แผนแม่บทด้านความปลอดภัยดีอย่างไร? ทำไมคนงานยังมีภัยจากเครื่องจักรและสารเคมี?

สมบุญ สีคำดอกแค ประธานสภาเครือข่ายฯ

 สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากากรทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย รวมตัวมาจากผู้เจ็บป่วยและประสบอันตรายจากการทำงาน   ในฐานะองค์กรผู้ถูกกระทบจากการพัฒนาอุตสาหกรรม ได้ร่วมกันเคลื่อนไหวเรียกร้องให้คนงานที่เจ็บป่วยและประสบอันตรายจากการทำงานได้เข้าถึงสิทธิตามกฎหมายกองทุนเงินทดแทน  19 แล้วปัญหาสุขภาพความปลอดภัยก็ยังเป็นเพียงนามธรรมเท่านั้น  คนงานยังเจ็บป่วยและประสบอันตรายจากการทำงานปีละจำนวนมาก เพราะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยัง ขาดการปฎิบัติเพื่อการป้องกันอย่างจริงจัง สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยได้ค้นคว้าข้อมูลจาก ตัวเลขสถิติของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน ที่มีคนงานต้องเจ็บป่วยและประสบอันตรายดังนี้

สถิติการประสบอันตรายของลูกจ้าง (2545-2553) ภายใต้การคุ้มครองของพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537

ปี

จำนวนลูกจ้าง

ประสบอันตราย จากการทำงาน

เสียชีวิต

หรือ

สูญหาย

จากการทำงาน

อัตราการประสบอันตรายทุกกรณีต่อลูกจ้าง

1,000 ราย

ประสบอันตรายเฉพาะที่รุนแรง

เกิน 3 วันต่อลูกจ้าง

1,000 ราย

ค่าทดแทน

(ล้านบาท)

2545

6,541,105

190,979

650

29.20

8.12

1220.14

2546

7,033,907

210,673

787

29.95

8.10

1480.36

2547

7,386,825

215,534

861

29.18

7.79

1490.19

2548

7,720,747

214,235

1,444

27.75

7.58

1638.37

2549

7,992,025

204,257

808

25.56

7.02

1684.23

2550

8,187,180

198,652

741

24.26

6.67

1734.90

2551

8,135,606

176,502

613

21.69

6.08

1688.35

2552

7,939,923

149,939

598

18.70

5.39

1569.19

2553

8,117,618

146,571

619 

18.06

4.92

1,592.63

             สาเหตุสำคัญ  คือ  การทำงานของผู้ใช้แรงงานยังเข้าไม่ถึงบริการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน  ยังขาดระบบรองรับ หรือ ขาดการปฏิบัติตามกฎหมาย ปัญหาสำคัญของการเกิดปัญหาสุขภาพความปลอดภัยตั้งแต่พัฒนาอุตสาหกรรมมาจนถึงวันนี้ คือ

1.  การขาดการให้ความสำคัญของการบริการอาชีวอนามัย

2.  ปัญหาการเข้าถึงบริการอาชีวอนามัย

3.  ประเด็นสำคัญที่สัมพันธ์กับการเข้าถึงบริการอาชีวอนามัย

เรามาดูข้อมูลสถานประกอบกิจการและลูกจ้าง (ปี 2553)

1.  จำนวน สถานประกอบการที่ขึ้นทะเบียน 332,579 แห่ง

2.  จำนวนแรงงานรับงานไปทำที่บ้าน ( 39 จังหวัด) 6,383 คน และมีแรงงานแฝงที่มีได้รวบรวมข้อมูลกว่า 2 แสนราย

สถิติการประสบอันตรายในรอบ 9 ปี (พ.ศ.2545 – 2553)

1.  จำนวนการประสบอันตรายรวม 9 ปี 1, 706,779 คน

2.  จำนวนผู้ประสบอันตรายเฉลี่ยปีละ 189,642 คน

3.  อัตราการประสบอันตรายเฉลี่ยปีละ 25  คน/ลูกจ้าง  1,000 คน

4.  จำนวนผู้เสียชีวิตปีละ 791 คน

สถิติการประสบอันตรายรอบ 9 ปี (พ.ศ.2545 – 2553)

