แรงงานร่วมเปลี่ยนประเทศไทยด้วยพลังพลเมือง

นักสื่อสารแรงงานร่วมงาน “เปลี่ยนประเทศไทยด้วยพลังพลเมือง”  กับทีวีไทย  มีเครือข่ายที่มีบทบาทสนับสนุนการพัฒนาประชาธิปไตยและการสื่อสารภาคพลเมืองเข้าร่วมประมาณ 500 คน 
 
เพื่อรวมพลังทางสังคมทุกภาคส่วนในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และระดมสมองแสวงหาแนวทางเปลี่ยนประเทศไทยด้วยพลังพลเมือง โดยใช้กลไกเชื่อมร้อยเครือข่ายสื่อภาคพลเมืองกับสื่อสารมวลชนอื่นๆ
 
ระหว่างวันที่ 18-19 ธันวาคม พ.ศ.2553  ที่ศูนย์ประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต  องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะ (ส.ส.ท.) โดยสำนักเครือข่ายสาธารณะ โครงการเปลี่ยนประเทศไทย สำนักส่งเสริมการมีส่วนร่วม และเครือข่ายภาคพลเมืองทั่วประเทศ  ร่วมกันจัดงาน “เปลี่ยนประเทศไทยด้วยพลังพลเมือง” เพื่อเป็นพื้นที่สาธารณะในการแสวงหาการรวมพลังทางสังคมจากทุกภาคส่วนให้ร่วมกันนำเสนอข้อมูลและแนวคิดต่อการเปลี่ยนประเทศไทยด้วยพลังพลเมืองใน 4 ประเด็นหลักอย่างสร้างสรรค์ คือ ความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจรัฐไทยกับพลเมือง  แนวทางการจัดการที่ดินและฐานทรัพยากร  การเตรียมรับมือภัยพิบัติ  และ พื้นที่สาธารณะเพื่อเสริมสร้างพลังพลเมือง
 
นายเทพชัย หย่อง  ผู้อำนวยการ(ส.ส.ท.)  กล่าวเปิดงานว่า  ทุกวันนี้ประชาชนไม่สามารถพึ่งพาอำนาจกลไกราชการแบบเก่าได้  มีความจำเป็นที่พลเมืองทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันในการขับเคลื่อนแก้ปัญหาของสังคมโดยใช้ช่องทางสื่อสารผ่าน ส.ส.ท.หรือ ทีวีไทย  ทุกคนที่มาในวันนี้เท่าเทียมกันในฐานะที่เป็นพลเมืองของประเทศ  และมีภารกิจร่วมกันกับ ส.ส.ท.ในการเคลื่อนไหวให้เกิดเป็นกระแสที่นำไปสู่การแก้ไขปัญหาของประเทศต่อไป
ดร.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล คณะกรรมการปฏิรูปประเทศ  ที่ปรึกษาโครงการเปลี่ยนประเทศไทย ทีวีไทย  กล่าวปาฐกถาเรื่อง “การปฏิรูปโครงสร้างอำนาจในประเทศไทย ความจำเป็นแห่งยุคสมัย”  ว่า  โครงสร้างทางอำนาจของสังคมไทยปัจจุบันเป็นลักษณะการรวมศูนย์สั่งการจากข้างบนลงมา  การรวมศูนย์อำนาจสู่ส่วนกลางในอดีตมีข้อดีที่ทำให้รอดพ้นจากการล่าอาณานิคมของตะวันตก  แต่ก็มีข้อเสียคือ ทำให้เกิดการเมืองแบบผู้ชนะได้หมด  เป็นการเมืองที่มีการช่วงชิงอำนาจส่วนกลางกันอย่างเข้มข้นจนนำไปสู่เหตุการณ์ความรุนแรง  รัฐเป็นตัวตั้งตัวตีทำให้ทั้งหมด  ภาคประชาชนจึงเฉื่อยเนือยในการถ่วงดุลอำนาจรัฐ  ท้องถิ่นอ่อนแอดูแลตัวเองไม่ได้ทำให้ถูกทำลาย      อัตลักษณ์  สูญเสียอำนาจและศักดิ์ศรีในการจัดการตนเอง  
 
