ประชุมใหญ่พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย เลือกกรรมการชุดใหม่ ทวีป กาญจนวงศ์ นั่งประธานต่อ

คุมเข้มโควิด-19 ประชุมใหญ่มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ผู้เข้าร่วมต้องสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือด้วยเจลก่อนเข้าประชุม

ประชุมใหญ่มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย วันที่ 15 มีนาคม 2563 ณ ห้องประชุมศุภชัย ศรีสติ พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ผู้เข้าร่วมราว 45 คน โดยการประชุมครั้งนี้ได้มีการรายงานกิจกรรม การบริหารองค์กร และการเลือกคณะกรรมการบริหารชุดใหม่ ทั้งนี้เนื่องจากอยู่ในช่วงของไวรัสโควิด-19 ระบาด ผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่านจึงได้มีการสวมหน้ากากอนามัย และเจลล้างมือก่อนเข้าร่วมประชุมทุกท่านด้วย

นายทวีป กาญจนวงศ์ ประธานมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย กล่าวว่า การประชุมใหญ่มูลนิธิฯปีนี้ทุกคนที่เข้าร่วมต่างช่วยกันดูแลสังคม และสุขภาพของตนเองสวมใส่หน้ากากอนามัยเข้าร่วมประชุม และเจลล้างมือบริการเพื่อลดการแผ่เชื้อไวรัสโควิด-19ด้วย

พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยนั้นมีแนวคิดริเริ่มในการวางแผนเพื่อจัดตั้ง ตั้งแต่ปี 2534 และเปิดทำการให้บริการในวันที่ 17 ตุลาคม 2536 วัตถุประสงค์ เพื่อจัดแสดงเรื่องราว ประวัติความเป็นมา ชีวิตความเป็นอยู่ และการทำงานของผู้ใช้แรงงาน โดยนำเสนอผ่านนิทรรศการถาวรภายในพิพิธภัณฑ์ ที่ปัจจุบันมีห้องแสดงรวม 7 ห้อง ซึ่งเริ่มมาจากการร่วมมือของนักวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชน และผู้นำแรงงาน ซึ่งมุ่งมั่นพัฒนามาด้วยกันจนเกิดเป็นพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย วันนี้ นักวิชาการที่ร่วมกันมาถดถอยไปมากที่เคยรับปากจะช่วยกันก็หายไปมาก ทั้งผู้นำรุ่นเก่า และนักวิชาการ

ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย จะเห็นคนรุ่นใหม่ที่เป็นผู้นำแรงงานเข้ามาร่วมการประชุม และร่วมทำงานกิจกรรมต่างๆมากขึ้น ภายใต้ความวิกฤติของพิพิธภัณฑ์ฯ ด้านงบประมาณบริหารจัดการ ซึ่งตอนนี้ต้องพึ่งเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ฯเป็นหลักในการหางบประมาณมาบริหารองค์กร เพื่อให้อยู่รอดได้ แต่ว่าเมื่อมีคนรุ่นใหม่เข้ามาร่วมกัน วันนี้เป็นจำนวนมาก จึงเป็นความหวังในอานาคต และคิดว่า พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยของพวกเราจะคงฝ่าวิกฤติครั้งนี้ไปได้ด้วยความร่วมมือร่วมใจกันของทั้งผู้นำแรงงานรุ่นใหม่ๆ และนักวิชาการรุ่นใหม่ ร่วมกันกับคนร่วมสมัย เพื่อพัฒนาพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ให้เจริญรุ่งเรือง ทำหน้าที่ในการเสนอคุณค่าของผู้ใช้แรงงาน และพัฒนางานวิชาการ กิจกรรมต่างๆเพื่อการศึกษาด้านแรงงานต่อสังคมต่อไป

นายวิชัย นราไพบูลย์ ผู้จัดการพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ได้รายงานการดำเนินกิจกรรม ในส่วนของการบริการนำชม และการศึกษา มีทั้งส่วนของบริการนักท่องเที่ยว และการจัดการศึกษาบริการนักศึกษาถือว่า เป็นกลุ่มใหญ่ มากกว่าในส่วนของผู้ใช้แรงงาน และบุคคลทั่วไปนั้นยังคงน้อย ซึ่งตรงนี้อาจต้องมีการแยกตัวเลขของบุคลทั่วไป และผู้ใช้แรงงานออกจากกัน เพื่อให้เห็นตัวเลขชัดเจนมากขึ้น โดยรวมๆทั้งปีมีผู้ที่มาเยี่ยมชมจำนวน 731 คน ในปี 2562 น้อยกว่าปี 2561 ที่มี 768 คน แต่ในปี 2560 มีผู้เข้าเยี่ยมชมถึง 1,113 คนเลย

