มีการติดตามการเลือกตั้ง และการที่ทำกิจกรรมแบบนี้ก็ทำให้มีการรณรงค์แบบรถโมบายติดลำโพงมากๆในการรณรงค์หาเสียงในชุมชน เพื่อบอกให้รู้ว่า มีผู้แทนแรงงานส่งคนลงสมัคร และให้เขารู้จักสหภาพแรงงานว่าคืออะไร พร้อมทั้งมีการต่อต้านการซื้อเสียงด้วย มีการรณรงค์ปี 2014

อีกไม่กี่เดือนก็มีการเลือกตั้งประธานาธิบดี ซึ่งมีคนลงสมัคร 2 คน ซึ่งผู้ใช้แรงงานต้องเลือกว่าจะสนับสนุนใครทำให้สหภาพแรงงานและสังคมแตกแยกกันอีกครั้ง โดยคนที่ลงสมัครเป็นซูฮาโต และอีกคนเป็นคนทำงานขายเครื่องเสียง และในเขตนั้นเลือกเขาเป็นผู้นำท้องถิ่น และได้เป็นผู้ว่าจากาต้า ซึ่งเป็นผู้นำที่ไม่ได้เป็นทหาร เป็นพลเรือนธรรมดาได้คะแนนเสียงถึง 90 เปอร์เซ็นต์ แต่ปี 2014 การเลือกตั้งได้คะแนนเพียง 50 เปอร์เซ็นต์ ทำให้เขาแพ้ เพราะว่าหากคะแนนเสียงเกินเล็กน้อยก็เป็นปัญหามาก ซึ่งนายพลทหารทั้งหลายได้ประท้วง โดยได้รับการสนับสนุนจากสหภาพแรงงานโลหะ ไปล้อมหน่วยเลือกตั้ง ทำให้เกิดภาพที่ไม่น่าภิรมย์ โดยทางสหภาพแรงงานอาหารมาเขียนบทความต่อว่า การเลือกตั้งยังไม่จบ ซึ่งสหภาพแรงงานต้องลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อให้เกิดความเป็นประชาธิปไตย เพราะว่าทหารจะเข้ามามีอิทธิพลทางการเมือง

หากให้ลูกจ้างหรือผู้ใช้แรงงานเลือกว่า เงินกับประชาธิปไตยนั้น คิดว่าเขาต้องเลือกเงินมากกว่าประชาธิปไตย ซึ่งการต่อสู้นั้นเรื่องราวในอินโดนีเซียกลายเป็นการเคลื่อนไหวของกลุ่มศาสนา เพื่อที่จะให้ได้รับการเลือกตั้ง หลังจากอาฮกถูกจำคุกกรณีหมิ่นศาสนาไปแล้ว เนื่องจากมีคนมองว่าเขาไม่ได้ทำผิด และส่งดอกไม้ไปที่ผู้ว่าจากาต้า กลายเป็นปัญหาที่ปลุกกระแสของการใช้ศาสนา ใช้เชื้อชาติมาเคลื่อนไหว เพราะอาฮกเป็นคนจีน

การเคลื่อนไหวของแรงงานในอินโดนีเซีย สหภาพแรงงานเกี่ยวกับการเมือง มีการเคลื่อนไหวเรื่องประกันสังคม การเรียกร้องเรื่องค่าจ้าง เกิดการชุมนุมใหญ่ปี 2012 ด้วยการเป็นเอกภาพรักษาไว้ไม่ได้ เมื่อมีการลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.)ของผู้นำแรงงานในหลายพรรค และยังมาตอกย้ำอีกเมื่อมีการเลือกตั้งประธานาธิบดี ที่มีคนลงสมัครถึง 2 คน ซึ่งสร้างความแตกแยกเพิ่มมากขึ้นในขบวนการแรงงาน กว่าจะมีอำนาจก็ต่อสู้ แต่พอมีอำนาจกลายเป็นว่า แรงงานไม่พร้อม ซึ่งคำอธิบายที่ง่ายๆว่า ว่าทำไมสหภาพแรงงานทำสำเร็จ แต่ด้วยสถานการณ์ เปลี่ยน เวลาเปลี่ยนบริบทขึ้นอยู่กับเวลา หากโลกเปลี่ยนเราไม่เปลี่ยนอะไรจะเกิด ซึ่งยุทธศาสตร์ที่ของแรงงานในอินโดนีเซียจะใช้ คือความท้าทายจะทำอย่างไรให้ได้ประโยชน์สูงสุด หากแยกแรงงานออกมาจากพรรคการเมืองการที่จะได้ทรัพยากรมา การทำงานร่วมกับพรรคการเมืองแรงานต้องแต่งงานกับสังคมก่อน เมื่อสหภาพขึ้นไปมีอำนาจก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะสร้างพลังอำนาจได้ การที่ได้อำนาจทางการเมืองมากทำให้ทรัพยากรทางสังคมอ่อนน้อยลง เพราะเมื่อเป็นสส.เราก็ถอยห่างจากเขา เพราะเป็นการทิ้งห่างจากเขาโดดเดียวเขาไม่ให้ได้ข้อมูลจากเขา