อำนาจและกลไกที่รวมศูนย์ทำให้รัฐต้องเผชิญกับการเรียกร้องให้แก้ปัญหาจนล้นเกิน  ขณะที่โลกยุคโลกาภิวัฒน์เป็นโลกที่ไร้พรมแดน  ทุนและกลไกตลาดมีอำนาจเหนือกว่าอำนาจรัฐในการกำหนดการใช้ทรัพยากร ดิน น้ำ ป่า แร่  ตลอดจนกำหนดค่าจ้างและสวัสดิการแรงงาน  อำนาจรัฐในการปกป้องประชาชนมีน้อยลงทำให้คนส่วนใหญ่ในสังคมกลายเป็นคนยากจน  ได้ค่าจ้างแรงงานต่ำ ขาดที่ทำกิน และมีหนี้สินรุงรัง  จนเกิดคำถามว่า  โครงสร้างอำนาจแบบรวมศูนย์จะยังคงดำรงอยู่เพื่อผู้ใด  และนั่นก็เป็นเหตุผลเพียงพอในการเปลี่ยนแปลงประเทศไทย
 
กล่าวด้านความสัมพันธ์เชิงอำนาจ  มีทั้งแบบที่เป็นทางการ คืออำนาจรัฐ  ซึ่งก็มักมาจากกลุ่มทุนธุรกิจที่ลงทุนแพงเพื่อเข้าสู่อำนาจ  และแบบที่ไม่เป็นทางการ คือ อำนาจที่เกิดจาการรวมตัวของเครือข่ายภาคประชาชน  โครงสร้างอำนาจแบบรวมศูนย์ของสังคมไทยที่ดำรงมากว่า 100 ปี และถูกนำไปผูกกับทุนโลกาภิวัฒน์ เอื้อประโยชน์ให้ต่างชาติมากกว่าประโยชน์แห่งชาตินั้น จึงหมดพลัง หมดความชอบธรรมที่จะคุ้มครองบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้กับประชาชนอีกต่อไป ดังนั้นจึงไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากต้องลดอำนาจรัฐ สร้างอำนาจประชาชน โดยเริ่มจากปรับทัศนคติให้เลิกหวังแต่พึ่งผู้มีอำนาจเหนือกว่า หันกลับมาพึ่งอำนาจตัวเองโดยการเคลื่อนไหวรวมหมู่ สร้างอำนาจที่ไม่เป็นทางการยืนยันตัวตนให้เข้มแข็ง แล้วจึงเปลี่ยนเป็นอำนาจที่เป็นทางการต่อไป
ในงานมีการจัดนิทรรศการและออกร้านจำหน่ายสินค้าของเครือข่ายเชิงประเด็นและเครือข่ายสื่อภาคพลเมืองต่างๆ  มีการจัดรายการสดวิทยุชุมชนและข่าวออนไลน์  มีวงหารือแยกห้องในประเด็นหลัก คือ ความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจรัฐไทยกับพลเมือง  แนวทางการจัดการที่ดินและฐานทรัพยากร  การเตรียมรับมือภัยพิบัติ  และ พื้นที่สาธารณะเพื่อเสริมสร้างพลังพลเมือง
 
ได้แก่ กลุ่มที่ 1. การเตรียมรับมือภัยพิบัติ ได้มีการเสนอปัญหาภัยพิบัติจากน้ำท่วมที่เกิดขึ้นครั้งนี้เป็นเพราะการพัฒนาประเทศที่ขาดการจัดการทางผังเมือง การขยายตัวของอุตสาหกรรมใหม่ที่เกิดขึ้น มีการสร้างสิ่งปลูกสร้างปิดขวางทางน้ำทำให้น้ำไม่สามารถระบายได้ตามธรรมชาติ 
 
สภาพพื้นที่น้ำท่วมนั้นเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ ทั้งภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลางและภาคใต้ ในพื้นที่ที่มีการท่วมแบบซ้ำซากจะเป็นพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมยาวนานที่สุด และเกิดความเสียหายมาก และบางพื้นที่ที่ไม่เคยเกิดสถานการณ์น้ำท่วมก็เกิดทำให้เห็น ในส่วนภาคใต้ก็เกิดปัญหาคลื่นถล่มพายุหนัก ซึ่งทำให้ประชาชนเดือดร้อนอย่างหนักทั่วประเทศ ซึ่งในส่วนของพระนครศรีอยุธยาบางพื้นที่ยังมีน้ำท่วมขังอยู่จนทุกวันนี้ รวมทั้งมีการพูดถึงภาวะน้ำท่วมที่กรุงเทพมหานครที่ปีนี้ทุกพื้นที่เดือดร้อนทั่วหน้าแต่พื้นที่กรุงเทพฯชั้นในไม่มีน้ำท่วม อาจเป็นเพราะมีพื้นที่พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง ปทุมธานี เป็นพื้นที่รองรับน้ำให้คนเมือง และคำพยากรณ์ที่มีการคำนวณปริมาณน้ำฝนอาจเชื่อไม่ได้ รวมถึงข่าวลือจากเขื่อนที่มีอยู่ตลอดเวลาเรื่องของเขื่อนจะแตก มีการปล่อยน้ำมาตอนกลางคืนทำให้เกิดน้ำท่วมชาวบ้านแบบไม่รู้ล่วงหน้าทรัพย์สินเสียหายจำนวนมาก
 
