ในพื้นที่อ้อมน้อย-อ้อมใหญ่ เสวนาแลกเปลี่ยนสถานการณ์ในพื้นที่ แรงงานข้ามชาติ กับกลุ่มสหภาพแรงงานอ้อมน้อย – อ้อมใหญ่ จัดโดยโครงการพัฒนารูปแบบและกลไกเพื่อการเข้าถึงนโยบายหลักประกันสังคมที่เหมาะสมสำหรับแรงงานข้ามชาติเมื่อวันที่13 พฤษภาคม 2555 เวลา 9.30 น. ณ.ห้องประชุมกลุ่มสหภาพแรงงานอ้อมน้อย – อ้อมใหญ่ จังหวัดนครปฐม นำโดย นายบัณฑิต แป้นวิเศษ มูลนิธิเพื่อนหญิงกล่าวชี้แจงและทำความเข้าใจ ให้แรงงานข้ามชาติแรงงานไทยได้มีความสามารถอยู่รวมกันได้ การเข้าถึงสิทธิประกันสังคมกองเงินทดแทน และและรวมแลกเปลี่ยนแรงงานข้ามชาติกับการเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานมีประโยชน์อย่างไรต่อแรงงานไทย
นายตุลา ปัจฉิมเวช ที่ปรึกษากลุ่มสหภาพแรงงานอ้อมน้อย – อ้อมใหญ่ กล่าวว่า แรงงานข้ามชาติอีกมากมายที่ยังไม่มีบัตรพิสูจน์สัญชาติ และสำหรับคนที่มี นายจ้างต้องชี้แจ้งขึ้นทะเบียนแรงงานข้ามชาติที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติแล้วเป็นลูกจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 ในขณะเดียวกันแรงงานข้ามชาติมักจะไม่รู้สิทธิประโยชน์กรณีประกันสังคมและการมีบัตรพิสูจน์สัญชาติแล้วได้มีสิทธิประกันสังคมมากขึ้น
– เรื่องบัตรสุขภาพ เมื่อมีใบพาสปอร์ตพิสูจน์สัญชาติจะได้อะไร
– ค่าจ้างหัก 3% เข้าประกันสังคม กฎหมายคุ้มครองแรงงานข้ามชาติอย่างไร
นายบัณฑิตย์ ธนชัยเศรษฐวุฒิ ผู้อำนวยการมูลนิธิอารมณ์ พงศ์พงัน ได้บรรยายให้ความรู้เรื่องการเข้าถึงสิทธิแรงงาน เปิดปมสิทธิประกันสังคมแรงงานข้ามชาติ ยุค MOUระหว่าง หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องการกำหนดสิทธิประโยชน์ แรงงานข้ามชาติกับการเข้าไม่ถึงกองทุนประกันสังคม การเข้าไม่ถึงประโยชน์ทดแทนตามกฎหมายประกันสังคม 7 กรณี คือ เจ็บป่วย ทุพลภาพ คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ตาย ว่างงาน และชราภาพ ของแรงงานข้ามชาติ และได้ร่วมแลกเปลี่ยนทำความเข้าใจเรื่องสหภาพแรงงานกับการที่เป็นสมาชิกแล้วได้อะไร สวัสดิการ ค่าจ้าง สิทธิประโยชน์
นายวิน แรงงานข้าม สมาชิกสหภาพแรงงานรวมใจเพื่อนสัมพันธ์ กล่าวว่า ได้เข้าสมัครเป็นสมาชิกสภาพแรงงานก็รู้สึกดี ทางสหภาพแรงงานคอยช่วยเหลือในเรื่องกรณีแก้ปัญหาต่างๆ เช่น แนะนำพาไปหาหมอเมื่อเจ็บป่วย ช่วยเรียกร้องสิทธ์ประโยชน์สวัสดิการเช่นเดียวกับที่แรงงานไทยได้รับ ได้ไปร่วมงานทำบุญตามประเพณีต่างๆ ของแรงงานข้ามชาติ จากสิทธิประโยชน์ต่างๆที่ได้รับ ตนจึงคอยอธิบายการเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานในเพื่อนที่เป็นแรงงานข้ามชาติได้เข้าใจอีกด้วย เพื่อจะได้เข้าร่วมสมัครเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน
หลังจากนั้น แรงงานไทยและแรงงานข้ามชาติมีข้อเสนอสิ่งที่จะทำร่วมกัน คือ
1. ผลักดันให้แรงงานข้ามชาติที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานให้เป็น ผู้ช่วยกรรมการสหภาพแรงงาน
2. วันที่จัดประชุมประจำเดือนของกรรมการสหภาพแรงงานให้แรงงานข้ามชาติที่เป็นสมาชิกที่พูดไทยได้ให้เข้าร่วมประชุมด้วย และจัดสรรอาสาสมัครแรงงานข้ามชาติมาช่วยงานสหภาพแรงงาน
3. ฝึกการพูดเบื้องต้น ทั้งไทย และข้ามชาติ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้คนใหม่เข้าเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน
4. หาแกนนำแรงงานข้ามชาติที่พูดภาษาเดียวกันได้ และจัดอบรมเรื่องสิทธิแรงงานตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ให้กับแรงงานข้ามชาติ และแรงงานไทย ทำความเข้าใจกับกรรมการสหภาพแรงงานไทยด้วยในเรื่องทัศนะคติ สิ่งที่แรงงานข้ามชาติขอให้แรงงานไทยช่วยเหลือในด้านการจัดการนายหน้าที่มีการเรียกเก็บเงินจากแรงงานเมื่อต้องต่อใบอนุญาตทำงาน อยากให้แรงงานข้ามชาติมีสิทธิเท่าเทียม สิทธิลาป่วยได้รับค่าจ้าง และอยากได้ลาพักร้อนตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานด้วย
เกศแก้ว ทะเบียนธง นักสื่อสารแรงงานอ้อมน้อย – อ้อมใหญ่ รายงานโดย