เมื่อรถไฟ EEC จะทะลวงพื้นที่ประวัติศาสตร์มักกะสัน

“เมื่อรถไฟ EEC จะทะลวงพื้นที่ประวัติศาสตร์มักกะสัน” องค์กรแรงงานเสนอทำงานร่วมเครือข่ายภาคประชาชน กระทุ้งรัฐให้เปิดข้อมูลสัญญาร่วมทุน อนุรักษ์ และรักษาพื้นที่ประวัติศาสตร์ นักวิชาการย้ำรัฐควรดูเรื่องคุณค่าพื้นที่ซึ่งถือเป็นมรดกชาติ รวมถึงอาชีพเกษตร ยึดเกณฑ์การพัฒนาอย่างยื่น SDG  

เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2562 มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยได้จัดการเสวนาหัวข้อ “เมื่อรถไฟEEC จะทะลวงพื้นที่ประวัติศาสตร์มักกะสัน” โดยช่วงเช้าได้มีการจัดงานทำบุญทอดผ้าป่าสามัคคีเพื่อจรรโลงบำรุงรักษาพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย และยังมีการกล่าวรำลึกถึงผู้วายชนที่มีคุณูปราการต่อผู้ใช้แรงงานอีกด้วย และล่าสุดรายได้จากการร่วมกันระดมทั้งหมดราว 206,609.25 บาท ซึ่งยังมีบางส่วนที่อยู่ระหว่างการระดมแต่ยังไม่ได้ส่งมอบอีก

จากนั้นช่วงบ่ายได้มีการ เสวนาเรื่อง “เมื่อEEC จะทะลวงพื้นที่ประวัติศาสตร์มักกะสัน” ดำเนินรายการโดยคุณ อรพิน ลิลิตวิศิษฏ์วงศ์ จากสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส

อาจารย์ ปองขวัญ วัฒนา ลาสูส ผู้แทนฝ่ายวิชาการเครือข่ายมักกะสัน  กล่าวว่า ทำงานเน้นไปที่การจัดการเรื่องข้อมูลด้วยมองว่าการจะจัดการพัฒนาพื้นที่ใดๆต้องมีการสำรวจว่าพื้นที่นั้นๆมีคุณค่าทางด้านใดบ้าง ต้องมีการสืบค้นข้อมูล เช่นโรงงานมักกะสันมีความเก่าแก่ถึง 109 ปี มีองค์ความรู้ไม่ใช่แค่ศูนย์ซ่อมรถไฟเพียงอย่างเดียวแต่เป็นที่สร้างหัวรถจักร และมีอดีตที่รุ่งโรจน์มากในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก ซึ่งมีความสำคัญมาก แม้ว่าการมอบพื้นที่มักกะสันให้กับนายทุน 150 ไร่ จะไม่ยุ่งเกี่ยวกับโรงงานมากแต่ว่า มันเป็นพื้นที่ต่อเนื่องกัน เพราะเป็นพวงรางที่ใช้เป็นที่จอดรถเพื่อรอเข้าซ่อมถึงแม้ช่วงนี้ไม่มีรถมาก ที่มารอซ่อมจนคนเห็นเป็นพื้นที่รกร่างจนต้นกระถินณรงค์ขึ้น หากว่าจะมีการพัฒนาพื้นที่มักกะสันเมื่อประมาณ 20-30 ที่ผ่านมาก็คงเห็นว่าควรมีการพัฒนาแต่ว่ากลับไม่ถูกพัฒนา พร้อมกับพื้นที่โดยรอบที่มีการพัฒนาไปหมดแล้ว

สิ่งที่สำคัญที่มักกะสันเป็น คือเป็นปอดแห่งสุดท้ายที่อยู่กลางเมืองของกรุงเทพมหานครไปแล้ว ภาครัฐไม่ควรนมองอะไรเป็นชิ้นๆแบ่งว่าจะตัดแต่ละชิ้นไปทำอะไร ในฐานที่กรุงเทพฯเป็นเมืองหลังของประเทศไทยที่มีความสำคัญไม่แพ้ประเทศอื่นๆ ซึ่งโรงงานมักกะสันที่ไม่ถูกพัฒนามาหลาย 10 ปี ทำให้กลายเป็นมรดกประเทศอื่นๆไม่มีแล้ว ด้วยประเทศอื่นๆเขาพัฒนาไปหมดแล้ว และไม่มีแล้ว ทั้งมีการปรับ การย้ายไป เพราะเขามีโครงการย้ายโรงงาน ซึ่งเป็นมรดกที่ไม่มีใครทำงาน อย่างเช่นประเทศไต้หวันที่ย้ายโรงงานออกไป ทำให้พื้นที่ว่างลง ซึ่งรัฐบาลก็หาทางที่จะใช้พื้นที่ทำอย่างอื่น ซึ่งแรกๆ คิดว่าอยากนำมาสร้างมูลค่าได้เงินมากๆ ทำเป็นพื้นที่เศรษฐกิจ มีการค้าขาย แต่ชาวไต้หวันมามองว่า เอกชนก็มีการทำอยู่แล้ว รัฐควรนำพื้นที่นี้มาใช้สาธารณะประโยชน์ให้กับประชาชน ที่ลุกขึ้นมาแสดงเจตจำนงว่าต้องการให้พื้นที่แห่งนี้เป็นพื้นที่ทางวัฒนธรรม และคุยกับกระทรวงวัฒนธรรมของเขา ในพัฒนาพื้นที่เป็นพิพิธภัณฑ์รถไฟ ที่ไม่ใช่รถไฟทำเอง เป็นกระทรวงวัฒนาธรรมมารับผิดชอบ ซึ่งการรถไฟได้ยายออกไปแล้วไปสร้างโรงงานที่ทันสมัย แต่ว่าประเทศไทยเรามีความต่าง เพราะมักกะสันยังมีการใช้งานอยู่ แต่หากรถไฟจะต้องการย้ายมีเหตุผลที่ต้องย้าย เมื่อพื้นที่ว่างลงก็มาว่ากันอีกที่ว่าจะให้พื้นที่นี้ทำเป็นอะไร

