แรงงานภาคใต้ จัดสืบสานบอกเล่าประวัติศาสตร์

วันที่ 16 กันยายน 2560  โครงการสืบสานประวัติศาสตร์แรงงานภาคใต้ โดยมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ร่วมกับสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์(สรส.) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยเขตหาดใหญ่ สนับสนุนโดยสถาบันทิศทางไท ที่ห้องประชุมชั้น 2 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

ดร.สินาด ตรีวรรณไชย์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตหาดใหญ่ กล่าวเปิดว่า ทุกคนคงรู้สึกคล้ายๆกันถึงความเป็นพี่น้องกัน ในการเป็นผู้ใช้แรงงาน สิ่งที่เราจะได้เรียนรู้สึกกันและกัน มีหลายเรื่องที่เราไม่ทราบ และยังไม่เข้าใจ วันนี้ก็จะได้เรียนรู้เรื่องราวของแรงงาน และเราจะสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีกันนั้น สิ่งใดบ้างที่สังคมยังไม่ได้รับรู้ ทางคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  ได้มีโอกาสให้บริการให้กับสังคมในการอำนวยความสะดวกต่างๆ และหวังว่าทุกคนที่มาจะได้รับความรู้ ได้รับประโยชน์ในการจัดงานวันนี้

นายวิชัย นราไพบูลย์ ผู้จัดการพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย กล่าวว่าพิพิธภัณฑ์แรงงานมีหน้าที่ในการรวบรวมเรื่องราวทางประวัติศาสตร์แรงงาน ซึ่งได้นำเรื่องราวประวัติศาสตร์แรงงานมานำเสนอผ่านนิทรรศการ ครั้งนี้ได้มีการจัดทำเรื่องราวประวัติศาสตร์แรงงานภาคใต้มาจัดแสดงให้ทุกท่านได้ศึกษา ด้วยการพัฒนาไม่ได้มีแต่เพียงกรุงเทพปริมณฑลเท่านั้น เรามีแรงงานอยู่ทั่วประเทศ แต่เมื่อมีการมองเรื่องราวการพัฒนาประเทศเป้าของการพัฒนาถูกมองเพียงกรุงเทพปริมณฑล จึงได้มีการรวบรวมประวัติศาสตร์ส่วนกลางเรามีพิพิธภัณฑ์แรงงานในการนำเสนอ และได้จัดทำเรื่องราวประวัติศาสตร์แรงงานภาคใต้ การที่รัฐไม่ได้ให้ความสำคัญในระดับภูมิภาคทำให้การออกกฎหมายที่อาจส่งผลกระทบต่อผู้ใช้แรงงานในทุกพื้นที่ เช่นพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฉบับใหม่ที่กำลังจะบังคับใช้ถูกทำให้แรงงานค่าจ้างไม่เท่ากัน ทั่วประเทศ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงมาก ทั้งที่ค่าใช้จ่ายของผู้คนนั้นเท่ากันทุกที่ไม่ต่างกันของที่ขายในร้านสะดวกซื้อเท่ากันทั่วประเทศ ราคาน้ำมันในภาคใต้แพงกว่ากรุงเทพฯด้วย พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยมีบทบาทที่จะต้องทำให้ทุกคนเห็นคุณค่าของการใช้แรงงาน และควรมีคุณค่าเท่ากันทั้งประเทศ ซึ่งทางพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยได้รับการสนับสนุนจากสถาบันทิศทางไทยหนึ่งปี เพื่อจัดทำเรื่องราวประวัติศาสตร์แรงงาน และหวังว่าทางภาควิชาการจะทำเรื่องประวัติศาสตร์แรงงานภาคใต้ให้สมบูรณ์มากขึ้น

จากนั้นเป็นการแสดงดนตรี โดยวงภรดร ซึ่งเป็นวงดนตรีแรงงานที่บอกเล่าเรื่องชีวิตการต่อสู้ รวมถึงคุณค่าและคุณภาพชีวิตแรงงาน จากนั้นฉายวิดีทัศน์ “หยาดเหงื่อแรงงาน ประวัติศาสตร์แห่งการสรรค์สร้าง” ที่กล่าวถึงประวัติศาสตร์แรงงานตั้งแต่อดีตที่ได้ต่อสู้เพื่อสวัสดิการเพื่อคนรุ่นหลัง รวมถึงคุณค่าในการพัฒนาเศรษฐกิจ บ้านเมืองจนเจริญรุ่งเรืองจนถึงปัจจุบัน ต่อด้วยวงเสวนาเรื่อง “ประวัติศาสตร์และสถานการณ์แรงงานภาคใต้” ดำเนินรายการโดย ดร.สินาด ตรีวรรณไชย์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร

