แรงงานหญิง-ชายร่วมรณรงค์ยุติความรุนแรง

คสรท. สรส. กลุ่มผู้หญิง จัดงานรณรงค์ร่วมกับประชาชน เพื่อยุติความรุนแรง”วันยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กสากล” พร้อมแจกริบบิ้นขาวที่หัวลำโพง

เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2560 คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์(สรส.) การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) กลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี(กบส.) และสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย(สร.รฟท.) ได้จัดงานวันยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กสากล ที่ หัวลำโพง (สถานีรถไฟกรุงเทพมหานคร)

นางอารยา แก้วประดับ ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การเภสัชกรรม กล่าวว่า วันนี้เป็นวันที่องค์การสหประชาชาติประกาศให้เป็นวันยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ด้วยว่ามีการใช้ความรุนแรงต่อผู้หญิงในที่โดอเมริกัน 3 คน จากเหตุการณ์การเคลื่อนไหวทางการเมือง ในคืนวันที่ 25 พฤศจิกายน2504 จนถึงแก่ชีวิตและเมื่อปี 2534 ที่ประเทศแคนาดาเกิดเหตุการณ์สังหารหมู่นักศึกาาหญิงในมหาวิทยาลัยมอนหรีออล จำนวน 14 คน ซึ่งการรณรงค์ครั้งแรกเป็นกลุ่มนักศึกษาผู้ชายราว 1 แสนคนที่ทนไม่ไหวต่อการกระทำความรุนแรงและออกมาเรียกร้องรณรงค์ให้ยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็ก เป็นการรณรงค์เพื่อสร้างความตระหนักต่อผู้ชายทั่วโลกร่วมรับผิดชอบ โดยมีการจัดทำสัญลักษณ์ในการรณรงค์ร่วมติดริบบิ้นสีขาวที่ปกเสื้อ หมายถึงว่าการยอมรับที่จะไม่ใช้ความรุนแรง หรือทำร้ายผู้หญิงและเด็ก และนิ่งเฉยต่อการใช้ความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กทุกรูปแบบ มีการลุกขึ้นมาเป่านกหวีดเพื่อส่งเสียงร่วมกันในการรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อกันทุกรูปแบบ

นางสิริมา หิรัญเจริญเวช รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจบริหารทรัพย์สิน การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า การจัดกิจกรรมรณรงค์เรื่องยุติความรุนแรงคิดว่าทำเพียงครั้งเดียวคงไม่เพียงพอต่อการสร้างความตระหนักรู้ได้ เห็นว่า ควรมีการรณรงค์ทุกปี แต่ว่า ความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้โดยต้องอาศัยความร่วมมือของทุกกลุ่ม ทุกฝ่าย และทุกคน เพราะวันนี้ข่าวความรุนแรงเกิดขึ้นที่ประเทศซีเรีย มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ซึ่งความรุนแรงที่เกิดขึ้นคงไม่ใช่เฉพาะผู้หญิงและเด็ก แต่ว่าเกิดขึ้นกับทุกคน จึงขอร่วมรณรงค์ยุติความรุนแรงทุกรูปแบบ และเราไม่ควรนิ่งเฉยต่อความรุนแรง

จากนั้นทางกลุ่มได้ถ่ายรูปแสดงเชิงสัญญลักษณ์ยุติความรุนแรง พร้อมกับเดินรณรงค์แจกริบบิ้นสีขาวให้กับผู้ที่มาใช้บริการ เจ้าหน้าที่การรถไฟแห่งประเทศไทย ให้ติดริบบิ้นที่อกเสื้อ เพื่อบอกว่าจะไม่ใช้ความรุนแรงต่อเด็กและผู้หยิง

นางอภันตรี เจริญศักดิ์ ประธานสตรีTeam กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยอยู่ในอันดับตนๆในการเกิดความรุนแรงต่อผู้หญิง และเกิดขึ้นทุกวัน และส่วนมากไม่ได้มีข่าวสารออกมา และความรุนแรงส่วนใหญ่ยังอยู่ในครอบครัว ที่ทำงาน และในทางรูปธรรม ความรุนแรงที่เกิดขึ้นยังมีความรุนแรงจากกฎหมาย จากนโยบายแห่งรัฐ ประเด็นการเลิกจ้างแรงงานหญิงพอตั้งครรภ์ก็ถูกเลิกจ้าง แต่ว่าการเลิกจ้างนั้นนายจ้างอาจว่าไม่ใช้เพราะตั้งครรภ์ เขาใช้การคืนบริษัทเหมาค่าแรงหรือบริษัทต้นทาง ซึ่งผลคือไม่มีงานให้ทำต้องออกจากงานไปบงรายอาจได้รับค่าชดเชย บางรายไม่ได้แม้แต่ค่าจ้าง ซึ่งหากว่าไปฟ้องร้องใช้กระบวนการทางศาลก็ล่าช้าจนอาจทนที่จะติดตามคดีไม่ไหว และการที่ผู้หญิงหนึ่งคนถูกเลิกจ้างนั้นหมายถึงผลกระทบจะเกิดขึ้นกับครอบครัว เพราะผู้หญิงหนึ่งคนต้องมีความรับผิดชอบครอบครัวบางคนเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวต้องดูแลลูก พ่อและแม่มันจึงเป็นความรุนแรงที่เกิดขึ้นด้วยความไม่เป็นธรรมที่รัฐควรต้องดูแล อีกความรุนแรงของผู้หญิงนั่น คือในสถานที่ทำงานก็มีการละเมิดสิทธิแรงงาน และถูกล่วงละเมิดทางเพศ ไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างในระบบ แรงงานนอกระบย พริตตี้ ที่เป็นข่าวเรื่อง ขนมบราวนี่ผสมกัญชาที่ถือว่าเป็นความรุนแรงได้ ยังมีเรื่องราวการลอยแพแรงงานหญิงโดยไม่จ่ายค่าชดเชย การที่ผู้หญิงจะเข้าสู่สังคมสูงวัยภายใต้รัฐไม่เป็นที่พึ่งพิงทางสวัสดิการในการดูแลด้านสิทธิต่างๆ ทั้งค่าจ้างแรงงานที่เป็นเพียงค่าจ้างขั้นต่ำ การขับเคลื่อนของกลุ่มผู้หญิงในการต้องการที่จะตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ คือให้แรงงานหญิงลาคลอดได้ 120 วัน โดยได้รับค่าจ้างซึ่งบางบริษัทนายจ้างได้มห้สิทธิสวัสดิการนี้แล้ว จึงอยากให้รัฐบาลประกาศสวัสดิการดังกล่าวเป็นของขวัญสำหรับผู้หญิงและเด็กที่จะได้รับการดูแลให้เป็นเด็กที่มีคุณภาพ การที่ผู้หญิงถูกกระทำความรุนแรงจากการถูกเลิกจ้างด้วยการตั้งสหภาพแรงงาน การต่อสู้ของผู้หญิงที่มีอุปสรรค์ทั้งครอบครัว การยอมรับระหว่างกันหากไม่เข้าใจอาจต้องเกิดความแตกแยกเลยทีเดียว

