“เศรษฐกิจดิจิทัลกับแรงงาน 4.0 : วิกฤติเก่า หรือโอกาสใหม่?”

ระบบเศรษฐกิจแบบแพลตฟอร์มกับผลกระทบต่อการจ้างงานภาคบริการในประเทศไทย รัฐย่ำกฎหมายแรงงานตามไม่ทัน

วันที่ 25 เมษายน 2561 มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท (FES)และมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ได้จัดสัมมนาเรื่อง“เศรษฐกิจดิจิทัลกับแรงงาน 4.0 : วิกฤติเก่า หรือโอกาสใหม่?” ที่โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค ถนนราชปรารภ กรุงเทพมหานคร

นายอรรคนัฐ วันทนะสมบัติ นักวิจัยสถาบันเศรษฐกิจและแรงงานที่เป็นธรรม ได้นำเสนอผลการวิจัย เรื่องระบบเศรษฐกิจแบบแพลตฟอร์มกับผลกระทบต่อการจ้างงานภาคบริการในประเทศไทย โดยสรุปได้ดังนี้ คำนิยามเศรษฐกิจแพลตฟอร์มเป็นเศรษฐกิจแบบแบ่งปัน เป็นเศรษฐกิจแบบครั้งคราว เป็นการจับคู่ความต้องการของลูกค้า กับผู้เสนอขายสินค้าและการบริการ เป็นกิจกรรมการซื้อสินค้า และการบริการที่มักปรากฏในรูปแบบกิจกรรมการเช่าซื้อ

ในกรณีการใช้แพลตฟอร์มสำหรับเรียกรถโดยสารส่วนตัวอย่างอูเบอร์ นักวิจัยโดยเฉพาะที่ศึกษาประสบการณ์ของคนงานที่มีความเห็นสอดคล้องว่า คนขับรถกับผู้โดยสาร ไม่ได้เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ในแง่การแบ่งปันในความสัมพันธ์ในความหมายที่เราเข้าใจกันแต่อย่างใด

การจำแนกประเภทแรงงานดิจิทัล ตามลักษณะหน้าที่ของแพลตฟอร์มและประเภทของงานได้แก่ แรงงานตามความต้องการเฉพาะคราว แรงงานผ่านนายหน้าออนไลน์ และงานคัดลอกเนื้อหา ส่วนนักวิชาการด้านกฎหมายแรงงานในยุโรป และผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจแพลตฟอร์ม ยึดคำว่างานที่รับจ้างจบเป็นครั้ง หรือ Gig economy เป็นหลักในรายงานองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ และจำแนก เศรษฐกิจที่ประกอบด้วย งานที่เรียกว่างานดิจิทัลชนิดทำจากที่ใดก็ได้ที่มีแพลตฟอร์มเป็นสื่อกลางระหว่างผู้เสนองาน กับผู้รับทำงาน สามารถทำงานให้เสร็จจากที่ใดก็ได้ (crowdwork) กับงานตามความต้องการเสนอซื้อสินค้าหรือบริการ ที่ทำผ่านระบบปฏิบัติการ เป็นต้น

ในส่วนของผู้วิจัย เห็นด้วยกับข้อวิจารณ์ว่าเศรษฐกิจแพลตฟอร์มไม่ได้มีลักษณะการแบ่งปัน และปฏิเสธที่จะใช้คำว่าเศรษฐกิจแบ่งปัน แต่ใช้คำว่า เศรษฐกิจแพลตฟอร์ม ที่เป็นเศรษฐกิจพึ่งพาดิจิทัลแพลตฟอร์ม เปิดโอกาสให้เกิดการแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าและบริการ บนสมมุติฐานว่า เศรษฐกิจแพลตฟอร์ม ลดต้นทุนธุรกรรมการแลกเปลี่ยน ทำให้เกิดลักษณะงาน และความสัมพันธ์ใหม่ระหว่างนายจ้าง และลูกจ้าง ฉะนั้นคำนิยามจึงมีนัยสำคัญ สองประการ แรก คือ เศรษฐกิจแพลตฟอร์มมีองค์ประกอบ คือ แพลตฟอร์มเช่นอูเบอร์ หรือแอร์บีแอนด์บี หรือ ผู้ให้บริการ เช่น คนขับอูเบอร์ และผู้รับบริการ หรือลูกค้า ประการ?สอง คือ กิจกรรมสัมพันธ์ใหม่ ทำให้เกิดช่องโหว่และความขัดแย้งภายในกรอบกฎหมาย และนิยามในการศึกษาแรงงานแบบดั่งเดิม ซึ่งขอเรียกแรงงานทั้งหมดที่เข้ามาสัมพันธ์กับเศรษฐกิจแพลตฟอร์มว่า “แรงงานดิจิทัล” และยึดเอาการนิยาม และจำแนก “งานดิจิทัล” ประกอบด้วย งานเป็นครั้งคราว หรืองานรับจ้างแล้วจบเป็นครั้ง ของเดอเสตฟาโน ที่แบ่งออกไปงานดิจิทัลตามความต้องการผ่านแอพพลิเคชั่น และงานดิจิทัลที่ไม่อิงกับสถานที่ สามารถทำที่ใดก็ได้ ในแง่งานประเภทแรกนั้นยังคงปรากฏของงานแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการแบบดั่งเดิม คือการพบกันของผู้ให้และผู้รับบริการในสถานที่จริง เช่นการบริการขนส่ง (อูเบอร์) ที่พัก (แอร์บีแอนด์บี) และทำความสะอาด (บีนีท) ซึ่งเป็นจุดสนใจหลักของรายงาน ขณะที่งานนั้นผู้ทำงานรับงานผ่านทางแพลตฟอร์มออนไลน์สามารถทำงานโดยเอกเทศ และส่งมอบผลผลิตไปยังแพลตฟอร์มออนไลน์