แต่ก่อนอื่นต้องเก็บข้อมูลว่าพื้นที่มีคุณค่า ทั้งมรดกทางธรรมชาติ หรือต้นไม้ใหญ่เป็นปอด หรือเครื่องฟอกอากาศมักกะสันมีครบทุกอย่าง และเรามีบึงน้ำ ขนาดใหญ่ที่ทางด่วนมาวางตอหม้อจนกลายเป็นไตวายไปแล้ว แต่ยังมีบึ้งอื่นอีกฝั่งของนิคมรถไฟรถไฟอีก 2 บึงขนาดใหญ่ และมีคลองที่เชื่อมไปที่ 150 ไร่ด้วย จะบอกว่าไม่มีไม่ได้ และเป็นแหล่งสำคัญมรดกทางธรรมชาติที่จะเป็นแหล่งธรรมชาติในเมืองที่สำคัญระดับโลกก็ได้เพราะเป็นแหล่งใหญ่ และความสำคัญของโรงพยาบาลรถไฟ ฐานะที่เก่าแก่เป็นมรดกที่มีชีวิตยังใช้สอยอยู่ มีองค์ความรู้มากมาย สิ่งที่สำคัญที่สุดคือต้องเก็บข้อมูลให้ครบก่อนแล้วค่อยคิดว่าจะนำพื้นที่นี้ไปทำอะไร ไม่ว่าจะเก็บเอาไว้ หรือว่านำไปพัฒนาที่จะพึ่งเอกชนมาพัฒนา จะต้องทำในฐานะที่รถไฟเป็นคนดูแลพื้นที่แทนประชาชนทั้งประเทศ ฉะนั้นจะทำอะไรต้องมีข้อมูล และฟังประชาชน เครือข่ายมักกะสันก็ เน้นความสำคัญคือเก็บข้อมูลให้ครบ เผยแพร่ข้อมูลให้ประชาชนทั่วประเทศไทยได้รู้ว่าเราเป็นเจ้าของพื้นที่ร่วมกัน และการพัฒนาอะไรต้องให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นว่าต้องการพัฒนาอะไร และเห็นอะไร และการแข็งขันอะไร อย่างที่ว่าEECได้รับการยกย่องว่าเป็นการแข่งขันขนาดใหญ่ ซึ่งพื้นที่มักกะสันไม่ต้องแข่งขันอะไร เพราะที่นี่เป็นพื้นที่หนึ่งเดียวในโลก เพราะไม่มีที่ไหนเหมือนมักกะสัน จึงชนะเลิศโดยไม่ต้องแข่งขัน แต่หากจะแข่งขันโดยนำพื้นที่ไปทำอย่างอื่นก็ไม่เห็นด้วย

การพัฒนาพื้นที่ต่างๆหากมีการพัฒนาต้องคำนึงถึงคุณค่าของพื้นที่อย่างเมื่อพื้นที่นั้นเป็นพื้นที่ทางการเกษตรก็ต้องดูว่า การพัฒนาใหม่มันดีกว่าสิ่งเก่าที่มีอยู่ก่อนแล้วหรือไม่ หากสิ่งเก่าดีอยู่แล้วก็ไม่จำเป็นต้องสร้างสิ่งใหม่ และผลกระทบที่เกิดขึ้นในพื้นที่ต้องมีการเยียวยาอย่างเป็นธรรม ซึ่งตอนนี้ไม่ว่าจะมีการพัฒนาพื้นที่ไหน ประเทศใดจะต้องพัฒนาอย่างยั่งยืน มีการทำเป็นอนุสัญญาร่วมกันและประเทศไทยก็ไปร่วมเซนต์สัญญานี้ด้วยเช่นกัน คือเกณฑ์การพัฒนาอย่างยื่น SDG (Sustainable Development Goals–SDGs)ซึ่งต้องเอาเกณฑ์นี้เป็นตัวตั้งและพัฒนาตามทุกอย่างซึ่งถือเป็นมาตรฐานอยู่แล้ว คงไม่ต้องสอนรัฐบาล แต่ว่ารัฐบาลจะนำมาใช้ให้มีมาตรฐานสากลหรือไม่

นายทวีป กาญจนวงศ์ ประธานมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย กล่าวว่า แนวคิดรัฐในการที่จะพัฒนาพื้นที่มักกะสันนั้นมีมากมายหลายโครงการ แต่ว่าโครงการช่วงนี้ที่จะกระทบคือโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน อยากตั้งคำถามว่ามีการทำEIA ทำการประเมินเรื่องสิ่งแวดล้อม มีการทำอย่างเข้มข้นแล้วหรือไม่ และได้สอบถามคนรถไฟบ้างหรือไม่ จากการที่ได้ไปมหาวิทยาลัยนิด้า เปิดข้อมูลมีการแบ่งเป็นโซนๆในการพัฒนา เป็น 3 โซนกล่าวถึงสิ่งแวดล้อม แต่ไม่มีการกล่าวถึงพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยเลย การที่รัฐจะลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงใช้งบประมาณ 2 แสนกว่าล้านจะไม่ให้ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบได้แสดงความคิดเห็นเลย คงไม่เห็นชอบโดยเฉพาะที่รถไฟ ไม่ใช่ที่นี่ที่เดียว เพราะมีทีดินรอบๆรางรถไฟที่ตัดผ่านไปนั้นมีอีกจำนวนมากกว่า 400-500 ไร่ จึงต้องมีการทำEIA สอบถามกันด้วย แต่เท่าที่ทราบรัฐบาลนี้มีความเร่งรีบในการทำTOR ซึ่งเสร็จไปแล้ว มีความเร่งรีบมากกว่ารัฐบาลที่ผ่านๆมา

รถไฟความเร็วสูงต้องผ่าน มักกะสัน พญาไท ทำไมไม่ตรงไปมีลับลวงพรางอะไรหรือไม่  ซึ่งทางสหภาพแรงงานก็มีการคัดค้านให้เปิดเผยข้อมูลสัญญาซึ่งรัฐบาลควรมีการตั้งคณะกรรมาธิการศึกษาผลกระทบด้วย การลงทุนด้วยเงินจำนวนมากกลัวว่าจะเสียค่าโง่เหมือนกรณีอื่นๆที่ผ่าน ซึ่งจะกระทบกับทางพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย โครงการนี้จะส่งผลกระทบไม่ใช่น้อย มา ที่สำคัญที่สุดสถานที่นี่เป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์ ด้วยเป็นพื้นที่พระราชทานของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 การที่จะยกให้เอกชนแบบง่ายๆนั้นไม่สมควร การทำความร่วมมือ และคนจำนวนมากเองก็เห็นว่าตรงนี้เหมาะสำหรับการมาทำเป็นประวัติศาสตร์ให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ และการกระทำเช่นนี้จะทำให้ประวัติศาสตร์แรงงานไทยหายไปหรือไม่ และเราเคยมีการออกแบบร่วมกันว่าจะปรับพื้นที่พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยให้ใหญ่โต เป็นอาคารสองชั้น เพื่อจัดนิทัศน์การหมุนเวียน เพื่อให้บริการกับนักท่องเที่ยว หรือนักศึกษาประวัติศาสตร์อีกด้วย

ด้านนายสาวิทย์ แก้วหวาน เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์(สรส.) และประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวว่า เวลาขับเคลื่อนต้องมองที่จุดใหญ่ การที่เราสู้เพื่อพิพิธภัณฑ์ เราสู้เรื่องสวนมักกะสัน เป็นการแยกสู้ทำให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้าง ภาคประชาชนต้องสรุปบทเรียน ปัญหาใหญ่คือ เศรษฐกิจโลกเป็นระบบเสรีนิยมเป็นระบบทุนผูกขาดครอบโลกอยู่ขณะนี้ ซึ่งก็ไม่ใช่เสรีจริง จากที่มีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้เกิดการแข่งขัน แต่ก็จะเห็นว่าน้ำมัน ราคาค่าโทรศัพท์ ก็ไม่มีระบบการแข่งขัน มีการกีดกันทางการค้า เพื่อไม่ให้อีกฝ่ายได้เปรียบ ในเรื่องการพัฒนาระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือEEC ที่ใช้คำสั่งคสช.(คณะรักษาความสงบแห่งชาติ)ในการต่อยอด ซึ่งไม่ใช่เรื่องใหม่เป็นโครงการของทุนโลก FTA เวิร์ดแบงค์ WTO นโยบายกองทุนระหว่างประเทศที่พยายามขยายดำเนินการลักษณะที่ประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งหลาย ทำให้ทุกประเทศมีคนยากจนมากขึ้นลุกลาม เช่นเดียวกันกับประเทศไทยที่มีความเหลื่อมล้ำที่สุดในโลก หนี้ครัวเรือนสูงเป็นลำดับต้นๆของโลก กลุ่มทุนไม่กี่ตระกูลที่ร่ำรวยขึ้นมหาศาล ซึ่งเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง

เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกมีกฎหมายมาตั้งแต่ปี 2546 เดิมเป็น FTA  แล้วมาร่างเป็นกฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งออกโดยรองนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน ซึ่งสมัยนั้น ก็เป็นรองนายกของนายกทักษิณ ชินวัตร ซึ่งพยายามที่จะออกกฎหมายฉบับนี้ แต่กระแสโลก ซึ่งมีการชุมนุมต่อต้าน WTO กันทำให้ขับเคลื่อนไม่ได้ เมื่อมาถึงรัฐบาลชุดนี้ใช้คำสั่งคสช. เพื่อขับเคลื่อนEEC (Eastern Economic Corridor) โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก โดยออกเป็นกฎหมายปี 2561 สุดท้ายนำเรื่องรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินเข้ามาแบบไร้รอบต่อ เพื่อต้องการสร้างสนามบินแห่งที่ 3 เนื่องจากเห็นว่าดอนเมืองแออัด ก็ย้ายมาสุวรรณภูมิ จึงจะย้ายไปที่อู่ตะเภา ซึ่งในความเป็นจริงไม่ได้แออัด เป็นความพยายามที่จะสร้างเมกะโปรเจคขนาดใหญ่ๆเข้ามา ซึ่งหากถามเรื่องการพัฒนารถไฟนั้นตนเห็นด้วยกับการพัฒนารถไฟระบบรางคู่ ซึ่งสหภาพแรงงานสู้เรื่องนี้มา 30-40 ปีแล้ว แต่รัฐบาลไม่ได้สนใจใช้เพียงการพัฒนาระบบทางถนน ซึ่งก็เกิดปัญหาเรื่องภาวะโลกร้อน ท้ายสุดระบบของโลกมาใช้ระบบรางทั้งหมด ซึ่งเอกชนก็มาหาผลประโยชน์จากการขนส่งทางราง ที่จะทำให้เขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออกเป็นทางเชื่อมร้อยทะเลกับภูมิภาคอื่นๆ

รถไฟความเร็วสูงก็ต้องผนวกเอาที่ดิน 150 ไร่เข้าไปวันนี้มีใครเห็นแผนการพัฒนาแล้วหรือยังที่สามารถจับต้องได้ และEIAที่ว่าผ่านการทำแล้วทุกคนก็ไม่รู้ว่ามีการผ่านการรับฟังของประชาชนแล้วอย่างไร ตนเห็นด้วยกบการพัฒนาการขนส่งทางราง แต่ว่า รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินที่ต้องเอาที่มักกะสันไปด้วย ถามว่าเอาไปทำอะไรถึง 150 ไร่ เพราะที่ตรงนี้มีความพยายามที่จะเอามาโดยตลอด ก่อนหน้านี้ก็จะให้กรมธนารักษ์ไปทั้งหมด 497 ไร่ แรกกับหนี้ของรถไฟ 1.3 แสนล้านบาท ซึ่งตนไม่ขัดข้องในการพัฒนาพื้นที่มักกะสัน เอาแบบแบ่งพื้นที่เลย พิพิธภัณฑ์รถไฟด้วย แต่ต้องมีคุยก่อนว่า รถไฟเป็นหนี้เพราะอะไร ตอนนี้ผู้โดยสารรถไฟหนึ่งคน 1 กิโลเมตรรถไฟมีค่าใช้จ่าย 2.50 บาท วันนี้ยังเก็บค่าโดยสาร 24 สตางค์ต่อ 1 กิโลเมตร เนื่องจากเป็นหน่วยงานของรัฐที่ต้องบริการประชาชน ซึ่งจะมีการโอนที่ดินให้กรมธนารักษ์แล้ว แต่ว่าทางสหภาพแรงงาน กับประชาคมมักกะสันมีการเคลื่อนไหวคัดค้านในที่สุดก็ถอนออกไป มติครม.ก็ให้รถไฟทำเอง แต่มาวันนี้เอาก่อน 150 ไร่ โดยตอนนี้เอาก่อน 100 ไร่ อีก 50 ไร่ให้มีการย้ายพวงรางก่อน ใช้เงิน 300 ล้านบาท ซึ่งไม่ทราบใช้เงินใคร

ปัจจุบันไม่จำเป็นต้องสร้างรถไฟความเร็วสูง วันนี้เรามีรถไฟไปจนถึงสัตหีบแล้ว กิโลเมตรที่ 189 การรถไฟกำลังสร้างทางสถานีที่จะเชื่อมไปอู่ตะเภา ให้สร้างทางคู่เพิ่มอีกทางหนึ่ง แล้วสร้างคอกล้อมรั่วเช่นเดียวกับมอเตอร์เวย์ แล้วเดินรถเร็วได้ถึง 100-200 ก็ได้ จะใช่ระบบไฟฟ้าก็ได้ไม่ต้องใช้รถไฟความเร็วสูงไม่ว่าจะเส้นไหน เพราะประเทศไทยจากเหนือถึงใต้ระยะทาง 2000 กิโลเมตร ไม่ใช่ประเทศจีนที่ 2-3 หมื่นกิโลเมตร หากจะใช้ความเร็วสูงต้องเป็นรถไฟเชื่อมภูมิภาคเหมือนกับยุโรปที่เชื่อมกัน หากว่ามีการเชื่อมแบบนั้นปัญหาคือประเทศจีนจะนำสินค้าเข้ามาแบบมากมายแค่ไหน

ที่ผ่านมาได้ตั้งคำถาม 11-12 ข้อที่เป็นปัญหาขัดกับหลักการสำคัญ เช่น

1.ขอขยายสัมปทานจาก 50 ปี เป็น 99 ปี

2.ขอให้รัฐอุดหนุนเงินโครงการตั้งแต่ปีที่ 1 ของการดำเนินโครงการก่อสร้าง จากเดิมที่กำหนดให้รัฐจ่ายเงินอุดหนุนในปีที่ 6 (เริ่มเดินรถ)

3.ขอให้รัฐบาลการันตีผลตอบแทนจากการลงทุนโครงการ IRR ที่ระดับ 6.75% ต่อปี

4.ขอสิทธิ์ลดสัดส่วนผู้ถือหุ้นใหญ่ โครงการจาก 70% ลงมาเหลือ 5 % ได้ในอนาคต เนื่องจากบริษัทอาจนำโครงการเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

5.ขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทยผ่อนปรนเพดานการกู้เงินของเครือ CP เนื่องจากปัจจุบัน CP ติดเรื่องเพดานเงินกู้ของธนาคารแห่งประเทศไทย

6.ขอให้รัฐบาลค้ำประกันการรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อให้เอกชนมีความมั่นใจในการทำสัญญา หากเกิดปัญหาขึ้นมาในภายหลัง