นางอภัย วิวัฒน์สถาปัตย์ ประธานสหภาพแรงงานวิงสแปมสัมพันธ์ กล่าวว่า ตนทำงานวันละ 315 บาทต่อวัน ต้องทำงานล่วงเวลาจึงจะอยู่ได้ ซึ่งตอนนี้ได้พยายามที่จะผลักดันให้ได้สวัสดิการและค่าจ้างที่เป็นธรรม หากให้กล่าวถึงความรุนแรงวันนี้เพิ่งทราบข่าวจากเพื่อนว่ามีญาติถูกหนุ่มวิศวะกรฆ่าปาดคอ จนเสียชีวิตเป็นเรื่องที่รู้สึกสะเทือนใจที่ไม่อยากให้เกิดกับใคร หรือครอบครัวใครเลย ซึ่งความรุนแรงต่อผู้หญิงเกิดขึ้นตลอดเวลาทั้งในครอบครัว และภายนอกในการใช้ชีวิตประจำวัน และการศึกษาสูงหรือต่ำไม่ได้บอกว่า เขาจะไม่ใช้ความรุนแรงต่อผู้หญิงหรือเด็กเลย จึงขอเรียกร้องต่อทุกท่านว่า อย่านิ่งเฉยต่อความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงและเด็ก จงลุกขึ้นมาปกป้องเด็กและสตรีร่วมกัน

นางสาวอมรรัตน์ จันทร์กระโทก ชาวนครราชสีมา กล่าวว่า ด้วยเคยพบเห็นปัญหาเรื่องความรุนแรงที่เกิดขึ้นในชุมชน ประเด็นความรุนแรงแบบสามีฆ่าภรรยา สิ่งที่อยากให้ทุกคนคิดคือ เมื่อภรรยาเสียชีวิต แล้วสามีที่ลงมือฆ่าต้องติดคุก อยากให้นึกถึงลูกว่าจะอยู่อย่างไร เด็กเขาต้องลำบากในการมีชีวิตอยู่ ซึ่งแน่นอนว่าใครจะดูแลเด็กในอนาคตอยากให้คิดก่อนกระทำความรุนแรง การที่ตนเดินทางมาร่วมงานครั้งนี้ เป็นความตั้งใจ และคิดว่าจะนำความรู้ไปรณรงค์ในชุมชนเพื่อยุติความรุนแรงต่อเด็กและผู้หญิง เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์เศร้าสลดอีก

ด้านนายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย และเลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ กล่าวว่า ประเด็นความรุนแรงที่เกิดขึ้นทั่วโลก เป็นเหตุการณ์ความรุนแรงจากระบบทุน และรัฐที่ใช้กฎหมายเอื้อต่อทุนมากกว่าที่จะดูแลให้แรงงาน ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีมีคุณภาพ ความร่วมมือกับทางการรถไฟแห่งประเทศไทย และเครือข่ายต่างๆในการจัดงานยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กนั้นก้เห้นด้วยกับทางรองผู้ว่าการฯว่าควรมีการจัดรณรงค์ร่วมกันทุกปีเพื่อสร้างความตระหนักให้แก่สังคม ซึ่งหากท่านจำกันได้เหตุความรุนแรงต่อเด็กผู้หญิงบนรถไฟตู่นอนที่เกิดขึ้น และมีอีกหลายกรณีที่เกิดขึ้นทั้งในพื้นที่สาธารณะ ชุมชน ที่บ้าน และที่ทำงานล้วนแต่เกิดจากการกระทำของผุ้ชายที่กระทำต่อผู้หญิงและเด็กซึ่งอ่อนแอกว่า ซึ่งหากว่าสังคมไม่นิ่งเฉยไม่มองว่าเป็นเรื่องของคนอื่น ลุกขึ้นมาช่วยกันดูแลและปกป้องผู้หญิงและเด็ก ไม่ให้เกิดความรุนแรงร่วมกัน รัฐเองก็ไม่ควรนิ่งเฉยต้องมีมาตรการในการดูแลให้เกิดความสงบสุข ไม่ใช้ความรุนแรงทั้งเนื้อตัวร่างกาย และความรุนแรงด้านกฎหมายเพื่อร่วมสร้างสังคมน่าอยู่ร่วมกัน

นักสื่อสารแรงงาน รายงาน