บทบาทการให้การศึกษา และการจัดนิทรรศการ ยังคงไปร่วมกิจกรรมในกลุ่มสหภาพ และองค์กรต่างๆที่เชิญมา บทบาทสื่อ ยังคงทำหน้าที่ในการเก็บประเด็นมารายงานกิจกรรมใน เว็บไซต์voicelabour.org และข่าวของเว็บไซต์ aromfoundation.org มีการจัดทำจดหมายข่าวแรงงานปริทัศน์ทุกเดือน และจดหมายข่าวแรงงานของสหภาพแรงงานต่างๆ และผลิตวิดีโอ การสื่อสารบทบาทพิพิธภัณฑ์ฯ ผ่านทางเว็บไซต์ thailabourmuseum.org ยังมีเฟสบุ๊ค (FB) พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย จดหมายข่าว อีกด้วย

 

ด้านงบประมาณยังคงเน้นการบริจาค และการทอดผ้าป่า โบว์ลิงค์ และงานวิ่งการกุศลเป็นการ และการดำเนินงานด้านการซ่อมบำรุงรักษา เพื่อดูแลสิ่งของจัดแสดงด้วย

เรื่องสถานที่ตั้ง ที่เกี่ยวเนื่องกับกรณีโครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน และการพัฒนาพื้นที่มักกะสันที่ทางการรถไฟแห่งประเทศไทยได้เซ็นสัญญากับทางCP ซึ่งก็มีการสำรวจในพื้นที่กันบ้างแล้ว แต่ยังไม่ได้มีความชัดเจนในส่วนของพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย โดยคาดว่า ปีนี้น่าจะมีความชัดเจนมากขึ้นในการพัฒนาของพื้นที่โดยทางCP คงเริ่มโครงการในส่วนของ 150 ไร่ก่อน ทางพิพิธภัณฑ์ฯได้ปรึกษากับทางสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟ บาง โดยมีการเสนอแนวคิดเรื่องพิพิธภัณฑ์คนงานรถไฟ ในพื้นที่ประวัติศาสตร์แห่งนี้ด้วย

จากนั้นได้มีการเลือกตั้งกรรมการชุดใหม่ และเลือกตั้งในตำแหน่งสำคัญ ซึ่งกรรมการชุดใหม่มีทั้งหมด 34 คน ได้เลือกประธาน รองประธาน เลขานุการ รองเลขานุการ เหรัญญิก และผู้ช่วยเหรัญญิก

  1. ตำแหน่งประธาน

นายทวีป กาญจนวงศ์

    2. ตำแหน่งรองประธาน5 คน ประกอบด้วย

  1. นางสุนี ไชยรส
  2. รศ.ดร.นภาพร อติวานิชยพงศ์
  3. นายศรีโพธิ์ วายุพักร์
  4. นายมานิตย์ พรหมการีย์กุล
  5. นายภูภาร สมาทา

    3. เลขานุการ

1. นายธนัสถา คำมาวงษ์

    4. ตำแหน่งรองเลขานุการ 4 คน ประกอบด้วย

  1. นายธีระวุฒิ เบญมาตย์
  2. นายอาลี นิมะ
  3. นายวัลลภ ชูจิตร์
  4. นายปิยะ พวงเพชร
  5. นายศรีน้ำ เพชรศรี

     5. ตำแหน่งเหรัญญิก

นางสาวสมหมาย สราญจิตร์

     6. ตำแหน่งผู้ช่วยเหรัญญิก

  1. นายวิเชียร เพชรสหาย
  2. นางสาวธลัฐวณัช ชาวดร

ทั้งนี้ในวันเดียวกันสหภาพแรงงานทอสเท็มไทยได้เดินทางมาร่วมประชุมพร้อมมอบเงินให้กับพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยจำนวน 6,000 บาทด้วย

รายงาน วาสนา ลำดี