ข้อสรุปกรณีงานวิจัยในต่างประเทศที่คนสนใจในการศึกษามากๆคือ เศรษฐกิจแบบแพลตฟอร์ม สนใจสัญญาการจ้างงาน และผ่านการจ้างงานสนใจสภาพการทำงาน และรายได้ที่เพียงพอต่อการยังชีพจริงหรือไม่ และความท้าทายต่อการจ้างงานด้วย เช่น การจ้างงานผ่านแพลตฟอร์ม อูเบอร์ถือว่าเป็นลูกจ้างหรือไม่ และมีผลผูกพันต่อการปฏิบัติของนายจ้างด้วยหรือไม่ในการจ้างงาน ซึ่งมีการฟ้องร้องเรื่องการเลือกปฏิบัติและการจ้างงานไม่เป็นธรรม แต่ประเทศไทยจะเป็นเรื่องของความขัดแย้งที่เป็นข้อกฎหมายที่ไม่ใช้เรื่องการเลือกปฏิบัติ ข้อที่สนใจจะเป็นเรื่องของมาทำแล้วผิดกฎหมายหรือไม่ ซึ่งในต่างประเทศที่มีการลวนลามผู้โดยสาร แต่ยังไม่ถึงกับข่มขืนเหมือนในต่างประเทศ จริงๆแล้วงานที่ใช้เทคโนโลยีมาใช้ในการทำงานได้ แต่กลับถูกนำมาใช้ในการสร้างผลกำไรมากกว่างานที่มีคุณค่า และปัจจัยใดที่เป็นงานที่มีคุณค่า ซึ่งได้ศึกษากรณีอูเบอร์ที่เชียงใหม่ได้สัมภาษณ์ผู้ขับรถอูเบอร์ มีทั้งเป็นรายได้เสริมในการส่งเสริมรายได้หลัก เช่นไกด์ที่มาขับเพื่อขายทัวร์ ส่วนแอร์บีแอนด์บี ก็ได้สัมภาษณ์ในกรุงเทพฯ และที่เชียงใหม่ด้วยที่มีการเปิดบ้านให้เช่ารายวัน

ข้อถกเถียงในประเทศไทยคือเรื่องของการให้บริการ และกฎหมายเป็นหลักในส่วนของอูเบอร์ คนใช้บริการมีความสุขกับการใช้แพลตฟอร์มของอูเบอร์ เช่น การเรียกแท็กซี่ในกรุงเทพมีปัญหามากการมาของแพลตฟอร์มไม่มีปัญหาและการใช้บริการก็ตัดปัญหาว่าแท็กซี่เรียกแล้วไม่ไปได้ แต่ที่เชียงใหม่ขนส่งสารธารณะค้อนข้างลำบากด้วยเส้นทางที่ไกลเมือง แต่ทำให้คนใช้งานอูเบอร์มีความสุขมาก ฝั่งของคนขับอูเบอร์ร้อยเปอร์เซ็นต์ตอบว่าดี แก้ปัญหาการที่ไม่สามารถทำงานปกติได้ การมาของอูเบอร์ทำให้ยืดหยุ่นในการทำงานได้ แต่เมื่อสอบถามลึกๆรู้สึกว่า ถูกเอาเปรียบจากแพลตฟอร์มเช่นกัน มุมมองของรัฐก็แก้ไขโดยยึดกฎหมายเป็นหลักแต่ตามไม่ทันระบบการจ้างงานใหม่ๆแล้ว เรื่องจากไม่มีกฎหมายกำหนดจึงไม่ผิด แต่คนขับรถอูเบอร์ผิดเพราะรถไม่ได้จดทะเบียนสาธารณะ และไม่มีใบขับขี่สาธารณะ แต่ว่า ในต่างประเทศจะถกเรื่องว่า คนขับเป็นแรงงานหรือไม่ และกฎหมายแรงงานจะคุ้มครองอย่างไรซึ่งผู้ให้ข้อมูลจำนวนมากเล่าว่า การทำงานในกรุงเทพฯ การที่ไม่ได้พบเจอลูกและภรรยา จึงเห็นโอกาสในการที่จะขับอูเบอร์ที่เชียงใหม่เพื่อได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอยู่พร้อมหน้าครอบครัว คนที่เคยป่วยเป็นอัมพฤกษ์ก็สามารถทำงานได้เมื่อรักษาหายแล้ว และหลายท่านก็ทำงานประจำอยู่แต่ก็เปลี่ยนมาขับอูเบอร์เป็นอาชีพหลักเพิ่มมากขึ้น หรือคนเกษียณอายุก็มาขับอูเบอร์เป็นรายได้เพิ่มอีกด้วย