การแก้ไขปัญญามีการร่วมแก้ไขปัญหาร่วมกันมีความช่วยเหลือกันจากแบ่งเบาทุกข์แต่ละพื้นที่ ในส่วนเรื่องพันธ์ข้าวให้มีการนำพันธ์ข้าวที่ทนน้ำที่สามารถปลูกได้ในที่ลุ่ม ส่วนภาคประชาชนก็ต้องเรียนรู้กับธรรมชาติ โดยให้ผู้มีประสบการณ์คนเฒ่าคนแก่สอนลูกหลานหากฝนจะตก พายุจะมาธรรมชาติจะเตือนล่วงหน้าอย่างไร เพื่อจะได้รู้วิธีและสามารถช่วยเหลือตนเองให้พ้นภัยก่อนได้
กลุ่มที่ 2 ความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจรัฐไทยกับพลเมือง ปัญหาที่พบคือรัฐมีอำนาจมากไม่สนใจให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง มีการแทรกแซงมีการใช้อำนาจรัฐในการจับกุมประชาชนในพื้นที่ทำกินทับซ้อน ทั้งปัญหาสิ่งแวดล้อมและปัญหาชาติพันธุ์ที่มีความขัดแย้งกันสูงระหว่างรัฐกับประชาชน รัฐยังคงมีแนวคิดในการรวมศูนย์อำนาจในการแก้ปัญหา ประชาชนไม่เคยคิดว่าตนเองมีอำนาจ และสามารถแก้ไขปัญหาได้
 
ข้อเสนอให้มีการสร้างพลังมวลชนให้เชื่อมั่นว่าสามารถเปลี่ยนประเทศได้ด้วยมือเรา มีการเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาในพื้นแต่ละพื้นที่ได้ด้วยมวลชนในพื้นที่ ซึ่งจะต้องมีการรวมตัวระดมแนวทางทางเช่น 3 จังหวัดภาคใต้ ก็มีการเสนอแนวทางแก้ปัญหาต่อรัฐในการเป็นพื้นที่พิเศษ จากปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นจนส่งผลให้เกิดคนเสียชีวิตถึง 4 พันกว่าคน แต่ข้อเสนอเรื่องเขตปกครองตนเอง ในรูปแบบรัฐปัตนี แต่รัฐไม่ตอบสนอง ซึ่งแก้ไขปัญหาแบบการเมือง เพื่อการเมือง รัฐข้าราชการก็มีอำนาจการเมืองท้องถิ่นก็อาจเป็นอำนาจที่ต่อรองต่อรัฐการเมืองกลาง และยังสามารถมีอำนาจในการที่จะเอาหรือไม่เอาข้าราชการที่ไม่ตอบสนองนโยบายการเมืองก็มีปัญหาความไม่มั่นคงในหน้าที่ได้ ข้อเสนอno votes ไม่เลือกนักการเมืองแบบนี้ เป็นการทำให้นักการเมืองรู้ว่าประชาชนไม่เอาการเมืองแบบนี้ และควรมีการเลือกนักการเมืองน้ำดีที่เป็นตัวแทนของประชาชนเข้าไป 
 
กลุ่มที่ 3 พื้นที่สาธารณะเพื่อเสริมสร้างพลังพลเมือง ปัญหาที่พบเนื่องจากพื้นที่ข่าวในกระแสหลักไม่สนใจทำข่าวคนเล็กคนน้อย หากอยากเป็นข่าวต้องไปชุมนุมหน้าทำเนียบรัฐบาลต้องไปกันมากพอสมควรนักข่าวถึงจะสนใจทำข่าว การที่ประชาชนได้เสนอปัญหาตนเองผ่านสื่อมีความสำคัญอย่างมาก พื้นที่สื่อสาธารณะ เช่น การมีนักข่าวพลเมือง และพื้นที่สื่ออย่างทีวีไทยที่ให้พื้นที่กับนักข่าวพลเมืองในการนำข่าวมาออกข่าวให้สาธรณชนได้รับรู้เป็นเรื่องที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายพื้นที่ เกิดการแก้ไขปัญหามีการตรวจสอบการใช้อำนาจนของรัฐจากนักข่าวพลเมือง มีการนำเสนอวัฒนธรรมในชุมชน ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านความทุกข์ยากที่อาจไม่ได้เห็นจากสื่อกระแสหลัก เพียง 3 นาทีก็สามารถสร้างพลังให้สังคม รัฐเข้ามาแก้ปัญหาได้ 
 
