เมื่อวันที่ 24 มี.ค. 55 มีการจัดสัมมนาเชิงปฎิบัติการเรื่อง จังหวัดฉะเชิงเทราและกลุ่มจังหวัดเข้าสู่ประชาคมอาเซียนปี 2558 ที่อาคารราชนครินทร์ ชั้น 5 มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ อ.เมือง จ. ฉะเชิงเทรา โดยมีผู้ให้ความสนใจเป็นจำนวนมากทั้ง ข้าราชการครู ทหาร ตำรวจ พ่อค้า คนขับรถ กลุ่มแรงงาน ภาคเกษตรกรรม ชุมชมในเขตพื้นที่
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นก้าวไปสู่ประชาคมอาเซียนเพราะสาเหตุคือเป็นเขตที่มีการลงทุนของนักลงทุนข้ามชาติ มีโรงงานอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมากมี นิคมอุตสาหกรรม หลายแห่งที่อยู่ในเขตพื้นที่นี้ และยังเป็นเขตการคมนาคมขนส่งทางบก ทางอากาศ และทางเรือเพราะมีแม่น้ำบางปะกงที่ใช้เป็นขนส่งทางน้ำ และยังมีบริษัทฯที่เป็นยักใหญ่ระดับโลก บริษัทฯโตโยต้า บ้านโพธิ์อยู่ในเขตพื้นที่ ซึ่งเห็นแล้วว่าเหมาะสมที่จะทำเปลี่ยนเป็นอาเซียนได้อย่างแท้จริง แต่จะต้องมีการพัฒนาเรื่ององค์ความรู้ต่างๆและเส้นทางการขนส่งเพื่อให้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น และมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ในวันนี้มีการสัมมนาเชิงปฏิบัติการขึ้นเพื่อเป็นแนวทางการนำทุกท่านไปสู่ประชาคมอาเซียนได้อย่างรวดเร็ว
นางธิตติมา ฉายแสง รองเลขานายกรัฐมนนตรี เป็นผู้ดำเนินการสัมมนากล่าวว่าการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนปี 2558 รัฐบาลชุดนี้พร้อมที่จะเดินหน้าเต็มที่และมีการอนุมัติงบประมาณในโครงการต่างๆอาธิเช่น การคมนาคม ต้องปรับเพิ่ม และขยายถนนอีกหลายสาย มีการสร้างรถไฟสายด่วนเพื่อเชื่อมโยงระหว่างประเทศ การขุดคลองเพื่อป้องกันน้ำท่วม การเพิ่มหลักสูตรการศึกษาด้านภาษา ฯลฯ
นายจารุพงษ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่าจังหวัดฉะเชิงเทราเป็นพื้นที่แผ่นดินทองซึ่งต้องทุ่มงบประมาณมาพัฒนาเช่นถนนสายหลัก 314 บางปะกง – ฉะเชิงเทรา และถนนอีกหลายสายไปสู่ภาตะวันออก ต้องปรับขยายเป็น 8 ช่องทางภายใน 3 ปี แล้วต้องมีการเวนคืนพื้นที่เป็นจำนวนมาก จะมีการพัฒนาการขนส่งทางน้ำจังหวัดฉะเชิงเทรามีแม่น้ำบางปะกงเป็นเส้นทางขนส่ง แต่ยังไม่มีท่าเรือที่เป็นของตัวจังหวัด มีการเพิ่มเส้นทางขนคนด้วยรถไฟเดินเร็ววิ่งผ่านจังหวัด ไปสู่ภาคตะวันออก และเชื่อมต่อ 3 ประเทศได้ การพัฒนาที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่งให้เกิดประสิทธิภาพ
นายสุรพล เศวตเศรนี ผู้ว่าการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กล่าวว่าการก้าวไปสู่ประชาคมอาเซียนนั้นเราสามารถนำนักท่องเที่ยวเข้าประเทศได้มากขึ้นและยังจะสามารถเผยแผ่ขนบธรรมเนียมประเพณีของไทยในให้คนต่างชาติได้รับรู้แต่มีสิ่งที่เป็นห่วงอยู่ว่าการพัฒนาทางด้านภาษาของไทยเราต้องปรับหลักสูตรเพิ่มเพราะเราต้องใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการสื่อสาร และจะต้องมีการแข่งขันของบริษัทฯนำเที่ยวมัคคุเทศ จะสามารถเข้ามาทำงานบ้านเราได้อย่างมากแล้วแรงงานจะเข้ามาทำงานได้อย่างถูกกฎหมาย ก็ยังเป็นกังวลอยู่ว่าการเข้ามาอยู่ร่วมกันแล้วระบบต่างที่จะสื่อให้เห็นชัดเช่นและจะสามารถปฏิบัติได้อย่างไร เช่นอาจจะมีกฏจราจร ป้ายต่างๆ ที่ต้องเปลี่ยนหรือเพิ่มภาษาอีก