ตัวแพลตฟอร์มทำให้ทราบว่าบริเวณไหนที่มีคนต้องการใช้รถมากๆจะมีการให้คนขับรถได้ไปอยู่ตรงนั้นและเพิ่มรายได้ให้ 1.4 เท่ามีการเก็บเงินเพิ่มที่ผู้โดยสาร ซึ่งค่าโดยสารถูกกำหนดที่แพลตฟอร์ม เดิมราคาค่าแท็กซี่กำหนดโดยรัฐเมื่อแท็กซี่ไม่ไปก็ร้องต่อรัฐได้ แต่การใช้บริการอูเบอร์ เป็นการกำหนดโดยแพลตฟอร์ม ซึ่งเดิมอาจลงทุนในการที่จะให้แรงจูงใจ แต่เมื่อมีคนขับมากขึ้นตอนนี้รายได้ก็ลดลงแล้วในปัจจุบัน เนื่องจากมีคนใช้แพลตฟอร์มมากขึ้น หลังจากมีการรวมตัวกันของแพลตฟอร์มอูเบอร์กับ แกร็บ (Grab)
ประเด็นแพลตฟอร์มใช้การประเมินผู้เข้าร่วมใช้แพลตฟอร์มอูเบอร์ ผ่านการให้บริการ อย่างเช่นการไม่ปฏิเสธการรับผู้ใช้บริการ และการประเมินคะแนนของผู้ใช้บริการ ปัญหาที่พบคือ การที่คนขับรถอูเบอร์ได้มีการนำลูกที่ป่วยไปดูแลด้วยเนื่องจากหากปฏิเสธก็อาจไม่ถูกเรียกใช้อีกทำให้คนขับกลัวที่จะไม่ได้งานจากแพลตฟอร์มจนส่งผลต่อคุณภาพชีวิต ด้วยเนื่องจากมีระบบการประเมินผ่านการให้คะแนนสูงๆเพื่อที่จะได้รับการเรียกใช้เมื่อมีคนเรียก ทำให้แม้แต่การกินอาหารก็ไม่ได้กิน และการปฏิเสธผู้โดยสารก็มีผลต่อการให้คะแนนด้วยทำให้มีผลต่อการที่จะถูกเรียกเพื่อให้บริการแพลตฟอร์มแอร์บีแอนด์บี ที่มีการนำเอาห้องพักอพารท์เม้นท์ หรือบ้านพักมาให้บริการเป็นห้องพักรายวัน ซึ่งก็มีความผิดต่อกฎหมายไม่ว่าจะข้อใดข้อหนึ่ง และผลคือว่าคนที่ต้องการเช่ารายเดือนอาจหาที่พักยากขึ้น ด้วยการให้พักเป็นรายวันเพิ่มมากขึ้น และมีรายได้ที่สูงกว่า แพลตฟอร์มบีนีท การจ้างงานลูกจ้างทำงานบ้าน ทำให้กำหนดเวลาการทำงานบ้านได้มีความสะดวกมากขึ้น และตัวแพลตฟอร์มมีการประกันความเสียหายด้วย และทางแพลตฟอร์มประกันให้เมื่อมีการทำความเสียหายจากแม่บ้านได้ และการให้คะแนนทำให้เหลือที่จะให้แม่บ้านคนไหนมาทำงานให้ได้ ซึ่งแม่บ้านที่ทำงานเดิมทำเป็นรายเดือนก็ย้ายมาทำงานรายวันได้ มีค่าตอบแทนเป็นรายชั่วโมง และค่านายหน้าจากแพลตฟอร์ม และคนที่เป็นแม่บ้านจะต้องรับภาระที่ต้องจัดหาเครื่องมือในการจัดการทำความสะอาด รวมถึงค่าเดินทางด้วย และได้มีการสอบถามเรื่องคนที่ทำงานบ้าน ซึ่งมีการทำงาน 3 ครั้งต่อวัน และค่าจ้างที่ได้รับสูงกว่าค่าจ้างขั้นต่ำไม่มาก และต้องมีการแบกรับภาระค่าเดินทางเอง ซึ่งทำงานได้วันละไม่เกิน 2 ชั่วโมงเท่านั้นต่อบ้าน ค่าแรงชั่วโมงละ 200 บาท ผู้ว่าจ้างจะเป็นคนให้คะแนนประเมินการทำงานของแม่บ้าน แต่ว่าแม่บ้านไม่สามารถที่จะให้คะแนนผู้ว่าจ้างได้ และการรวมกลุ่มแบบสหภาพแรงงาน หรือว่าสมาคมเพื่อการต่อรองด้านสวัสดิการการจ้างงานมีน้อยมาก เพราะว่ากลัวจะถูกให้ออกจากระบบแพลตฟอร์มทำให้ไม่มีงานทำได้ แต่การรวมกลุ่มจะเป็นแบบรวมกันเพื่อพูดคุยปัญหาเท่านั้น แต่ก็จะมีคนเข้ามาดูพฤติกรรมการพูดคุยในกลุ่มเพื่อประเมินไม่ให้เกิดปัญหาการเรียกร้องค่าจ้าง หรือการจ้างงานด้านสิทธิสวัสดิการอื่นๆ เช่นระบบประกันสังคมที่ควรมีตามกฎหมายได้ นอกจากอาชีพการทำความสะอาด ยังมีอาชีพรับจ้างดูแลผู้ป่วยติดเตียง หรือคนพิการ