นายสุเทพ อูอ้น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.)พรรคอนาคตใหม่ อดีตเลขาธิการประธานสภาองค์การลูกจ้างแรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทยแลกเปลี่ยนว่า จากการที่ทำงานสหภาพแรงงานมา 20 ปี มีการก่อตั้งสมาพันธ์แรงงานอีซูซุ และมีการตั้งสภาองค์การลูกจ้างแรงงานยานยนต์ มาครบ 11 ปี และการที่ภาครัฐได้เขียนกรอบเรื่องการไม่ให้สหภาพแรงงานยุ่งเกี่ยวกับการเมือง ซึ่งกว่าจะมีการแก้ได้ในเรื่องกฎหมายก็ใช้เวลา แต่ว่าวันนี้เองทำให้เราได้เข้าไปทำงานการเมือง เพราะแรงงานนั้นเกี่ยวกับการเมืองอยู่แล้ว เดิมการทำงานของขบวนการแรงงานเพียงแต่การสนับสนุน ช่วยหาเสียงให้พรรคการเมืองได้รับการเลือกตั้งแต่เขาก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับแรงงาน จากการที่เข้ามารวมกันเป็นสมัชชาแรงงาน เพื่อที่จะส่งผู้นำแรงงานเข้าไปสู่สภาฯ ซึ่งการเข้าร่วมกับพรรคอนาคตใหม่ มีการแบ่งกลุ่มเป็นปีกต่างๆ 3 ปีก โดยแรงงานเป็นหนึ่งปีก เรียกว่าปีกแรงงาน และพรรคอนาคตใหม่เข้ามาพูดคุยในสภาฯเพื่อให้เข้าร่วมกับปีกแรงงานเพื่อขับเคลื่อนโดยให้มีการสร้างทีมงาน มีการจัดตั้งสมัครสมาชิกพรรคอนาคตใหม่ แรงงานมี 1ใน4 ประมาณ 1 หมื่นคน และใช้การโหวตเสียงเลือกตัวแทนในการเข้าไปลงบัญชีรายชื่อเดินเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งปีกแรงงานติดไป 3 คน ในสัดส่วนของบัญชีรายชื่อ บทบาทของปีกแงงานทำหน้าที่ลงพื้นที่หาเสียงช่วยสส.พื้นที่ และมีการหาเสียงผ่านระบบออนไลน์ มีทีมทำสื่อ มีการทำคลิปวีดิโอสัมภาษณ์ 3-5นาที ทำทุกสัปดาห์ เพื่อให้คนใช้สิทธิได้รับข้อมูล ด้วยแรงงานส่วนใหญ่มาทำงานในที่ต่างๆหลากหลายพื้นที่ก็มีการรณรงค์ให้ออกไปใช้สิทธิในการใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้า และทำให้คนออกมาเลือกตั้งจำนวนมาก ปีกแรงงานตอนนี้มีผู้แทนในการเข้าไปเป็นสส.นั้นในอุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมยานยนต์แล้ว ยังขาดอีกหลายส่วนในการเข้ามาในปีกแรงงานอย่างแรงงานนอกระบบยังไม่มี

นโยบายแรงงานนั้นทางพรรคให้ปีกแรงงานเขียนเอง ที่ต้องการคือให้รับรองอนุสัญญาILO ฉบับที่ 87 และ98 หากเป็นรัฐบาล และต้องการที่จะจัดทำประมวลกฎหมายแรงงาน แต่พรรคไม่ได้มีนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ แต่เสนอให้มีการปรับขึ้นค่าจ้างทุกปี ไม่ใช่เพียงค่าจ้างขั้นต่ำ