นางสาวอรพินท์ เสริมประภาศิลป์ ที่ปรึกษาอุตสาหกรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา กล่าวว่าเมื่อเราก้าวสู่อาเซียนแล้วต้องเตรียมตัวอย่างไร การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนได้เข้าใจ ทุกภาคส่วนโดยต้องเริ่มพัฒนาผู้นำในแต่ละภาคส่วน ไปสู่กลุ่มชุมชน ต้องมีความเข้าใจจึงจะสามารถเดินหน้าตามไปได้
เรื่องของภาษาที่ต้องใช้เป็นสื่อการอย่างการเป็นสากล พูดถึงด้านแรงงงานมีความสามารถที่สูง skill แต่มีข้อด้อยเรื่องภาษา รวมไปถึงภาคบริการต่างๆ พ่อค้า ขับรถ ดังนั้นเราต้องเน้นเรื่องการพัฒนาด้านภาษาให้มากขึ้น
เรื่องค่าจ้างต้องมีการกำหนดค่าจ้างที่เป็นธรรมตอนนี้แรงงานได้ 300 บาทนายจ้างก็โวยว่าต้นทุนการผลิตสูงขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่ก็ไม่เคยพูดถึงแรงงานที่มีการทำระบบ CSR ในแต่ละที่ เมื่อเป็นประชาคมอาเซียนแรงงานต้องมีการกำนดด Skill ต้องมีการสอบวัดระดับที่กรมแรงงานจังหวัดและมีใบประกาศ และยังเป็นห่วงเรื่องการเคลื่อนย้ายแรงงานเข้าในประเทศเรื่องความปลอดภัยด้านชีวิต และทรัพย์สิน
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ กล่าวว่าประชาคมอาเซียนมีสมาชิกทั้งหมด 11 ประเทศโดยมีข้อได้เปรียบเสียเปรียบต่าง
กันออกไปแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มดังนี้
กลุ่มที่ 1 วัตถุดิบและแรงงานที่มีราคาต่ำ ประเทศลาว พม่า เวียดนาม
กลุ่มที่ 2 เทคโนโลยี ประเทศสิงค์โปร ไทย มาเลเซีย
กลุ่มที่ 3 ฐานด้านธุรกิจ ประเทศไทย เวียดนาม พม่า และมาเลเซีย
ประเทศไทยเราได้เปรียบทางด้านเกษตรกรรมและมีการย้ายฐานการผลิตเข้ามาในประเทศเป็นจำนวนมาก และยังมีคคุเทศ อีกมากที่มาทำธุรกิจในประเทศในตอนนี้ ดังนั้นเราต้องพัฒนาด้าน Logistics ให้มีรายได้ให้ประเทศเป็นจำนวนมาก
ช่วงบ่ายได้เปิดการเสวนา และเปิดโอกาศให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้เสนอความคิดเห็นโดยสรุปดังนี้
-ขอรับการสนับสนุน ครูและอาจารย์คนสอนภาษาอังกฤษให้แก่นักเรียนในจังหวัดฉะเชิงเทรา
-ขอให้สร้างทีมงานในการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับอาเซียน ให้แก่ชุมชนทุกแห่ง
– ห่วงสังคมวัยรุ่นยังไม่ตั้งใจเรียน ต้องหาทางปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของวัยรุ่นดังกล่าว เปรียบเทียบกับเด็กเวียดนามเรียนครึ่งวันทำงานครึ่งวัน ต้องช่วยกันแก้นิสัยลูกหลานของเรา ต้องเตรียมเด็กเพื่อสู้กับเพื่อนบ้าน
เรื่องม.ราชภัฏราชนครินทร์ มีภาคบังคับต้องเรียนภาษาที่ 2 อีก 3 วิชา อังกฤษ จีน กัมพูชา พม่า และภาษาอื่นๆ
-รู้ภาษาอังกฤษ
-สร้างมาตรฐานด้านการบริการสาธารณสุข ด้านการแพทย์
-การพัฒนาฝีมือแรงงานให้พียงพอต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรม
-มาตรฐานสินค้า OTOP SMEs ให้แห่งขันกับต่างประเทศได้
-รัฐจัดสรรงบประมาณให้เกษตรกร (ด้านปศุสัตว์) เพื่อยกระดับได้มาตรฐาน GAP
-การท่องเที่ยว การสร้างมคุเทศน้อย เด็กนักเรียน ตามแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัด
-ส่วนราชการที่รับผิดชอบงานด้านสังคมช่วยกันให้ดูแลเด็กในด้านพฤติกรรม ร่วมกับสถาบันการศึกษามายิ่งขึ้น
-การรักษา ใช้บัตรประชาชนใบเดียวรักษาได้ทุกโรค
-กำหนดอัตลักษณ์ของบัณฑิตของแต่ละสถาบัน
สร้าง Model ของจังหวัดฉะเชิงเทราในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน
นายอรรถพล พรมหา นักสื่อสารแรงงานจังหวัดฉะเชิงเทรา รายงาน