ตัวแทนผู้ประกอบการที่พักอาศัย กล่าวว่า ตนได้ใช้แพลตฟอร์มนำที่พักอาศัยจากเช่ารายเดือน มาให้เช่ารายวัน ซึ่งตอนนี้มีรายได้ดี ทำแอร์บีแอนด์บี ลูกค้ามีคุณภาพมากกว่า ซึ่งมีการดูแลห้องพักให้ด้วย ซึ่งมีการแสดงความคิดเห็นได้ 2 ทาง และแรกๆเป็นการให้ห้องพักอย่างเดียว แต่ตอนนี้เริ่มที่จะต้องเหมือนกับโรมแรมมากขึ้นคือต้องมีการเพิ่มเรื่องของ ผ้าห่ม สบู่ แชมพูให้บริการด้วย จากเดิมไม่มีบริการตรงนี้ ซึ่งร้อยละ3 ของค่าบริการแพลตฟอร์มเขาได้อะไรบ้าง ซึ่งแพลตฟอร์มตรงนี้ มีการแข่งขันกันมากขึ้น ตอนนี้ขยายมากขึ้นในส่วนของลูกค้า แม้ว่าอาจไม่ได้อยู่ในสถานที่ท่องเที่ยว ซึ่งการเข้าพักแบบมาพักแล้วก็ไป การแข่งขันอาจกับบิสเน็ตโฮเทลมากกว่าโรงแรมขนาดใหญ่ ซึ่งในส่วนของอพาร์ทเม้นท์ที่เปิดแบบนี้คิดว่าเกิดประโยชน์ ในประเทศเยอรมันนีโรงแรมเต็มตรงนี้มาแก้ได้ แต่ส่วนของประเทศไทยนั้นไม่เคยมีปัญหาเรื่องของการบริการโรงแรมขาดไม่เพียงพอในการให้บริการ กรุงแทพฯมีโรงแรม 13,000 ห้องในการให้บริการห้องพัก ความสัมพันธ์นั้นมีความต่างกัน
นายเฉลิม ชั่งทองมะดัน รองประธานสมาคมมอร์เตอร์ไซค์ กลุ่มโกไบค์ เป็นการรวมตัวกันในการพูดคุยเท่านั้น และจากประสบการที่ขับรถมอร์เตอร์ไซค์วินมา 30 ปี เดิมไม่ได้สนใจเรื่องใหม่ๆที่เข้ามาซึ่งไม่ได้รู้อนาคตว่าจะมีการปรับเปลี่ยนอย่างไร ซึ่งได้เข้าร่วมการพัฒนากับมอเตอร์ไซค์หลังจากที่เข้าร่วมกิจกรรมกับทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็มีแกร็บไบค์มาแย้งอาชีพมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ซึ่งกระทบต่อวินมีใช้มอเตอร์ไซค์ป้ายดำมาวิ่งภายใต้แต่ละวินมอเตอร์ไซค์ต้องขึ้นทะเบียนให้ถูกต้องก่อน และไม่สามารถให้บริการได้เพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้บริการได้ ซึ่งได้มีข้อเสนอในการแก้ไขแต่ภาครัฐไม่ได้ให้ความสนใจที่จะแก้ไขปัญหาและไม่ให้การคุ้มครองสิทธิในการที่จะปกป้องคนที่ทำถูกกฎหมายได้ และในอนาคตก็คิดว่า น่าจะปรับตัวได้ในการให้บริการของมอเตอร์ไซค์ หากไม่ปรับตัวก็จะมีปัญหาเหมือนกับแท็กซี่เหมือนกัน การพัฒนาโกไบค์เพื่อมาใช้ในการเรียกมอเตอร์ไซค์ ได้มีการพัฒนาแอ้พมาเพื่อการให้บริการ ซึ่งผู้ลงทุนเป็นชาวมาเลเชีย และใช้กับมอเตอร์ไซค์ป้ายเหลืองการใช้ระบบแบบรับไม่แก้ปัญหาได้ ด้วยมองว่าแอ็ปถูกต้องตามกฎหมาย แต่คนที่เข้าระบบผิดกฎหมาย

นายบัณฑิตย์ ธนชัยเศรษฐวุฒิ นักวิชาการกฎหมายแรงงาน กล่าวว่า การใช้แพลตฟอร์มทำให้คนหนึ่งคนสามารถเข้าถึงการจ้างงานหลายรูปแบบ และการเข้าถึงงานเหล่านี้มีอาชีพหลัก หรือมีความจำเป็นที่ต้องเข้าถึงงานเหล่านี้ และยังมีความจำเป็นต้องขับแท็กซี่อูเบอร์ และมีการต่อยอดงานเดิมที่มีอยู่ การทำงานงานอาชีพเสริมเพื่อหารายได้
การที่กล่าวถึงตลาดแรงงานด้านดิจิทัลน่าจะมีข้อมูลในกระทรวงดิจิทัล และเศรษฐกิจบ้าง ซึ่งคิดว่าในงานวิจัยควรมีในประเทศในแถบเอเชียด้วย ด้านประสบการณ์ที่อาจมากกว่าประเทศแถบยุโรป อเมริกา เนื่องจากอาจมีการตื่นตัวที่ต่างกัน ประเด็นในอเมริกาจะใช้กฎหมายต่างกันแต่ละมลรัฐ แต่ประเทศไทยนั้นใช้กฎหมายฉบับเดียวทั้งประเทศ ไม่มีแบ่งแยก แม้ว่าจะมีความต่างกันทางภูมิศาสตร์
การให้บริการนี้เป็นการควบคุมผ่านระบบข้อมูล การให้คะแนนคนให้บริการ เป็นระบบโปร์แกรมในการตัดสิน แทนการที่จะใช้การควบคุมโดยการใช้ฝ่ายบุคคล หัวหน้างาน เพื่อการจ้างงาน แต่การผ่านระบบใสโค้ตระหัสเข้าไปเพื่อควบคุมประเมิน

นายอนันต์ บวรเนาวรักษ์ ผู้ตรวจการ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ประเด็นการจ้างงานแบบแพลตฟอร์มเป็นเรื่องที่น่าสนใจ และภาครัฐก็มีการปรับตัวช้าด้านกฎหมาย เรื่องการใช้แพลตฟอร์มใหม่ๆมาใช้ในการให้บริการต่างๆ รวมถึงการทำงานด้วย ตามกฎหมายแรงงานยังถือว่าไม่ใช่การจ้างงาน แต่ภาครัฐมองว่าเป็นโอกาสในการเข้าถึงงาน ระบบการจ้างงานเป็นระบบที่อธิบายยากว่า แต่การใช้แพลตฟอร์มเรียกใช้บริการ แล้วการประเมินจากผู้ว่าจ้าง หรือผู้ใช้บริการเหมือนกับการใช้ฝ่ายบุคคลมาประเมินการทำงานของลูกจ้างในสถานประกอบการ