7.ขอผ่อนชำระโครงการแอร์พอร์ตลิงก์เป็นระยะเวลา 11 ปี(จำนวนเงิน 10,671 ล้านบาท) ด้วยดอกเบี้ย 3% จากเดิมที่จะต้องจ่ายเงินทันทีถ้าหากรัฐบาลโอนโครงการให้

8.รัฐบาลต้องสนับสนุน จัดหาเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำที่ระดับ 4 % ให้กับโครงการด้วย

9.ขอชำระเงินค่าเช่าที่ดินมักกะสันและศรีราชา เมื่อวันที่ถึงจุดที่มีผลตอบแทน จากที่ TOR กำหนดให้จ่ายวันที่ส่งมอบพื้นที่

10.หากโครงการสนามบินอู่ตะเภาล่าช้า ขอให้รัฐบาลชดเชยความเสียหายที่มีผลกระทบต่อการเดินรถด้วย

11.ห้ามการรถไฟฯ ทำธุรกิจหรือเดินรถแข่งขันกับเอกชน ห้ามรฟท.เดินรถแข่งขันกับเอกชน เหมืนกับทางด่วนบางปะอินที่มีปัญหากับโทลเวย์ ท้ายสุดการทางพิเศษแพ้ไป 1.3 พันล้านบาท ซึ่งก็ไม่แน่ใจว่าเฉพาะรถไฟความเร็วสูง หรือการเดินรถไฟภาคตะวันออกทั้งภาค หากเป็นทั้งภาคคือรถไฟเดินรถไม่ได้เลย

และ 12.ไม่สามารถเปิดเผยได้

หากพิจารณาจากทั้ง 11 ข้อที่บริษัทกิจการกิจการร่วมค้าCP ได้เจรจานอกกรอบ TOR อาจส่งผลกระทบต่อรัฐ และการรถไฟแห่งประเทศไทยที่คาดหวังว่าจะได้รับเงินจากโครงการเพื่อนำไปพัฒนากิจการรถไฟทั่วประเทศ แม้ว่าจะมีข่าวว่าบริษัทกิจการกิจการร่วมค้า CP จะถอนทั้ง 11 ข้ออกไปแล้วแต่ยังมีข้อที่ 12 ที่บอกว่ายังเปิดเผยไม่ได้ หมายถึงอะไร ???.สาระคืออะไร ???. ซึ่งในท่ามกลางความสงสัยของสังคมเรื่องดังกล่าวคณะรัฐมนตรีกลับให้ความเห็นชอบไปเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2562 ที่ทางตนได้ไปยื่นหนังสือ ให้มีการเปิดเผยข้อตกลงร่วมสัญญา แต่วันที่ 28 พฤษภาคมได้ผ่านคณะรัฐมนตรี (ครม.) จึงคิดว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่สำคัญ ลำพังแค่สหภาพฯค้านทุกเรื่อง ซึ่งสหภาพแรงงานฯไม่ได้ขัดขวางการพัฒนาระบบการขนส่งทางราง แต่ว่า ประชาชนไม่ได้รับรู้ ซึ่งวันที่ 18 กรกฎาคม 2562 นี้จะมีการมอบที่ดินแล้ว โดยทั้งหมดจะใช้ที่ดินราว 4,000 กว่าไร่ นอกเหนือจากมักกะสัน 150 ไร่ ที่ศรีราชา 25 ไร่ พื้นที่ 2 ข้างทางจากรัศมีจากสันรางออกไปไม่ทราบเท่าไร ซึ่งปกติ 40 เมตร หากขยับเป็น 100 เมตรจะกระทบขนาดไหน ซึ่งคนที่อยู่ข้างรางรถไฟอย่างเครือข่ายสลัม 4 ภาคทราบหรือนี้หรือยังถึงผลกระทบดังกล่าวนี้  การจะมอบพื้นที่ทั้งที่สัญญายังไม่ได้เซ็นลงนาม ซึ่งจะเซ็นลงนามปลายเดือนวันที่ 24 กรกฎาคมนี้ การยื่นหนังสือของสหภาพแรงงาน และเครือข่ายไม่ได้เรียกร้องอะไรมาก เพียงแต่ขอให้เปิดเผยสัญญาต่อประชาชนได้หรือไม่ จากนั้นก็มาดูสิ่งที่ค้างอยู่นั้นจะคุยกันอย่างไรให้ประชาชนได้รับรู้ และใส่วนร่วมในการตัดสินใจ มูลค่า 2.2 แสนล้านบาท รัฐลงทุน 1.5 แสนล้านบาท ประชาชนมีสิทธิที่จะรู้ ฉะนั้นโครงการนี้ต้องช่วยกันหารายละเอียดและเปิดเผยให้ประชาชนได้รับทราบ

นายสุวิช  ศุมานนท์ ประธานสมาพันธ์คนงานรถไฟ กล่าวว่า ด้วยตนเองทำงานในโรงงานมักกะสัน ซึ่งเป็นพื้นที่พิพาท ที่ว่า TDRIได้จัดอันดับมาเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่าEEC ถือเป็นผลงานของรัฐบาลชุดที่ผ่านมา แต่ว่าพระราชบัญญัติ เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 นี้กระทบกับประชาชนราว 8 จังหวัด เช่น ฉะเชิงเทรา ปราจีน สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด โดยมีผลกระทบทั้งด้านสิทธิและเสรีภาพของการดำเนินชีวิต ทั้งการประกอบอาชีพ เมื่อรัฐบาลประกาศเป็นพื้นที่เศรษฐกิจสิ่งหนึ่ง ต้องมีการศึกษาผลกระทบ อย่างรอบด้าน เพราะมีปัญหาการปรับตัวจากภาคเกษตรเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมคนที่ใช้ชีวิตอยู่กับชุมชนที่มีวิถีชีวิตทำการเกษตรเมื่อต้องเปลี่ยนเป็นภาคอุตสาหกรรมจะให้ทำอะไร จะให้อพยพย้ายที่อยู่ไปสิ่งที่ต้องเยียวายา หาอาชีพใหม่ตรงนั้นได้มีการคำนึงถึงแล้วหรือ

ย้อนกลับมายังเรื่องรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินนั้นผ่าน 3 จังหวัด จึงมีความเชื่อมโยงกัน ไม่ว่าจะเป็นฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง โดยเชื่อม 3 สนามบิน คือดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา ความเชื่อมโยงของกฎหมายEEC ก็เชื่อมกับรถไฟความเร็วสูงที่เชื่อม 3 สนามบิน ซึ่งกฎหมายนี้กำหนดว่า พื้นที่ใดที่เชื่อมกันก็สามารถที่จะประกาศเป็นพื้นที่เศรษฐกิจได้ แล้วรถไฟความเร็วสูงที่เชื่อม 3 สนามบินนั้นจึงตอบโจทย์แผนการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกจริงหรือไม่ หรือโครงการนี้ถูกตั้งเพื่อนำที่ดินไปพัฒนาเชิงอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นคำถามว่าพื้นที่มักกะสัน 150 ไร และศรีราชา 25 ไร่ เหล่านี้ โดยเฉพาะมักกะสันเป็นพื้นที่นออกเขตเศรษฐกิจพิเศษทำไมนำไปเชื่อมโยงกับกฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษ

ประเด็นต่อมาเมื่อนำพื้นที่มักกะสันไปแล้ว 150 ไร่ เคยมีการสำรวจผลกระทบหรือไม่ ด้วยโรงงานมักกะสันเป็นโรงงานที่ทำหน้าที่ซ่อมรถจักรและล้อเลื่อนที่เป็นโรงงานซ่อมและบำรุงรถออกไปให้เขตแขวง และภูมิภาคทั่วประเทศ วันนี้หากนำที่ดิน 150 ไร่ไปโดยไม่มีแผนรองรับการซ่อมบำรุง ซึ่งจะมีผลกระทบ เนื่องจากต้องมีการจัดสร้างพวงรางใหม่ แทนอันเก่าหรือแม้แต่การควบรวมอาคารโรงงาน หรือเครื่องจักรซ่อมบำรุง ซึ่งยังไม่เคยมีการออกแบบวางแผนงาน หรือตั้งคณะกรรมการวางแผนรองรับเรื่องนี้ ซึ่งตนขอมองเรื่องผลกระทบของคนทำงาน ผลกระทบแรกคือผลกระทบต่อภาครัฐ รัฐจะได้ผลตอบแทนการลงทุน 50 ปี 5 หมื่น 1 พันล้านบาท ซึ่งทางรักษาการผู้ว่าการรถไฟกล่าวว่า คล้ายกับทางห้างเซ็นทรัลลาดพร้าว คือที่ดินลาดพร้าว 48 ไร่ อายุสัญญา 20 ปี ผลตอบแทน อยู่ที่ 2 หมื่น 1 พันล้านบาท แต่มักกะสัน 150 ไร่  อายุสัญญา 50 ปี ผลตอบแทน 5หมื่น 1 พันธ์ล้านบาท ตัวเลขนี้ไม่เป็นธรรม ในความจริงเราไม่ได้คัดค้านการพัฒนา หากดูผลตอบแทนที่ได้นั้นมันใช่หรือไม่  ซึ่งตนไม่ใช่นักเศรษฐศาสตร์ แต่เมื่อเทียบเคียงกับเซ็นทรัลมูลค่าการตอบแทนนั้นต่างกันอย่างมาก

ต่อมาการลงทุนแบบนี้ทั้งอสังหาริมทรัพย์ในส่วนของพื้นที่มักกะสัน หากมามอในมิติเซ็นทรัลนั้นการรถไฟให้เช่าแต่ที่ดิน สาธารณูปโภคต่างๆเอกชนต้องจัดหามา ขณะที่รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน การร่วมทุนPPP เป็นระบบเก็บค่าใช้จ่ายส่งให้รัฐ รถไฟให้ที่ดิน 150 ไร่ โครงสร้างพื้นฐาน แอร์พอร์ตเรลลิ่งค์ ยังไม่ได้คิดถึงมูลค่าต้นทุนการวางเสาตอหม้อช่วงต่อสุวรรณภูมิไปอู่ตะเภา หรือการใช้พื้นที่การรถไฟจากดอนเมืองจนถึงพญาไทที่จะมีการสร้างรางต่อเนื่องได้มีการคิดมูลค่าการลงทุนให้กับองค์กรหรือไม่ เพราะเขาสร้างทางบนรางรถไฟ รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินเป็นนิติบุคคล นี่คือการตั้งข้อสังเกตว่าสัญญาควรเป็นแบบสัมปทาน หรือสัญญาการแบ่งปันในเชิงร่วมทุน

ประเด็นต่อมาผลกระทบในเชิงองค์กร โดยเฉพาะการรถไฟฯโรงงานมักกะสันเป็นศูนย์ซ่อมบำรุงหลักเมื่อเอาพื้นที่ไปการซ่อมบำรุงต้องหยุดชะงักแน่นอนหากมีอุปสรรค์ในการซ่อมบำรุงตรงนี้จะเป็นความรับผิดชอบของใคร หากว่าไม่สามารถผลิตรถออกขบวนไปรับผู้โดยสารในแต่ละวัน เนื่องจากพื้นที่ 150 ไร่เป็นที่รถจอดรอซ่อม รอตัดบัญชี มีสิ่งของรอการขาย การขยับขยายพื้นที่พวงรางถือว่าเป็นงานใหญ่ใช้เวลาในการก่อสร้าง 2-3 ปีเป็นอย่างน้อย และเมื่อถึงเวลาตาม TORกำหนดแล้วการรถไฟส่งมอบพื้นที่ไม่ได้ ท้ายสุดคือการถอดรหัสโฮปเวลล์ และท้ายที่สุดมีการประกาศเขตเศรษฐกิจพิเศษเพิ่มขึ้นตั้งแต่ดอนเมือง ถึงพญาไท ซึ่งพื้นที่นั้นมีการบุกรุกประมาณ 2 พันกว่าราย การบุกรุกจากบางซื้อ ถึงตลิ่งชัน 1 พันกว่าราย ซึ่งมีความทับซ้อนกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน หมายความว่ารถไฟนั้นหมายความว่าการรถไฟต้องจัดการกับผู้บุกรุกทั้งหมดยังไม่หมายรวมถึงการเวนคืนที่ดิน ซึ่งจะเป็นคนละส่วนกัน ซึ่งเป็นการกระทบต่อองค์กรรถไฟ

กระทบต่อมาคือกระทบต่อภาคประชาชน แม้ผู้บุกรุกไม่มีสิทธิ์ในที่ดิน แต่เขาก็เป็นคนไทย ซึ่งหนีไม่พ้นเรื่องการเยียวยา และหาที่อยู่ใหม่ เรื่องนี้รัฐบาลได้คำนึงถึงหรือไม่ ยังมีความเร่งรีบในการที่จะเซ็นสัญญาให้โครงการนี้เกิดขึ้นโดยเร็ว ซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาในอนาคตได้