ดร.โสภิณ จีระเกียรติ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร กล่าวว่า ทั้งประเทศรายได้เฉลี่ยของคนไทย กรุงเทพมีรายได้สูงกว่าทุกจังหวัด ส่วนภาคใต้โดยเฉลี่ยกลุ่มคนมีรายได้ที่กระจุกตัวอยู่กลางๆ หากเทียบกับประเทศอื่นๆในเอเชีย ประเทศไทยก็ดีกว่า มีการจ้างงานที่สูงอยู่พอสมควร การให้นิยามของสำนักงานสถิติ นั้นหากสำรวจพบว่า ณ ช่วงนั้นมีการสำรวจแล้วมีงานทำก็สรุปว่า มีงานทำแล้ว ซึ่งในความจริงมีความขัดแย้งกัน หากมีงานเป็นช่วงๆจะถือว่า มีงานทำหรือไม่

ปี 2559 ประชากรที่อยู่ในวัยทำงาน อายุ 15 ปีขึ้นไป มีอยู่ 55 ล้านคน และส่วนที่มีงานทำอยู่ที่ 38 กว่าล้านคน อัตราส่วนของคนที่มีงานทำอายุ 15-19 ปียังมีน้อย ผู้สูงอายุมีอัตราส่วนแนวโน้มมากขึ้น และยังอยู่ในกลุ่มที่มีงานทำ ตัวเลข หนึ่งในสี่ของตลาดแรงงาน ผลดังกล่าวทำให้การผลิตทำให้ต้องพึ่งพิงแรงงานอย่างเข้มข้นอยู่ และยังมีงานที่คนไทยไม่ทำแล้วทำให้ต้องพึ่งพิงแรงงานข้ามชาติในการทำให้เศรษฐกิจไทยขับเคลื่อนนำไปได้

ผู้ใช้แรงงานที่มีอยู่ จะมีการศึกษาระดับมัธยมค้อนข้างจำนวนมาก ซึ่งทำให้เรากล่าวถึงการพัฒนาด้านการศึกษาอีกมาก และแรงงานหนีไม่พ้น คือ ยังคงอยู่ที่ภาคเกษตรจำนวนมาก และมีค้าส่ง ค้าปลีก อุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับสาม

ปี 2558-2559 มีระดับการศึกษาขั้นต้น รวมแล้วร้อยละ 19 ขั้นสูงร้อยละ 7 กว่าเท่านั้น เวลามีการผลิตสินค้าเพิ่มตัวเลขการจ้างงานจะโตขึ้นหรือไม่ ก็จะเห็นได้ว่า การเติบโตของประเทศลดลงโอกาสในการจ้างงานก็ลดลง มีการเปรียบเทียบสัดส่วน ภาคบริการปัจจุบันภาคบริการโตขึ้น และความเสี่ยงของประชากรนั้นมีเพี่มขึ้นในประเภทความเจ็บป่วยที่เพิ่มขึ้นและไม่มีรายได้รองรับ จึงถือเป็นความเสี่ยง

ตัวเลขการว่างงาน ปี 2556  มีความเสี่ยงด้านการว่างงานเพิ่มขึ้น กลุ่มที่ว่างงาน ผู้ใหญ่ ร้อยละ 2 และมีกลุ่มอุตสาหกรรมก็สูงขึ้นภาพจากการเลิกจ้าง