การใช้แพลตฟอร์มเมื่อมีการปฏิเสธการรับงานคือการปฏิเสธ แต่ใม่ได้บอกว่า ปฏิเสธด้วยเหตุผลอะไร เลือกไม่ได้ด้วยว่า จะทำหรือไม่ทำ เมื่อเข้าสู่ระบบ และแพลตฟอร์มเมื่อมีกำไรเขาก็ขาย ไม่ได้มีความผูกพัน หรือมีผลด้านกฎหมายใดในการที่จะปกป้องผู้ทำงานภายใต้ระบบแพลตฟอร์ม การทำงานแบบบนี้เหมือนถูกเอาเปรียบตลอดเวลา และส่วนตัวคิดว่า ความสัมพันธ์ของความเป็นนายจ้างลูกจ้างหายไป ต่อรองไม่ได้เลย ซึ่งภาครัฐยังออกตัวช้าในการที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิด เพราะพอจะหาระบบมาดูแล ระบบก็ปรับตัวไปเป็นอย่างอื่นแล้ว อย่างอูเบอร์ก็ขายให้แกร็บโดยไม่มีความผูกพันกันในความเป็นลูกจ้าง

นายอนันต์ ยังกล่าวอีกว่า แพลตฟอร์มมีทั้งวิกฤตและโอกาส การจัดการด้านแก็บหรืออูเบอร์นั้นมาจากต่างประเทศ แต่ว่า หากรัฐทำเองจะดูแลง่ายมากขึ้น หากเกิดอุบัติเหตุในการทำงานเกิดขึ้นใครจะรับผิดชอบในกรณีการจ้างงานแบบนี้

สหภาพแรงงานยุคดิจิทัล-กรอบแนวคิดและแนวทางการปรับตัว?

นางสาวปรีดา ศิริสวัสดิ์ มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท กล่าวว่า การที่มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท สนใจเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสหภาพแรงงาน ด้วยทั่วโลกเกิดความท้าทายมีการผลักแรงงานออกสู่นอกระบบมากขึ้น มีการจ้างงานอิสระ มีการจ้างงานผ่านระบบดิจิทัลหรือแพลตฟอร์ม มีสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงกับแรงงานทางด้านการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศ ภาวะโลกร้อนที่ทำให้เกิดการย้ายงาน หรือการปรับเปลี่ยนด้านเทคโนโลยีใหม่ ตามสภาวะภูมิอากาศ และสหภาพแรงงานมีความเป็นตัวแทนในการรวมตัวเพื่อการเจรจาต่อรอง ซึ่งก็ต้องมีการปรับตัว และกำหนดชะตากรรมของตัวเองได้ ไม่ใช่แค่การรวมตัวเพื่อเรียกร้องแค่เรื่องตัวเอง
สหภาพแรงงานมีการปรับตัวเข้าสู่ระบบโลกาภิวัตน์ มีความสร้างสรรค์ และกรอบแนวคิดทฤษฎีวิเคราะห์และขยายผลกรณีอื่นๆได้ด้วย ซึ่งก็มีการทำงานด้านวิชาการ ซึ่งต้องมีการวิเคราะห์สังเคราะห์เชิงอำนาจระหว่างกัน และมีอำนาจในการเปลี่ยนแปลง ว่าอำนาจของแรงงานมี 4 แหล่งคือ มีกรอบแนวคิด คือ 1. อำนาจเชิงโครงสร้าง คืออำนาจที่แรงงานอาจมีตำแหน่งแห่งที่ในระบบเศรษฐกิจ หากไม่มีการทำตรงนั้น จะทำให้เกิดการชะงักขึ้นหากไม่ปฏิบัติงานตรงนั้นได้ 2. อำนาจเชิงองค์กร คือการรวมกลุ่มของคนงาน ที่มีการจัดตั้ง อำนาจในสถานประกอบการ อุตสาหกรรม และทางด้านการเมืองที่มีการโยงหลานยระดับ 3.อำนาจเชิงสถาบัน คือ เมื่อในอดีตเมื่อมีการต่อสู้แล้วได้รับการต้อนรับ และถูกนำมาในรูปของกฎหมาย 4.อำนาจทางสังคมที่จะทำให้เกิดการ อธิบายสาธารณะได้ อำนาจทางสังคมจะช่วยในการขยายอำนาจให้แข่งแกร่งมากขึ้น และมีจำกัดในการแก้กฎหมายเชิงสถาบันได้ เช่นแรงงานประเทศฟิลิปปินส์ที่ไปทำงานในต่างประเทศ รัฐบาลเห็นว่า แรงงานมีคุณค่าเป็นผู้ที่สร้างรายได้ให้กับประเทศเป็นต้น

