แรงงานเสนอศูนย์เลี้ยงเด็กต้องเพียงพอ เสนอรัฐปกป้องสิทธิการเป็นมารดา

ในงาน 100ปีสตรีสากล เมื่อวันที่ 7มีนาคม 2554ได้มีการจัดเสวนา  ศูนย์เลี้ยงเด็กคนทำงานสู่อนุสัญญา ไอ แอล โอ 183ณ ห้อง ประกอบ หุตะสิงห์ ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โดยคณะกรรมการจัดงาน 33 องค์กร ซึ่ง กลุ่มบูรณการสตรีและฝ่ายสตรีสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ โดยมีผู้เข้าร่วมราว 100 คน

คุณ PONG SUL AHN  ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านกิจกรรมแรงงาน ไอ แอล โอในนาม ไอ แอล โอ ขอระลึกถึงแรงงานสตรี ที่อุทิศแรงกาย แรงใจ เพื่อความเสมอภาคในสังคม สหภาพแรงงาน กลุ่มพลเรือน ที่ได้ร่วมการต่อสู้ เพื่อสิทธิความเท่าเทียม

องค์การแรงงานระหว่างประเทศ  ทำงานเกี่ยวกับมาตรฐานแรงงาน สิทธิต่างๆ ของแรงงาน อนุสัญญา 183 ว่าด้วยการปกป้องสิทธิการเป็นมารดาสาระสำคัญคือการปกป้องสตรีในการตั้งครรภ์ เพื่อคุ้มครองหลังการคลอดในการจ้างงาน เพื่อได้สิทธิมารดาอย่างเหมาะสม มารดาลาคลอดอย่างน้อย 14 สัปดาห์ เช่น บัลลาเทศ มารดามีสิทธ์ลาคลอดถึง 6 เดือน การลาเพื่อบิดา มารดา ไอ แอล โอ ก็มีนโยบายเหมือนกัน เพื่อความเหมะสม แต่ก็จะต้องแล้วแต่ละประเทศสมาชิก

สาระสำคัญ ไอ แอล โอ 183 การคุ้มครองกรณีการตั้งครรภ์

1โยกย้ายไห้ไปทำงานที่เบาขึ้น สุขภาพมารดาและเด็กสำคัญมาก

2อนุสัญญา ฉบับนี้อย่างน้อยสุด มารดาต้องได้รับการพักผ่อนอย่างน้อย 6 อาทิตย์

3 อัตราค่าจ้างของมารดา ควรได้รับตามความเหมาะสม เพื่อใช้การชีวิตอย่างปกติ

4 การไห้บุตรได้ดื่มนมมารดา

5 การไห้นมบุตร อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง (แล้วแต่โรงงานจะกำหนด เพื่อความเหมาะสม)

6ไม่ว่าจะเป็นประเทศที่พัฒนา ไม่พัฒนา จะต้องมีศูนย์เลี้ยงเด็ก

สิทธิแรงงานหญิง ไม่ได้รับการคุ้มครองเท่าที่ควร ศูนย์เลี้ยงเด็กเป็นส่วนหนึ่งที่จะต้องคุ้มครองสิทธิแรงงานสตรี ประเทศไทยมีบทบาทต่อสังคมโลกพอสมควร และต้องมีองค์กรทีดูแลสิทธิสตรีตามไปด้วย สตรีคือกลุ่มเสี่ยงการละเมิดทางเพศ เสี่ยงต่อการเลือกปฏิบัติ ความเท่าเทียมในสถานประกอบการ ชุมชน สังคม  ไอ แอล โอ พยายามผลักดันเพื่อความเท่าเทียมสิทธิสตรี สหภาพแรงงานทั่วโลกต้องรณณรงค์ความเท่าเทียมสิทธิสตรีตามโครงสร้างนี้

