แรงงานนอกระบบเหนือชวนเพื่อนเข้าระบบประกันสังคมม.40 หลังร่วมต่อรองการเมือง

เครือข่ายแรงงานนอกระบบภาคเหนือแนะต้องรวมกลุ่มเพื่อต่อรองรัฐ เพื่อให้จัดสวัสดิการ เพราะรัฐไม่เคยสนใจแรงงาน มองแรงงานแค่ฐานเสียงเลือกตั้งแล้วจบ อปท.เสนอแรงงานนอกระบบต้องกลุ่ม เพื่อเข้าถึงสวัสดิการท้องถิ่น นักวิชาการตอบสวัสดิการต่างๆรัฐไม่ได้จัดให้เอง แต่เกิดจากการรวมตัวต่อสู้ขับเคลื่อนของแรงงานเท่านั้น แกนนำแรงงานชวนพี่น้องพ่อค้าแม่ขาย หมอนวดแรงงานนอกระบบทุกกลุ่มร่วมสมัครเข้าสู่ระบบประกันสังคมมาตรา 40 หลังนายกประกาศเปิดรับสมัครและพร้อมใช้เดือนกรกฎาคมนี้ 
 
เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2554 ณ ตลาดนัดคนเดินประตูท่าแพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มูลนิธิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ร่วมกับเครือข่ายแรงงานนอกระบบภาคเหนือ โดยการสนับสนุนจากสภาพัฒนาการเมือง ได้มีการจัดงานเสวนาเรื่องประชาธิปไตยกับผู้ใช้แรงงาน โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมนับ 100 กว่าคน
 
นายวิชัย นราไพบูลย์ ผู้จัดการมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ได้กล่าวเชิญชวนพี่น้องแม่ค้าพ่อค้า ผู้ที่เดินอยู่ในบริเวณพื้นที่การจัดงานซึ่งเป็นตลาดนัดคนเดินมีทั้งคนไทยคนต่างประเทศเข้าเยี่ยมชมนิทรรศการ การแสดงดนตรี สลับกับการจัดเวทีเสวนา โดยนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เครือข่ายแรงงานนอกระบบภาคเหนือ ผู้แทนจากองค์กรปกครองท้องถิ่น และตัวแทนสภาพัฒนาการเมืองในจังหวัดเชียงใหม่ซึ่งมีเพียงจังหวัดละ 1 คนเท่านั้น
 
การจัดงานวันนี้เป็นการจัดงานให้การศึกษาเรื่องประชาธิปไตย กับคุณภาพชีวิตแรงงาน แรงงานนอกระบบซึ่งมีจำนวนมากถึง 24 ล้านคน ซึ่งในประตูท่าแพก็มีแรงงานนอกระบบอยู่จำนวนหลายร้อยคน ประกอบด้วยคนค้าขาย หมอนวดฝ่าเท้า และคนขับรถรับจ้างที่ผ่านไปมา หากถามว่าคนเหล่านี้มีสวัสดิการอะไรบ้าง ที่เห็นก็คงเป็นระบบหลักประกันสุขภาพที่เรียกติดปากบัตรทอง 30 บาทใช้ในการรักษาพยายาม ซึ่งรัฐบาลเป็นผู้จัดให้เป็นสวัสดิการของประชาชนทุกคนอย่างเท่าเทียม แต่ยังมีระบบประกันสังคมของคนอีกกลุ่มที่ถูกเรียกว่าแรงงานในระบบ ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม หรือเป็นลูกจ้างที่มีนายจ้าง ยังมีส่วนของข้าราชการรัฐวิสาหกิจอีกระบบ แต่ในระบบสวัสดิการของกลุ่มแรงงานในระบบ เช่น กรณีชราภาพ ทุพลภาพ ตาย คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร และว่างงาน ข้าราชการรัฐวิสาหกิจยังมีสวัสดิการอื่นๆอีก ซึ้งสวัสดิการต่างๆก็เกี่ยวกับการเมืองทั้งสิ้น เพราการเมืองเป็นคนกำหนดนโยบาย แต่ไม่เคยถามว่าเราต้องการนโยบายอะไร สอดคล้องกับชีวิตของแรงงานหรือไม่ แล้วส่วนของแรงงานได้มีการส่งเสียงดังๆบอกความต้องการต่อรัฐหรือไม่ ใช้รูปแบบใดในการที่จะให้รัฐบาลเข้ามาแก้ไขบ้างไหม? คำตอบคือการเมืองมองเราแค่คะแนนเสียงที่จะมาหาช่วงการเลือกตั้งเท่านั้น เมื่อเลือกตั้งได้เข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นแล้วบางพื้นที่นักการเมืองไม่เคยกลับมาให้เห็นหน้าอีกเลย แรงงานในระบบส่วนใหญ่ไม่ใช่คนในพื้นที่ก็จะมีปัญหานักหากต้องการความช่วยเหลือจากนักการเมืองก็จะไม่มาช่วยเหราะไม่ใช่คะแนนเสียงเป็นต้น ส่วนของแรงงานในระบบนั้นนอกจากเป็นคนในพื้นที่เป็นส่วนใหญ่ คิดว่าการที่เป็นคนพื้นที่ ได้มีการเข้าพบรู้จักนักการเมืองที่ได้มีการเลือกเข้ามาทำงานการเมืองแทนพวกเราแค่ไหน มีนโยบายระดับพื้นที่ท้องถิ่นให้ประชาชนผู้ใช้แรงงานเข้าถึงหรือยัง
รศ.ดร.วรวิทย์ เจริญเลิศ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้กล่าวว่า การประกันสังคมที่เป็นสวัสดิการหนึ่งสำหรับประชาชนกลุ่มหนึ่งที่เรียกว่าแรงงานในภาคอุตสาหกรรมซึ่งมีราว 8-9 ล้านคน แต่ยังมีแรงงานอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่มีสวัสดิการดูแลคือ แรงงานนอกระบบที่มีอยู่จำนวนมากถึง 20 กว่าล้านคน เป็นแรงงานที่อยู่นอกกฎหมายคุ้มครองแรงงาน มีเพียงการรักษาพยาบาลฟรี ชราภาพได้ 500 บาท หรือเบี้ยสำหรับคนพิการเท่านั้น
 