กรณีศึกษา รูปแบบที่ 1 คือต้องจัดตั้งแรงงานในระบบ และแรงงานนอกระบบ ซึ่งมีทั้งแรงงานยในระบบ และแรงงานนอกระบบทำงานร่วมกัน และดูว่า จะมีการต่อรองกันอย่างไร ช่วยกันว่า จะต่อรองอย่างไร ตัวอย่างที่น่าสนใจ กรณีในประเทศอินเดีย กรณีหาบเร่แผงลอยที่รวมตัวต่อรองกับภาครัฐได้ และกรณีคนงานรักษาความปลอดภัยที่ประเทศเคนย่าที่มีการตั้งสหภาพแรงงานเพื่อสร้างอำนาจต่อรอง แรงงานภาคขนส่งที่ประเทศยูกันดาที่เดิมมีสหภาพแรงงาน และต่อมาออกนอกระบบเลยมีการรวมกลุ่มกัน เพื่อลดการคุกคามจากตำรวจ และแรงงานภาคขนส่งที่เป็นผู้หญิงก็ได้รับการยอมรับมากขึ้น และกรณีศึกษาแรงงานที่เป็นทุนระดับโลกที่มีกิจกรรมกับทุนระดับโลกบางรายมีเงื่อนไข กำหนดเวลาที่ต้องเสร็จตามกำหนด ซึ่งก็มีการพูดถึงความไม่เป็นธรรมได้หากพบว่ามีการเอารัดเอาเปรียบ เพื่อสร้างการต่อรอง และกลไกการร้องเรียนOECD ที่เจ้าของบริษัทที่อยู่ในประเทศที่พัฒนาแล้วต้องยอมรับ หากมีการเอาเปรียบก็สร้างร้องเรียนเพื่อให้มีการใช้กลไกร้องเรียนเพื่อให้หันมาดูแลได้ ซึ่งกลไกต่างๆที่มีต้องมีการสร้างเครือข่าย มีการรวมกลุ่มทั้งในประเทศ และต่างประเทศเพื่อการรณรงค์ร่วมกันได้ จากตัวอย่างประเทศบราซิลที่มีการร้องเรื่องการก่อสร้างสนามกีฬาโอลิมปิก2016 ที่มีการละเมิดสิทิแรงงาน ด้านความไม่ปลอดภัยในการทำงาน ทางสหภาพแรงงานBWI ที่มีการเรียกร้องให้นายจ้างรับฟังเรื่องสภาพการจ้าง และสิทธิแรงงานมากขึ้น ซึ่งมีการร้องไปที่คณะกรรมการโอลิมปิกเพื่อให้แก้ไขปัญหา ยังมีกรณีประเทศตุรกีเองสถานการณ์แรงงานก็ไม่ค่อยดีเท่าไร แต่ด้วยสหภาพแรงงานก็ตั้งได้ ซึ่งเป็นฝ่ายขวาก็เห็นด้วยกับรัฐ แต่เมื่อมีการปรับเปลี่ยนผู้นำใหม่ก็มีการลุกขึ้นมาทำยุทธศาสตร์เพื่อฟื้นฟูการจัดตั้งสหภาพแรงงานใหม่ มีการเชื่อมโยงกับสมาพันธ์แรงงานสากล และสมาพันธ์ขนส่งระหว่างประเทศ เป็นต้น เป็นความสามารถที่จะเชื่อมโยงระหว่างประเทศได้ ด้วยผู้นำแรงงานเป็นนักกิจกรรมมาก่อนก็มีการวางแผนที่ชัดเจนมากขึ้นด้วยการจัดกรอบความคิดเพื่อการทำงานที่สำเร็จ

แนวร่วมระหว่างแรงงานกับการเมือง บทเรียนนี้คือ มองว่า แรงงานต้องสร้างแนวร่วมกับภาคสังคม องค์กรพัฒนาเอกชน และการเมือง ซึ่งแรงงานเองต้องมีการวางแผน และมียุทธศาสตร์ในการทำงานตรงนี้ แต่ก็มีว่า ร่วมได้แต่ตเองเป็นอิสระด้วย ซึ่งกรณีสหภาพแรงงานในบราซิล ได้ผู้นำแรงงานอย่าง ลูลา (นายลูอิส อิกนาซิโอ ลูลา ดา ซิลวา) เป็นประธานาธิบดี ถือเป็นยุคทอง แต่เมื่อมีวิกฤติทางเศรษฐกิจ พรรคแรงงานก็ได้รับผลกระทบ เมื่อมีความพ่ายแพ้ทางการเมือง แรงงานก็ได้รับอำนาจทางการเมือง สังคม แต่เมื่อมีวิกฤติสังคมก็ไม่ให้ความเชื่อถือต่อแรงงานด้วย ซึ่งก็ถือว่า องค์กรสหภาพแรงงานมีพลังในการขับเคลื่อนและผลักดันทางปัญหาได้ ประเทศอุรุกวัย ก็มีพรรคพันธมิตรขององค์กรแรงงานเข้าไปมีส่วนร่วมในการก่อตั้งรัฐบาล และสามารถรักษาความเป็นตัวตนแรงงานได้ สหภาพแรงงานในบราซิลสามารถที่จะให้ผู้หญิงมีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น และประเทศเวียดนามที่กำลังปรับองค์กรและประเทศมาเลเชียก็มีการปรับตัว เรียกร้องให้กับแรงงานข้ามชาติ มีการต่อรองให้แรงงานข้ามชาติด้วย ซึ่งการสหภาพแรงงานมีการรวมตัว เจรจาต่อรอง การทำงานกับสังคม องค์กรเอกชนทำให้ได้รับการยอมรับมากขึ้น แต่ว่า ก็มีการปรับเปลี่ยนในระบบการจ้างงาน แรงงานต้องมีการปรับตัวมีการวางแผนในการจัดการมากขึ้น ภายใต้ทรัพยารกรที่มี ซึ่งประเทศไทยมีทรัพยากรมากแค่ไหน ทรัพยากรของเรา กลายเป็นอำนาจหรือยังไง เพราะอะไร?