1 สนับสนุนการทำงานที่มีคุณค่าของสตรี

2 ความเสมอภาค เท่าเทียม ควรมีผู้นำหญิงเท่าผู้นำชาย

3ไห้รัฐสนับสนุน ไอ แอล โอ 183

4สหภาพแรงงานจำเป็นต้องมีสตรี สตรีมีความจำเป็นที่จะต้องมีสหภาพแรงงาน

5 สตรีจะเป็นกำลังหลัก ในการมีสหภาพแรงงาน

6สหภาพแรงงาน เป็นกำลังสำคัญในการกระตุ้นรัฐบาลไห้รับสัตยาบัน 183

นางสาวธนพร วิจันทร์ ประธานกลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี เล่าว่า ศูนย์เลี้ยงเด็กในสถานประกอบการยังไม่มีทั่วถึง  โดยปัจจุบันศูนย์เลี้ยงเด็กจะตั้งตามชุมชนท้องถิ่น อบต. เทศบาล เอาสามี ภรรยา หรือญาติสนิท มาดูแล เช้ามาไห้ดื่มนม บ่ายกลับบ้าน ไม่สอดคล้องกับเวลาทำงานของคนงาน ใช้ระบบยืดหยุ่นในการดูแล คนงานเอาลูกกลับต่างจังหวัดบ่อยครั้งเกิดอุบัติเหตุ ในระหว่างการเดินทาง  เพื่ออนาคตของชาติควรมีศูนย์เลี้ยงเด็กในสถานประกอบการ เป็นการสร้างสังคมครอบครัว  ถึงแม้มีศูนย์เลี้ยงเด็กเอกชน แต่ว่าค่าดูแลแพงมาก ปัญหาเด็กหญิงถูกข่มขืนมีข่าวเกือบทุกวัน ก็เพราะว่าพ่อแม่ไม่มีเวลาดูแลอย่างใกล้ชิด  บางสถานประกอบการบางที่ถึงมีศูนย์เลี้ยงเด็กแต่ไม่เหมาะสม เพราะใกล้สารเคมี เคยมีการยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลหลายครั้งแต่ไม่ได้รับแม่ได้ รัฐบาลไม่รับ ไอ แอล โอ 183 เพราะเป็นห่วงนายทุน เพราะลางานได้ทั้งพ่อและแม่กรณีคลอดบุตรอีกอย่างก็เพราะว่ารัฐบาลนายทุน สส.ในสภาฯส่วนมากมาจากนายทุน

นายมงคล ยางงาม กลุ่มสหภาพแรงงานอ้อมน้อย อ้อมใหญ่ กล่าว่า สิทธิของความเป็นแม่เริ่มตั้งแต่การตั้งครรภ์ เด็กคือทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญของการพัฒนาประเทศ ข้อจำกัดหลังคลอดสำหรับผู้หญิงเยอะมาก ผู้หญิงหลังคลอดมีบาดแผล ลุกนั่ง เดินลำบาก สิทธิตามกฎหมายเขาไห้หยุดงาน  3 เดือน แต่ลาไม่ถึงกำหนด เพราะห่วงเรื่องรายได้ (หมอว่าอันตราย  อาจทำไห้มดลูกเคลื่อนได้) ส่วนผู้ชายจะลางานมาดูแลภรรยาก็กลัวเบี้ยขยันหาย จำเป็นต้องส่งลูกไปอยู่ต่างจังหวัดกับตายาย ลูกเรียกตาและยาย ว่าพ่อแม่ เวลากลับไปหาลูกลูกไม่ยอมให้เข้าใกล้นี่คือความสูญเสีย ส๔บันทางครอบครัว  บางสถานประกอบการเป็นโครงสร้างเก่าแล้ว ไม่มีสถานที่ก็น่าเห็นใจในการสร้างศูนย์เลี้ยงเด็ก แต่ถ้าสถานประกอบการที่จะสร้างใหม่ รัฐ ต้องเข้าควบคลุมจัดไห้มีพื้นที่ด้วย คุณค่าของทรัพยากรมนุษย์ ถ้าได้รับการดูแลตั้งแต่เกิดจะดีมาก  วัยรุ่น เสียคนเพราะว่ารัฐไม่ไห้ความสำคัญต่อเด็ก

ธีระวุฒิ เบญมาตย์ นักสื่อสารแรงงาน ศูนย์สมุทรปราการ รายงาน