นายไพฑรูย์ บางหรง  ผู้นำแรงงานภาคตะวันออก ผู้สมัครสมาชิกสภาผุ้แทนราษฎร(สส.)พรรคสังคมประชาธิปไตยไทย กล่าวว่า ได้ลงสมัครในนามพรรคสังคมประชาธิปไตยไทย ซึ่งพรรคดังกล่าวมีความร่วมมือกันกับหลากหลายกลุ่มในการพูดคุยกัน และสรุปว่าเราควรมีพรรคการเมืองเพื่อส่งผู้แทน ลงสมัครสส. เพื่อนำเสนอนโยบายของแรงงาน ซึ่งพรรคนี้กรรมการบริหารพรรคร้อยละ 90 ที่เป็นผู้ใช้แรงงาน และได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) การที่นักแรงงานอย่างเรามาทำงานการเมืองต้องเป็นอิสระแต่ไม่ไร้ราก การเดินไปข้างหน้าต้องมีผู้ตาม ยุทธศาสตร์ของพรรค คือ 20 ปีต้องตั้งรัฐบาลให้ได้ หากการเลือกตั้งเป็นรัฐธรรมนูญแบบเก่าเราคงได้ผู้แทนของแรงงานในพรรคเข้าสู่สภาฯ แต่ว่าเนื่องจากเป็นรัฐธรรมนูญใหม่ทำให้แรงงานที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดต่างๆไม่สามารถที่จะเลือกพรรคเราได้ ซึ่งเราเองก็ดีใจที่มีสส.แรงงานได้เข้าสู่สภาฯ ซึ่งตอนนี้หัวหน้าพรรคฯเป็นคุณแจ่มศรี สุกโชติรัตน์ อดีตประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทย

การที่เรามีสส.แรงงานเข้าไปเราก็กลัวเหมือนกันกับสิ่งที่อยู่ข้างหน้า ทั้งเงินทองที่ยั่วใจอยู่ข้างหน้าทั้งอำนาจลาบยศสรรเสริญมากมาย ที่วัดความเข้มแข็งของคนเมื่อมีอำนาจ พรรคของแรงงานต้องไม่สนับสนุนเผด็จการแต่ก็ไม่อยู่กับคนโกงที่เอาเปรียบเราเช่นกัน การเป็นประชาธิปไตยมากไปทำให้ การต่อสู้ทางการเมืองของชนชั้นล่างมีการต่อสู้แบบถูกคุกคามการถูกอุ้มหายก็มีมาก และการเข้าไปของผู้นำแรงงานทางการเมือง ไม่ว่าจะไปด้วยการสนับสนุนจากพรรคแรงงาน หรือพรรคอื่นๆ แต่ว่าต้องรู้ว่าเสียงที่เลือกคือผู้ใช้แรงงานพี่น้องเราต้องเคารพทุกคะแนนเสียงนั้น เพื่อให้เรารักษาสัญญาพี่น้องแรงงานของเราด้วย

นายนิติรัตน์ ทรัพย์สมบูรณ์ จากพรรคสามัญชน กล่าวว่า พรรคสามัญชนนั้นมาจากหลายกลุ่ม แต่ว่ายังไม่ได้รวมกันแบบพรรคมหาชน ซึ่งพรรคฯได้มีฐานคิด 2 ฐาน คือภาคประชาสังคม เป็นการยึดโยงหลายฝ่ายเข้ามารวมกัน ซึ่งคิดเรื่องขบวนด้วย เนื่องจากความล้มเหลวของระบบรัฐสภาที่มีการอ้างว่าเป็นประชาธิปไตยกับอีกกลุ่มที่อ้างว่าเป็นคนดี เมื่อดูสถานการณ์รวมๆมุ่งสู่เสรีนิยมใหม่ที่เห็นแนวสนับสนุนนายกปัจจุบัน มีแนวแบบสังคมประชาธิปไตย และมีแนวที่ประชาชนมีส่วนร่วม และมีอีกส่วนที่พูดถึงรัฐสวัสดิการ จึงมีแนวการออกแบบพรรคด้วยมองเห็นปัญหาทางสังคมของภาคประชาชน จึงเป็นลักษณะพรรคเคลื่อนไหว และเป็นพรรคสังคม และเป็นพรรคที่รวมของภาคประชาชนที่เป็นคนจน เราส่ง 16 เขต หากส่งครบทุกเขตก็ต้องมีเงิน ซึ่งภาคประชาสังคมยังมีความหลากหลายอยู่ เขายังสู้เรื่องทรัพยากร ดิน น้ำ ป่าไม้ โดยมีการขับเคลื่อนเรื่องรัฐสวัสดิการ และปัญหาของเราเองก็คือยังอ่อนเรื่องขบวนการแรงงานทางสังคม ขบวนการแรงงานยังคงอยู่ในรั่วโรงงาน ยังไม่ได้มีความพยายามที่จะเข้าร่วมกับการขับเคลื่อนกับภาคประชาสังคมที่แรงงานควรพูดเรื่องของเพื่อนด้วย อย่างแรงงานนอกระบบก็ไม่พูดถึงกัน และแรงงานรัฐวิสาหกิจเองก็มีช่องว่างที่ห่างกันเพราะกฎหมายคนละฉบับ อย่างคำพูดว่าแรงงานทั้งผ่องพี่น้องกันยังไม่เป็นจริง