นายบุญสม ทาวิจิตร ประธานเครือข่ายสหภาพแรงงานอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้าง เครื่องเรือน และคนทำไม้แห่งประเทศไทย(BWICT) กล่าวว่า การใช้อำนาจของขบวนการแรงงานไทยใช้อย่างไร ทรัพยากรมีแค่ไหน และใช้ทรัพยากรอย่างไร ทั้งอดีต และปัจจุบัน ยุคก่อนต้องนั่งรถระดมกันไปเพื่อหนุนช่วยพี่น้องแรงงานที่มีการชุมนุมเนื่องจากเดือดร้อน แต่ยุคนี้เป็นยุคดิจิทัล การชุมนุมมีการสื่อสารกันอย่างไร ส่งกำลังใจ กดไลน์ให้ และเมื่อการสื่อสารทางโซเซียลมีเดียสามารถเข้าไปได้ทุกที่ไม่ใช่เพียงสวัสดิกันเท่านั้น การหนุนช่วยกันอย่างไร อย่างกรณีอินเดียไม่ได้มีกฎหมายแต่เขารวมตัวกันเรียกร้องให้เกิดกฎหมายมาคุ้มครองและการเรียนรู้ของแรงงานทั่วโลกต้องการศึกษามากกว่ากฎหมายไม่ใช่คุยกันแค่ภายใต้กฎหมายเท่านั้น
บทบาทขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO)เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ถูกใช้ในการปกป้องเมื่อมีการละเมิดสิทธิแรงงาน กรณีการสร้างสนามฟุตบอลในประเทศกาต้าร์ เป็นการรณรงค์ทุกประเทศ เนื่องจากเกิดปัญหาการละเมิดสิทธิ การทำงานในสภาพที่เลวร้าย รณรงค์กับทางกรรมการฟีฟ่า มีการใช้สื่อรณรงค์และมีการให้ใบแดงกับประเทศกาต้าร์ ก็ทำให้แรงงานได้รับการดูแลด้านสวัสดิการที่ดีมากขึ้น
ประเทศไทย ขบวนการแรงงานมีทรัพยากร และอำนาจมี แต่ใช้ได้แค่ไหน และการเข้ามีส่วนร่วมกับพรรคการเมืองหรือยังหากไม่ได่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองก็ไม่ทราบว่า เลือกใครเข้าไปทำงานทางการเมือง เมื่อไม่รู้ว่า เลือกใครก็ไม่ได้รับการดูแล สุดท้ายก็ต้องมีการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง วันนี้การชุมนุมก็ทำไม่ได้ การยื่นข้อเรียกร้องของแรงงานทำได้ แต่ว่า ทางการเมืองรัฐของนายทุนเข้าก็ไม่ให้ แม้แต่รัฐบาลชุดนี้ก็ตาม แรงงานควรต้องมีพรรคการเมืองเป็นของตนเอง

นางสาวศิริจรรยาพร แจ้งทองหลาง สหภาพแรงงานวาย เอส ภัณฑ์ กล่าวว่า กรณีแรงงานนอกระบบที่ฮ่องกงก็มีการรวมกลุ่มกันเพื่อเรียกร้องในการดูแลทางสวัสดิการ อินโดนีเซีย มีการจัดตั้งสหภาพแรงงานลูกจ้างคนทำงานบ้าน แบบเคาะประตูบ้าน เพื่อหาสมาชิก คนทำITที่อินเดียที่ทำงานจำนวนมาก การจัดตั้งคนกลุ่มนี้ยากมาก มีการจัดรถรับส่ง และมีพื้นที่ส่วนตัวในการทำงานจึงยากมาก มีการใช้วิธีไปหาผู้ปกครองที่บ้าน เพื่อให้บอกลูกหลานมาสมัครสมาชิกสหภาพแรงงาน และมีแอพพิเคชั่นในการรับสมัครสหภาพแรงงาน มีข้อมูลข่าวสารให้เห็นเกี่ยวกับแรงงานเพื่อให้แรงงานได้รับข้อมูล และสมัครเป็นสมาชิก ที่ยูกันดาที่มีการเข้าไปเป็นลูกค้าในส่วนของสหภาพแรงงานขนส่ง โดยดูว่ามีปัญหาเรื่องห้องน้ำ ทางสหภาพแรงงานก็เข้าไปสร้างห้องน้ำสาธารณะเพื่อให้บริการดูแลแรงงานขนส่ง ซึ่งทำให้แรงงานขนส่งเข้ามาเป็นสมาชิกสหภาพ มีการสำรวจความต้องการและแก้ปัญเพื่อให้เขาเห็นความสำคัญในการมีสหภาพแรงงาน ซึ่งเรื่องสัดสวนผู้หญิงก็มีการกำหนดสัดส่วน กำหนดไว้เป็นพื้นที่สำหรับผู้หญิง ซึ่งก็สะท้อนถีงองค์กรแรงงานของเราไม่มีการกำหนดเรื่องสัดส่วน และเงินในการทำกิจกรรมสำหรับผู้หญิงเลย ขนาดกัมพูชายังมีการกำหนดเรื่องเหล่านี้ไว้
มีการกำหนดแพลตฟอร์ม โกเจ็กในSPMI ซึ่งเป็นองค์กรสหภาพแรงงาน ที่ต้องการที่จะจัดตั้งสหภาพแรงงานกับกลุ่มคนขนส่ง ขับมอเตอร์ไซค์ที่มีการกรอกใบสมัคร มีการจ่ายค่าจ้าง มีระเบียบข้อตกลง และเห็นว่าแพลตฟอร์มนี้เป็นนายจ้าง ซึ่งการต่อสู้นี้ทำให้ทางกระทรวงแรงงานในอินโดนิเซียยอมรับว่า แพลตฟอร์มนี้เป็นนายจ้างเนื่องจากมีการสมัครงาน ซึ่งประเทศไทยก็อาจมีทางออกบ้างหากจะมีการรวมกลุ่มกันในกรณีแพลตฟอร์มที่เกิดขึ้น มีการอ้างศาลสูงที่ตัดสินกรณีอูเบอร์เป็นนายจ้างคนขับรถอูเบอร์