ส่วนของจังหวัดสงขลา รายได้ต่อหัวต่อปี  150,000 บาท รายได้ประมาณ 1 หมื่นกว่าบาท หากภาคใต้ กำลังแรงงานที่มีงานทำ สงขลา 8 แสนกว่าคน ว่างงาน 2 แสนกว่าคน สัดส่วนแรงงานตามสัญชาติเมียนมาร์ในจังหวัดสงขลามีอยู่จำนวนมากร้อยละ78.56  ตามด้วยแรงงานลาว กัมพูชา  สัดส่วนของแรงงานนอกระบบ จำแหนกแต่ละภาคภาคใต้ ร้อยละ 45 อยู่ภาคอีสานมากที่สุด ภาคใต้ส่วนใหญ่เป็นภาคเกษตร ส่วนภาคเหนือเป็นหัตกรรม (ตัวเลขปี 2559) เรื่องสุขภาพความปลอดภัยในการทำงาน การทำงานที่มีสารเคมี และการรับงานไปทำที่บ้านไม่ได้รับการคุ้มครองจากฝุ่นที่เกิดขึ้น และขบวนการแรงงานไทยที่ทำงานเชื่อมต่อกับระบบสากลด้วย สภาแรงงานเดียวที่มีความเป็นเอกภาพ ประเทศไทยมีสภาแรงงานกว่า 10 แห่ง

ในส่วนของยุคสมัย เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง มีการพัฒนาประเทศมีการใช้แรงงานจีนที่เป็นแรงงานข้ามชาติ เข้ามาการรวมตัวของกรรมกรจีนที่เรียกว่าสมาคมลับอั้งยี่ และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองการรวมตัวของแรงงาน มีการเกิดขึ้นของสหอาชีวะกรรมกร มีความเติบโตของขบวนการแรงงาน และมีการเข้ามาแทรกแซงของภาครัฐในสมัยของรัฐบาลเผด็จการ และยุค 14 ตุลาคม 2516  และการเข้าสู่การมีเสรีภาพในการรวมตัวในปี 2518 ในการจัดตั้งสหภาพแรงงาน ต่อมาขบวนการแรงงานก็ต่อสู่กันแบบลุ่มๆดอนๆ มาจนถึงปัจจุบันก็เป็นขบวนการแรงงานแบบตัวใครตัวมัน

การทำงานต้องมีการพัฒนาด้านทักษะ เพราะโลกปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลงไปรวดเร็วมาก แรงงานต้องมีเวทีการเรียนรู้ การเกิดแรงงานนอกระบบก็เพื่อทำให้ต้นทุนของเขาต่ำเพื่อการลดต้นทุน การย้ายฐานการผลิตของทุนเพื่อหาแรงงานราคาถูก และความเข้มแข็ง ความใจแข็งของผู้บริหารประเทศมีความสำคัญอย่างมากในการที่จะตัดสินในการที่จะลงทุนด้านคุณภาพชีวิตของคน หรือว่าจะให้การลงทุนไม่ได้รับการดูแล

นายวิรุฬห์ สะแกคุ้ม เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์  กล่าวว่า ภาคเกษตรของประเทศไทย หรือภาคใต้จะลดลง เห็นภาพจากเด็กๆที่กำลังศึกษา ก็ไม่ได้กลับไปทำงานเกษตรกรรมอีก ตอนนี้การเกิดอุตสาหกรรมต่อเนื่องเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษที่เกิดขึ้นในการที่จะให้เป็นอุตสาหกรรมต่อเนื่อง จากเดิมที่ใช้พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ 2518 และมีการแยกแรงงานรัฐวิสาหกิจออกไปใช้พรบ.รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ 2534 หลังการรัฐปรวมตัวรัฐประหารของรสช.เพื่อการแบ่งแยกแล้วปกครองมีการแยกแรงงานออกไปจากกันระหว่างเอกชนกับรัฐวิสาหกิจ การทำลายขบวนการแรงงาน การพัฒนาของรัฐที่ไม่ได้สนใจเรื่องสิทธิแรงงาน ไม่ได้มีการคุ้มครองแรงงานแม้ว่า จะมีกฎหมายแรงงาน ซึ่งทำให้แรงงานไม่ได้รับการดูแลคุณภาพชีวิตสวัสดิการ การรวมตัวก็รวมไม่ค่อยได้ ปัญหาการว่างงาน ความไม่มั่นคงในการมีงานทำ

การพัฒนา 4.0 เทคโนโลยีใหม่ที่เข้ามาทำให้คนต้องตกลง ไม่มีงานทำ การพัฒนาด้านการศึกษาเพื่อรองรับต่อสถานการณ์ และการพัฒนาประเทศต้องการแรงงาน การมาของแรงงานข้ามชาติในการเข้ามาทำงานพัฒนาเศรษฐกิจ การดูแลด้านสิทธิแรงงานก็ต้องทำ ในส่วนของสรส.ได้มีการตั้งสำนักงานเพ่อดูแลด้านสิทธิขั้นพื้นฐานด้วย