ดร.พงศ์ฐิติ พงศ์ศิลามณี กล่าวว่า  หากเทียบขบวนการแรงงานเอเชียกับยุโรปนั้น ในยุโรปเขาตั้งพรรคการเมืองเพื่อต่อสู้เพื่อแรงงานได้ และสแกนดิเนเวียที่มีการเรียกร้องนำไปสู่รัฐสวัสดิการได้ แต่ในประเทศในแถบเอเชียนั้นเพิ่งมีการทำงานจัดตั้ง และภาพที่มีการขับเคลื่อนในประเทศไทย ที่มีภาพของนักศึกษา แรงงาน และชาวนานั้นเป็นภาพที่ยิ่งใหญ่ในการต่อสู้แต่ว่าไม่มีการต่อยอดเพื่อให้มีความเข้มแข็งสู่ขบวนการทางการเมืองๆได้ และภาพของขบวนแรงงานที่แยกกันอย่างรัฐวิสาหกิจกับเอกชน เป็นประเด็นที่แยกกันออกไปอีก และการที่พูดถึงเรื่องการเมือง หรือตั้งพรรคการเมืองของแรงงานจึงเป็นกลุ่มเล็กๆที่คุยกับ และการตั้งพรรคการเมืองของแรงงาน เพื่อนำนโยบายแรงงานไปขับเคลื่อน กับการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของพรรคการเมืองที่เป็นแม่เหล็ก และได้รับเลือกตั้งเข้าสู่สภาได้เพื่อนำนโยบายด้านแรงงานสู่รัฐสภา ซึ่งสองโมเดลนี้ก็ยังไม่เห็น หรือคิดอย่างไรที่จะไปถึงเป้าประสงค์ของผู้ใช้แรงงาน และแรงงานเองยังคงนำวลีนี้วลีแรงงานต้องไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองมาพูดกันเป็นการตอกย้ำกันเรื่อย

นายวิชัย นราไพบูลย์ ผู้จัดการพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย กล่าวว่า การที่กัมพูชาเองก็มีความพยายามในการที่จะขยายฐานจัดตั้ง และการทำงาน เกาหลีมีความพยายามเช่นกัน แต่ด้วยประเทศไทยมาจากระบบอุปถัมภ์แล้วมาเป็นสหภาพแรงงาน ซึ่งการที่จะหาคนเข้ามาเป็นสมาชิกนั้นก็ยาก เพราะการตั้งสหภาพแรงงานไม่ได้มาจากอุดมการณ์ที่ต้องการต่อสู้ แต่ว่าทหารตั้งสหภาพแรงงานมากจากการที่ถูกกระทำแล้ว ต่อสู้พอได้รับสิทธิตามที่เรียกร้องแล้วก็ถือประสบความสำเร็จไม่เรียกร้องแล้วหากนายจ้างจัดให้ บทเรียนการต่อสู้ทางการเมืองของแรงงานที่มีความพยายามที่จะทั้งเสนอตนเองเข้าสู่เวทีการเมือง เมื่อที่จะผลักดันให้ได้รับการเลือกตั้ง ซึ่งมีทั้งแนวคิดการจัดตั้งทางความคิดก่อนเข้าสู่เวทีการลงแข่งทางการเมือง ซึ่งแม้ไม่ได้ง่ายแต่ก็มีความพยายามอย่างอินโดนีเซีย หากนำบทเรียนมาทำงานจัดตั้งก็จะเห็นทิศทางอย่างแรงงานนอกระบบต้องการที่จะต่อสู้ และอยากเรียนรู้การต่อสู้เพื่อร่วมกันสร้างความเข้มแข็งของขบวนการแรงงานที่เข้มแข็ง จะทำอย่างไรให้เห็นทิศทางเดียวกันด้วยความต้องการเฉพาะหน้าของพี่น้องแรงงาน

ในวันสุดท้ายได้มีการระดมความคิดเห็นกลุ่มย่อย เรื่อง ความท้าทายที่สำคัญของไทยและแนวทางการทำงาน การจัดตั้งและสร้างเครือข่าย และการรณรงค์นโยบายและความสัมพันธ์กับพรรคการเมืองด้วย

สรุปโดยวาสนา ลำดี