ข้อเสนอคือจะทำอย่างไรให้นักข่าวพลเมืองเป็นนักข่าวมืออาชีพได้ ซึ่งขณะนี้เรามีนักข่าวพลเมืองเกิดขึ้นทุกภูมิภาค นักข่าวพลเมืองสามารถที่จะเชื่อมกับนักข่าวภูมิภาค และเชื่อมต่อกับนักข่าวส่วนกลาง เนื่องจากส่วนกลางคือศูนย์รวมอำนาจ ซึ่งขณะนี้ก็มีการสร้างทีวีจอเหนือ ทีวีจออีสาน ทีวีจอใต้ และอาจมีทีวีจอกลางก็ได้ การอบรมตัดต่อภาพข่าวเป็นอย่างเดียว ต้องเขียนข่าวเนื้อหาได้ด้วย
 
กลุ่มที่ 4 แนวทางการจัดการที่ดินและฐานทรัพยากร สภาพการในพื้นที่ปัญหาคือรัฐ นายทุนใช้กฎหมายมาเป็นเครื่องมือจัดการกดดันคนจนที่ทำกินในพื้นที่ การออกกรรมสิทธิ์ทับซ้อน ศาลใช้หลักกฎหมายแทนหลักความเป็นธรรม คนทุกข์ยากต้องเข้าคุก ข้อเสนอประชาชนควรมีการเปลี่ยนแปลงอำนาจรัฐ กฎระเบียบ กติกาที่ล้าสมัย ทำให้เกิดความเหลื่อมล่ำทางสังคม ทางที่ดีควรมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภาษี การจัดเก็บภาษีแบบก้าวหน้า การปฏิรูปที่ดินเสียใหม่ เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงทรัพยากร เพราะปัจจุบันทรัพยากรจะอยู่ในมือของคนกลุ่มน้อยที่มีอำนาจทั้งทางการเมือง และเศรษฐกิจ และไม่ควรรอให้ถึงปี 2563 เพื่อเปลี่ยนประเทศ ปี 2554 ก็สามารถเปลี่ยนได้ ควรแสดงพลังพลเมืองให้รัฐเข้ามาแก้ปัญหาไม่ควรรอเวลา รัฐต้องจัดสรรทรัพยากรให้กับคนทุกคน อย่าใช้กฎหมายมาเป็นเครื่องมือทำร้ายประชาชน หากประชาชนคนใดต้องการที่จะเป็นเกษตรกรรัฐต้องจัดหาพื้นที่ และแหล่งทุนให้
 
ต่อมาเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2553 ได้มีการจัดเวทีสาธารณะ ดำเนินรายการโดย นางสาวนาตยา แวววีรคุปต์ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมจากประเด็นปัญหาทั้งกรณีคลองโยง จังหวัดนครปฐม กรณีการต่อสู้ของสมัชชาคนจน เขื่อนปากมูล ราศีสไล กลุ่มคนไทยพลัดถิ่น กลุ่มนักสื่อสารแรงงาน คนไร้สถานะ เครือข่าย 3 จังหวัดภาคใต้ กลุ่มชนเผ่า ฯลฯ ได้ร่วมแลกเปลี่ยนต่อประเด็นปัญหาที่ได้มีการพูดคุยจากกลุ่มทั้ง 4 กลุ่มปัญหาเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2553 เพื่อหาทางออก เปลี่ยนประเทศไทยด้วยพลังพลเมือง 
 
โดยมีการนำเสนอแนวทางปัญหาผ่านสื่อสาธารณะ ซึ่งมีตัวอย่างกรณีชาวคลองโยงจากคนที่เคยใช้เท้าเดิน มีการยื่นหนังสือร้องเรียน ก็ไม่มีการแก้ไข หันมาใช้งานสื่อสาธารณะ เพื่อให้เกิดการแก้ไข กรณีต่อมาคือกลุ่มชาวบ้านลำพูนที่ได้สะท้อนถึงการใช้กฎหมายจับกุมจากกรณีบุกลุกที่ทำกิน การต่อสู้ของชาวบ้านได้มีการใช้สื่อเพื่อให้เกิดการแก้ไขทำให้เกิดโฉนดชุมชนเหมือนชาวคลองโยง มีที่ทำกินและเป็นอิสระ 
 
