วันนี้ (4 พ.ค. 54) สหภาพแรงงานฟูรูกาวา เม็ททัล (ไทยแลนด์) ซึ่งนำโดย กลุ่มผู้ใช้แรงงานสระบุรีและใกล้เคียง ได้เข้ายื่นหนังสือที่สถานฑูตญี่ปุ่น โดยมีนายยูกิฮิโกะ คาเนโกะ เลขานุการฯออกมารับหนังสือ ขอความเป็นธรรมกรณี บริษัทฟูรูกาวา เม็ททัล (ไทยแลนด์) จำกัด ได้มอบหมายให้ทนายความดำเนินการแจ้งความดำเนินการแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนที่สถานีตำรวจภูธรแก่งค่อย ในข้อหาความผิดฐาน ร่วมกันหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา ต่อคณะกรรมการสหภาพแรงงานฯ 11 คน และสมาชิกสหภาพแรงงาน 4 คน รวม 15 คน และมีคำสั่งฉบับลงวันที่ 21 เมษายน 2554 ให้คณะกรรมการสหภาพแรงงานฯ และสมาชิก 15 คน ไม่ให้เข้าบริเวณโรงงาน
นางสาวธนพร วิจันทร์ ประธานกลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี และเลขาธิการกลุ่มผู้ใช้แรงงานสระบุรีฯกล่าวว่า คณะกรรมการสหภาพแรงงาน และสมาชิก รวมทั้งกลุ่มสหภาพแรงงานฯได้มาร่วมกันเพื่อยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมต่อสถานฑูตญี่ปุ่น ว่าสหภาพแรงงานฯและสมาชิกไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการกระทำของนายจ้างที่มีคำสั่งไม่ให้เข้าไปทำงาน และดำเนินคดีข้อหาฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา จากกรณีดังกล่าวทางสหภาพแรงงานได้มีการประชุมร่วมกันตรวจสอบกรณีที่นายจ้างได้นำกล้องวงจรปิดหรือกล้อง CCTV มาติด จนนำมาสู่กระบวนการของการผลิตซึ่งทางสหภาพแรงงานเองได้ดำเนินการคัดค้านการกระทำของนายจ้าง เพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของลูกจ้างในขณะปฏิบัติหน้าที่ให้นายจ้างโดยให้เหตุผลว่า การติดกล้องวงจรปิดเป็นการจับผิดลูกจ้าง จำกัดสิทธิ และเสรีภาพขณะปฏิบัติหน้าที่ เพื่อการลงโทษ ขอให้นายจ้างพูดคุยกับลูกจ้างด้วยการใช้แรงงานสัมพันธ์แทนการใช้กฎหมาย เข้ามาจัดการ ทุกอย่างคิดว่าสามารถพูดคุยกันได้ การใช้นที่ปรึกษาทางด้านกฎหมายมาจัดการกับสหภาพแรงงาน ส่วนใหญ่ทำให้เกิดปัญหามากขึ้น อยากให้นายจ้างหันมาใช้แรงงานสัมพันธ์พูดคุยกัน และร่วมกันทำงานพัฒนาองค์กรให้ดีมากขึ้น อย่าอยู่บนความขัดแย้ง เพราะไม่เคยทำให้ธุรกิจไหนประสบความสำเร็จได้ ทางที่ดีมาช่วยกันร่วมมือกันสร้างสรรค์พัฒนาธุรกิจให้เติบโตส่งผลกำไร และมีความสุขทั้งฝ่ายลูกจ้างนายจ้างด้วย
หนึ่งในกรรมการสหภาพแรงงานฯกล่าวว่า สหภาพแรงงานได้มีการได้มีการประชุมร่วมกันและมีมติร่วมกันให้แสดงออก โดยการจัดให้มีการเข้าร่วมชุมนุม โดยสงบ เพื่อทำการชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับนายจ้างในการที่นำกล้องวงจรปิดมาติดตั้งภายในบริเวณโรงงาน ซึ่งวันที่ 18 มีนาคม 2554 มีการปราศรัย เพื่อชี้แจงข้อเท็จจริง ถึงเหตุผล
ที่ทางสหภาพแรงงานคัดค้านให้กีบลูกจ้าง และสมาชิก เป็นการแสดงทางความคิดเห็น และใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญเพื่อคุ้มครองสิทธิลูกจ้าง ขณะปฏิบัติหน้าที่ให้กับนายจ้าง ซึ่งทางสหภาพแรงงานไม่ได้มีเจตนาร้าย หรือหมิ่นประมาทต่อนายจ้างให้ได้รับความเสียหาย การที่นายจ้างประพฤติปฏิบัติต่อคณะกรรมการสหภาพแรงงานฯและสมาชิกจึงไม่เป็นธรรม
ทั้งนี้สหภาพแรงงานฯจึงขอยื่นหนังสือเพื่อขอความเป็นธรรมต่อสถานทูตญี่ปุ่นให้ช่วยเหลือผู้ใช้แรงงานอย่างพวกเราให้ได้กลับเข้าทำงานตามปกติ เพื่อพัฒนาความเจริญทางเศรษฐกิจของประเทศไทย และประเทศญี่ปุ่น โดยการสร้างแรงงานสัมพันธ์ที่ดีในสถานประกอบการของนายจ้างญี่ปุ่นและลูกจ้างคนไทย พวกเรายังรักบริษัทและต้องการเข้าทำงาน เพื่อร่วมกันทำให้บริษัทสู่ความมั่งคลั่งร่วมกัน พวกเราพร้อมที่จะพูดคุยเพื่อหาข้อยุติ หากพวกเราผิดก็พร้อมขอโทษ
นายยูกิฮิโกะ คาเนโกะ เลขานุการฯกล่าวว่า ทางสถานทูตมีความยินดีที่จะเข้าไปเป็นตัวแทนไกล่เกลี่ยพูดคุยกับนายจ้างเพื่อหาทางแก้ไขปัญหา ประเทศญี่ปุ่น มีความใกล้ชิดกับประเทศไทยอย่างมาก หลังจากที่ทางกลุ่มผู้ใช้แรงงานกลับไปทางเราก็จะขอพูดคุยกับทางนายจ้างเลย เพื่อการทำงานร่วมกัน
ต่อมาทางกลุ่มผู้ใช้แรงงานสระบุรีและใกล้เคียง และสหภาพแรงงานฟูรูกาวาฯได้เดินทางไปยังกระทรวงแรงงาน เพื่อให้มีการดำเนินการแก้ไขปัญหาระหว่างนายจ้างกับสหภาพแรงงาน ที่นายจ้างมีการฟ้องร้องในกรณีดังกล่าว ทางตัวแทนของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน โดยนายอิทธิพล แผ่นเงิน ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านแรงงานสัมพันธ์กรมสวัสดิการและคุ้มครอง
นักสื่อสารแรงงาน โครงการการพัฒนาสื่อ รายงาน