นายระนอง ชุ่นสุวรรณ ตัวแทนแรงงานนอกระบบ กล่าวว่า การทำงานของแรงงานนอกระบบ ซึ่งเป็นระบบเกษตรกรรม ปี 2504 มีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก จากการผลิตแบบเดิมมาเป็นระบบการผลิตเพื่อส่งออก เป็นเกษตรกรรมเพื่อการขาย เป็นเกษตรกรรมรายใหญ่ เกษตรกรรายย่อยก็มีผลกระทบ แม้แต่เรื่องสวนยางก็มีปัญหามานาน เดิมมีทุกอย่างที่กินได้ในสวนยางตอนนี้ไม่เหลือเนื่องจากการเปลี่ยนระบบการผลิตเป็นเกษตรกรรมเพื่อขาย และการรวมตัวของเกษตรกร ในหลายเครือข่ายที่มารวมกันในนามของสมัชชาคนจน และเป็นแรงงานนอกระบบ มาร่วมกันสู้เพื่อสิทธิ และเมื่อมีระบบประกันสังคม คนที่อยู่นอกระบบประกันสังคม ถือว่า เป็นแรงงานนอกระบบ และมีการเรียกร้องสิทธิความเท่าเทียมกันในการรักษา มีการเรียกร้องเรื่องหลักประกันสุขภาพ  มีการเรียกร้องเข้าสู่ระบบประกันสังคม แรงงานนอกระบบเข้าไม่ถึงสิทธิสวัสดิการ ซึ่งคนที่ดูแลแรงงานนอกระบบมีถึง 9 กระทรวง 23 กรม ในการดูแล แต่ความเป็นจริงแม้ว่า จะมีการทำความร่วมมือกันแต่ก็ไม่ได้รับการดูแลจริงๆ แรงงานนอกระบบต้องมีชีวิตที่ดี สุขภาพที่ดี  และต้องมีการทำแผนการดูแลแรงงานนอกระบบ มีการออมทรัพย์วันละบาท และสิทธิทางสังคมยังน้อยอยู่ และต้องมีการผลักดันให้มีสวัสดิการทางสังคมด้วย ประกันสังคมมาตรา 40 ที่มีอยู่การเข้าถึง การจ่ายสมทบยังมีปัญหาเรื่องระบบการส่งเงินสมทบ ที่ต้องส่งจึงมีการตั้งศูนย์ขึ้นเพื่อรวบรวมส่งเงินสมทบ

ในมุมมองของ 4.0 มองในมุมของการพัฒนา เป็นเรื่องที่ดี แต่ว่าหากไม่มีแรงงานก็เป็นปัญหา สังคมต้องเรียนรู้ร่วมกัน สิ่งสำคัญคือการรวมตัว และมีส่วนร่วมในการยกระดับการเรียนรู้ร่วมกัน นักศึกษา ต้องได้เรียนรู้ชีวิตแรงงานทุกกลุ่ม แรงงานนอกระบบหากคิดเป็นทำเป็นก็มีคุณภาพชีวิตที่ดีแน่นอน

นางจันทนา เจริญวิริยะเทพ แรงงานนอกระบบ กล่าวว่า ทำงานในนามของมูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานนอกระบบ มีการทำงานในเครือข่ายแรงงานนอกระบบในหลายประเทศ และการทำงานในพื้นที่ก็มีหลากกลุ่มมากจะเป็นคนขึ้นตาล วินมอเตอร์ไซค์  ค้าขาย เครือข่ายแรงงานนอกระบบ ภาคใต้มีจำนวน หลายพันคน กลุ่มอาชีพที่หลากหลาย และบริบทสถานการณ์ก็เปลี่ยนไป กฎมายประกันสังคมที่เรียกร้องมาจะทำอย่างไรให้แรงงานนอกระบบเป็นสมาชิก เพื่อการจัดการสวัสดิการ กลุ่มแรงงานนอกระบบมีการทำงานในความเสี่ยงด้านสุขภาพ ปัญหาเสี่ยงด้านราคาที่นายหัวไม่ให้เกรงใจ กลัวไม่มีงานทำ ค่าตอบแทนไม่เป็นธรรม ไม่มีงานทำ จะทำอย่างไรให้แรงงานนอกระบบไม่เสี่ยง คือทำให้เข้าได้รู้เรื่องสิทธิที่มี และมีการเข้าถึงสิทธิ กฎหมายที่ออกมาเพื่อการดูแลคุ้มครองแรงงาน  ซึ่งมีกฎหมายคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน การได้รับการดูแลที่ดี และมีคุณค่า มีศักดิศรีเท่าเทียมกันกับแรงงานทุกกลุ่ม และการรวมกลุ่มสร้างเครือข่ายเท่านั้นถึงจะทำให้แรงงานนอกระบบได้รับการดูแล ตามประวัติศาสตร์แรงงานที่บอกเล่าไว้