ในส่วนของคนลุ่มน้ำโขงซึ่งมีการต่อสู้เพื่อให้อนุรักษ์แม่น้ำซึ่งถือเป็นแหล่งวัฒนธรรม วิถีชีวิต มีการใช้สื่อในการเชื่อมร้อยแม่น้ำโขงทั้งสายจนถึงคนไทยพลัดถิ่น กลุ่มชาติพันธ์ ได้นำเสนอประเด็นเหล่านี้ออกสู่สาธารณะผ่านนักข่าวพลเมืองจนสังคมมีความเข้าใจ และเห็นประเด็นปัญหาชัดขึ้น พี่น้องทาง 3 จังหวัดภาคใต้ เนื่องจากการละเมิดสิทธิมีความรุนแรงและลุกหนักในพื้นที่ เมื่อมีเวทีนักข่าวพลเมืองก็มีการทำข่าวส่งมาแต่ละเรื่องก็นำเสนอในมุมของการละเมิดสิทธิ ซึ่งก็ไม่ถูกนำเสนอ ซึ่งก็ไม่เข้าใจในการทำข่าวนักข่าวพลเมืองจึงได้มีการปรับการทำข่าวเสียใหม่โดยเสนอผ่านชีวิตคนก็ได้ออกอากาศเป็นขาวพลเมืองได้ ซึ่งกว่าจะได้ออกอากาศก็ทำถึง 19 เรื่องทีเดียว
 
ส่วนประเด็นปัญหาของคนไร้บ้านเดิมคนไม่เคยสนใจปัญหาคนไร้บ้าน สื่อกระแสหลักก็ไม่เคยเข้าไปทำขาวสภาพความเป็นอยู่ทำให้สังคมมองคนไร้บ้านอย่างรังเกียจ หวาดกลัว แต่ทีวีสาธารณะได้เอาชีวิตของคนไร้บ้านมาตีแผ่ให้สังคมเห็น และเกิดแรงสะท้อนมีคนเข้าใจเห็นใจรัฐก็เริ่มที่จะฟังเสียงของคนไร้บ้าน และมีที่ยืนมากขึ้นในสังคม เรื่องของวัฒนธรรมความแตกต่าง ในการใช้ชีวิตเช่น ชนเผ่าที่รัฐได้ประกาศให้เป็นอำเภอที่ 787 ชื่ออำเภอกัลยานิวัฒนา ซึ่งมีการบริหารจัดการกำหนดให้มีสภาของตนเองในการรับฟังเสียงของผู้คน แต่ก็มีการแทรกแซง
โดยรัฐมีการตั้งสภากาแฟขึ้นเพื่อดึงและแบ่งแยกมวลชนสร้างความแตกแยกให้กับประชาชน แต่ก็มีเยาวชนที่พยายามจะมองข้ามความขัดแย้งของชุมชนรวมกลุ่มเก็บสะดือที่ถูกตัดช่วงแรกเกิดเก็บไว้ที่ต้นสะดือ ส่วนของแรงงานซึ่งเป็นกลุ่มคนที่ใช้เท้าเดินเพื่อให้รัฐแก้ปัญหา และสังคมไม่เคยเข้าใจ ก็ใช้วิธีการรวมกลุ่มกันเพื่อเจรจาต่อรองเชิงอำนาจกับรัฐ นายทุน วันนี้ก็หันมาใช้สื่อในรูปแบบต่างๆเพื่อสื่อสารความเดือดร้อนการถูกละเมิดสิทธิสู่สาธารณะเช่นกัน 
 
ทั้งนี้ในกลุ่มต่างทั้งเยาวชน ครู แรงงาน ชาวนา คนจนเมือง คนไร้ที่ดิน ฯลฯ ต่างก็สรุปว่า การรวมกลุ่มเป็นเครือข่ายรูปแบบต่างๆจะสามารถทำให้มีพลังเพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยได้ สื่อวสาธารณะก็เป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งที่ทำให้เสียงของคนเล็กคนน้อยได้นำเสนอสู่สังคม และรัฐให้ได้รับรู้ปัญหา และเกิดการเปลี่ยนแปลงแก้ไข แต่ก็ยังมีบางส่วนที่มองว่าการเดินด้วยเท้าก็เป็นวิธีหนึ่งที่จะแสดงความเป็นคนที่มีตัวตนในสังคม และมีสื่อกระแสหลักเข้ามาสนใจแม้ว่าจะเพียงเล็กน้อยก็สามารถทำให้เข้าคนทุกกลุ่มในประเทศไทย อย่างไรก็ตามทีวีสาธารณะคือที่วีของทุกคนฉะนั้นทุกคนควรจะต้องดูทีวีจอนี้หยุดดูทีวีน้ำเน่า หนังน้ำเน่าของทุนเสียที
 
นักสื่อสารแรงงานโครงการการพัฒนาสื่อรายงาน