สถาบันแรงงาน และเศรษฐกิจ ยื่น 4 ข้อเสนอ เยียวยาผู้ประกันตนมาตรา 39 และ40

สถาบันแรงงานและเศรษฐกิจที่เป็นธรรม ได้ยื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน  พร้อมสำเนาส่งถึง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง    เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม   และคณะกรรมการบอร์ดประกันสังคม  ให้ยกระดับมาตรการดูแลเยียวยาผู้ประกันตนมาตรา 39 และมาตรา 40  และแรงงานอิสระกลุ่มอื่นที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 โดยมีข้อเสนอ 4 ข้อ

วันที่ 27 มีนาคม 2563  สถาบันแรงงานและเศรษฐกิจที่เป็นธรรม (Just Economy and Labor Institute) ได้ยื่นหนังสือ ถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน  และขอเข้าพบคณะกรรมการประกันสังคม เพื่อ    ยกระดับมาตรการดูแลเยียวยาผู้ประกันตนมาตรา 39 และมาตรา 40    และแรงงานอิสระกลุ่มอื่นที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 โดยเนื้อหามีดังนี้

ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติ เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2563 เห็นชอบมาตรการช่วยเหลือผู้ได้รับ ผลกระทบจากโควิด-19 ระยะที่ 2 ในกลุ่มแรงงานลูกจ้าง ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระ ที่ไม่ได้อยู่ในระบบ ประกันสังคม โดยก าหนดให้รับเงินช่วยเหลือเดือนละ 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน (เมษายน-มิถุนายน 2563) รวมเป็นเงินทั้งหมด 15,000 บาท โดยเบิกจ่ายงบประมาณจากกระทรวงการคลัง และกระทรวงการคลัง ได้กำหนดคุณสมบัติของผู้ที่มีสิทธิได้รับเงินเยียวยาดังกล่าวเอาไว้หลายประการ อาทิ

1)    เป็นผู้ประกันตน ในมาตรา 39 และมาตรา 40,

2)   ผู้ประกันตนในมาตรา 33 ที่ส่งเงินสมทบยังไม่ครบ 6 เดือน ซึ่งยังไม่ได้รับ สิทธิ์กรณีว่างงาน,

3)   ประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม เช่น แม่บ้านทำความสะอาดตามบ้าน เป็น ต้น นอกจากนี้ ครม. ได้กำหนดขั้นตอนของการรับเงินช่วยเหลือ คือ ให้ลงทะเบียนผ่านช่องทางเว็บไซต์  www.เราไม่ทิ้งกัน.com  หรือผ่านสาขาของธนาคารรัฐ 3 แห่งเป็นหลัก นั้น

สถาบันแรงงานและเศรษฐกิจที่เป็นธรรมขอชื่นชมต่อหลักการของมาตรการชุดดังกล่าวที่มองเห็น ความสำคัญกับผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และมาตรา 40 กลุ่มที่ไม่ได้รับการคุ้มครองทางสังคมอย่างรอบด้าน อย่างไรก็ตาม สถาบันฯ เห็นว่ามาตรการดังกล่าว ยังมีข้อจำกัดที่อาจกลายเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงความ ช่วยเหลือเยียวยาสำหรับแรงงานบางกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มที่ต้องการความช่วยเหลือเยียวยาที่สุด เนื่องจากเหตุผล สำคัญคือ การกำหนดเป้าหมายที่ไม่เพียงพอและเงื่อนไขของคุณสมบัติที่รัดกุมเกินไป

ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2563 ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และมาตรา 40 มีจำนวนถึง 1,653,714 คน และ 3,311,533 คน (ที่มา: สำนักเงินสมทบ สำนักงานประกันสังคม) ตามลำดับ แต่กระทรวงการคลังกำหนดเป้าหมาย ผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้รับการเยียวยาเพียง 3,000,000 คน ขณะที่การแพร่กระจายของโควิด 19 นั้นส่งผลกระทบ กับแรงงานทุกคนโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ แต่ส่งผลกระทบต่อแรงงานบางกลุ่มที่มีความเปราะบางเป็นพิเศษ เช่น แรงงานหญิงและแรงงานอิสระในภาคบริการ ที่มีความสัมพันธ์ของการจ้างงานแบบไม่เป็นทางการ และไม่มีรายได้ ประจำ เช่น แม่บ้านทำความสะอาดตามบ้าน อาชีพนวด รวมถึงแรงงานกลุ่มใหม่ในภาคเศรษฐกิจแพลตฟอร์ม เช่น ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างและส่งอาหาร ที่ได้รับผลตอบแทนจากการท างานเป็นรายชิ้น แต่ต้องแบกรับความ เสี่ยงของธุรกิจร่วมกับผู้ประกอบการ นอกจากนี้ ยังมีแรงงานอิสระอีกจำนวนมากที่ไม่ได้เป็นผู้ประกันตนและไม่ได้ รับสิทธิประโยชน์จากมาตรการชุดนี้