นางสาวธนพร วิจันทร์ รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ประเด็นนโยบายEEC องค์กรสหภาพแรงงานไม่ได้ทำงานร่วมกับภาคประชาชน แต่ก็มีผลกระทบบ้างจากการที่มีการออกกฎหมายหลายฉบับ และมีหลายเรื่องที่ส่งผลกระทบทั้งเรื่องการจ้างงาน เรื่องประกันสังคม ด้วยกฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษจะยกเว้นในเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ห้ามรัฐเข้าไปยุ่งในพื้นที่นั้นในการจัดการของกฎหมายพิเศษของเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งขบวนการแรงงานโดยเฉพาะขบวนแรงงานของเอกชนยังไม่รับรู้ ต่างกับขบวนแรงงานรัฐวิสาหกิจที่มีอย่างสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟฯ และสหภาพแรงงานแอร์พอร์ตลิ่งค์ฯที่มีการเคลื่อนไหวด้วยเกิดผลกระทบโดยตรง หากภาคเอกชนอย่างคสรท. กับสรส.ไม่เชื่อมกันก็จะไม่เห็นบทบาทตรงนี้ จากการที่ได้ทำงานร่วมกับภาคประชาชนก็ทราบว่าการเคลื่อนย้ายของพ.ร.บ.เขตเศรษฐกิจพิเศษจะเคลื่อนย้ายไปทุกภาคตะวันออก เหนือ อีสาน และใต้ ทั้งท่าเรือน้ำลึก ถามว่า EECเพื่อใคร จากผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่ใช่เพื่อประเทศไทย เราจะเห็นนักธุรกิจจีนเข้ามามีบทบาท ด้วยผู้บริหารประเทศนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เวลาไปประชุมที่ประเทศจีนก็รับข้อเสนอจากประเทศจีนมา ข้อตกลงต่างๆที่ไปรับมาประชาชนไม่มีส่วนร่วม ใช้กฎหมายโดยไม่ฟังเสียงใคร ซึ่งประเด็นใด หรือกฎหมายใดที่ส่งผลกระทบกับประชาชนต้องมารับฟังเสียงประชาชน ตามรัฐธรรมนูญ อย่างภาคตะวันออกเองเป็นพื้นที่ที่มีสหภาพแรงงานเข้มข้นแต่กระบวนการมีส่วนร่วมกับไม่มีเลย เพื่อให้เห็นว่าท้ายสุดขบวนการต่างๆของรัฐที่ออกมามีผลกระทบอย่างไรกับ ตอนนี้เดินหน้าและไม่ได้เปิดเผยอะไรให้ประชาชนได้รับรู้ ซึ่งทำให้คนงานเอกชนไม่ค่อยมีบทบาทกับเรื่องเหล่านี้ ท้ายที่สุดคือพ่อ แม่เราที่อยู่ต่างจังหวัด แรงงานนอกระบบ สลัม 4 ภาคที่อยู่ริมทางรถไฟจะต้องได้รับผลกระทบทั้งเรื่องที่อยู่อาศัย และที่ทำกิน จะถูไล่รื้อกันหมด และสระบุรีก็มีการทำถนน ขุดเจาะกัน ทางตัดรถไฟที่มีรถไฟวิ่งเพิ่มขึ้น จากการเดินทางตอนนี้เริ่มไม่ปลอดภัยจากการเดินทาง ในการพัฒนาถนน

การพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ที่จะเข้ามาในพื้นที่EEC คนจะตกงาน และงานใหม่ที่จะมาคืออะไร ยังไม่มีการกล่าวถึง โดยกลุ่มธุรกิจจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ซึ่งเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ส่วนสหภาพแรงงานการเรียกร้องต้องคำนึงถึงอนาคต และสังคม ไม่ใช่แค่ค่าจ้าง โบนัสเท่านั้น แต่ต้องเรียกร้องเพื่ออนาคตความมั่นคง และดูแลสังคมมากขึ้น ให้เป็นสหภาพแรงงานทางสังคม ซึ่งต้องมาดูว่าควรเป็นแบบไหน ตอนนี้สหภาพแรงงานจะสู้แต่เพียงรำพังไม่ได้แล้วต้องดูบริบทสังคมว่ามีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง และเขามีการเคลื่อนไหวอย่างไร รัฐบาลเดินหน้าพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเต็มที่ทั้งอีสาน เหนือ ใต้ ภาคตะวันออก สิ่งที่เราจะทำต่อคืออย่างไร อย่างพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยที่อยู่ในพื้นที่มักกะสัน ก็จะถูกนำพื้นที่ไปจากนโยบายรัฐบาลหลายยุคหลายสมัย สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟฯก็ต่อรองต่อสู้เพื่อให้อยู่ในพื้นที่มาตลอด  ซึงพื้นที่แห่งนี้เป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์การเรียนรู้ของคนงานเราต้องการให้คงไว้อยู่เพื่อเป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์และให้ความรู้แก่คนงาน ท้ายที่สุด สรุปแล้วเราจะร่วมกันขับเคลื่อนอย่างไรเพื่ออนาคต

นางสาวสงวน ขุนทรง ผู้ประสานงานกลุ่มสหภาพแรงงานอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่ กล่าวว่า นานมากแล้วที่สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจฯขับเคลื่อนมาตลอด แล้วการพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงที่จะมานี้ได้มีการสอบถามความคิดเห็นกับประชาชนมากน้อยเพียงใด คิดว่าสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟฯทำถูกแล้วที่ติดตามสอบถามและคัดค้าน เป็นการปกป้องประโยชน์ให้กับประชาชน การที่จะสร้างอะไร อย่างกรณีตอม่อโฮปเวลล์ที่เห็นมานานมากส่งผลกระทบต่อรัฐ ส่วนภาคนายทุนก็ได้รับประโยชน์เต็มๆ ส่วนประชาชนหากสร้างรถไฟความเร็วสูงแล้วจะใช้ได้จริงหรือไม่ท่ามกลางราคาที่แพงคนจน ผู้ใช้แรงงานที่มีรายได้น้อยเข้าไม่ถึงและไม่มีโอกาสที่จะใช้ คิดว่าไม่เกิดประโยชน์ และควรสำรวจผลกระทบให้ชัดเจน คิดว่ารถไฟความเร็วสูงไม่เหมาะที่จะสร้างในประเทศไทย เพราะคนยากจนไม่ได้ประโยชน์ ก็ไม่เห็นด้วยที่จะสร้าง

นายธนกิจ สาโสภา รองประธานสภาองค์การลูกจ้างแรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า รถไฟคือมรดกของคนทุกคนเป็นมรดกของชาติ เป็นของคนทุกคนที่ต้องร่วมกันรักษา เป็นพาหนะที่นำมาซึ่งความเจริญก้าวหน้า ไปสู่ภูมิภาคต่างๆตอนแรกมองว่า รถไฟ กับEECน่าจะไปด้วยกันได้จะทำให้เราสามารถไปอยู่ในส่วนนั้นส่วนนี้เป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการขนส่ง อยากสะท้อนถึงปัญหาของคนที่ทำงานอยู่ในอุตสาหกรรมยานยนต์ด้วยมีความเชื่อมโยงกับEEC ด้วยจะมีการเปลี่ยนอุตสาหกรรมใหม่ในพื้นที่โซนภาคตะวันออกราว 5 อุตสาหกรรมหลัก ซึ่งมีหนึ่งในนั้นคืออุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมใหม่ที่เกี่ยวข้องที่นักเศรษฐศาสตร์กล่าวคือ ยูเอสเคริบ เป็นธุรกิจใหม่ขึ้นมาเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ วันนี้มีการลงทุนมากกับสาธารณูปโภค ถนนหนทาง เมื่อลงทุนจำนวนมากหากไม่คุ้มค่าก็ถือว่า ขาดทุนเกิดเป็นหนี้สาธารณะมากมายที่ประชาชนต้องมีรับใช้ เพราะเรายืมเงินต่างชาติมาลงทุน

อุตสาหกรรมใหม่ที่จะมาลงทุนในEEC ที่ต้องปรับตัวนั้นมีทั้งอุตสาหกรรมยายนต์อุตสาหกรรมอีเล็กทอนิกส์อัจริยะ ซึ่งไม่ใช่แบบทุกวันนี้  อุตสาหกรรมการเกษตรเทคโนโลยีชีวภาพ เป็นแบบใหม่ที่ไม่ใช่การปลูกข้าว หรือข้าวโพดขาย ซึ่งมีมูลค่าสูงขึ้น การแปรรูปอาหาร การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ การบิน โลจิสติกส์ การแพทย์ครบวงจร และเชื้อเพลิงชีวภาพ เคมีชีวภาพ เป็นอุตสาหกรรมใหม่ที่มีมูลค่าที่จะเกิดในพื้นที่ภาคตะวันออกนี้