รศ.ดร.นภาพร อติวานิชยพงศ์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า สหภาพแรงงานกับการเคลื่อนไหวทางสังคม เพื่อให้เกิดแนวคิดการปรับตัวในยุคดิจิทัล สหภาพแรงงานที่เป็นขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมเป็นการปรับตัวของขบวนการแรงงานที่ต้องปรับตัวเพื่อให้ยังมีบทบาททางสังคม ของสหภาพแรงงาน ซึ่งตอนนี้รูปแบบการจ้างงานในระบบเหลือน้อย และมีแรงงานข้ามชาติเข้ามาจำนวนมาก ซึ่งตอนนี้การจ้างงานมีการปรับตัวตลอด เช่นรูปแบบการจ้างงานแบบแพลตฟอร์ม และการสื่อสาร การปรับตัวด้านเทคโนโลยี 4.0 ที่กระทบต่อแรงงาน การจ้างงาน แล้วสหภาพแรงงานต้องการปกป้องสิทธิของแรงงาน หากเป็นสหภาพแรงงานเชิงสังคม ต้องปกป้องผลประโยชน์ของแรงงาน และสังคมด้วย ซึ่งการปกป้องผลประโยชน์ของแรงงาน ผู้นำแรงงานประเทศต่างๆที่เข้าประชุมองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ ก็มีการกล่าวถึงหลักจรรยาบรรและสิทธิต่างๆต้องเป็นประโยชน์ต่อแรงงานไม่ใช่ว่าเข้าสู่ยุคดิจิทัลแล้วคุณภาพชีวิตแรงงานต่ำลง ข้อเสนอ ให้มีการขยายฐานมวลชนออกไปนอกจากแรงงานในระบบ ไปสู่แรงงานนอกระบบ และแรงงานข้ามชาติ ซึ่งประเทศไทยมีความพยายามที่จะทำ ซึ่งมีสหภาพแรงงานบางแห่งมีการเปิดรับแรงงานข้ามชาติเข้าเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน และการคุ้มครองแรงงานนอกระบบ ซึ่งมีบางองค์กรแรงงานอย่างคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยมีการเรียกร้องสิทธิสวัสดิการแรงงานนอกระบบด้วย ซึ่งมีผู้นำแรงงานหญิงประเทสญี่ปุ่น ว่าสหภาพแรงงานต้องขยันและเป็นฝ่ายลูกจ้าง จึงจะแก้ไขปัญหาได้ และอีกท่านเสนอว่า ต้องร่วมมือกับรัฐอย่างเสมอภาคและเท่าเทียม และการร่วมมือตรงนี้ทั้งสองฝ่ายต้องมีบทบาทที่หนุนเสริมกัน การปกป้องสังคม การที่สหภาพแรงงานจะมีจุดยืนที่ก้าวหน้า และไม่มีผลกระทบ อย่างกรณีที่มีการลงทุนเกี่ยวกับการบำนาญชราภาพ ซึ่งจากกรณีโลกร้อนที่เกิดขึ้นจะมีการแก้ หรือจัดการระบบสวัสดิการเพื่อการรองรับการเปลี่ยนด้านเทคโนโลยีที่กระทบต่อแรงงานอย่างไร จากการที่สหภาพแรงงานเข้าไปหนุนการต่อสู้ของชาวบ้านที่ออกมาคัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหิน โดยมีคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ออกแถลงการณ์หนุนการต่อสู้ของชาวบ้าน และคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน แต่ว่าทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟฝ.)กับออกมาสนับสนุนการก่อสร้างโรงงานไฟฟ้าถ่านหิน นี่เป็นเรื่องยากของการที่สหภาพแรงงานจะเป็นสหภาพแรงงานทางสังคมซึ่งจะปรับอย่างไร จุดยืนและแนวคิดของสหภาพแรงงานต้องชัดเจน เพื่อการกำหนดวิธีการของแรงงานได้ เมื่อมีการเข้าสู่ยุคดิจิทัล เนื่องจากข่าวสารเผยแพร่ได้รวดเร็วมากขึ้น ซึ่งก็มีทั้งด้านดี และด้านลบด้วย

ประเด็นเรื่องการเชื่อมระหว่าแรงงานในระบบ และแรงงานนอกระบบ คิดว่า คงต้องสลายทัศนะของสหภาพแรงงานเพื่อการก้าวข้ามความเป็นตัวตน ซึ่งเดิมคสรท.มีโครงการการมีส่วนร่วมของแรงงานนอกระบบ แรงงานข้ามชาติ ซึ่งตอนนี้ในส่วนของระบบสหภาพแรงงานมีการรับแรงงานข้ามชาติเป็นสมาชิกแล้ว จะทำอย่างไรให้มีการรับแรงงานนอกระบบเข้าเป็นสมาชิกได้บ้าง โดยต้องแก้ปัญหาทั้งภายใน และภายนอกด้วยเพื่อดูเรื่องภาพรวมให้ดี แล้วอาจกลับมาแก้ปัญหาภายในได้ด้วย