แรงงานประมง1,200คน เรียกร้องการบังคับใช้กฎหมายให้สอดคล้องอนุสัญญาILO

เครือข่ายสิทธิแรงงานประมงสหพันธ์แรงงานขนส่งระหว่างประเทศเรียกร้องให้เกิดการบังคับใช้อนุสัญญาILO ฉบับ 188

แรงงานประมงข้ามชาติมากกว่า 1200 คน ได้ลงนามในข้อเรียกร้องให้มีการดำเนินการและบังคับใช้กฏหมายเพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างเทศ (ILO) ฉบับที่ 188 (C188) อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งประเทศไทยได้ให้สัตยาบันรับอนุสัญญาฉบับนี้เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ.2562

แกนนำแรงงานประมงจากเครือข่ายสิทธิแรงงานประมง (ITF-FRN) ได้ยื่นข้อเรียกร้องนี้ต่อปลัดกระทรวงแรงงานในการประชุมคณะกรรมการการกำกับติดตามโครงการสิทธิจากเรือสู่ฝั่งของ ILO ในวันนี้ (22 พฤศจิกายน 2562)

ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันรับอนุสัญญา ILO C188 ว่าด้วยการทำงานภาคประมง เมื่อตนปีที่ผ่านมา เพื่อแสดงให้นานาชาติได้เห็นถึงความตั้งใจในการแก้ปัญหาการเอารัดเอาเปรียบและค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมง และเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการแก้ปัญหาการทำประมงที่ผิดกฏหมาย (IUU)

จอห์นนี่ ฮานเซน ประธานสาขาประมง สหพันธ์แรงงานขนส่งระหว่างประเทศ ได้ร้องถามถึงความมุ่งมั่นในการจำกัดการแสวงหาผลประโยชน์จากผู้ใช้แรงงานในอุตสาหกรรมประมง “เครือข่ายสิทธิแรงงานประมง (FRN) ยังมีการพบปัญหาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น แรงงานบังคับ แรงงานขัดหนี้ ค่าธรรมเนียมเอกสารที่สูง แรงงานประมงที่ได้รับค่าจ้างที่น้อยกว่าค่าแรงขั้นต่ำ เรือที่ยังไม่มีน้ำสะอาดและเสบียงอาหารเพียงพอ และสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย”

ฮานเซนกล่าวว่า “รัฐบาลไทยได้ผ่านกฏหมายเพื่อใช้บังคับการกระทำผิดในกรณที่กล่าวถึงข้างต้น แต่กระนั้นการนำไปปฏบัติจริงยังคงไม่มีประสิทธภาพ สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าประเทศไทยยังต้องมีแนวทางปฏิบัติอีกหลายอย่างเพื่อการดำเนินการและบังคับใช้นโยบายอนุสัญญา ฉบับที่ 188 อย่างมีประสิทธิภาพ แรงงานประมงยังคงถูกแสวงหาผลประโยชน์และละเมิดแรงงาน ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่สามารถยอมรับได้”

แม้จะมีความพยายามของรัฐบาลไทยในการออกข้อบังคับให้มีการจ่ายเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ นายจ้างจำนวนมากยังคงโอนและถอนเงินค่าจ้างด้วยตัวเองและยังคงจ่ายเงินให้แรงงานประมงเป็นเงินสด จากนั้นพวกเขาใช้ใบแจ้งยอดการโอนเงินเป็นหลักฐานการจ่ายเงินเพื่อหลีกเลี่ยงการทำผิดข้อบังคับอย่างได้ผล

ฮานเซนกล่าวอีกว่า “แม้ว่าแรงงานข้ามชาติยังไม่มีสิทธิตามกฎหมายในการจัดตั้งสหภาพแรงงานในประเทศไทยแรงงานประมงได้ลุกขึ้นร่วมกันเพื่อปกป้องสิทธิของพวกเขา และขจัดสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัยโดยการจัดตั้งเครือข่ายสิทธิแรงงานประมง(FRN) และสหพันธ์แรงงานขนส่งระหว่างประเทศ (ITF) ภูมิใจที่ได้ส่วนหนึ่งในการต่อสู้เพื่อความยุติธรรมสำหรับแรงงานประมงทุกคน”

 

ข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่

คณากร กิติสาธร, เครือข่ายสิทธิแรงงานประมง | frncampaigner.itf@gmail.com | +66 83 171 6697