ข้อกังวลของอุตสาหกรรมยานยนต์ คือ ด้วยในพื้นที่นี้มีอุตสาหกรรมยานยนต์ ที่ถือเป็นห่วงโซ่อุปทานที่เกี่ยวข้องกันอยู่จำนวนมากใน 3 จังหวัดภาคตะวันออก ซึ่งมีคนทำงานที่อยู่ในอุตสาหกรรมยานยนต์ 5 แสนกว่าคน รวมถึงกลุ่มผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ด้วย รถยนต์หนึ่งคันประกอบด้วยชิ้นส่วนยานยนต์ 3 หมื่นกว่าชิ้น แต่ว่าในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษจะมียานยนต์พาหนะใหม่เกิดขึ้นด้วย ที่ได้ยินกันส่วนใหญ่จะเป็นรถยนต์ไฟฟ้า จากชิ้นส่วน 3 หมื่นชิ้นเหลือเพียง 3 พันกว่าชิ้น  รถยนต์ใหม่ที่จะเกิดขึ้นคือรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ คือไม่มีคนขัย และรถยนต์เชื่อมโยงคือรถยนต์แต่ละชนิดสามารถสื่อสารกันได้ รวมถึงธุรกิจยานยนต์แบบใหม่ อย่างแท็กซี่ก็จะล่าสมัยไปเลย ในกลุ่มธุรกิจยานยนต์แบบใหม่ที่ไม่ใช้ระบบเครื่องยนต์สันดาปซึ่งจะใช้ถึงปี 2570 ซึ่งจะเหลือคนงานเพียง 4 -5 หมื่นคน จากคนงานทั้งหมด 5 แสนกว่าคน แสดงว่ากลุ่มคนงานในกลุ่มยานยนต์จะตกงานกันอย่างมหาศาลจะมีอะไรรองรับ และรัฐจะดูแลอย่างไร การที่จะมีการใช้กฎหมายพิเศษมาควบคุมคนงาน แล้วคนเก่าที่อยู่ในพื้นที่อยู่แล้วจะได้รับผลกระทบหรือไม่ จะถูกบังคับให้อยู่ภายใต้กฎหมายใหม่หรือไม่ อย่างพรบ.เศรษฐกิจพิเศษฉบับใหม่ครอบคลุมธุรกิจเดิมหรือไม่ ตอนนี้คนงานในกลุ่มยานยนต์เอง ตอนนี้อยู่กับกระแสของการลดกำลังการผลิต การลดคนงานนี่คือข้อกังวล

อาจารย์สุนี ไชยรส คณะนวัตกรรมสังคมมหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า ประเด็นEEC เครือข่ายภาคประชาชนมีการขับเคลื่อนค้อนข้างแรง มีการประชุมหารือ และการชุมนุมเพื่อล่มเวทีรับฟังความคิดเห็นในพื้นที่เช่นที่บางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ด้วยกระทบกับพื้นที่ชุมชนชาวบ้านจำนวนมาก ที่เขาอ้างว่าชาวบ้านเช่าพื้นที่จึงจะเวนคืน แต่จริงแล้วเป็นพื้นที่ทำการเกษตรเลี้ยงกุ้ง หอย ปู ปลามาเป็นเวลานาน กลุ่มแรงงานภาคเกษตรก็ลุกขึ้นมาคัดค้าน     ทำให้เวทีประชาพิจารณ์ ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 ซึ่งไม่สมเหตุสมผลต้องย้าย ประเด็นที่คัดค้านทั้งEIA การเปลี่ยนผังเมืองจากสีเขียวให้เป็นสีม่วงเพื่อให้รองรับมาตรา 44 พื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งชาวบ้านไม่ยอมและดื้อแพ่งคัดค้านเรื่องผังเมือง และEIA ที่ไม่เปิดเผย และเป็นเพียงการประชาพิจารณ์ ทีไม่ได้เปิดโอกาสให้ชาวบ้านตัวจริงเข้าไปร่วม เวทีวิเคราะห์ว่าแรงงานคือพลังร่วม เนื่องจากแรงงานเองก็จะได้รับผลกระทบร่วมอย่างอีเทรินซีบอร์ดเองก็กระทบกับแรงงานมายาวนานแม้แรงงานอาจไม่ได้รับผลกระทบโดยตรง วันนี้การขยายตัวของอีเทรินซีบอร์ดขยายไม่ได้ เนื่องจากเจอปัญหาผังเมือง และEIA จึงใช้การสวมรอยเป็นพื้นที่โครงการEEC ซึ่งเป็นความเจ้าเล่ห์ และผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญด้วย ซึ่งการเปิดเผยข้อมูลต้องเปิดทั้งหมดไม่ใช่ทีละชิ้น ตอนนี้ภาคประชาชนที่บางปะกงมีความคาดหวังกับทีมแรงงานภาคตะวันออก มีการจัดเรื่องEECกันบ้าง จุดตายแม้ว่าจะยกเลิกคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)แล้ว ด้วยคสช.ทำผิดรัฐธรรมนูญเรื่องEIA เรื่องผังเมือง และการมีส่วนร่วม การที่มีการยกเลิกคำสั่งคสช. 61 ฉบับ แต่ยังไม่ได้ยกเลิกอีกหลายฉบับที่มีผลกระทบอย่าง EEC ซึ่งวันนี้ต้องมีการทำงานร่วมกันหลังจากมีการยกเลิกคำสั่งของคสช.จะทำให้ภาคแรงงาน และภาคประชาชนเคลื่อนได้เต็มที่ ส่วนเรื่องมักกะสันจุดสำคัญต้องไม่มองเพียงที่มักกะสัน เราต้องจัดให้เราเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนEECให้ได้ ด้วยรัฐยังไม่มีการเปิดเผยข้อมูล ข่าวสาร ไม่มีEIA ไม่มีการเปิดเผยการประชาพิจารณ์อย่างเต็มที่เลย