ขณะที่แรงงานกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ต้องการความช่วยเหลือเยียวยามากที่สุดกลุ่มหนึ่ง แรงงานกลุ่มนี้อาจกลับ ไม่สามารถเข้าถึงการลงทะเบียนของรัฐบาลได้ตามก าหนดเวลา ยิ่งไปกว่านั้น เงื่อนไขของการลงทะเบียนเพื่อให้ เจ้าหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติเป็นกรณีไป (case by case basis) ไม่สามารถนำไปใช้ได้จริงในทางปฏิบัติ เพราะ คนงานกลุ่มนี้มักไม่มีเอกสารและหลักฐานแสดงการจ้างงานและรายได้ที่เป็นทางการ การกำหนดคุณสมบัติที่พึ่งพา การใช้วิจารณญาณของเจ้าหน้าที่ย่อมนำไปสู่ความล้าช้าของการช่วยเหลือเยียวยา และสร้างอุปสรรคในการเข้าถึง ส าหรับแรงงานกลุ่มดังกล่าว ที่ในเชิงโครงสร้างมีอำนาจต่อรองต่ า และมีความเปราะบางทางสังคมมากกว่ากลุ่มอื่น อยู่แล้ว

ดังนั้น สถาบันฯ ได้รวบรวมความเห็นของผู้ประกันตนมาตรา 39 และ 40 และองค์กรภาคประชาสังคม ด้านแรงงานที่เกี่ยวข้อง (ดังที่มีรายชื่อแนบท้ายจดหมายนี้) จัดทำเป็นข้อเสนอต่อนายกรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้

  1. เพื่ออำนวยให้เกิดความคล่องตัว รวดเร็วและทันต่อสถานการณ์มากยิ่งขึ้น เสนอให้ นายกรัฐมนตรีประสานกับรัฐมนตรีกระทรวงแรงงานและกระทรวงการคลังเพื่อน า ฐานข้อมูลจากสำนักงานประกันสังคมไปใช้ในการโอนเงินช่วยเหลือเข้าบัญชีให้แก่ ผู้ประกันตน มาตรา 39 และมาตรา 40 เพื่อให้สามารถเยียวยาแก่ผู้ประกันตนในระบบ ประกันสังคมได้อย่างครบถ้วนทุกคนโดยไม่ต้องลงทะเบียน อีกทั้งต้องไม่กำหนดขั้นตอน ใดๆ ที่อาจเพิ่มภาระให้กับผู้ประกันตนเพื่อเข้าถึงสิทธิที่พึงได้
  2. รัฐบาลขยายระยะเวลาของการเยียวยาช่วยเหลือออกเป็น 6 เดือน คือ เดือนเมษายนกันยายน 2563 เนื่องจากผลกระทบของโควิด-19 มีแนวโน้มที่จะส่งผลต่อเศรษฐกิจใน ระยะยาว และขอให้ปรับลดส่วนของเงินสมทบที่ผู้ประกันตนมาตรา 39 ต้องจ่ายลงเป็น 216 บาทต่อเดือน หรือแค่ส่วนของฝ่ายลูกจ้าง (เดิมผู้ประกันตนมาตรา 39 จ่ายเดือนละ 432 บาท เนื่องจากผู้ประกันตนไม่มีนายจ้าง จึงต้องแบกรับภาระจ่ายเงินให้ฝ่ายนายจ้าง 50 เปอร์เซ็นต์)
  3. ขยายขอบเขตมาตรการเยียวยาเพื่อให้ครอบคลุมถึงกลุ่มแรงงานข้ามชาติที่เป็น ผู้ประกันตน รวมถึงออกมาตรการเยียวยาแก่แรงงานกลุ่มอาชีพอิสระอีกจ านวนมากที่ไม่ เป็นผู้ประกันตน และจัดเตรียมมาตรการรองรับทางเศรษฐกิจในระยะยาวแก่แรงงานทุก กลุ่มโดยถ้วนหน้ากัน ในส่วนนี้ ทางสถาบันฯ จะพยายามรวบรวมข้อมูลความต้องการ และข้อเสนอจากแรงงานกลุ่มต่างๆ มาเพิ่มเติมให้กับรัฐบาลต่อไป
  4. ให้กระทรวงแรงงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบมิให้นายจ้างฉวยโอกาสใช้ สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 เป็นข้ออ้างในการละเมิดสิทธิแรงงาน เช่น เลิกจ้างพนักงาน หรือให้ลูกจ้างพักงาน 14 วันโดยไม่ได้รับค่าจ้าง และให้ลูกจ้างลาโดยใช้ สิทธิวันลาพักของตนเอง

ทั้งนี้ขอให้ท่านได้แจ้งผลการดำเนินการมาให้ผู้ประกันตนทราบต่อสาธารณชน หรือแจ้งให้ทราบผ่าน สถาบันแรงงานและเศรษฐกิจที่เป็นธรรม ทางอีเมล์  justeconomylabor@gmail.com หรือติดต่อโดยตรงกับ เจ้าหน้าที่สถาบันฯ คุณสุธิลา ลืนค า เบอร์โทร 081-012-7087 ผู้จัดการโครงการ หรือคุณชนฐิตา ไกรศรีกุล  082-392-5458 เจ้าหน้าที่วิจัย