ศาลตัดสินให้การรถไฟเลิกจ้าง –เรียกค่าเสียหายจาก 7 แกนนำรถไฟ

สาวิทย์พร้อมสู้ต่อ ยื่นอุทธรณ์คดี เพื่อหาความเป็นธรรม ย้ำบริสุทธิ์ใจ ต้องการทำงานเพื่อประชาชน หลังศาลแรงงานพิจารณาคดี ให้อำนาจการรถไฟเลิกจ้าง และเรียกค่าเสียหายตนกับพวก 7 คน จำนวนเงิน 15 ล้านบาท

วานนี้ (28 ก.ค. 54) ที่ศาลแรงงานกลาง กรุงเทพมหานคร ได้มีการนัดอ่านคำพิพากษากรณีการรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นโจทย์ฟ้องคดีแกนนำสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) 7 คน

เครือข่ายแรงงานค้าน ยกร่างกฎหมายจัดตั้งสถาบันฯ

กลุ่มแรงงาน แครือข่ายภาคประชาชน ร่วมยื่นหนังสือค้าน การยกร่างกฎหมายจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน หลังกระทรวงแรงงานแอบตั้งคณะอนุกรรมการยกร่างฯ แถมนัดประชุมด่วน อ้างกลัวไม่ทันกำหนดเวลา ไม่ยอมรอรมว.แรงงานคนใหม่

วันที่ 29 กรกฎาคม 2554 (วันนี้) สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย สมัชชาคนจน คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย เครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน สภาองค์การลูกจ้างแรงงานสัมพันธ์แห่งประเทศไทย สภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย เครือแรงงานนอกระบบ เครือข่ายปฏิบัติการแรงงานข้ามชาติ ร่วมกับ กลุ่มสหภาพแรงงานในพื้นที่อุตสาหกรรม นักวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชนด้านแรงงาน รวมทั้งเครือข่ายภาคประชาชน ได้เข้ายื่นหนังสือต่อ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เรื่อง ขอคัดค้านการพิจารณายกร่างกฎหมายการจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน หลังจากที่ได้มีการเข้าพบเพื่อหารือ ไปเมื่อวันที่1 มิถุนายน 2554 ที่ผ่านมา

กลุ่มแรงงานรังสิตร่วมหนุนปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ

เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม ที่ผ่านมา เวลา 10.30 น. กลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิต และใกล้เคียง นำโดย นายเสน่ห์ ชุ่มฤทัย ประธานกลุ่มฯ และแกนนำ ได้เข้ายื่นหนังสือสนับสนุน เรื่องค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ 300 บาท ให้กับ นายจารุพงษ์ เรืองสุวรรณ เลขาธิการพรรคเพื่อไทย เพื่อแสดงจุดยืนเห็นด้วยกับนโยบายปรับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ทั่วประเทศพร้อมทั้งขอให้ควบคุมราคาสินค้าไม่ให้ขึ้น

ลูกจ้างยื่นหนุน นโยบายปรับขึ้นค่าจ้าง 300 บาท

ลูกจ้างเชื่อปรับค่าจ้างขึ้น 300 บาท ทำได้ อย่าฟังนายจ้างอ้างตลอดย้ายฐานการผลิตไปประเทศที่มีค่าจ้างต่ำ ยุส่งย้ายเลยแรงงานข้ามชาติจพได้ไม่ต้องหนีมาไทย
เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2554 สภาองค์การลูกจ้างสภาศูนย์กลางแรงงานแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยสมาชิกราว 50 คนได้เดินทางเข้ายื่นหนังสื่อต่อว่าที่นายกหญิง นางสาว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่พรรคเพื่อไทย เพื่อแสดงความสนับสนุนนโยบาย “การปรับเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวัน” พร้อมออกแถลงการณ์ฉบับที่ 2/2554 ดังนี้ ต้องยอมรับความจริงว่าในสังคมไทยนั้นมีความเหลื่อมล้ำในด้านรายได้ของบุคคลทุกสถานประกอบการของภาคเอกชนผู้ที่มีตำแหน่งทั้งหลายรายได้จะสูงผู้จัดการบางคนรายได้หลักล้านต่อเดือนมีแต่ผู้ใช้แรงงานจำนวนมากรายได้เพียงขั้นต่ำที่คณะกรรมการไตรภาคีได้กำหนดขึ้นมาเท่านั้นนายจ้างบางคนออกมาพูดว่า ค่าจ้างบ้านเราสูงกว่า พม่า,ลาว,เขมร และเวียดนาม สภาฯไม่ขอเถียง หากค่าจ้างประเทศเหล่านี้สูงกว่าบ้านเรา เราคงไม่มีคนงานต่างด้าวมากมายขนาดนี้