หากแรงงานนอกระบบนี้ต้องการเข้าสู่ระบบประกันสังคมเดิมสามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ได้รับการคุ้มครอง 3 กรณีคือ ตาย คลอดบุตร และทุพพลภาพและต้องจ่ายแพง แต่ตอนนี้จากการที่แรงงานนอกระบบได้มีการเรียกร้องการคุ้มครองประกันสังคมให้ขยายสิทธิประโยชน์และการจ่ายสมทุบอย่างมีส่วนร่วม ก็มีความหวังใกล้ประสบผลสำเร็จ รัฐบาลได้มีแนวนโยบายที่เรียกว่าประชาวิวัฒน์ขยายสิทธิประโยชน์และระบบการจ่ายสมทบน้อยกว่าเดิมโดย จ่ายสมทบ 100 บาท สิทธิประโยชน์เดิม 2. จ่ายสมทบ 150 บาท คือทดแทนการขาดรายได้จากการเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย คลอดบุตร และชราภาพ ซึ่งยังมีโปร์โมชั่นอื่นๆเพื่อเพิ่มสิทธิประโยชน์ จากการทำงานวิจัยขณะนี้ได้มีการศึกษาในระดับภูมิภาคเอเชียเรื่องประกันสังคม การจ้างงานมีความซับซ้อนการเคลื่อนย้ายแรงงานในระดับภูมิภาคเอเชีย แรงงานไทยไปทำงานในต่างแดน แรงงานต่างแดนมาทำงานในประเทศไทย ทั้งพม่า ลาว กัมพูชา แต่เมื่อกลับไปประเทศตนระบบประกันสังคมควรมีความคุ้มครองด้วยระบบภูมิภาค ซึ่งจะมีการจัดประชุมในเชียงใหม่ภายในเดือนสิงหาคม 2554 ภายใต้ประเทศที่ยังพูดเรื่องการขยายประกันสังคมไปคุ้มครองแรงงานนอกระบบ หากไม่มีการรวมตัวของแรงงานนอกระบบ แรงงานในระบบขับเคลื่อนผลักดันทางการเมืองระบบที่แรงงานต้องการก็คงไม่เกิด
 
นางไพรินทร์ เจนตระกูล เครือข่ายแรงงานนอกระบบจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า ขณะนี้แม้ว่ารัฐบาลได้มีการประกาศเรื่องการลงทะเบียนการประกันสังคมสู่แรงงานนอกระบบโดยจัดให้มีการลงทะเบียนสมัคร ยังมีปัญหาอีกเช่นเดิมว่า แรงงานนอกระบบยังไม่รู้ตัวตนว่าใครคือแรงงานนอกระบบ ซึ่งตนก็เป็นเช่นนั้นเหมือนกันกว่าจะรู้ว่าตัวเองเป็นแรงงานนอกระบบก็ใช้เวลานาน ตอนนี้มีการให้การศึกษาเรื่องแรงงานนอกระบบคือใคร บางคนเข้าใจว่าแรงงานนอกระบบคือแรงงานข้ามชาติ พม่า ลาว กัมพูชา ใครคือแรงงานนอกระบบ ประกอบด้วยคนค้าขาย หาบเร่แผงลอย กลุ่มOTOP กลุ่มแกะสลักไม้ กลุ่มวาดภาพ หมอนวด คนประกอบอาชีพอิสระต่างๆที่ยังไม่ได้มีสวัสดิการด้านแรงงาน เราคือแรงงานนอกระบบซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ ซึ่งหากต้องการสวัสดิการต่างๆต้องมีการรวมตัวกันเข้าไปบอกให้รัฐบาลมาดูแลแรงงานกลุ่มนี้ด้วย
ฉะนั้นการที่รัฐบาลชุดนี้ประกาศจัดสวัสดิการประกันสังคมมาตรา 40 โดยมีชุดสวัสดิการให้เลือก โดยให้ผู้ที่ต้องการเข้าสู่ระบบได้ทุกคนเป็นระบบสมัครใจ โดยรัฐบาลร่วมจ่ายเงินสมทบด้วยส่วนหนึ่งจากที่รัฐไม่จ่าย เป็นการต่อรองจากกลุ่มของเครือข่ายแรงงานนอกระบบที่ร่วมกันส่งเสียงดังจนเกิดการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ และต้องเชิญชวนพี่น้องแรงงานนอกระบบทุกกลุ่มเข้าสู่ระบบประกันสังคม
 