การทำงานหากมีการสร้างเครือข่ายเพื่อผลักดันให้เกิดการแก้ไขประเด็นแรงงานนอกระบบในระดับท้องถิ่น  การสร้างการเรียนรู้ ต้องมีการสืบทอด และมีเครือข่ายการเรียนรู้กว่าแรงงาน ต้องมองข้ามเครือข่ายในการขับเคลื่อนทางสังคมร่วมกัน

นายเตงทวน ตัวแทนแรงงานข้ามชาติ กล่าวว่า การที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยก็เพื่อหางานทำ ซึ่งเข้ามาทางเรือ เดินทางมาที่ระนอง การมาของแรงงานข้ามชาติมาจากความลำบากยากแค้นในประเทศที่ไม่มีกิน ไม่มีงานทำ ไม่มีรายได้ ซึ่งการมาทำงานให้นายจ้างเต็มที่นายจ้างก็มีน้ำใจดูแลอย่างดี ทำงานก่อสร้าง ทำงานออกเรือ มาทำงานก่อสร้างได้ค่าจ้างวันละ 35-40 บาทต่อวัน แต่เราก็พยายามเก็บเงิน การทำงานของแรงงานข้ามชาติ เดิมไม่มีสิทธิสวัสดิการ ไม่มีใบอนุญาตทำงาน และมีตำรวจมา ตม.มาก็วิ่งหนี หลบซ้อน ในอดีต จากนั้นมาปัจจุบัน เราก็มีสิทธิมากขึ้นมีใบอนุญาตทำงานแล้วได้ค่าจ้างเพิ่มขึ้น มีเสรีภาพมากขึ้น และตอนนี้เริ่มที่จะทำงานแบบแรงงานถูกกฎหมายแล้ว มีเงินมีทองได้รับการดูแลจากเครือข่าย และได้เข้ามาเป็นอาสาสมัครทำงานช่วยแรงงานข้ามชาติด้วยกันรับเรื่องร้องทุกข์ ช่วยเป็นล่ามพม่าให้ความรู้เรื่องสิทธิแรงงาน เพื่อการดูแลกัน ตอนนี้อยู่เมื่องไทยมา 22 ปีแล้ว มีความรู้สึกเป็นพี่น้องกัน และมีความรู้สึกดีๆที่ได้อยู่ในประเทศไทย ขอบคุณคนไทยที่ดูแลกัน การรวมตัวกันทำได้ แต่ว่าไม่สามารถที่จะจัดตั้งสหภาพแรงงานได้เท่านั้น วิธีการทำงานช่วยเหลือคือทำอย่างไรให้แรงงานข้ามชาติช่วยเหลือตัวเองให้ได้มากที่สุด เขาต้องช่วยเหลือกันเองด้วย

นายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย กล่าวว่า บริบทการคุ้มครองแรงงาน การจ้างงาน การเข้ามาของการพัฒนาด้านเศรษฐกิจในพื้นที่ การทำงานในอนาคตข้างหน้าจะมีการพูดคุยกันอย่างไร เพราะอาชีพใหม่ๆ การจ้างงานแบบใหม่ที่เกิดขึ้นจะทำเกิดการดูแลด้านสิทธิแรงงานนั้นได้ยากมากขึ้น เขตเศรษฐกิจพิเศษที่จะเกิดขึ้นนั้นจะเป็นอย่างไร เพราะเขาคงไม่ให้มีสหภาพแรงงาน ทำให้ไม่ทราบคุณภาพชีวิตแรงงานข้างในเป็นอย่างไร เพราะคนภายนอกไม่สามารถเข้าภายในได้ สถาบันการศึกษาถือว่าเป็นพื้นที่วิชาการที่จะทำให้เกิดการทำงานร่วมกันให้เห็นข้อมูลที่มีพลัง

นักสื่อสารแรงงาน รายงาน