เปิดผลสำรวจหญิงชายก้าวไกล ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างระหว่างน้ำท่วม

เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 55  ณ ห้องทับทิม โรงแรมรัตนโกสินทร์ กรุงเทพมหานคร มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล จัดสัมมนาเรื่อง “ชีวิตแรงงานหญิงหลังเผชิญวิกฤติปัญหาอุกภัยปี54” สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ซึ่งมีการรายงานผลการสำรวจจากแบบสอบถามแรงงานหญิงที่ประสบอุทกภัยในเขตอุสาหกรรมอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่  เขตจังหวัดปทุมธานี  เขตจังหวัดนนทบุรี จำนวน 273 คน อายุระหว่าง 36-50 ปี  ส่วนใหญ่ต้องการให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างระหว่างน้ำท่วม

เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 55 เวลา 08.30- 12.30 น. ณ ห้องทับทิม โรงแรมรัตนโกสินทร์ กรุงเทพมหานคร มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล จัดสัมมนาเรื่อง “ชีวิตแรงงานหญิงหลังเผชิญวิกฤติปัญหาอุกภัยปี54” สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ซึ่งมีการรายงานผลการสำรวจจากแบบสอบถามแรงงานหญิงที่ประสบอุทกภัยในเขตอุสาหกรรมอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่  เขตจังหวัดปทุมธานี  เขตจังหวัดนนทบุรี จำนวน 273 คนอายุระหว่าง 36-50 ปี
สรุปผลสำรวจ    93.8%ทำงานในตำแหน่งฝ่ายผลิต    65.9% ถูกน้ำท่วมที่พัก   ในส่วนที่เป็นปัญหาการจ้างงานระหว่างน้ำท่วม   บริษัทสั่งหยุดงาน 57.1%    รองลงมาต้องหยุดงานเอง22%เพราะน้ำท่วมที่พักหรือเส้นทางไปทำงาน   บริษัทสั่งหยุดงาน ไม่จ่ายค่าจ้าง37.4%   คนงานที่ลาหยุดงานเองไม่ได้ค่าจ้างร้อยละ 57.9%  ส่วนข้อเสนอในการแก้ไขปัญหาแรงงานหญิงที่ประสบอุทกภัยต่อบริษัท   57.1% ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างระหว่างน้ำท่วม    23.1%ต้องการให้มีเงินช่วยเหลือพนักงาน     5.5%เสนอให้ฟื้นฟูบริษัทและกลับข้าทำงาน   2.9% เสนอให้เยียวยาครอบครัวและจัดที่พัก รถรับส่งระหว่างน้ำท่วม   2.2%เสนอให้บริษัทมีเงินกู้ยืมพิเศษปลอดดอกเบี้ย    51.6%มีข้อเสนอให้มีเงินช่วยเหลือซ่อมแซมบ้านและห้องเช่าตามสภาพความเสีย   12.8%เสนอให้มีการควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภค    8.1%เสนอให้มีเงินกู้ปลอดดอกเบี้ยหรือดอกเบี้ยต่ำ   5.9%เสนอให้มีการดูแลจัดหางานระยะสั้นและฝึกอาชีพระหว่างตกงานหรือรอกลับเข้าทำงาน   3.7%เสนอสิทธิประโยชน์เรื่องการประกันว่างงานให้ควบคุมกรณีน้ำท่วม    2.2%ให้ดูแลจัดหางานที่เหมาะสมให้กับผู้ตกงาน   1.8%เสนอให้จัดศูนย์ฟื้นฟูเยียวยาโดยจัดนักวิชาชีพบริการอย่างทั่วถึง
                   นางสาว สุรินทร์  พิมพา  ผู้นำแรงงานหญิงกลุ่มสหภาพแรงงานอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่ จังหวัดสมุทรสาครและนครปฐม กล่าวว่า  ในช่วงที่น้ำท่วมมีแรงงานหญิงเข้ามาขอรับคำปรึกษาจากศูนย์ช่วยเหลือแรงงานที่ประสบภัยน้ำท่วมมากกว่า 100 รายเพราะประสบปัญหาการถูกนายจ้างลอยแพต้องตกงาน   ปัจจุบันก็ยังไม่ได้กลับเข้าทำงาน  ไม่มีบริษัทไหนรับเพราะว่าอายุมากเกินไป  รวมถึงกฎหมายคุ้มครองแรงงานก็ไม่ได้สามารถให้การช่วยเหลือปกป้องสิทธิของแรงงานผู้หญิงที่ถูกเลิกจ้างเหล่านี้   
นอกจากนี้ยังกล่าวถึงประเด็นที่แรงงานหญิงเรียกร้องผ่านรัฐบาลทุกปีแต่ไม่ได้รับการตอบสนอง  คือการเปิดศูนย์เลี้ยงเด็กในสถานประกอบการ  เพราะคนงานหญิงส่วนใหญ่ที่มีลูกต้องเลี้ยงดูด้วยตัวเอง จะได้ให้นมลูก  เพราะถ้าซื้อนมกล่องก็จะกระทบต่อค่าใช่จ่ายในครอบครัวและกระทบต่อสุขภาพพัฒนาการของเด็ก
วิษณุ  มลิวัลย์   นักสื่อสารแรงงานอ้มน้อย- อ้อมใหญ่  รายงาน