1.  จำนวนผู้ทุพลภาพปีละ 13 คน

2.  จำนวนผู้สูญเสียอวัยวะ 3,194 คน

3.  หยุดทำงานมากกว่า 3 วัน 435,824 คน

4.  หยุดทำงานไม่เกิน 3 วัน 1,234,946 คน

ทั้งหมดนี้   คือ  สถิติของคนงานที่สามารถเรียกร้องใช้สิทธิตามกฎหมายกองทุนเงินทดแทนได้  จึงมีข้อมูล รู้จักกองทุนเงินทดแทน  หรือ  มีนายจ้างสถานประกอบการดีที่ ส่งเรื่องเข้ากองเงินทดแทนตามกฎหมาย

แต่ตัวเลขที่หายไปสำหรับผู้ใช้แรงงานที่ไม่รู้ว่าตนเองเจ็บป่วยประสบอันตรายจากการทำงานไม่รู้จักกองทุนเงินทดแทน หรือ นายจ้างสถานประกอบการไม่ส่งเรื่องเข้ากองทุนเงินทดแทนตามกฎหมายอีกไม่รู้อีกจำนวนเท่าไหร่  ตัวเลขที่หายไป  ที่คนงานต้องเจ็บป่วยสูญเสียสุขภาพกาย  ใจ อวัยวะ หรือ สูญเสียชีวิต คือ ต้นทุนที่ผู้ใช้แรงงาน คนงาน ต้องสูญเสียไปโดยไม่รู้ตัว  จึงเป็นผลกำไรที่ได้มาจากอวัยวะ เลือดเนื้อ ชีวิต ที่คนงานไม่อยากขาย และประเมินค่ามิได้

สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยฯจึงเริ่มต้นรวมตัวกันและลุกขึ้นมาทำงานสุขภาพความปลอดภัยช่วยเหลือผู้ถูกผลกระทบ  เรียกร้องในระดับนโยบายในนามสมัชชาคนจนมาอย่างต่อเนื่อง 19 ปีและกำลังประสานกับขบวนผู้ใช้แรงงาน  คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย  นักวิชาการ องค์กรภาคประชาชน เครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน ผู้ใช้แรงงาน ในพื้นที่ต่างๆ เช่น พื้นที่อยุธยา รังสิต-ปทุมธานี กลุ่มผู้ใช้แรงงานกลุ่มพัฒนาแรงงานสัมพันธ์ตะวันออก และเครือข่ายแรงงานอื่นๆ ในพื้นที่อุตสาหกรรม ร่วมกันผลักดันการจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯ ที่ทำให้มีบทบัญญัติการจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯ ดังกล่าวในบทบัญญัติมาตรา 52  ของ พรบ.ความปลอดภัยฯ พ.ศ. 2554  และทั้งนี้อยู่ระหว่างการยกร่าง พรฎ.สถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯ ให้เป็นองค์กรมหาชนและผลักดันการเข้าไปมีส่วนร่วมกับการออกนโยบายด้านความปลอดภัย เช่น  เข้าพบ ท่านรัฐมนตรีเผดิมชัย สะสมทรัพย์ไปเมื่อ 12 กันยายน 2554 แต่ก็ยังมีข้อความเห็นที่ต่างกัน ในการร่วมยกกร่าง พรฎ.สถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯ  ดังกล่าวจนต้องขอให้ฯพณฯรัฐมนตรีกระทรวงแรงงานตั้งคณะทำงานหารือแก้ไขปัญหาสภาเครือข่ายฯนั่งประชุมกันและนัดอีกครั้งวันที่ 13 ธันวาคม 2554 เวลา 9.00 น. ที่ห้อง ศ.นิคม ฯ ตึกกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน และเรียกร้องให้สถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯ เป็นองค์การมหาชน ที่เป็นอิสระมีส่วนร่วมไม่ถูกครอบงำจากภาครัฐ สามารถเข้าถึงข้อมูลข้อเท็จจริงทั้งทางตรงและทางอ้อม ไม่ใช่เป็นสถาบันที่ทำหน้าที่ทางวิชาการอย่างสถาบันการศึกษา และขอให้ภาครัฐ เปิดเผยข้อมูลสาระสำคัญแผนแม่บทด้านความปลอดภัย และขอให้ภาคีผู้มีส่วนได้เสียมีส่วนร่วมในการยกร่างแผนแม่บทโดยให้กระทรวงแรงงาน จัดประชาพิจารณ์ร่างแผนแม่บทความปลอดภัยดังกล่าวเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์และรอบด้าน มิใช่นำ ขึ้นเว็บไซด์ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเพียงอย่างเดียว ทั้งกรณีคนงานต้องได้รับสิทธิ เมื่อเจ็บป่วยประสบอันตรายจากากรทำงาน เพราะมีคำถามของผู้ใช้แรงงานว่าเมื่อมีแผนแม่บทที่ดีแล้วทำไมยังมีคนงานต้องเจ็บป่วยประสบอันตรายเสียชีวิตปีละมากมายขนาดนี้