ผศ.ปริญญา ชูแก้ว คณะสถาปัตยกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กล่าวว่า ทำไมประเทศไทยจึงอนุรักษ์อยากจัง มีการอนุรักษ์เพียงพระนครศรีอยุธยา และสุโขทัยเท่านั้นเป็นต้น ในขณะที่โรงงานมักกะสันก็ควรเป็นมรดกด้วยเช่นกัน เวลาพูดถึงการอนุรักษ์ระดับประเทศกลับไม่มีการกล่าวถึง และการที่ได้มีการทำโครงการเล็กๆ ในการอนุรักษ์สถานีรถไฟริมทาง ซึ่งมองว่าภายใต้โครงการรถไฟความเร็วสูงภาคอีสานที่มีการไล่รื้อสถานีริมทางเพื่อที่จะสร้างใหม่ให้ใหญ่กว่าเดิม ซึ่งก็ได้พยายามเข้าไปนำเสนอให้ทางการรถไฟเพื่อให้มีการอนุรักษ์สถานีเก่าดั่งเดิม แต่ได้รับคำตอบว่าอาคารเก่าเหล่านั้นไม่ได้อยู่ในTOR ไม่ได้ถูกเขียนไวในสัญญา ฉะนั้นบริษัทรับเหมาที่มีรับจ้างก็ไม่ได้มอง สองข้างทางว่ามีอะไรบ้างที่ต้องเก็บรักษา เมื่อวิศกรบอกว่าเส้นตรงก็สร้างเส้นตรงอะไรที่ขวางทางเอาออกให้หมดแล้วสร้างขึ้นมาใหม่ ซึงจะพบว่าสถานีใหม่ที่สร้างขึ้นมาใหญ่โตจะมีงบในการบำรุงรักษามหาศาลมาก ในส่วนของจิระถึงขอนแก่น สถานีรถไฟเล็กๆอย่างหนองแมวที่สร้างมาใหม่ระหว่างทางจะมีคนขึ้นวันละเท่าไร ในขณะที่มีการลงทุนสร้างเป็นสถานีขนาดใหญ่ทั้งค่าแอร์ ค่าน้ำ ค่าไฟ จำนวนมาหาศาล การอนุรักษ์สถานีเก่า จึงได้มีการทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และได้มีการออกสื่อทางไทยพีบีเอส จนในที่สุดจากสถานีเก่า 15 หลังรักษาได้ 13 หลัง โดยผู้ว่าราชการจัดหวัดมีการเชิญนายอำเภอมาคุยกันและหางบประมาณฉุกเฉินโดยยกย้ายทั้งหลังออกไปจากจุดเดิม ซึ่งคิดว่าน่าจะอยู่ที่เดิม ด้วยมองว่าสัญญาไม่ได้เขียนไว้ คือเราอยากให้อยู่ในพื้นที่เดิม ซึ่งที่พบคือบางหลังก็ย้ายไปเป็นสถานีอนามัย สถานที่นวดแผนโบราณ หรือพิพิธภัณฑ์รถไฟ แต่ว่าไม่ได้อยู่ในที่เดิมไม่อยู่ที่ว่าการอำเภอ ซึ่งเป็นเรื่องที่แปลกมาก นี่คือการทำลายประวัติศาสตร์ทั้งที่เรามีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน เรามีแต่การที่จะสร้างของใหม่ ตอนนี้สถานีไม้หายไปหมดแล้ว บางที่เก่าจนกลายเป็นซาก เป็นการปล่อยให้หายแล้วสร้างใหม่ ซึ่งการอนุรักษ์ประวัติศาสตร์ที่เรารวมกันเป็นเครือข่ายมักกะสันด้วยคนในพื้นที่อยากรักษาแต่ว่าเขาทำไม่ได้เราจึงต้องไปทำให้เขามีการรักษา

นายสมศักดิ์ โกศัยสุข ที่ปรึกษาสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวว่า นโยบายการนำทุนข้ามชาติมาตั้งแต่ปี 2536 การแปรรูปรัฐวิสาหกิจพรบ.ทุนปี 2542 ตนได้สู้เพื่อขอพื้นที่ตั้งพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยตรงนี้ หลังเหตุการณ์ทางการเมืองปี2535 ด้วยไม่มีพื้นที่จะสร้างหาที่ตั้งไม่ได้ก็เลยเข้าไปคุยกับรัฐมนตรีคมนาคม ขณะนั้น จึงได้สถานที่นี้มา และได้คุยเรื่องการสร้างรถไฟรางคู่ด้วยซึ่งหากสร้างตามที่ทางสหภาพฯเสนอซึ่งตอนนั้นใช้งบประมาณ 7 หมื่นกว่าล้านบาท หากสร้างคงเสร็จแล้ว แต่ว่าเมื่อเปลี่ยนรัฐบาลก็สร้างไม่ได้ แต่ว่ารัฐบาลไหนก็ทำเพื่อทุนหมดไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลรัฐประหาร หรือว่ามาจากการเลือกตั้ง ที่ว่าเป็นรัฐสภาไปทำไมเพราะไม่ว่าจะฝ่ายค้านหรือรัฐบาลก็เป็นนายทุนเหมือนกัน การเลือกตั้งก็ยังไม่เป็นประชาธิปไตย โครงการEEC ที่เกิดขึ้นแน่นอนต้องมีผู้ได้รับผลกระทบนายทุนได้ประโยชน์

หากรัฐบาลกล้าหาญต้องให้นายทุนที่มาลงทุนเสียภาษี เก็บภาษีแบบก้าวหน้าเพื่อนำเงินมาพัฒนาประโยชน์สาธารณะ ซึ่งระบบทุนคือแปรสมบัติชาติไปให้นายทุนโดยไม่ได้สนใจประโยชน์สาธารณะ ซึ่งรัฐต้องทำอย่างไรในการพัฒนาทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดเพื่อให้เพียงพอกับประชาชนทุกคนนั้นคือหลัก เมื่อมีการพัฒนาแบบนี้กระทบหมด รถไฟความเร็วสูงลงทุนมหาศาล เมื่อไรจะได้เงินทุนคืน และทำไหมรัฐต้องลงทุน ทั้งที่ดิน นายทุน CP ไม่ได้ลงทุนอะไรเลยทั้งผูกขาดกินรวบ และชนชั้นไหนออกกฎหมายก็เพื่อชนชั้นนั้น และสิ่งที่มีคือแนวเศรษฐกิจพอเพยงของรัชกาลที่ 9 ด้วยวันนี้มีการคอรัปชั่นทุกขั้นตอนของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ทำให้ขาดทุนหมด และเป็นของเอกชนก็เป็นปัญหาอย่างปตท.ที่ผูกขาด ความเจริญคืออะไร ตึกสูงหรือ ประเทศไทยยังล้าหลังพึ่งนายทุนตลอด เรายังเป็นทุนนิยมไร้รากอยู่ และหากยังไม่มีพรรคการเมืองของคนจนก็แย่ อย่างที่มีการตั้งพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยไทยขึ้นมาก็เพื่อต่อสู้ทางการเมืองแต่คนไม่เข้าใจต่างประเทศก็ก็มีพรรคการเมืองของคนจน ซึ่งรูปไฟที่มีการแปรรูปแล้วก็ยังเอาคือได้ เรื่องการอนุรักษ์พื้นที่คิดว่าทำได้เพราะอย่างรัฐสภาประเทศเยอรมนีเขายังเป็นของเก่าอยู่เลย ต้องช่วยกันอนุรักษ์ และไม่แปลกอะไรเรื่องของใครคนนั้นก็ต้องสู้อย่างปตท.ที่แปรรูปได้ง่ายเพราะสหภาพแรงงานเขาก็เห็นด้วยที่ชะลอมาได้เรื่องการแปรรูปรถไฟก็เพราะเราสู้ไม่เห็นด้วย และคนจนหายไปไหนหมด การต่อสู้นอกสภาฯต้องทำและความเป็นผู้นำต้องรับผิดชอบด้วย หากขบวนการแรงงานอ่อนแอการต่อสู้ก็คงลำบาก แต่อยากย้ำว่าการต่อสู้กับระบบทุนนิยมก็มีเพียงขบวนการแรงงานเท่านั้น

 

นักสื่อสารแรงงาน รายงาน