นายดนัย  สารพฤกษ์ ผู้อำนวยการส่วนส่งเสริมสาธรณสุขและสิ่งแวดล้อมกล่าวว่า ตามความจริงแล้วท้องถิ่นมีการกำหนดนโยบายระดับท้องถิ่นให้แก่แรงงานนอกระบบทั้งสวัสดิการเงินกองทุนส่งเสริมอาชีพ เพียงแต่แรงงานนอกระบบต้องรวมตัวกันเป็นกลุ่มอาชีพ เช่นกลุ่มปลูกข้าวโพด กลุ่มเลี้ยงวัว กลุ่มแกะสลักไม้ กลุ่มวาดภาพ กลุ่มแม่ค้าหายเร่แผงลอยฯลฯ เข้ามาขอการสนับสนุนได้ และยังมีสวัสดิการสำหรับคนชรา คนพิการ รวมถึงแรงงานนอกระบบยังมีความพิเศษในเรื่องอาชีพการเจ็บป่วยโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ การทำงานตรงนี้ก็มีกองทุนด้านสุขภาพของแรงงานนอกระบบอีกกองทุนหนึ่งในการที่จะทำหน้าที่ในการดูแลกลุ่มผู้ใช้แรงงานนอกระบบ เพียงแต่แรงงานนอกระบบไม่มีการรวมตัวกันจึงทำให้การเข้าถึงสิทธิ สวัสดิการต่างๆที่ท้องถิ่นมีไม่ได้ จึงคิดว่าการส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มสร้างเป็นเครือข่าย เช่นเครือข่ายแรงงานนอกระบบภาคเหนือจึงเป็นรูปแบบที่น่าส่งเสริม เพื่อให้เกิดการเข้าถึงทรัพยากรท้องถิ่น หรือหากมีกลุ่มเครือข่ายระดับประเทศก็จะสามารถเสนอเป็นนโยบายได้
 
นางสาวดวงเดือน คำไชย ที่ปรึกษาเครือข่ายแรงงานนอกระบบภาคเหนือกล่าวว่า การขับเคลื่อนของแรงงานนอกระบบเรื่องหลักประกันสุขภาพบัตรทอง 30 บาท ในฐานะแรงงานนอกระบบภาคเหนือได้เข้าไปเสนอปัญหาให้รัฐบาลมีการปรับปรุงซึ่งขณะนี้สิทธิบัตรทองจากที่ว่าตายทุกโรคปัจจุบันไม่มีแล้ว การบริการก็ดีขึ้นในการรักษาพยาบาล ขณะนี้การขับเคลื่อนแรงงานนอกระบบเรื่องการขยายการคุ้มครองประกันสังคมซึ่งใช้เวลามานานนับ 20 ปี จนวันนี้รัฐบาลได้ประกาศขยายสิทธิประโยชน์ การจ่ายเงินสมทบน้อยลง ได้มาจาการรวมกลุ่มเครือข่ายแรงงานนอกระบบ ทั้งแรงงานนอกระบบกรุงเทพ ภาคอีสาน ภาคใต้ และภาคเหนือ แค่ในส่วนของแรงงานนอกระบบคงไม่สำเร็จได้หากไม่มีแรงงานในระบบคือ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย เพื่อร่วมกันในการผลักดันให้รัฐแก้ไขปัญหา เพราะเชื่อว่าหากมีการรวมกลุ่มแรงงานทั้งในระบบและนอกระบบจะมีพลังในการขับเคลื่อนมากขึ้น
 