และวันที่  29 พฤศจิกายน 2554  คณะรัฐมนตรีรับทราบแผนแม่บทความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานแห่งชาติ (พ.ศ. 2555 – 2559) ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ ดังนี้

สาระสำคัญของเรื่อง

กระทรวงแรงงาน โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน รายงานว่า ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานด้านความปลอดภัยในการทำงานได้ร่วมกันจัดทำแผนแม่บทความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานแห่งชาติ (พ.ศ. 2555 – 2559) ขึ้น โดยได้ระดมความคิดเห็นจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคีด้านความปลอดภัยในการทำงานที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนแม่บทฯ และคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานได้เห็นชอบด้วยแล้ว ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้

                   แผนแม่บทความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานแห่งชาติ (พ.ศ. 2555 – 2559) โดยสรุปมีสาระสำคัญดังนี้

1. วิสัยทัศน์

แรงงานปลอดภัยและสุขภาพอนามัยดี

2. พันธกิจ

                       2.1 กำหนดและพัฒนามาตรฐานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

                       2.2 กำกับ ควบคุม และดูแล ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

                       2.3 ส่งเสริมและพัฒนาความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

                       2.4 พัฒนาระบบบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

3. ประเด็นยุทธศาสตร์ เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ และพันธกิจ จึงกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ในช่วงปี พ.ศ. 2555 – 2559 ไว้ 5 ประเด็นยุทธศาสตร์ ดังนี้

ยุทธศาสตร์ที่ 1 การส่งเสริมการคุ้มครองแรงงานตามมาตรฐานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

ยุทธศาสตร์ที่ 2 การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพเครือข่ายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

ยุทธศาสตร์ที่ 3 การจัดการองค์ความรู้ด้านปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนากลไกการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมใน

การทำงานที่มีประสิทธิภาพ

แต่แผนแม่บทที่จะมาใช้ดูแลคนตั้งแปดล้านกว่าคนนั้น นำผ่าน ครม.ไปก็ตามสภาเครือข่ายฯ ยังไม่เห็นว่ากระทรวงแรงงาน  ได้ดำเนินตามข้อเสนอของสภาเครือข่ายและผู้ใช้แรงงานในการจัดประชาพิจารณ์รับฟังความเห็นอย่างทั่วถึงหรือไม่แล้วความปลอดภัยจะเกิดได้อย่างไร ? ทำไมต้องทำแบบร้อนรนรีบเร่งไม่รับฟังข้อเสนอของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือถ้าจัดก็คงจะจัดการแบบวงแคบๆพวกเราถึงไม่รู้เรื่องเลยว่าผ่าน ครม.ไปได้อย่างไร ? นี่คือระบบราชการที่ยังยึดถือปฏิบัติแบบเดิมๆไม่เคยเปลี่ยนแปลง…นั่นคือคิดเองทำเองไม่ใส่ใจความเห็นหรือข้อเสนอใดๆ……..จึงเป็นที่มาของความไม่ปลอดภัยตลอดกาล……

 

 //////////////////////////////////