แรงงานทุกภาคส่วนร่วมใจร่วมเดินรณรงค์วันกรรมกรสากล

P5010563

การจัดงานวันกรรมกรสากลหรือวันแรงงานแห่งชาติในประเทศไทย ได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 ซึ่งเริ่มหลังจากที่เกิดเหตุการณ์จลาจลที่ “เฮย์มาร์เก็ต” ไปถึง 60 ปี“จัตุรัสเฮย์มาร์เก็ต” ณ ที่แห่งนี้ คือ ที่มาของวันกรรมกรสากล ที่ประเทศทั่วโลกส่วนใหญ่ต่างยึดถึงวันดังกล่าวเป็นวันรำลึก เพราะย้อนไปเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ.1886 (หรือ พ.ศ. 2429) ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา สหพันธ์แรงงานในสหรัฐอเมริกาได้นัดหยุดงานครั้งใหญ่ และจัดการชุมนุมเดินขบวนเพื่อเรียกร้อง “ระบบสามแปด” คือ ทำงาน 8ชั่วโมง พักผ่อน 8 ชั่วโมง และศึกษาหาความรู้ 8 ชั่วโมง การประท้วงที่ใหญ่ที่สุดอยู่ที่เมืองชิคาโกที่บริเวณจัตุรัสเฮย์มาร์เก็ต

DSC05942DSC05932

สำหรับในปีนี้คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) ซึ่งประกอบด้วยองค์กรภาคีสมาชิก, สหภาพแรงงาน, กลุ่มสหภาพแรงงาน , สมาพันธ์แรงงาน ,สหพันธ์แรงงาน,สภาองค์การแรงงาน,และองค์กรพัฒนาเอกชนด้านแรงงาน ร่วมกับ สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์(สรส.)ซึ่งประกอบด้วยองค์กรภาคีสมาชิก สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ 43 องค์กร และ สหพันธ์แรงงานระดับสากล (GUF) ซึ่งประกอบด้วย ITUC-TU,PIS THAILAND,TEAM,UNI-TLC,ITF THAILAND,ICEM THAILAND,BWI THAILAND ได้ร่วมกันจัดงานวันกรรมกรสากลขึ้น เพื่อเป็นการรำลึกถึงวีรชนนักต่อสู้แรงงานที่ล่วงลับไปและเพื่อยื่นข้อเรียกร้องในวันกรรมกรสากลให้กับรัฐบาลตลอดจนเพื่อเป็นการติดตามความคืบหน้าข้อเรียกร้องวันกรรมกรสากลในครั้งที่ผ่านมาด้วย

P5010434DSC05939

โดยได้ตั้งริ้วขบวนจากลานพระบรมรูปทรงม้าไปยังทำเนียบรัฐบาล โดยมีผู้ใช้แรงงานจากองค์กรแรงงานต่าง ๆ เข้าร่วมงานในครั้งนี้กว่าหลายพันคน
สำหรับข้อเรียกร้องเร่งด่วน และติดตามในปีนี้รวม 12 ข้อ มีดังนี้

1. รัฐต้องให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ(ILO) ฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัวกัน และฉบับที่ 98 ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวและการร่วมเจรจาต่อรองและเร่งรัดพิจารณาร่าง พรบ.แรงงานสัมพันธ์ฉบับผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 12,130 คนเป็นผู้เสนอ

2. รัฐต้องยุตินโยบายและกฎหมายที่ละเมิดสิทธิแรงงาน กรณีนำสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย 13 คน และแรงงานในภาคเอกชน

P5010426P5010427

3. รัฐต้องสร้างระบบสวัสดิการสังคมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำสร้างความเป็นธรรมทางสังคม

4. รัฐต้องยกเลิกนโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจหรือการแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจทุกรูปแบบจัดตั้งกองทุนพัฒนารัฐวิสาหกิจและยุติการแทรกแซงการบริหารงานรัฐวิสาหกิจโดยขาดความเป็นธรรม

5. คัดค้านสภาผู้แทนราษฎรที่ลงมติไม่รับหลักการร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม(ฉบับที่….)พ.ศ.ที่นางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย กับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 14,264 คนเป็นผู้เสนอ และสภาผู้แทนราษฎรต้องนำหลักการกองทุนประกันสังคมเป็นอิสระ โปร่งใส ตรวจสอบได้ และการมีส่วนร่วมของผู้ประกันตน รวมทั้งสิทธิตามรัฐธรรมนูญที่กรรมาธิการวิสามัญร่างกฎหมายประกันสังคมจะต้องมีสัดส่วนผู้นำเสนอกฎหมาย 1 ใน 3 ของคณะกรรมาธิการ

P5010472P5010372

6. รัฐต้องกำหนดค่าจ้างแรงงานที่เป็นธรรมให้ครอบคลุมผู้ใช้แรงงานทุกภาคส่วน โดยกำหนดนิยามค่าจ้างขั้นต่ำให้เป็นค่าจ้างแรกเข้าที่มีรายได้พอเพียงเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัวอีก 2 คน ตามหลักการขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ทั้งนี้ โครงสร้างค่าจ้างของแรงงานให้มีการปรับค่าจ้างทุกปี โดยคำนึงถึงค่าครองชีพ ทักษะฝีมือ และลักษณะงาน ทั้งนี้ รัฐจะต้องทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2554 ที่ให้คงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาท ในปี พ.ศ. 2557 และปี พ.ศ. 2558

7. รัฐต้องแก้ไขกฎหมายเลือกตั้งในระดับชาติ และระดับท้องถิ่น เพื่อให้ผู้ใช้แรงงานที่ทำงานในเขตพื้นที่สถานประกอบการใดๆ ตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป มีสิทธิเลือกตั้งและลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่นั้น ๆ เพื่อให้สะท้อนถึงเจตนารมณ์ของประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่

P5010410P5010417

8. รัฐต้องเร่งรัดให้มีการพัฒนากลไกการเข้าถึงสิทธิ์ การบังคับใช้ พ.ร.บ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 อย่างจริงจัง ภายใต้การมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้ใช้แรงงานทุกภาคส่วน

9. รัฐต้องจัดตั้งกองทุนประกันความเสี่ยงจากการลงทุน โดยให้นายจ้างและรัฐบาลสมทบเงินเข้ากองทุน เพื่อเป็นหลักประกันในการคุ้มครองสิทธิแรงงาน เมื่อมีการเลิกจ้างหรือเลิกกิจการไม่ว่ากรณีใดก็ตาม ผู้ใช้แรงงานควรมีสิทธิได้รับเงินชดเชยจากกองทุน รวมทั้งการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างได้

P5010450P5010534

10. รัฐต้องสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์เลี้ยงเด็กหรือศูนย์พัฒนาเด็กให้แก่ผู้ใช้แรงงาน ในเขตพื้นที่อุตสาหกรรมหรือสถานที่ทำงาน

11. รัฐต้องเร่งรัดให้มีการพัฒนากลไกการคุ้มครองสิทธิแรงงานและสวัสดิการสังคมของแรงงานนอกระบบ และแรงงานข้ามชาติ

12. รัฐต้องยกเว้นภาษี กรณีเงินก้อนสุดท้ายของคนงานผู้เกษียณอายุ

กระมนต์ ทองออน นักสื่อสารแรงงานศูนย์ข่าวแรงงานชลบุรีระยอง รายงาน