นางคนึงนิตย์  อายุมั่น สมาชิกสภาพัฒนาการเมืองจังหวัดเชียงใหม่ เล่าว่าจากการที่ได้เดินพูดคุยกับพ่อค้า แม่ค้าในประตูท่าแพพบว่าการจัดงานครั้งนี้เป็นเรื่องแปลกใหม่สำหรับเขา และหลายคนเพิ่งรู้ว่าตนเองคือแรงงานนอกระบบ และมีการเคลื่อนไหวโดยแรงงานนอกระบบในลักษณะกลุ่มในการเรียกร้องให้รัฐจัดระบบประกันสังคม และตนเองสามารถที่จะเข้าสู่ระบบประกันสังคมได้แล้ว อันนี้เห็นว่ากิจกรรมที่มาให้การศึกษามีประโยชน์มาก
 
หากถามว่าแรงงานนอกระบบในฐานะเครือข่ายได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายรัฐ ตนคิดว่าสภาพัฒนาการเมืองเองเป็นช่องทางหนึ่งที่เครือข่ายแรงงานนอกระบบสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมได้ ไม่ว่าจะเป็นการเสนอกฎหมายผ่านทางสภาพัฒนาฯได้ ขณะนี้มีเรื่องการแก้ไขกฎหมายล่าลายมือชื่อเสนอกฎหมายที่กำหนดไว้หนึ่งหมื่นรายชื่อเพราะไม่สอดคล้องกับกรณีชุมชน ปัจจุบันมีกรณีที่รัฐโดยกระทรวงเกษตรและทรัพยากร ประกาศเขตอุทยานทับที่ทำกินชาวบ้าน หากจะล่าลายมือชื่อก็คงยาก ก็เป็นประเด็นต้องแก้ไข 
 
ทางสภาพัฒนาการเมืองยังมีงบประมาณให้การศึกษาด้านสิทธิการเมือง ประชาธิปไตย กับกลุ่มทุกกลุ่มที่ได้เขียนโครงการของอนุมัติเพื่อการจัดการศึกษาให้ความรู้ทางการเมือง ซึ่งวันนี้ (20 ก.พ.)ก็เป็นงบการสนับสนุนจากสภาฯด้วยเช่นกัน
 
ทั้งนี้ในการจัดงานได้มีการฉายวีดิทัศน์เรื่อง  แรงงานไทยรู้สิทธิ ร่วมสร้างประชาธิปไตย พร้อมตั้งคำถามกับแม่ค้า และผู้เข้าร่วมเรื่องความรู้ด้านประชาธิปไตยกับแรงงาน เช่นการเมืองคืออะไร สวัสดิการที่วิทยากรพูดถึงการเมืองเกี่ยวข้องหรือไม่ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมตอบคำถามและสะท้อนปัญหา
 
นางอุไรรัตน์  สุดชู แม่ค้าขายเสื้อผ้าฝ้ายได้เล่าถึงการเข้าถึงสิทธิการรักษาพยาบาลบัตรทองว่า ระบบการส่งตัวยังมีปัญหาอยู่มาก เนื่องจากตนเองชอบเป็นโรควูบเคยขับมอเตอร์ไซด์และวูบรถล้มเนื่องจากขับไม่เร็วจึงไม่บาดเจ็บมากเลยไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลเพราะเป็นแบบนี้หลายครั้ง รักษาโรงพยาบาล(ศูนย์อานามัย)ใกล้บ้านมานานไม่หายจึงขอให้แพทย์ส่งตัวไปโรงพยาบาลสวนดอกในตัวจังหวัด คิดว่าเป็นโรงพยาบาลใหญ่คงมีแพทย์เชี่ยวชาญสามารถรักษาพยาบาลให้หายได้ แต่ทางโรงพยาบาลใกล้บ้านไม่ยอมส่งตัว จึงต้องไปหาด้วยตนเองใช้เงินรักษาตรวจร่างกายพบว่าเราป่วยเป็นไทรอยมีปัญหาด้านความดันพบหลายโรคใช้เงินรักษาเอง นำผลตรวจไปพบแพทย์ที่รักษาจึงได้รับการส่งตัวขณะนี้มีแพทย์ดูแลประจำตัวแล้ว
 
จริงๆแล้วตนอยากใช้ระบบประกันสังคมในการรักษา เพราะเชื่อว่าดีกว่าตรงที่สามารถเลือกโรงพยาบาลได้ การรักษาบัตรทองเลือกโรงพยาบาลไม่ได้ ซึ่งไม่สะดวกในการรับการรักษา อาจเป็นเพราะเราเป็นคนไข้ฟรีแพทย์จึงไม่สนใจเราเชื่อแบบนั้น กรณีรักษาพยาบาลแบบประกันสังคมสิ่งที่ดีคือเลือกโรงพยาบาลได้ และเรารู้สึกว่าเรามีส่วนในการจ่ายเงินแพทย์คงดูแลเราดีแน่ และยังมีสวัสดิการอื่นๆอีก 
 
นักสื่อสารแรงงาน โครงการการพัฒนาสื่อ รายงาน